เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 2 วัน ก็จะถึงวันที่ 25 มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นวันที่ต้องบันทึกเอาไว้ความพยายามในการต่อสัญญาร่วมดำเนินการไทยทีวีสีช่อง 3 ระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ของครอบครัวตระกูลมาลีนนท์ จะสำเร็จลุล่วงไปได้หรือไม่?
วันที่ 11 มีนาคม 2553 ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้มาออกรายการ “คนในข่าว” ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี ได้ตอบคำถามข้อสงสัยประเด็นหนึ่งที่ว่า คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งได้แจ้งขอให้ อสมท เร่งมีหนังสือหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในขั้นตอนการต่อสัญญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 นั้น เหตุใดคณะกรรมการ อสมท จึงไม่ส่งไปหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่กลับไปเจรจาต่อรองกันเอง?
ศ.ดร.สุรพล ได้ตอบในรายการ “คนในข่าว” ทาง “เอเอสทีวี” ว่า:
“ในประเด็นขั้นตอนวิธีการเนี่ยไม่ต้องหารือหรอก ก็หารือไปกฤษฎีกาก็ไม่ตอบ กฤษฎีกาก็บอกว่าคุณเป็นหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ต้องมาถามว่าตามกฎหมายต้องทำอะไร มันมีอยู่แล้ว แล้วเราก็ทำอยู่แล้ว อันนี้เป็นประเด็นที่ไม่ต้องถามเลย ถ้าจะถามว่าขั้นตอนตามกฎหมายคืออะไรบ้าง มีวิธีปฏิบัติอย่างไร รู้กันดีอยู่แล้วครับ”
แต่ในความเป็นจริง ได้ปรากฏในรายงานการประชุมของคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 จึงทำให้เข้าใจว่าเหตุผลที่แท้จริงในการไม่ส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น ดูมันจะมีเงื่อนงำมากกว่าที่ ศ.ดร.สุพลได้ชี้แจง โดยในการประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 ในวันนั้นได้มีบันทึกรายงานการประชุมความตอนหนึ่งว่า:
“คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 13 พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ “มิได้มีอำนาจหน้าที่” ในการพิจารณาว่าสมควรต่อสัญญาหรือไม่”
แปลว่าการที่ อสมท ได้ขอให้คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 พิจารณาดำเนินการต่อสัญญาไทยทีวีสีช่อง 3 นั้น คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 ได้ขอให้ อสมท เร่งหารือไปยังกฤษฎีกาถึง “แนวทางและขั้นตอนต่อสัญญา” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ นั้น ย่อมแสดงว่าคณะกรรมการดำเนินการโครงการฯ ตามาตรา 13 อาจสงสัยว่า “การต่อสัญญา” ครั้งนี้ “อาจทำไม่ได้”
เพราะตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ 2535 นั้นใช้สำหรับโครงการที่เกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป และกำหนดในมาตรา 15 ว่า “ต้องใช้วิธีประมูล”
และหากเห็นว่าไม่ใช้วิธีประมูล ก็จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 16 ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบจากทั้งกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน แล้วจึงขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกชั้นหนึ่ง
นอกจาก อสมท จะไม่ส่งข้อหารือตามคำร้องขอของคณะกรรมการดำเนินโครงการฯตามมาตรา 13 ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว อสมท กลับตัดสินใจเจรจาต่อรองกับ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ เพื่อดำเนินการต่อสัญญาเสียเอง แล้วจึง “กลับลำในภายหลัง” พูดว่าสัญญามันต่อเนื่องกันมาจากสัญญาเดิมและไม่ใช่การต่อสัญญาใหม่ จึงไม่ต้องให้คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 พิจารณาในเรื่องนี้
ถ้าเชื่อว่าสามารถเจรจากันเองอย่างที่ทำกันอยู่ตอนนี้ ก็ต้องถามว่ามติคณะกรรมการ อสมท ที่มีประธานกรรมการ อสมท ชื่อ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งเป็นถึงอธิการบดี และอดีตคณบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกหนังสือเชิญหน่วยงานราชการต่างๆ หลายแห่ง เข้ามาเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552 ไปเพื่ออะไร?
และมีคำถามต่อมาว่า แท้ที่จริงแล้วพอคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 แสดงท่าทีสงสัยว่าจะต่อสัญญาได้หรือไม่ หรือแสดงทีท่าว่าอาจจะเปิดประมูล ก็เลยทำให้ อสมท ตัดสินใจไม่หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะต้องการจะต่อสัญญาให้ได้ โดยไม่ต้องการให้เปิดประมูลใช่หรือไม่?
