ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (29 มี.ค.) มีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยในช่วงการหารือ นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้อภิปรายถึงการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับตัวแทนกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่าในการเจรจานั้น รัฐบาลถือว่าตัวแทนในการเจรจาที่เป็นตัวจริง แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ตัวจริง เพราะคนที่บัญชาการยังอยู่ในต่างประเทศ
นอกจากนี้ ตนเห็นว่าประเด็นในการเจรจาไม่ควรมีแต่เรื่องการยุบสภาเท่านั้นเพราะมิติปัญหาของสังคม มีกว้างกว่านั้น อีกทั้งไม่เชื่อว่าการเจรจาจะสามารถแก้ปัญหาได้ และการยุบสภาไม่ใช่ทางออกของบ้านเมือง แต่ควรให้มีการปฏิรูปบ้านเมืองเกิดขึ้นก่อน
พลเรือเอกสุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว. สรรหา กล่าวสนับสนุนให้การเจรจาดำเนินต่อไป เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศ แต่เห็นว่าจุดยืนของแกนนำเสื้อแดงเปลี่ยนแปลงตลอด เริ่มแรกจะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อมาก็เป็นการยุบสภา ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาล อดทน อดกลั้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบ้านเมือง
นส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยว่า การเจรจาเป็นทางออกของบ้านเมือง แต่การเจรจาเพื่อนำไปสู่การยุบสภา ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะที่สำคัญคือต้องพิจารณาว่า ผลพวงจากการยุบสภาจะเป็นอย่างไร และรับประกันได้หรือไม่ว่าปัญหาจะยุติด้วยการยุบสภา
นอกจากนี้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะใน จ.เพชรบุรี ยังไม่อยากให้รัฐบาลยุบสภา ทั้งนี้เห็นว่าสิ่งแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงและรัฐบาลจะต้องหาทางออกร่วมกันให้ได้ก่อน คือ ถ้าการยุบสภาเกิดขึ้นแน่ ก็ต้องกำหนดว่าเมื่อไรจึงจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพราะเรื่องนี้ต้องให้โอกาส ให้เวลารัฐบาล ขณะที่นายกรัฐมนตรี ก็ต้องตอบให้ชัดว่า จะยุบสภาเมื่อไรแน่
**ต้องปฏิรูปประเทศชาติทั้วงระบบ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา กล่าวว่า การเจรจาที่เกิดขึ้นไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร เชื่อว่าไม่ใช่จุดจบของความขัดแย้งในสังคมไทย ดังนั้นจึงอยากฝากไปยังรัฐบาลว่า ไม่ว่าจะยุบสภาหรือไม่ อยากให้มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศขึ้นมา เพื่อหาทางออกให้ประเทศชาติ ซึ่งเรื่องนี้ก็อยู่ในนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว เพื่อจัดการวางระบบการบริหารประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการบริหารงานของรัฐบาลก็ผ่านมา 1 ปีกว่าแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอะไรในเรื่องนี้เลย
ส่วนการยุติปัญหาทางการเมืองที่ล้มเหลว อยากฝากรัฐบาลเรื่องเจรจาว่า หากจะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าของการชุมนุมก็ทำไป จะไม่ยุบสภา ก็เป็นสิทธิของท่าน แต่อย่ากลับมาบริหารประเทศเหมือนประเทศไม่มีวิกฤต อย่าทำเหมือนที่ผ่านมา จะต้องดำเนินการที่แตกต่างไปจากเดิม
**แนะใช้สื่อรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง
ด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การเจรจาจะต้องไม่พูดเพียงเรื่องการยุบสภา แต่ต้องพูดว่า หลังจากนี้ปัญหาต่างๆ จะจบอย่างไร ทั้งเรื่องการพูดล่วงละเมิดสถาบันฯ การโจมตีประธานองคมนตรี การยิงระเบิดหลายจุด ทั้งระเบิดเอ็ม 79 ระเบิดอาร์พีจี แม้จะอ้างว่า ตัวเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่อย่าลืมว่ามีขบวนการที่ร่วมมือกับคนเสื้อแดงดำเนินการอยู่
