ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ราคาสินค้าเกษตรช่วงนี้มีหลายตัวที่ราคาสูงขึ้น บางตัวค่อยๆ ขยับขึ้น แต่บางตัวพุ่งพรวด อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย
ก่อนหน้านี้การปลูกพืชก็เพื่อการบริโภคของมนุษย์ ต่อมาบางชนิดก็นำไปทำอาหารสัตว์ได้ด้วย ราคาก็ดีขึ้นไปตามความต้องการ และตอนนี้พืชหลายชนิดก็ถูกนำไปใช้ในด้านพลังงาน จึงทำให้แนวโน้มสินค้าเกษตรในกลุ่มนี้มีราคาดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
ที่โดดเด่นจนใครๆ ก็ต้องพูดถึงขณะนี้คือ ยางพารา ที่เกือบแตะกก.ละ 150 บาทแล้ว เช่นเดียวกับปาล์มน้ำมัน ที่ผู้บริโภคกำลังเดือดร้อนเนื่องจากราคาพุ่งพรวด และยังขาดตลาด จากการกักตุน
พอเข้าใจได้ถึงคำอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว ที่คนในรัฐบาลและนักวิชาการบางท่านอธิบายว่า การที่ราคายางพาราขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ขยายตัวมาก ขณะที่ราคาน้ำมันก็สูงเช่นกัน ทำให้การผลิตยางสังเคาระห์ซึ่งต้องใช้ปิโตรเลียมเป็นวัตถุดิบก็สูง
ตามไปด้วย จึงต้องหันมาใช้ยางธรรมชาติ
เช่นเดียวกับปาล์มน้ำมัน ที่นอกจากจะใช้บริโภคในครัวเรือน เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคแล้วยังนำไปใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันดีเซล ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ด้วย
นั่นเป็นปรากฏการณ์จริงในเรื่องอุปสงค์ อุปทาน ที่เมื่อมีความต้องการใช้มาก ราคาก็แพงขึ้นตาม
แต่ผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจสินค้าเกษตรชี้เปรี้ยงว่า ที่ราคาสูงขึ้นในช่วงนี้เกิดจากปัจจัยหนุนสองแรงบวก คือนอกจากจะขึ้นตามความต้องการของตลาดเนื่องจากปริมาณการใช้งานแล้ว ยังเกี่ยวกับใกล้ฤดูเลือกตั้งด้วย
คนที่ซื้อขายสินค้าเกษตรจะรู้ว่า ปรากฏการณ์สินค้าเกษตรราคาดีจะมี 3-4 ปี ต่อครั้งเป็นวัฏจักร และปีที่ราคาดีก็คือปีที่ใกล้จะมีการเลือกตั้ง เมื่อเลือกตั้งไปแล้วสักระยะ ราคาก็จะค่อยๆ ลดต่ำลง บางตัวอาจลดฮวบฮาบ จนต้องมีการชุมนุมประท้วงให้รัฐบาลหาทางแก้ไข เอาผลลิตมาเททิ้งกลางถนน หรือเทที่หน้าทำเนียบฯ ก็เห็นกันบ่อยๆ
มีคำอธิบายประกอบอย่างกระชับว่า เมื่อใกล้เลือกตั้งพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะพยามยามสร้างเงื่อนไข หรือที่เรียกว่ากลไกตลาด หรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรตัวที่เป็นเป้าหมาย มีราคาสูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีความรู้สึกว่าเมื่อพรรคนี้มาเป็นรัฐบาลแล้วราคาผลผลิตดีขึ้น ต้องเลือกพรรคนี้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก
ขณะเดียวกันในส่วนของพรรคการเมือง ก็มีวิธีที่จะหาเงินมาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยส่งสัญญาณผ่านกลุ่มธุรกิจที่อุดหนุนพรรคการเมืองของตนเอง ทำการกักตุนสินค้า ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าขาดตลาด และราคาพุ่งสูงขึ้น แล้วรอเก็บเกี่ยวผลกำไรก้อนใหญ่มาใช้ในการเลือกตั้ง
เสมือนการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว คือได้ทั้งคะแนนนิยม และได้ทุนที่จะมาใช้หาเสียง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ พ่อค้าในแวดวงการซื้อขายสินค้าเกษตรที่มีประสบการณ์ต่างรู้ดี และรู้ว่าเวลาไหน รัฐบาลไหน ควรจะกักตุนสินค้าตัวใด
อย่างยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ก็จะยกราคาข้าวมาเป็นตัวโปรโมท
