ASTVผู้จัดการรายวัน- เรกูเลเตอร์ส่งสัญญาณให้กฟผ.ช่วยแบกภาระนโยบายประชาวิวัฒน์กรณีเกลี่ยค่าไฟมาอุ้มรายย่อยที่ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน รับยังไม่เคาะว่าจะคิดเฉพาะภาคอุตฯหรือเกลี่ยจากผู้ใช้ไฟเกิน 90 หน่วยต่อเดือนที่เหลือทั้งหมดแม้ก.พลังงานส่งซิกให้ภาคอุตสาหกรรมรับแทนเหตุยังต้องดูว่าภาคอุตสาหกรรมเหมารวมทุกธุรกิจหรือไม่
นายกวิน ทังสุภานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกุเลเตอร์) เปิดเผยถึง กรณีนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลที่จะดูแลค่าไฟฟ้าถาวรของผู้ใช้ไฟรายย่อยไม่เกิน 90หน่วยต่อเดือนแต่จะเกลี่ยค่าไฟส่วนอื่นๆมาแทนซึ่งกระทรวงพลังงานส่งสัญญาณไปที่ภาคอุตสาหกรรมว่า
ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดหากเป็นภาคอุตสาหกรรมจะต้องมาดูว่าจะยกเว้นธุรกิจใดเป็นพิเศษหรือไม่หรือจะเหมารวมทั้งหมด อย่างไรก็ตามไม่ว่าท้ายสุดจะเกลี่ยจากผู้ใช้ไฟส่วนใดหากอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที)งวดพ.ค.-ส.ค.54 มีทิศทางขาขึ้นก็อาจบริหารเช่นที่ผ่านมาได้โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)รับภาระไว้ก่อนหรือรับภาระส่วนหนึ่งที่เหลือเมื่อค่าไฟลดก็จะไม่ปรับลดให้
“คงจะต้องดูค่าเอฟทีในงวดพ.ค.-ส.ค.นี้ว่าจะมีการปรับขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเกลี่ยจากผู้ใช้ไฟทั้งหมดก็จะต้องขึ้นค่าเอฟที 10สตางค์ต่อหน่วยเข้าไปสมทบแต่ถ้าเกลี่ยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมซึ่งหากเหมารวมทุกธุรกิจคิดเป็นการใช้ไฟ 60% ของการใช้ไฟรวมก็ต้องดูว่าจะยกเว้นบางสาขาประเภทหรือไม่ทำให้ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขส่วนนี้ได้ ที่ผ่านมากฟผ.เองเคยระบุว่าสามารถแบกรับภาระค่าไฟได้ไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาทหากจำเป็นก็น่าจะช่วยได้ซึ่งหน้าที่เรกูเลเตอร์คือต้องดูแลผู้ใช้ไฟขณะเดียวกันก็ต้องดูแลผู้ผลิตเช่นกัน”นายกวินกล่าว
สำหรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ ขณะนี้ สกพ.อยู่ระหว่างพิจารณา คาดจะเสร็จปลายปีนี้ ซึ่งโครงสร้างใหม่จะโปร่งใส และตอบคำถามที่มาที่ไปของค่าไฟฟ้าได้ชัดเจน
นายกวิน ยังกล่าวถึงความคืบหน้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าในการสัมมนา”กองทุนพัฒนาไฟฟ้า พัฒนาพลังงาน พัฒนาบ้านเรา” วานนี้(17 ม.ค.) ว่า ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน ได้กำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้า วงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี จากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า หรือโรงไฟฟ้า เพื่อนำๆ ไปดูแลพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และกระจายไฟฟ้าอย่างทั่วถึง โดยจะมีกรรมการที่คัดเลือกจากตัวแทนชุมชนท้องถิ่นและตัวแทนจากภาคราชการในการตัดสินใจใช้เงินกองทุน
นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต รองเลขาธิการเลกุเลเตอร์กล่าวว่า เงินที่เก็บเข้ากองทุนฯจะมาจาก 4 แหล่งคือ เงินที่ได้จากผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าโดยจะหักจากอัตราค่าบริการ,เงินค่าปรับ ,เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ และดอกผลหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่เกิดจากเงินกองทุนโดยมี
นายกวิน ทังสุภานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกุเลเตอร์) เปิดเผยถึง กรณีนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลที่จะดูแลค่าไฟฟ้าถาวรของผู้ใช้ไฟรายย่อยไม่เกิน 90หน่วยต่อเดือนแต่จะเกลี่ยค่าไฟส่วนอื่นๆมาแทนซึ่งกระทรวงพลังงานส่งสัญญาณไปที่ภาคอุตสาหกรรมว่า
ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดหากเป็นภาคอุตสาหกรรมจะต้องมาดูว่าจะยกเว้นธุรกิจใดเป็นพิเศษหรือไม่หรือจะเหมารวมทั้งหมด อย่างไรก็ตามไม่ว่าท้ายสุดจะเกลี่ยจากผู้ใช้ไฟส่วนใดหากอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที)งวดพ.ค.-ส.ค.54 มีทิศทางขาขึ้นก็อาจบริหารเช่นที่ผ่านมาได้โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)รับภาระไว้ก่อนหรือรับภาระส่วนหนึ่งที่เหลือเมื่อค่าไฟลดก็จะไม่ปรับลดให้
“คงจะต้องดูค่าเอฟทีในงวดพ.ค.-ส.ค.นี้ว่าจะมีการปรับขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเกลี่ยจากผู้ใช้ไฟทั้งหมดก็จะต้องขึ้นค่าเอฟที 10สตางค์ต่อหน่วยเข้าไปสมทบแต่ถ้าเกลี่ยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมซึ่งหากเหมารวมทุกธุรกิจคิดเป็นการใช้ไฟ 60% ของการใช้ไฟรวมก็ต้องดูว่าจะยกเว้นบางสาขาประเภทหรือไม่ทำให้ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขส่วนนี้ได้ ที่ผ่านมากฟผ.เองเคยระบุว่าสามารถแบกรับภาระค่าไฟได้ไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาทหากจำเป็นก็น่าจะช่วยได้ซึ่งหน้าที่เรกูเลเตอร์คือต้องดูแลผู้ใช้ไฟขณะเดียวกันก็ต้องดูแลผู้ผลิตเช่นกัน”นายกวินกล่าว
สำหรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ ขณะนี้ สกพ.อยู่ระหว่างพิจารณา คาดจะเสร็จปลายปีนี้ ซึ่งโครงสร้างใหม่จะโปร่งใส และตอบคำถามที่มาที่ไปของค่าไฟฟ้าได้ชัดเจน
นายกวิน ยังกล่าวถึงความคืบหน้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าในการสัมมนา”กองทุนพัฒนาไฟฟ้า พัฒนาพลังงาน พัฒนาบ้านเรา” วานนี้(17 ม.ค.) ว่า ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน ได้กำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้า วงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี จากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า หรือโรงไฟฟ้า เพื่อนำๆ ไปดูแลพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และกระจายไฟฟ้าอย่างทั่วถึง โดยจะมีกรรมการที่คัดเลือกจากตัวแทนชุมชนท้องถิ่นและตัวแทนจากภาคราชการในการตัดสินใจใช้เงินกองทุน
นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต รองเลขาธิการเลกุเลเตอร์กล่าวว่า เงินที่เก็บเข้ากองทุนฯจะมาจาก 4 แหล่งคือ เงินที่ได้จากผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าโดยจะหักจากอัตราค่าบริการ,เงินค่าปรับ ,เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ และดอกผลหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่เกิดจากเงินกองทุนโดยมี