จริง ๆ แล้วข้อเสนอของผมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในข้อ 4
78 ปีที่รอคอย “ประกาศเป็นผู้นำในการปฏิรูปสังคมไทยในทุกด้าน โดยอาจจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง รวบรวมปัญหาขึ้นมาจัดลำดับความสำคัญ กำหนดระยะเวลาทำงาน...” ไม่ใช่อะไรใหม่เลย มาจากข้อเสนอของรัฐบาลชุดนี้และนายกรัฐมนตรีคนนี้เองนั่นแหละ
“ปฏิรูปการเมือง : โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทย รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง”
(คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ข้อ 1.1.3 วันที่ 30 ธันวาคม 2551)
“หน้าที่เบื้องต้นของผม คือ การยุติการเมืองที่ล้มเหลว”
(คำปราศรัยแรกของนายกรัฐมนตรีหลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 17 ธันวาคม 2551)
ผมเขียนบทความสนับสนุนท่านนายกฯ ในเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2551 ด่านแรกของอภิสิทธิ์ จากนั้นก็เขียนทวงถามอีกครั้งโดยเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปี 2537 ว่าวันนี้ท่านนายกฯควรจะต้องเร่งจัดตั้ง คพป.ภาค 2 คพป.ภาค 2 ทำเสียก่อนจะไม่มีโอกาสทำ! ทำเสียก่อนจะไม่มีโอกาสได้ทำ ผมทิ้งท้ายไว้ด้วยในทำนองว่าถ้าตั้งเสียแต่วันแต่พรุ่ง ภายในเวลาก่อนสิ้นปี 2552 รายงานจาก คพป.ภาค 2 จะเสร็จสมบูรณ์ แม้ไม่ง่ายที่จะหาใครมาทำในสภาวะทางการเมืองแบบนี้ แม้ไม่ง่ายที่จะให้ทุกฝ่ายยอมรับ แต่ท่านนายกฯก็ต้องรีบทำในขณะที่เครดิตทางการเมืองเหลืออยู่
ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา ผมก็ได้ยื่นกระทู้ด่วนถามท่านนายกฯเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552
รวมทั้งเมื่อมีโอกาสพบท่านนายกฯ ท่านรัฐมนตรีบางท่าน และทีมงานวงในในช่วงนั้น ก็ไม่ละเว้นที่จะทวงถาม
แต่คณะกรรมการตามนโยบายของรัฐบาลข้อ 1.1.3 ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อ 1 ที่เขียนไว้ว่า “นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก” ก็ไม่เกิดขึ้นจนแล้วจนรอด
ทั้งๆ ที่เวลาผ่านไป 1 ปี 3 เดือนแล้ว !
เกิดปัญหามาบตาพุดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ท่านนายกฯตั้งท่านอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ แต่เรื่องตามนโยบายข้อ 1.1.3 สำคัญกว่าร้อยเท่าพันทวีท่านนายกฯปล่อยปละละเลยไปเสียเฉยๆ เสียเวลาไปกว่า 1 ปี
ท่านนายกฯอาจจะบอกว่าหาคนที่ทุกฝ่ายยอมรับไม่ได้ ก็จริง แต่หากจะรอให้มีคนที่ทุกฝ่ายยอมรับจริงๆ ชาตินี้ก็คงตั้งไม่ได้
ผมไม่ได้บอกว่าตั้งเป็นท่านอานันท์ ปันยารชุน หรืออาจารย์ประเวศ วะสี เพราะท่านนายกฯอาจจะตัดสินใจเลือกท่านชวน หลีกภัยก็ได้ ซึ่งผมก็เชื่อว่าจะมีคนยอมรับไม่น้อยเช่นกัน อันที่จริง ถ้าจะตั้งอดีตนายกรัฐมนตรีสัก 4 คนให้เสมือนเป็นตัวแทนกลุ่มความคิด และตัวแทนรัฐบาล ให้เป็นประธานร่วม ก็พอจะไปได้ นี่เป็นเพียงตัวอย่าง ท่านนายกฯอาจจะคิดหาหนทางดีกว่านี้ได้
นี่คือสถานการณ์สงคราม!