ดังนั้นรัฐบาลจะทำอย่างไร และการยิงระเบิด จะมีการหยุดยั้งได้อย่างไร ซึ่งตนเห็นว่า รัฐบาล ควรใช้สื่อให้ชัดเจนในการเผยแพร่ข้อเท็จจริง เพราะขณะนี้กำลังมีขบวนการล้างสมองอยู่ มวลชนกำลังถูกล้างสมอง รัฐบาลจึงต้องใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ ก่อนการยุบสภาจะต้องดำเนินการในกระบวนการประชาธิปไตยอย่างไร จะหยุดยั้งวิดีโอลิงก์ และวิทยุชุมชนที่ออกมาปลุกปั่นได้อย่างไร ซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ประกาศกฎหมายที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ความมั่นคง 1 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ประกอบวิทยุ กระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เพื่อควบคุมการใช้สื่อ
**โวยเรื่องส่งทหารมาคุ้มกันรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา ได้เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล จำนวน 9 หน้า มาแจกจ่ายแก่ ส.ว. และสื่อมวลชน กรณีที่รัฐบาลสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร เข้ามารักษาการณ์บริเวณรัฐสภา และบริเวณโดยรอบรัฐสภา และใช้ลวดหนาม และแท่งคอนกรีต ปิดถนนปิดกั้นถนน 8 สาย ตั้งแต่บ่ายวันที่ 22 มี.ค. ถึงเย็นวันที่ 25 มี.ค. โดยระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 เพราะคุกคามต่อการทำหน้าที่สมาชิกรัฐสภา รัฐบาลวิตกไปเองกับการที่ผู้ชุมนุม จะเดินทางมาปิดล้อมรัฐสภา ขณะที่เหตุการณ์ลักษณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 พรรคประชาธิปัตย์ และส.ว.บางส่วน ที่วันนี้มาเรียกร้องให้มีการคงกำลังตรวจทหารไว้ต่อไป กลับไม่สะทกสะท้อนที่จะเข้าร่วมประชุม จึงไม่แน่ใจว่า ท่านทั้งหลายยังมีหัวใจเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ที่เห็นอำนาจนิติบัญญัติถูกฝ่ายบริหารเข้าย่ำยี และหากเทียบเคียงกรณีเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์ตอนที่เป็นฝ่ายค้าน เคยเรียกร้องให้มีการยุบสภา แต่คราวนี้กลับไม่สนว่า กระทำการทำลายระบอบประชาธิปไตย เพียงเพราะต้องการรักษาอำนาจไว้ให้ยืนยาวที่สุด
เอกสารระบุว่า การห้ามบุคคลทั่วไป รวมถึง ส.ส. ส.ว. เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวยังมิชอบ เพราะทำโดยพลการ ก่อนที่ครม.จะให้ความเห็นชอบตาม มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และยังเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถมาทำหน้าที่ได้ และการนำเครื่องกีดขวางมาวางกั้น ยังอยู่ในบริเวณพระราชวัง จึงอาจปิดกั้นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจึงเป็นการกระทำไม่สมควรยิ่ง ละเมิดพระราชอำนาจและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
"เพื่อให้การกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย สมควรแก่เหตุและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญในอนาคต ขณะเดียวกันก็สามารถเยียวยาเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ครม. จึงควรมีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ ในกรณีที่มีการออกประกาศ 2 ฉบับ ที่ครอบคลุมพื้นที่ของพระที่นั่งต่างๆ อันเป็นการไม่บังควร และปิดกั้นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน และมีหนังสือขอโทษต่อรัฐสภา ที่ใช้อำนาจฝ่ายบริหารละเมิดอำนาจนิติบัญญัติจนทำให้สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างอิสระ
