ASTVผู้จัดการรายวัน-ส่งออกปี 53 โตทะลุเป้า 28.1% มูลค่าทะลุ 1.95 แสนล้านเหรียญ หรือ 6.1 ล้านล้านบาท เกินดุลการค้า 1.29 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ดาหน้าส่งออกขึ้นยกแผง ตลาดทุกตลาดฟื้นตัว คาดปีนี้โตอีกไม่ต่ำกว่า 10% เป็นห่วงบาทแข็ง น้ำมันแพง เศรษฐกิจโลก ตัวการฉุด
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนธ.ค.2553 มีมูลค่า 17,373 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.8% หรือคิดในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 5.16 แสนล้านบาท ขยายตัว 7.2% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 16,077 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.46% หรือคิดเป็นมูลค่าเงินบาท 4.84 แสนล้านบาท ทำให้เดือนธ.ค.2553 ไทยเกินดุลการค้า 1,295 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 32,568 ล้านบาท
ส่วนยอดการส่งออกทั้งปี 2553 (ม.ค.-ธ.ค.) มีมูลค่ารวม 195,311.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.17% หรือคิดเป็นมูลค่าเงินบาทรวม 6.176 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.9% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวม 182,406 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 36.47% หรือคิดเป็นมูลค่าเงินบาท 5.839 ล้านล้านบาท ส่งผลให้เกินดุลการค้ารวม 12,905.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาท 337,033 ล้านบาท
“การส่งออกตลอดทั้งปี 2553 ถือว่าดีมาก ทำได้สูงกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 20% โดยเฉพาะในรูปแบบของเงินเหรียญสหรัฐที่ทำได้ถึง 28.1% ขณะที่มูลค่าเมื่อคิดเป็นเงินบาทก็ยังขยายตัว 18.9% โดยเป็นผลจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ฟื้นตัวมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับสต๊อกนำเข้าต่างประเทศลดลง ทำให้ผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันได้รับผลดีจากการเปิดเสรีการค้า ส่งผลให้การส่งออกสินค้าทั้งกลุ่มเกษตร และอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดหลัก ตลอดรอง และตลาดใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด”นางพรทิวากล่าว
สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญในเดือนธ.ค.2553 กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 23% ได้แก่ ข้าวเพิ่มขึ้น 46.7% หลังจากรัฐบาลเริ่มทยอยระบายสต๊อก ยางพาราเพิ่ม 39.3% อาหาร 20.4% แต่มันสำปะหลังลดลง 9.2% น้ำตาลลดลง 65.6% เนื่องจากผลผลิตในประเทศลดลงและความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 20% มีสินค้าสำคัญ ได้แก่ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก 37.8% ผลิตภัณฑ์ยาง 27.9% สิ่งทอ 19% เครื่องใช้ไฟฟ้า 17.6% รวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับที่เพิ่ม 154% เนื่องจากการส่งออกทองคำที่เพิ่มขึ้นถึง 770%
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญตลอดปี 2553 กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 26.5% เมื่อเทียบกับปี 2552 โดยข้าวเพิ่มขึ้น 5.8% ปริมาณ 8.9 ล้านตัน สูงกว่าเป้าหมาย 8.5 ล้านตัน หลังจากรัฐบาลเริ่มทยอยระบายสต๊อกในช่วงปลายปี ยางพาราเพิ่ม 83.4% อาหาร 14.4% มันสำปะหลังลดลง 42.2% น้ำตาล 19.9% ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกเพิ่มขึ้น 28.2% มีสินค้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 21.9% เครื่องใช้ไฟฟ้า 32.4% ยานยนต์ 55.2% เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก 36.2% ผลิตภัณฑ์ยาง 43.4% สิ่งทอ 19.2% อัญมณีและเครื่องประดับ 194%
ทางด้านตลาดส่งออกในเดือนธ.ค.2553 ขยายตัวทุกตลาด กลุ่มตลาดหลักขยายตัว 14.7% ได้แก่ สหรัฐฯ 12.1% สหภาพยุโรป 11.1% ญี่ปุ่น 30.2% อาเซียน 9.1% ตลาดรองขยายตัว 29.4% ได้แก่ ฮ่องกง 72.2% ไต้หวัน 31.9% เกาหลีใต้ 16.3% แคนาดา 10.6% แต่ออสเตรเลียลดลง 14.3% ตลาดใหม่ขยายตัว 16.4% ได้แก่ อินโดจีน 20.9% ตะวันออกกลาง 1.8% แอฟริกา 39.4% ลาตินอเมริกา 25.6% ยุโรปตะวันออก 3.7% เอเชียใต้ 26.7% และจีน 11.5%