หรือว่าราคายางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่พุ่งสูงอยู่ในขณะนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดโลกเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับฤดูเลือกตั้ง และพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ก่อนหน้านี้การปลูกพืชก็เพื่อการบริโภคของมนุษย์ ต่อมาบางชนิดก็นำไปทำอาหารสัตว์ได้ด้วย ราคาก็ดีขึ้นไปตามความต้องการ และตอนนี้พืชหลายชนิดก็ถูกนำไปใช้ในด้านพลังงาน จึงทำให้แนวโน้มสินค้าเกษตรในกลุ่มนี้มีราคาดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
ที่โดดเด่นจนใครๆ ก็ต้องพูดถึงขณะนี้คือ ยางพารา ที่เกือบแตะกก.ละ 150 บาทแล้ว เช่นเดียวกับปาล์มน้ำมัน ที่ผู้บริโภคกำลังเดือดร้อนเนื่องจากราคาพุ่งพรวด และยังขาดตลาด จากการกักตุน
พอเข้าใจได้ถึงคำอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว ที่คนในรัฐบาลและนักวิชาการบางท่านอธิบายว่า การที่ราคายางพาราขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ขยายตัวมาก ขณะที่ราคาน้ำมันก็สูงเช่นกัน ทำให้การผลิตยางสังเคาระห์ซึ่งต้องใช้ปิโตรเลียมเป็นวัตถุดิบก็สูง
ตามไปด้วย จึงต้องหันมาใช้ยางธรรมชาติ
เช่นเดียวกับปาล์มน้ำมัน ที่นอกจากจะใช้บริโภคในครัวเรือน เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคแล้วยังนำไปใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันดีเซล ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ด้วย
นั่นเป็นปรากฏการณ์จริงในเรื่องอุปสงค์ อุปทาน ที่เมื่อมีความต้องการใช้มาก ราคาก็แพงขึ้นตาม
แต่ผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจสินค้าเกษตรชี้เปรี้ยงว่า ที่ราคาสูงขึ้นในช่วงนี้เกิดจากปัจจัยหนุนสองแรงบวก คือนอกจากจะขึ้นตามความต้องการของตลาดเนื่องจากปริมาณการใช้งานแล้ว ยังเกี่ยวกับใกล้ฤดูเลือกตั้งด้วย
คนที่ซื้อขายสินค้าเกษตรจะรู้ว่า ปรากฏการณ์สินค้าเกษตรราคาดีจะมี 3-4 ปี ต่อครั้งเป็นวัฏจักร และปีที่ราคาดีก็คือปีที่ใกล้จะมีการเลือกตั้ง เมื่อเลือกตั้งไปแล้วสักระยะ ราคาก็จะค่อยๆ ลดต่ำลง บางตัวอาจลดฮวบฮาบ จนต้องมีการชุมนุมประท้วงให้รัฐบาลหาทางแก้ไข เอาผลลิตมาเททิ้งกลางถนน หรือเทที่หน้าทำเนียบฯ ก็เห็นกันบ่อยๆ
มีคำอธิบายประกอบอย่างกระชับว่า เมื่อใกล้เลือกตั้งพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะพยามยามสร้างเงื่อนไข หรือที่เรียกว่ากลไกตลาด หรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรตัวที่เป็นเป้าหมาย มีราคาสูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีความรู้สึกว่าเมื่อพรรคนี้มาเป็นรัฐบาลแล้วราคาผลผลิตดีขึ้น ต้องเลือกพรรคนี้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก
ขณะเดียวกันในส่วนของพรรคการเมือง ก็มีวิธีที่จะหาเงินมาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยส่งสัญญาณผ่านกลุ่มธุรกิจที่อุดหนุนพรรคการเมืองของตนเอง ทำการกักตุนสินค้า ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าขาดตลาด และราคาพุ่งสูงขึ้น แล้วรอเก็บเกี่ยวผลกำไรก้อนใหญ่มาใช้ในการเลือกตั้ง
เสมือนการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว คือได้ทั้งคะแนนนิยม และได้ทุนที่จะมาใช้หาเสียง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ พ่อค้าในแวดวงการซื้อขายสินค้าเกษตรที่มีประสบการณ์ต่างรู้ดี และรู้ว่าเวลาไหน รัฐบาลไหน ควรจะกักตุนสินค้าตัวใด
อย่างยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ก็จะยกราคาข้าวมาเป็นตัวโปรโมท
หรือว่าราคายางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่พุ่งสูงอยู่ในขณะนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดโลกเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับฤดูเลือกตั้ง และพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลอย่างที่กล่าวมาข้างต้น