นอกจากนี้ ต้องเร่งถอนกำลังทหาร ตำรวจ เครื่องกีดขวางออกให้หมด ในอนาคตหากจะมีกรณีที่ฝ่ายบริหารจะดำเนินการใดๆ ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ จะต้องเป็นเหตุที่ฝ่ายนิติบัญญัติร้องขอฝ่ายบริหาร หรือได้รับอนุญาตจากฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น และในกรณีที่การดำเนินการเกิดขึ้นแล้วและเข้าข่ายผิดกฎหมาย รัฐบาลต้องยินยอมให้มีการดำเนินคดีโดยเร็ว ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรมเด็ดขาด" เอกสาร ระบุ
นอกจากนี้ ตนเห็นว่าประเด็นในการเจรจาไม่ควรมีแต่เรื่องการยุบสภาเท่านั้นเพราะมิติปัญหาของสังคม มีกว้างกว่านั้น อีกทั้งไม่เชื่อว่าการเจรจาจะสามารถแก้ปัญหาได้ และการยุบสภาไม่ใช่ทางออกของบ้านเมือง แต่ควรให้มีการปฏิรูปบ้านเมืองเกิดขึ้นก่อน
พลเรือเอกสุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว. สรรหา กล่าวสนับสนุนให้การเจรจาดำเนินต่อไป เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศ แต่เห็นว่าจุดยืนของแกนนำเสื้อแดงเปลี่ยนแปลงตลอด เริ่มแรกจะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อมาก็เป็นการยุบสภา ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาล อดทน อดกลั้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบ้านเมือง
นส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยว่า การเจรจาเป็นทางออกของบ้านเมือง แต่การเจรจาเพื่อนำไปสู่การยุบสภา ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะที่สำคัญคือต้องพิจารณาว่า ผลพวงจากการยุบสภาจะเป็นอย่างไร และรับประกันได้หรือไม่ว่าปัญหาจะยุติด้วยการยุบสภา
นอกจากนี้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะใน จ.เพชรบุรี ยังไม่อยากให้รัฐบาลยุบสภา ทั้งนี้เห็นว่าสิ่งแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงและรัฐบาลจะต้องหาทางออกร่วมกันให้ได้ก่อน คือ ถ้าการยุบสภาเกิดขึ้นแน่ ก็ต้องกำหนดว่าเมื่อไรจึงจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพราะเรื่องนี้ต้องให้โอกาส ให้เวลารัฐบาล ขณะที่นายกรัฐมนตรี ก็ต้องตอบให้ชัดว่า จะยุบสภาเมื่อไรแน่
**ต้องปฏิรูปประเทศชาติทั้วงระบบ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา กล่าวว่า การเจรจาที่เกิดขึ้นไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร เชื่อว่าไม่ใช่จุดจบของความขัดแย้งในสังคมไทย ดังนั้นจึงอยากฝากไปยังรัฐบาลว่า ไม่ว่าจะยุบสภาหรือไม่ อยากให้มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศขึ้นมา เพื่อหาทางออกให้ประเทศชาติ ซึ่งเรื่องนี้ก็อยู่ในนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว เพื่อจัดการวางระบบการบริหารประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการบริหารงานของรัฐบาลก็ผ่านมา 1 ปีกว่าแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอะไรในเรื่องนี้เลย
ส่วนการยุติปัญหาทางการเมืองที่ล้มเหลว อยากฝากรัฐบาลเรื่องเจรจาว่า หากจะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าของการชุมนุมก็ทำไป จะไม่ยุบสภา ก็เป็นสิทธิของท่าน แต่อย่ากลับมาบริหารประเทศเหมือนประเทศไม่มีวิกฤต อย่าทำเหมือนที่ผ่านมา จะต้องดำเนินการที่แตกต่างไปจากเดิม
**แนะใช้สื่อรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง
ด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การเจรจาจะต้องไม่พูดเพียงเรื่องการยุบสภา แต่ต้องพูดว่า หลังจากนี้ปัญหาต่างๆ จะจบอย่างไร ทั้งเรื่องการพูดล่วงละเมิดสถาบันฯ การโจมตีประธานองคมนตรี การยิงระเบิดหลายจุด ทั้งระเบิดเอ็ม 79 ระเบิดอาร์พีจี แม้จะอ้างว่า ตัวเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่อย่าลืมว่ามีขบวนการที่ร่วมมือกับคนเสื้อแดงดำเนินการอยู่