ขณะที่ตลาดส่งออกทั้งปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดเช่นกัน กลุ่มตลาดหลักขยายตัว 28.4% ได้แก่ สหรัฐฯ 21.2% สหภาพยุโรป 19.7% ญี่ปุ่น 29.8% อาเซียน 38.6% ตลาดรองขยายตัว 26.7% ได้แก่ ฮ่องกง 38.5% ไต้หวัน 43.5% เกาหลีใต้ 28.1% แคนาดา 13.9% ออสเตรเลีย 12.1% ตลาดใหม่ขยายตัว 28.5% ได้แก่ อินโดจีน 31.2% ตะวันออกกลาง 11.5% แอฟริกา 6.6% ลาตินอเมริกา 70.5% ยุโรปตะวันออก 37.7% เอเชียใต้ 32.7% และจีน 33.2%
ส่วนการนำเข้าเดือนธ.ค.2553 มีการขยายตัวทุกกลุ่ม ยกเว้นอาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ ที่ลด 3.1% โดยสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 14.6% สินค้าทุน 13.3% วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 6.5% อุปโภคบริโภคเพิ่ม 21.8% ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง 17.4% ขณะที่การนำเข้าทั้งปี 2553 ในกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 27.3% สินค้าทุน 29.8% วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 44.4% อุปโภคบริโภคเพิ่ม 28.3% ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง 71.8% แต่อาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ ลดลง 8%
นางพรทิวากล่าวว่า การส่งออกในปี 2554 ตั้งเป้าหมายขยายตัว 10% โดยมีแผนที่จะเน้นการทำตลาดเชิงลึก และเปิดตลาดใหม่มาทดแทนตลาดเดิมที่อาจชะลอตัวลงไปบ้าง โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ การเคลื่อนย้ายของเงินทุนที่รวดเร็ว จนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน และค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้อีก รวมถึงราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น และความเปราะบางจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ในหลายประเทศมีแนวโน้มขยายตัวลดลงจากปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มความต้องการนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกที่สูงขึ้น หลังประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างสหรัฐฯ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง (QE2) อีก 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงอังกฤษ 2 แสนล้านปอนด์ และญี่ปุ่น 5 ล้านล้านเยน ซึ่งจะช่วยให้กำลังซื้อประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ ก็จะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนธ.ค.2553 มีมูลค่า 17,373 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.8% หรือคิดในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 5.16 แสนล้านบาท ขยายตัว 7.2% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 16,077 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.46% หรือคิดเป็นมูลค่าเงินบาท 4.84 แสนล้านบาท ทำให้เดือนธ.ค.2553 ไทยเกินดุลการค้า 1,295 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 32,568 ล้านบาท
ส่วนยอดการส่งออกทั้งปี 2553 (ม.ค.-ธ.ค.) มีมูลค่ารวม 195,311.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.17% หรือคิดเป็นมูลค่าเงินบาทรวม 6.176 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.9% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวม 182,406 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 36.47% หรือคิดเป็นมูลค่าเงินบาท 5.839 ล้านล้านบาท ส่งผลให้เกินดุลการค้ารวม 12,905.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาท 337,033 ล้านบาท
“การส่งออกตลอดทั้งปี 2553 ถือว่าดีมาก ทำได้สูงกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 20% โดยเฉพาะในรูปแบบของเงินเหรียญสหรัฐที่ทำได้ถึง 28.1% ขณะที่มูลค่าเมื่อคิดเป็นเงินบาทก็ยังขยายตัว 18.9% โดยเป็นผลจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ฟื้นตัวมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับสต๊อกนำเข้าต่างประเทศลดลง ทำให้ผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันได้รับผลดีจากการเปิดเสรีการค้า ส่งผลให้การส่งออกสินค้าทั้งกลุ่มเกษตร และอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดหลัก ตลอดรอง และตลาดใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด”นางพรทิวากล่าว
สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญในเดือนธ.ค.2553 กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 23% ได้แก่ ข้าวเพิ่มขึ้น 46.7% หลังจากรัฐบาลเริ่มทยอยระบายสต๊อก ยางพาราเพิ่ม 39.3% อาหาร 20.4% แต่มันสำปะหลังลดลง 9.2% น้ำตาลลดลง 65.6% เนื่องจากผลผลิตในประเทศลดลงและความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 20% มีสินค้าสำคัญ ได้แก่ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก 37.8% ผลิตภัณฑ์ยาง 27.9% สิ่งทอ 19% เครื่องใช้ไฟฟ้า 17.6% รวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับที่เพิ่ม 154% เนื่องจากการส่งออกทองคำที่เพิ่มขึ้นถึง 770%
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญตลอดปี 2553 กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 26.5% เมื่อเทียบกับปี 2552 โดยข้าวเพิ่มขึ้น 5.8% ปริมาณ 8.9 ล้านตัน สูงกว่าเป้าหมาย 8.5 ล้านตัน หลังจากรัฐบาลเริ่มทยอยระบายสต๊อกในช่วงปลายปี ยางพาราเพิ่ม 83.4% อาหาร 14.4% มันสำปะหลังลดลง 42.2% น้ำตาล 19.9% ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกเพิ่มขึ้น 28.2% มีสินค้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 21.9% เครื่องใช้ไฟฟ้า 32.4% ยานยนต์ 55.2% เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก 36.2% ผลิตภัณฑ์ยาง 43.4% สิ่งทอ 19.2% อัญมณีและเครื่องประดับ 194%
ทางด้านตลาดส่งออกในเดือนธ.ค.2553 ขยายตัวทุกตลาด กลุ่มตลาดหลักขยายตัว 14.7% ได้แก่ สหรัฐฯ 12.1% สหภาพยุโรป 11.1% ญี่ปุ่น 30.2% อาเซียน 9.1% ตลาดรองขยายตัว 29.4% ได้แก่ ฮ่องกง 72.2% ไต้หวัน 31.9% เกาหลีใต้ 16.3% แคนาดา 10.6% แต่ออสเตรเลียลดลง 14.3% ตลาดใหม่ขยายตัว 16.4% ได้แก่ อินโดจีน 20.9% ตะวันออกกลาง 1.8% แอฟริกา 39.4% ลาตินอเมริกา 25.6% ยุโรปตะวันออก 3.7% เอเชียใต้ 26.7% และจีน 11.5%
ขณะที่ตลาดส่งออกทั้งปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดเช่นกัน กลุ่มตลาดหลักขยายตัว 28.4% ได้แก่ สหรัฐฯ 21.2% สหภาพยุโรป 19.7% ญี่ปุ่น 29.8% อาเซียน 38.6% ตลาดรองขยายตัว 26.7% ได้แก่ ฮ่องกง 38.5% ไต้หวัน 43.5% เกาหลีใต้ 28.1% แคนาดา 13.9% ออสเตรเลีย 12.1% ตลาดใหม่ขยายตัว 28.5% ได้แก่ อินโดจีน 31.2% ตะวันออกกลาง 11.5% แอฟริกา 6.6% ลาตินอเมริกา 70.5% ยุโรปตะวันออก 37.7% เอเชียใต้ 32.7% และจีน 33.2%
ส่วนการนำเข้าเดือนธ.ค.2553 มีการขยายตัวทุกกลุ่ม ยกเว้นอาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ ที่ลด 3.1% โดยสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 14.6% สินค้าทุน 13.3% วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 6.5% อุปโภคบริโภคเพิ่ม 21.8% ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง 17.4% ขณะที่การนำเข้าทั้งปี 2553 ในกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 27.3% สินค้าทุน 29.8% วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 44.4% อุปโภคบริโภคเพิ่ม 28.3% ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง 71.8% แต่อาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ ลดลง 8%
นางพรทิวากล่าวว่า การส่งออกในปี 2554 ตั้งเป้าหมายขยายตัว 10% โดยมีแผนที่จะเน้นการทำตลาดเชิงลึก และเปิดตลาดใหม่มาทดแทนตลาดเดิมที่อาจชะลอตัวลงไปบ้าง โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ การเคลื่อนย้ายของเงินทุนที่รวดเร็ว จนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน และค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้อีก รวมถึงราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น และความเปราะบางจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ในหลายประเทศมีแนวโน้มขยายตัวลดลงจากปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มความต้องการนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกที่สูงขึ้น หลังประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างสหรัฐฯ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง (QE2) อีก 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงอังกฤษ 2 แสนล้านปอนด์ และญี่ปุ่น 5 ล้านล้านเยน ซึ่งจะช่วยให้กำลังซื้อประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ ก็จะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย