นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีการวิเคราะห์ว่า ปัญหาความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การยุบสภาได้ว่า หากมองย้อนกลับไปต้องยอมรับว่า ขณะนั้นความคิดเรื่องแก้รัฐธรรมนูญมีความแตกต่างกัน ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เมื่อเลขาธิการพรรคไปตกลงกับเขาว่าอย่างไร ก็ต้องทำตามคำพูด เป็นส่วนหนึ่งที่ตนบอกกับลูกพรรคที่ไม่เห็นด้วยว่า สำคัญที่สุดคือ นักการเมืองต้องทำตามคำพูด จึงได้เกิดการยอมให้แก้รัฐธรรมนูญ มาเป็นเขตละ 1 คน เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นคนเสนอประเด็นนี้ ส่วนที่เขาจะเปลี่ยนอีก ตนไม่ทราบ
ส่วนปัญหาที่ตอนนี้มีผู้เสนอสูตรต่างๆหลายสูตรนั้น นายชวน กล่าวว่า ที่จริงแล้วหลักเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทำได้จริง แต่ตนเคยพูดไว้ว่าควรจะพิจารณาทั้งฉบับ โดยมีคณะกรรมการดูแล พร้อมตรวจสอบตั้งแต่มาตรา 1 ถึงมาตราสุดท้าย ไม่ควรทำขยักขย่อน แก้นิดหน่อย โดยหลักในระยะไกล ควรมีคนที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ และแก้โดยให้มีผลใช้ในระยะต่อไป อย่าให้สภาชุดนั้นเป็นผู้มีผล ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาว่าใครได้ใครเสีย
"วันนี้เราก็เห็นชัดว่า เขาเถียงกันเรื่องปัญหาส่วนตัวเกือบทั้งนั้น ดังนั้นก็ควรนำทั้งฉบับมาดู และไม่ต้องรีบร้อนว่าเสร็จภายในกี่วัน ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนหลังมักจะเกิดจากใกล้ครบระยะเวลาแล้วก็ต้องเร่ง แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถ้าจำได้ ผู้ร่างสมัยนั้นก็ต้องเร่งให้ทันตามกำหนดเวลา เพราะว่ารัฐบาลได้ประกาศให้มีเลือกตั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ในระยะยาวรัฐธรรมนูญควรจะปรับปรุงแก้ไขให้เหลือเพียงไมกี่มาตรา เพราะยิ่งเขียนยาว ยิ่งมีปัญหา"
**กติกาที่แก้ไข ไม่ควรใช้กับสภาชุดนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากแก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้ง ไม่ควรจะมีผลต่อสภาผู้แทนชุดนี้ นายชวน กล่าวว่า เพราะถ้ามีผลทำให้มีส่วนได้เสีย ดุลยพินิจก็จะมีปัญหา อย่างวันนี้มีส่วนได้เสีย ก็จะเถียงกันอยู่
เมื่อถามย้ำว่าหมายความว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า ก็ไม่ควรนำรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขมาใช้ นายชวน กล่าวว่า ไม่ควรผูกพันส.ส.ในชุดขณะนั้น คือ ควรเป็นเรื่องที่ใช้ในโอกาสต่อไป พอถึงเวลานั้นก็ไม่ต้องเกี่ยวข้องว่าใครมีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ถ้ามีผล อย่างครั้งนี้ที่แก้แล้วมีผลต่อ ส.ส.ชุดนี้ พื้นที่ที่ตัดไปก็มีปัญหา ส.ส.ที่เคยมีอยู่ พอลดลงไปหนึ่งคนก็มีปัญหาส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มากก็น้อยเสมอ
** เผยแปรญัตติสูตร ส.ส.21 สูตร
น.ส.ผ่องศรี ธาราภุมิ ส.ส.ลพบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า กมธ.ได้สรุปผลการพิจารณาเกี่ยวกับ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190 และมาตรา 93-98 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ทำรายงานส่งถึง นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาโดยมีสมาชิกรัฐสภาขอแปรญัตติในทั้งสองเรื่องรวม 63 คน แบ่งเป็นส.ส. 17 คน และส.ว.46 คน
นางผ่องศรี กล่าวต่อว่า การแปรญัตติส่วนใหญ่ในมาตรา 190 ไม่ค่อยมีใครติดใจ โดยสาระหลักส่วนใหญ่จะกลับไปคล้ายรัฐธรรมนูญ 2550 โดยต้องออกกฎหมายลูก เพื่อกำหนดกรอบประเภทสัญญา และขั้นตอนของสนธิสัญญา