ม็อบเสื้อแดงรอบนี้จะจบลงเมื่อไร จบลงอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับว่าสงครามครั้งนี้นอกจากยังไม่จบแล้ว อาจจะเพิ่งเริ่มต้นเปิดหน้าใหม่เสียด้วยซ้ำ วันนี้พวกเขายังมีจุดอ่อนมหาศาล ทั้งความเป็นเอกภาพในหมู่แกนนำ ทั้งการแบกน้ำหนักนักโทษหนีคดีอย่างนายทักษิณ ชินวัตร ทั้งการที่มวลชนหลักจำนวนหนึ่งยังเป็นมวลชนจัดตั้งในลักษณะจัดหาจัดจ้างผ่านระบบหัวคะแนนของการเลือกตั้ง หากท่านนายกฯไม่เปิดเกมรุกกลับในช่วงนี้สถานการณ์ข้างหน้าจะหนักหนาสาหัส
อย่าลืมว่าคนเสื้อเหลืองก็ต้องการการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ด้วยเช่นกัน
ดังที่พวกเขาเสนอออกมาในนามคำ “การเมืองใหม่” !
สังคมไทยจะปรองดองกันได้ สมานฉันท์กันได้ อย่างแท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่แค่ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่เอาพวกนายทักษิณ ชินวัตรเข้ามาแก้ไขกฎกติกาออกกฎหมายแก้ผิดให้เป็นถูก แต่ก็ไม่ใช่บริหารประเทศไปตามปกติ แต่จะต้องเร่งนับ 1 นับ 2 ในการออกแบบสังคมใหม่ให้อยู่ร่วมกันได้ระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศนี้มาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยจะต้องมองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป แต่จะต้องมองว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อนคือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงรอบนี้ภายใต้ธง “สงครามไพร่โค่นอำมาตย์” พิสูจน์แล้วว่าเขาไม่เอาส่วนที่ 2 และให้ความสำคัญน้อยกับส่วนที่ 3 โดยพุ่งเป้าไปที่ส่วนที่ 4 มากที่สุด
และบางส่วนบางองค์กรของคนเสื้อแดงก็ประกาศชัดว่าไม่เอาส่วนที่ 1
จะขจัดเงื่อนไขสงครามต้องปฏิรูปประเทศให้องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนอยู่ร่วมกันได้ !
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศตามนโยบายข้อ 1.1.3 เป็นก้าวแรก
วันนี้ชัดเจนแล้วว่าคนเสื้อแดงใช้ยุทธศาสตร์สงครามยืดเยื้อ ใช้เวทีเป็นสถานที่เผยแพร่แนวคิดผ่านทีวีของตนและสื่อมวลชนทั่วไป ยื้อให้นานที่สุดค่อยสลาย แล้วก็จะกลับมาใหม่ ในทางเปิดกอดหลักสินติแน่น ยั่วให้รัฐสลาย ยั่วให้รัฐหมดความอดทน ยามเมื่อไม่มีเวทีมวลชนก็ใช้เวทีรัฐสภา ทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ถามว่ารัฐบาลนอกจากตั้งรับแล้ว เปิดเกมรุกทางการเมืองอะไรบ้าง
ท่านนายกฯจะต่ออายุ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ไปเรื่อยๆ สัปดาห์ต่อสัปดาห์เท่านั้นหรือ
ท่านนายกฯพยายามจะทำให้เห็นว่าสถานการณ์เป็นปกติ แต่ยังต้องนอนในร. 11 ประชุมครม.อังคารนี้ก็ยังต้องประชุมในร. 11 จะไหวหรือ
คนเสื้อแดงเลือก “ประตูผี” เป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการน่ะลางไม่ดีก็จริง
แต่ “ร. 11” ศูนย์บัญชาการของรัฐบาล ก็เคยไม่ชนะมาแล้วเมื่อครั้งที่ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ใช้เป็นศูนย์บัญชาการเมื่อครั้งเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ท่านนายกฯ ต้องก้าวข้ามวิถีของนักการเมืองดีคนหนึ่งออกมา
วิถีแห่งรัฐบุรุษรออยู่!
