บอร์ด สปสช.เตรียมของบรายหัวกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพิ่มอีก 703 บาทต่อประชากร เน้นขยายการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค
วันนี้ (10 ม.ค.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ว่า ที่ประชุมมีข้อเสนองบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5 รายการเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้แก่ 1.ของบเหมาจ่ายรายหัวจำนวน 3,147.74 บาทต่อประชากร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่ได้รับที่อัตรา 2,546 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 703 บาท/ต่อประชากร 2.ของบการให้บริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 3,195 ล้านบาท 3.งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4,437 ล้านบาท 4.งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังเบาหวานความดันโลหิตสูง 810 ล้านบาท และ 5.งบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช 266 ล้านบาท โดยการของบฯเพิ่มเติมนั้นมาจากอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยทุกประเภท
“งบเหมาจ่ายรายหัวจัดทำโดยคำนึงถึงต้นทุนคงที่ สำหรับโรงพยาบาลชุมชนและเครือข่าย โรงพยาบาลทั่วไป ขนาดเล็ก และเครือข่าย เพื่อให้มีงบประมาณอย่างพียงพอในการจัดบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการคิดคำนวณงบประมาณแบบปลายปิด และให้มีการเพิ่มงบในส่วนของประชากรที่เพิ่มมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพิ่มงบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นร้อยละ 14 ของงบเหมาจ่ายรายหัว โดยเพิ่มความครอบคลุมกิจกรรม และสิทธิประโยชน์ที่จำเป็น เพิ่มสัดส่วนงบประมาณในด้านบริการปฐมภูมิ บริการที่มีคุณภาพและสนับสนุนการพัฒนาระบบการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นพ.วินัย กล่าว
เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า รวมงบประมาณทั้งหมดที่ต้องขอประมาณ 166,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นอีก 37,000 ล้านบาท โดยข้อเสนอทั้งหมดจะทำเรื่องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ต่อไป ทั้งนี้ คาดว่า จะเสนอ ครม.ได้ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะสอดคล้องกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยปีที่ผ่านมาประชากรในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือโครงการรักษาฟรีอยู่ที่ 47.99 แต่ในปีนี้จะเพิ่มเป็น 48 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5 แสนคน
นพ.วินัย กล่าว และว่า การเพิ่มงบประมาณ เนื่องจากประชาชนเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากขึ้น โดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกจากปี 2553 อยู่ที่ 3.22 ครั้งต่อคนต่อปี ปี 2554 เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3.42 ครั้งต่อคนต่อปี และในปี 2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.64 ครั้งต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละประมาณร้อยละ 6.5
วันนี้ (10 ม.ค.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ว่า ที่ประชุมมีข้อเสนองบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5 รายการเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้แก่ 1.ของบเหมาจ่ายรายหัวจำนวน 3,147.74 บาทต่อประชากร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่ได้รับที่อัตรา 2,546 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 703 บาท/ต่อประชากร 2.ของบการให้บริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 3,195 ล้านบาท 3.งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4,437 ล้านบาท 4.งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังเบาหวานความดันโลหิตสูง 810 ล้านบาท และ 5.งบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช 266 ล้านบาท โดยการของบฯเพิ่มเติมนั้นมาจากอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยทุกประเภท
“งบเหมาจ่ายรายหัวจัดทำโดยคำนึงถึงต้นทุนคงที่ สำหรับโรงพยาบาลชุมชนและเครือข่าย โรงพยาบาลทั่วไป ขนาดเล็ก และเครือข่าย เพื่อให้มีงบประมาณอย่างพียงพอในการจัดบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการคิดคำนวณงบประมาณแบบปลายปิด และให้มีการเพิ่มงบในส่วนของประชากรที่เพิ่มมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพิ่มงบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นร้อยละ 14 ของงบเหมาจ่ายรายหัว โดยเพิ่มความครอบคลุมกิจกรรม และสิทธิประโยชน์ที่จำเป็น เพิ่มสัดส่วนงบประมาณในด้านบริการปฐมภูมิ บริการที่มีคุณภาพและสนับสนุนการพัฒนาระบบการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นพ.วินัย กล่าว
เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า รวมงบประมาณทั้งหมดที่ต้องขอประมาณ 166,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นอีก 37,000 ล้านบาท โดยข้อเสนอทั้งหมดจะทำเรื่องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ต่อไป ทั้งนี้ คาดว่า จะเสนอ ครม.ได้ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะสอดคล้องกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยปีที่ผ่านมาประชากรในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือโครงการรักษาฟรีอยู่ที่ 47.99 แต่ในปีนี้จะเพิ่มเป็น 48 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5 แสนคน
นพ.วินัย กล่าว และว่า การเพิ่มงบประมาณ เนื่องจากประชาชนเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากขึ้น โดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกจากปี 2553 อยู่ที่ 3.22 ครั้งต่อคนต่อปี ปี 2554 เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3.42 ครั้งต่อคนต่อปี และในปี 2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.64 ครั้งต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละประมาณร้อยละ 6.5