ดังนั้นรัฐบาลจะทำอย่างไร และการยิงระเบิด จะมีการหยุดยั้งได้อย่างไร ซึ่งตนเห็นว่า รัฐบาล ควรใช้สื่อให้ชัดเจนในการเผยแพร่ข้อเท็จจริง เพราะขณะนี้กำลังมีขบวนการล้างสมองอยู่ มวลชนกำลังถูกล้างสมอง รัฐบาลจึงต้องใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ ก่อนการยุบสภาจะต้องดำเนินการในกระบวนการประชาธิปไตยอย่างไร จะหยุดยั้งวิดีโอลิงก์ และวิทยุชุมชนที่ออกมาปลุกปั่นได้อย่างไร ซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ประกาศกฎหมายที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ความมั่นคง 1 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ประกอบวิทยุ กระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เพื่อควบคุมการใช้สื่อ
**โวยเรื่องส่งทหารมาคุ้มกันรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา ได้เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล จำนวน 9 หน้า มาแจกจ่ายแก่ ส.ว. และสื่อมวลชน กรณีที่รัฐบาลสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร เข้ามารักษาการณ์บริเวณรัฐสภา และบริเวณโดยรอบรัฐสภา และใช้ลวดหนาม และแท่งคอนกรีต ปิดถนนปิดกั้นถนน 8 สาย ตั้งแต่บ่ายวันที่ 22 มี.ค. ถึงเย็นวันที่ 25 มี.ค. โดยระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 เพราะคุกคามต่อการทำหน้าที่สมาชิกรัฐสภา รัฐบาลวิตกไปเองกับการที่ผู้ชุมนุม จะเดินทางมาปิดล้อมรัฐสภา ขณะที่เหตุการณ์ลักษณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 พรรคประชาธิปัตย์ และส.ว.บางส่วน ที่วันนี้มาเรียกร้องให้มีการคงกำลังตรวจทหารไว้ต่อไป กลับไม่สะทกสะท้อนที่จะเข้าร่วมประชุม จึงไม่แน่ใจว่า ท่านทั้งหลายยังมีหัวใจเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ที่เห็นอำนาจนิติบัญญัติถูกฝ่ายบริหารเข้าย่ำยี และหากเทียบเคียงกรณีเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์ตอนที่เป็นฝ่ายค้าน เคยเรียกร้องให้มีการยุบสภา แต่คราวนี้กลับไม่สนว่า กระทำการทำลายระบอบประชาธิปไตย เพียงเพราะต้องการรักษาอำนาจไว้ให้ยืนยาวที่สุด
เอกสารระบุว่า การห้ามบุคคลทั่วไป รวมถึง ส.ส. ส.ว. เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวยังมิชอบ เพราะทำโดยพลการ ก่อนที่ครม.จะให้ความเห็นชอบตาม มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และยังเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถมาทำหน้าที่ได้ และการนำเครื่องกีดขวางมาวางกั้น ยังอยู่ในบริเวณพระราชวัง จึงอาจปิดกั้นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจึงเป็นการกระทำไม่สมควรยิ่ง ละเมิดพระราชอำนาจและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
"เพื่อให้การกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย สมควรแก่เหตุและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญในอนาคต ขณะเดียวกันก็สามารถเยียวยาเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ครม. จึงควรมีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ ในกรณีที่มีการออกประกาศ 2 ฉบับ ที่ครอบคลุมพื้นที่ของพระที่นั่งต่างๆ อันเป็นการไม่บังควร และปิดกั้นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน และมีหนังสือขอโทษต่อรัฐสภา ที่ใช้อำนาจฝ่ายบริหารละเมิดอำนาจนิติบัญญัติจนทำให้สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างอิสระ
นอกจากนี้ ต้องเร่งถอนกำลังทหาร ตำรวจ เครื่องกีดขวางออกให้หมด ในอนาคตหากจะมีกรณีที่ฝ่ายบริหารจะดำเนินการใดๆ ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ จะต้องเป็นเหตุที่ฝ่ายนิติบัญญัติร้องขอฝ่ายบริหาร หรือได้รับอนุญาตจากฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น และในกรณีที่การดำเนินการเกิดขึ้นแล้วและเข้าข่ายผิดกฎหมาย รัฐบาลต้องยินยอมให้มีการดำเนินคดีโดยเร็ว ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรมเด็ดขาด" เอกสาร ระบุ