78 ปีที่รอคอย “ประกาศเป็นผู้นำในการปฏิรูปสังคมไทยในทุกด้าน โดยอาจจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง รวบรวมปัญหาขึ้นมาจัดลำดับความสำคัญ กำหนดระยะเวลาทำงาน...” ไม่ใช่อะไรใหม่เลย มาจากข้อเสนอของรัฐบาลชุดนี้และนายกรัฐมนตรีคนนี้เองนั่นแหละ
“ปฏิรูปการเมือง : โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทย รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง”
(คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ข้อ 1.1.3 วันที่ 30 ธันวาคม 2551)
“หน้าที่เบื้องต้นของผม คือ การยุติการเมืองที่ล้มเหลว”
(คำปราศรัยแรกของนายกรัฐมนตรีหลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 17 ธันวาคม 2551)
ผมเขียนบทความสนับสนุนท่านนายกฯ ในเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2551 ด่านแรกของอภิสิทธิ์ จากนั้นก็เขียนทวงถามอีกครั้งโดยเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปี 2537 ว่าวันนี้ท่านนายกฯควรจะต้องเร่งจัดตั้ง คพป.ภาค 2 คพป.ภาค 2 ทำเสียก่อนจะไม่มีโอกาสทำ! ทำเสียก่อนจะไม่มีโอกาสได้ทำ ผมทิ้งท้ายไว้ด้วยในทำนองว่าถ้าตั้งเสียแต่วันแต่พรุ่ง ภายในเวลาก่อนสิ้นปี 2552 รายงานจาก คพป.ภาค 2 จะเสร็จสมบูรณ์ แม้ไม่ง่ายที่จะหาใครมาทำในสภาวะทางการเมืองแบบนี้ แม้ไม่ง่ายที่จะให้ทุกฝ่ายยอมรับ แต่ท่านนายกฯก็ต้องรีบทำในขณะที่เครดิตทางการเมืองเหลืออยู่
ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา ผมก็ได้ยื่นกระทู้ด่วนถามท่านนายกฯเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552
รวมทั้งเมื่อมีโอกาสพบท่านนายกฯ ท่านรัฐมนตรีบางท่าน และทีมงานวงในในช่วงนั้น ก็ไม่ละเว้นที่จะทวงถาม
แต่คณะกรรมการตามนโยบายของรัฐบาลข้อ 1.1.3 ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อ 1 ที่เขียนไว้ว่า “นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก” ก็ไม่เกิดขึ้นจนแล้วจนรอด
ทั้งๆ ที่เวลาผ่านไป 1 ปี 3 เดือนแล้ว !
เกิดปัญหามาบตาพุดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ท่านนายกฯตั้งท่านอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ แต่เรื่องตามนโยบายข้อ 1.1.3 สำคัญกว่าร้อยเท่าพันทวีท่านนายกฯปล่อยปละละเลยไปเสียเฉยๆ เสียเวลาไปกว่า 1 ปี
ท่านนายกฯอาจจะบอกว่าหาคนที่ทุกฝ่ายยอมรับไม่ได้ ก็จริง แต่หากจะรอให้มีคนที่ทุกฝ่ายยอมรับจริงๆ ชาตินี้ก็คงตั้งไม่ได้
ผมไม่ได้บอกว่าตั้งเป็นท่านอานันท์ ปันยารชุน หรืออาจารย์ประเวศ วะสี เพราะท่านนายกฯอาจจะตัดสินใจเลือกท่านชวน หลีกภัยก็ได้ ซึ่งผมก็เชื่อว่าจะมีคนยอมรับไม่น้อยเช่นกัน อันที่จริง ถ้าจะตั้งอดีตนายกรัฐมนตรีสัก 4 คนให้เสมือนเป็นตัวแทนกลุ่มความคิด และตัวแทนรัฐบาล ให้เป็นประธานร่วม ก็พอจะไปได้ นี่เป็นเพียงตัวอย่าง ท่านนายกฯอาจจะคิดหาหนทางดีกว่านี้ได้
นี่คือสถานการณ์สงคราม!