ขณะที่มาตรา 93-98 มีการแปรญัตติต่างกันออกไป แบ่งออกเป็น 21 สูตร อาทิ มี ส.ส.500 คนในสูตร 400+100 มีส.ส.525 คน ในสูตร 400+125 มีส.ส. 400 คน ในสูตร 300+100 และ 350+150 , 400+80 , 375+100 ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม กมธ.เสียงข้างมากมีความเห็นสนับสนุนสูตร 375+125 ตามที่ได้ลงมติไปแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับสมาชิกรัฐสภา ที่มีสิทธิสงวนคำแปรญญัติอภิปรายโน้มน้าวใน วาระที่ 2 และ รออีก 15 วัน ก่อนที่จะโหวตในวาระที่ 3 ต่อไป โดยนายชัย ได้แจ้งนัดหมายประชุมพิจารณาในวันที่ 25 ม.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า วิปรัฐบาลจะแก้ปัญหาความเห็นต่างในสูตรส.ส. อย่างไร นางผ่องศรี กล่าวว่า เป็นเรื่องของความเห็นต่าง ต้องคุยกันด้วยเหตุด้วยผล แต่สูตร 375+125 นั้น เป็นร่างที่นักวิชาการได้นำเสนอและผ่านการศึกษาทางวิชาการมาแล้ว อย่างไรก็ตาม อยู่ที่เหตุและผล และเป็นเรื่องเอกสิทธิ์ของสมาชิกในการตัดสิน
**"เทือก"มั่นใจแก้รธน.ฉลุย
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการหารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อหาข้อยุติ ในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งและจำนวนส.ส. ว่า เดิมทีตนได้นัดหมายในเวลา 18.00 น. วันที่ 25 ม.ค. แต่เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรจุวาระเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 25 ม.ค. เลยต้องเลี่อนการนัดหมายมาเป็นวันที่ 24 ม.ค. ก็คงจะได้พบปะพูดคุยไปพร้อมๆ กัน
อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยที่จะต้องไปกะเกณฑ์เอากับพรรคร่วมว่าต้องอย่างนั้น อย่างนี้ แต่จะไปบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์มีเหตุผลอย่างไร และฟังเหตุผลของฝ่ายอื่น ก็ลองคุยกันดู
ส่วนที่พรรคร่วมรัฐบาลมองว่า ไม่ว่าจะออกมาสูตรไหน พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เปรียบทั้งขึ้นทั้งล่องนั้น ไม่เป็นจริง คนพูดให้เสียหายไปเรื่อย พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยผ่านมาทุกรูปแบบแล้ว จะเป็นเขตเล็กเขตใหญ่ มีมาใหม่แล้ว เพียงแต่สูตรของนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ น่าจะเหมาะสมกับยุคสมัยนี้
ส่วนแนวทางที่นายนเวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย เสนอสูตร ส.ส.เข้ามาใหม่ เป็น 400 + 125 นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ในชั้นนี้คณะกรรมาธิการได้มีมติเสียงข้างมากไปแล้วว่า จะยืนยันตามร่างเดิม ที่คณะทำงานของนายสมบัติได้ยกร่างขึ้นมา แต่พอไปถึงการประชุมในสภาฯ สมาชิกต้องอภิปรายกันต่อว่า ร่างเดิมดีอย่างไร ร่างที่เสนอขอแปรญัตติมาใหม่ ดีอย่างไร พอถึงขั้นการลงมติ ก็ต้องลงคะแนนเสียงกันว่า ตกลงจะให้เป็นไปตามกรรมาธิการเสียงข้างมาก หรือจะเอาตามที่มีผู้แปรญัตติ ถ้าเกิดส.ส.เห็นว่าจะเอาตามที่มีการแปรญัตติก็ต้องถามต่อ และโหวตกัน ทีละประเด็นว่าจะเอาตามร่างของใคร เพราะมีการแปรญัตติออกมาหลายสูตร จากนั้นรอไว้ 15 วัน ก็มาลงมติในวาระ 3 ว่าจะประกาศใช้เป็นกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในที่สุดก็คงจะผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า คงต้องปล่อยให้ พรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคร่วมรัฐบาล ตีกันไปก่อน ฝ่ายค้านก็คอยดูและเตะขาไปด้วย แต่เชื่อว่าในที่สุดจะเกี้ยะเซียะกัน โดยผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือประชาธิปัตย์
** คุยกันไม่ได้ก็ปล่อยให้ตกไป
แหล่งข่าวจากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แจ้งว่า เรื่องการแก้ไขรธน. นั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวกับที่ประชุมว่าจะเป็นผู้พูดคุยทำความเข้าใจกับแกนนำพรรคร่วมร่วม กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เบื้องต้นไม่มีอะไรที่น่ากังวล เพราะมีเงื่อนไขที่ตกลงกันได้
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถควบคุมเสียงของพรรคร่วมที่เห็นต่างได้ ร่างแก้ไขรธน. ก็ต้องตกไป และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ตามเดิม
" หากแต่ละพรรคมีเสียงที่แตกต่าง ดังนั้นเป็นไปได้ว่า เสียงโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าสูตรใด ก็จะไม่ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของที่ประชุมเท่าที่มีอยู่ ดังนั้นร่างก็ต้องตกไป แล้วกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ตามเดิม ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์พร้อมยอมรับ ไม่ว่าเสียงของรัฐสภาจะออกมาในรูปแบบใด" แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนปัญหาที่ตอนนี้มีผู้เสนอสูตรต่างๆหลายสูตรนั้น นายชวน กล่าวว่า ที่จริงแล้วหลักเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทำได้จริง แต่ตนเคยพูดไว้ว่าควรจะพิจารณาทั้งฉบับ โดยมีคณะกรรมการดูแล พร้อมตรวจสอบตั้งแต่มาตรา 1 ถึงมาตราสุดท้าย ไม่ควรทำขยักขย่อน แก้นิดหน่อย โดยหลักในระยะไกล ควรมีคนที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ และแก้โดยให้มีผลใช้ในระยะต่อไป อย่าให้สภาชุดนั้นเป็นผู้มีผล ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาว่าใครได้ใครเสีย
"วันนี้เราก็เห็นชัดว่า เขาเถียงกันเรื่องปัญหาส่วนตัวเกือบทั้งนั้น ดังนั้นก็ควรนำทั้งฉบับมาดู และไม่ต้องรีบร้อนว่าเสร็จภายในกี่วัน ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนหลังมักจะเกิดจากใกล้ครบระยะเวลาแล้วก็ต้องเร่ง แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถ้าจำได้ ผู้ร่างสมัยนั้นก็ต้องเร่งให้ทันตามกำหนดเวลา เพราะว่ารัฐบาลได้ประกาศให้มีเลือกตั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ในระยะยาวรัฐธรรมนูญควรจะปรับปรุงแก้ไขให้เหลือเพียงไมกี่มาตรา เพราะยิ่งเขียนยาว ยิ่งมีปัญหา"
**กติกาที่แก้ไข ไม่ควรใช้กับสภาชุดนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากแก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้ง ไม่ควรจะมีผลต่อสภาผู้แทนชุดนี้ นายชวน กล่าวว่า เพราะถ้ามีผลทำให้มีส่วนได้เสีย ดุลยพินิจก็จะมีปัญหา อย่างวันนี้มีส่วนได้เสีย ก็จะเถียงกันอยู่
เมื่อถามย้ำว่าหมายความว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า ก็ไม่ควรนำรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขมาใช้ นายชวน กล่าวว่า ไม่ควรผูกพันส.ส.ในชุดขณะนั้น คือ ควรเป็นเรื่องที่ใช้ในโอกาสต่อไป พอถึงเวลานั้นก็ไม่ต้องเกี่ยวข้องว่าใครมีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ถ้ามีผล อย่างครั้งนี้ที่แก้แล้วมีผลต่อ ส.ส.ชุดนี้ พื้นที่ที่ตัดไปก็มีปัญหา ส.ส.ที่เคยมีอยู่ พอลดลงไปหนึ่งคนก็มีปัญหาส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มากก็น้อยเสมอ
** เผยแปรญัตติสูตร ส.ส.21 สูตร
น.ส.ผ่องศรี ธาราภุมิ ส.ส.ลพบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า กมธ.ได้สรุปผลการพิจารณาเกี่ยวกับ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190 และมาตรา 93-98 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ทำรายงานส่งถึง นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาโดยมีสมาชิกรัฐสภาขอแปรญัตติในทั้งสองเรื่องรวม 63 คน แบ่งเป็นส.ส. 17 คน และส.ว.46 คน
นางผ่องศรี กล่าวต่อว่า การแปรญัตติส่วนใหญ่ในมาตรา 190 ไม่ค่อยมีใครติดใจ โดยสาระหลักส่วนใหญ่จะกลับไปคล้ายรัฐธรรมนูญ 2550 โดยต้องออกกฎหมายลูก เพื่อกำหนดกรอบประเภทสัญญา และขั้นตอนของสนธิสัญญา
ขณะที่มาตรา 93-98 มีการแปรญัตติต่างกันออกไป แบ่งออกเป็น 21 สูตร อาทิ มี ส.ส.500 คนในสูตร 400+100 มีส.ส.525 คน ในสูตร 400+125 มีส.ส. 400 คน ในสูตร 300+100 และ 350+150 , 400+80 , 375+100 ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม กมธ.เสียงข้างมากมีความเห็นสนับสนุนสูตร 375+125 ตามที่ได้ลงมติไปแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับสมาชิกรัฐสภา ที่มีสิทธิสงวนคำแปรญญัติอภิปรายโน้มน้าวใน วาระที่ 2 และ รออีก 15 วัน ก่อนที่จะโหวตในวาระที่ 3 ต่อไป โดยนายชัย ได้แจ้งนัดหมายประชุมพิจารณาในวันที่ 25 ม.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า วิปรัฐบาลจะแก้ปัญหาความเห็นต่างในสูตรส.ส. อย่างไร นางผ่องศรี กล่าวว่า เป็นเรื่องของความเห็นต่าง ต้องคุยกันด้วยเหตุด้วยผล แต่สูตร 375+125 นั้น เป็นร่างที่นักวิชาการได้นำเสนอและผ่านการศึกษาทางวิชาการมาแล้ว อย่างไรก็ตาม อยู่ที่เหตุและผล และเป็นเรื่องเอกสิทธิ์ของสมาชิกในการตัดสิน
**"เทือก"มั่นใจแก้รธน.ฉลุย
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการหารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อหาข้อยุติ ในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งและจำนวนส.ส. ว่า เดิมทีตนได้นัดหมายในเวลา 18.00 น. วันที่ 25 ม.ค. แต่เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรจุวาระเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 25 ม.ค. เลยต้องเลี่อนการนัดหมายมาเป็นวันที่ 24 ม.ค. ก็คงจะได้พบปะพูดคุยไปพร้อมๆ กัน
อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยที่จะต้องไปกะเกณฑ์เอากับพรรคร่วมว่าต้องอย่างนั้น อย่างนี้ แต่จะไปบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์มีเหตุผลอย่างไร และฟังเหตุผลของฝ่ายอื่น ก็ลองคุยกันดู
ส่วนที่พรรคร่วมรัฐบาลมองว่า ไม่ว่าจะออกมาสูตรไหน พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เปรียบทั้งขึ้นทั้งล่องนั้น ไม่เป็นจริง คนพูดให้เสียหายไปเรื่อย พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยผ่านมาทุกรูปแบบแล้ว จะเป็นเขตเล็กเขตใหญ่ มีมาใหม่แล้ว เพียงแต่สูตรของนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ น่าจะเหมาะสมกับยุคสมัยนี้
ส่วนแนวทางที่นายนเวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย เสนอสูตร ส.ส.เข้ามาใหม่ เป็น 400 + 125 นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ในชั้นนี้คณะกรรมาธิการได้มีมติเสียงข้างมากไปแล้วว่า จะยืนยันตามร่างเดิม ที่คณะทำงานของนายสมบัติได้ยกร่างขึ้นมา แต่พอไปถึงการประชุมในสภาฯ สมาชิกต้องอภิปรายกันต่อว่า ร่างเดิมดีอย่างไร ร่างที่เสนอขอแปรญัตติมาใหม่ ดีอย่างไร พอถึงขั้นการลงมติ ก็ต้องลงคะแนนเสียงกันว่า ตกลงจะให้เป็นไปตามกรรมาธิการเสียงข้างมาก หรือจะเอาตามที่มีผู้แปรญัตติ ถ้าเกิดส.ส.เห็นว่าจะเอาตามที่มีการแปรญัตติก็ต้องถามต่อ และโหวตกัน ทีละประเด็นว่าจะเอาตามร่างของใคร เพราะมีการแปรญัตติออกมาหลายสูตร จากนั้นรอไว้ 15 วัน ก็มาลงมติในวาระ 3 ว่าจะประกาศใช้เป็นกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในที่สุดก็คงจะผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า คงต้องปล่อยให้ พรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคร่วมรัฐบาล ตีกันไปก่อน ฝ่ายค้านก็คอยดูและเตะขาไปด้วย แต่เชื่อว่าในที่สุดจะเกี้ยะเซียะกัน โดยผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือประชาธิปัตย์
** คุยกันไม่ได้ก็ปล่อยให้ตกไป
แหล่งข่าวจากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แจ้งว่า เรื่องการแก้ไขรธน. นั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวกับที่ประชุมว่าจะเป็นผู้พูดคุยทำความเข้าใจกับแกนนำพรรคร่วมร่วม กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เบื้องต้นไม่มีอะไรที่น่ากังวล เพราะมีเงื่อนไขที่ตกลงกันได้
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถควบคุมเสียงของพรรคร่วมที่เห็นต่างได้ ร่างแก้ไขรธน. ก็ต้องตกไป และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ตามเดิม
" หากแต่ละพรรคมีเสียงที่แตกต่าง ดังนั้นเป็นไปได้ว่า เสียงโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าสูตรใด ก็จะไม่ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของที่ประชุมเท่าที่มีอยู่ ดังนั้นร่างก็ต้องตกไป แล้วกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ตามเดิม ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์พร้อมยอมรับ ไม่ว่าเสียงของรัฐสภาจะออกมาในรูปแบบใด" แหล่งข่าวกล่าว