ม็อบเสื้อแดงรอบนี้จะจบลงเมื่อไร จบลงอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับว่าสงครามครั้งนี้นอกจากยังไม่จบแล้ว อาจจะเพิ่งเริ่มต้นเปิดหน้าใหม่เสียด้วยซ้ำ วันนี้พวกเขายังมีจุดอ่อนมหาศาล ทั้งความเป็นเอกภาพในหมู่แกนนำ ทั้งการแบกน้ำหนักนักโทษหนีคดีอย่างนายทักษิณ ชินวัตร ทั้งการที่มวลชนหลักจำนวนหนึ่งยังเป็นมวลชนจัดตั้งในลักษณะจัดหาจัดจ้างผ่านระบบหัวคะแนนของการเลือกตั้ง หากท่านนายกฯไม่เปิดเกมรุกกลับในช่วงนี้สถานการณ์ข้างหน้าจะหนักหนาสาหัส
อย่าลืมว่าคนเสื้อเหลืองก็ต้องการการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ด้วยเช่นกัน
ดังที่พวกเขาเสนอออกมาในนามคำ “การเมืองใหม่” !
สังคมไทยจะปรองดองกันได้ สมานฉันท์กันได้ อย่างแท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่แค่ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่เอาพวกนายทักษิณ ชินวัตรเข้ามาแก้ไขกฎกติกาออกกฎหมายแก้ผิดให้เป็นถูก แต่ก็ไม่ใช่บริหารประเทศไปตามปกติ แต่จะต้องเร่งนับ 1 นับ 2 ในการออกแบบสังคมใหม่ให้อยู่ร่วมกันได้ระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศนี้มาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยจะต้องมองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป แต่จะต้องมองว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อนคือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงรอบนี้ภายใต้ธง “สงครามไพร่โค่นอำมาตย์” พิสูจน์แล้วว่าเขาไม่เอาส่วนที่ 2 และให้ความสำคัญน้อยกับส่วนที่ 3 โดยพุ่งเป้าไปที่ส่วนที่ 4 มากที่สุด
และบางส่วนบางองค์กรของคนเสื้อแดงก็ประกาศชัดว่าไม่เอาส่วนที่ 1
จะขจัดเงื่อนไขสงครามต้องปฏิรูปประเทศให้องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนอยู่ร่วมกันได้ !
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศตามนโยบายข้อ 1.1.3 เป็นก้าวแรก
วันนี้ชัดเจนแล้วว่าคนเสื้อแดงใช้ยุทธศาสตร์สงครามยืดเยื้อ ใช้เวทีเป็นสถานที่เผยแพร่แนวคิดผ่านทีวีของตนและสื่อมวลชนทั่วไป ยื้อให้นานที่สุดค่อยสลาย แล้วก็จะกลับมาใหม่ ในทางเปิดกอดหลักสินติแน่น ยั่วให้รัฐสลาย ยั่วให้รัฐหมดความอดทน ยามเมื่อไม่มีเวทีมวลชนก็ใช้เวทีรัฐสภา ทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ถามว่ารัฐบาลนอกจากตั้งรับแล้ว เปิดเกมรุกทางการเมืองอะไรบ้าง
ท่านนายกฯจะต่ออายุ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ไปเรื่อยๆ สัปดาห์ต่อสัปดาห์เท่านั้นหรือ
ท่านนายกฯพยายามจะทำให้เห็นว่าสถานการณ์เป็นปกติ แต่ยังต้องนอนในร. 11 ประชุมครม.อังคารนี้ก็ยังต้องประชุมในร. 11 จะไหวหรือ
คนเสื้อแดงเลือก “ประตูผี” เป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการน่ะลางไม่ดีก็จริง
แต่ “ร. 11” ศูนย์บัญชาการของรัฐบาล ก็เคยไม่ชนะมาแล้วเมื่อครั้งที่ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ใช้เป็นศูนย์บัญชาการเมื่อครั้งเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ท่านนายกฯ ต้องก้าวข้ามวิถีของนักการเมืองดีคนหนึ่งออกมา
วิถีแห่งรัฐบุรุษรออยู่!