กลับมาต้นเหตุแห่งปัญหาเดิม ในการแก้ไขสัญญาครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ระหว่าง อ.ส.ม.ท. กับ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ถือเป็นการแก้ไขสัญญาที่เก็บงำอยู่ในความมืดดำของ อสมท ซึ่งประชาชนทั่วไปไม่สามารถจะล่วงรู้ข้อมูลถึงความอัปลักษณ์ของการแก้ไขสัญญาครั้งนั้นในแดนสนธยาของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ได้มาเป็นเวลากว่า 20 ปี
เป็นเวลา 20 ปี ที่ไม่มีใครเคยรู้ว่ามีการแก้ไขสัญญาตัดผลตอบแทน 6.5% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ที่เคยให้กับ อสมท นั้นทำให้ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมามีการประเมินกันว่า อสมท มีรายได้ที่สูญหายไปจากการแก้ไขสัญญาครั้งนั้นถึง 5,200 ล้านบาท และหากจะต่อสัญญาไปอีก 10 ปีภายใต้เงื่อนไขเดิม อสมท ก็จะมีรายได้สูญหายไปอีกกว่า 4,000 ล้านบาท
เป็นเวลา 20 ปี ที่ไม่มีใครเคยรู้ว่ามีการแก้ไขสัญญาโดย อสมท ตกลงให้ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ร่วมดำเนินการไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อไปอีก 10 ปี ตั้งแต่ปี 2553 – ถึงปี 2563 หาก บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ไม่มีการกระทำที่ผิดสัญญา โดยจ่ายผลตอบแทนให้กับ อสมท เฉลี่ยปีละประมาณ 200 ล้านบาทเศษเท่านั้น
บันทึกเอาไว้ตรงนี้อีกครั้งหนึ่งว่า สัญญาที่แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 นั้น ลงนามโดย นายราชันย์ ฮูเซ็น ผู้อำนวยการ อสมท โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
จึงขอใช้โอกาสนี้มอบความคารวะแด่ นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ที่แม้รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท ในช่วงสั้นๆ แต่ก็ได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงให้กับ อสมท โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการกระทำความผิดสัญญาและความเสียเปรียบของสัญญากรณีไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งมีนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว ซึ่งได้ตรวจสอบพบความเสียเปรียบและการกระทำผิดสัญญามากมาย
นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร สามารถผลักดันเอาผลการศึกษาดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ อสมท ได้รับทราบการกระทำผิดต่อสัญญามากมายของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ได้เป็นผลสำเร็จ จนเป็นที่มาที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลความลับอันแสนอัปลักษณ์ของการแก้ไขสัญญาที่เก็บเงียบมาตลอด 20 ปี
แต่อิทธิพลของไทยทีวีสีช่อง 3 นั้นไม่ธรรมดา เพราะกว่าที่นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียรจะฝ่าฟันอุปสรรคนำผลการศึกษาให้เอาเข้าที่ประชุมกรรมการ อสมท ให้ทราบได้ก็เกือบจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งของตัวเองแล้ว
ด้วยอิทธิพลของไทยทีวีสีช่อง 3 และ อสมท ได้ทำให้คนในวงการสื่อมวลชนเกือบทั้งหมดต่างปิดปากเงียบ ละเลยการทำหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ เพราะคนที่เรียกตัวเองว่าสื่อมวลชนเหล่านั้นต่างมีผลประโยชน์อยู่ในขุมทรัพย์ดังกล่าวไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
แม้แต่การเคลื่อนไหวของ สหภาพแรงงานและพนักงาน อสมท ก็เมินเฉย มองเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่า ผลประโยชน์ขององค์กรและผลประโยชน์ของชาติ
เพราะถ้าเพียงแค่มีคนที่กล้าหาญต่อสู้เพื่อความถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ของ อสมท และผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริงแล้ว ทั้งพนักงานและผู้บริหารของ อสมท ตลอดจนนักการเมืองทั้งหมด จะปล่อยให้สัญญาอัปลักษณ์ดำเนินการต่อกันมาถึง 20 ปีโดยไม่มีใครทำอะไรได้อย่างไร?
อิทธิพลของไทยทีวีสีช่อง 3 มีมากขนาดไหน ก็ลองพิจารณาดูว่า แม้แต่นายวีระ สมความคิด ได้เคยไปร้องเรียนกล่าวหาการกระทำผิดในการแก้ไขสัญญาอัปลักษณ์นี้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนหมดอายุความอาญา 4 เดือน แต่ก็ยังมีกรรมการของ ป.ป.ช. 1 ท่านมาทำหน้าที่เหมือนนายหน้าล็อบบี้เจรจาเป็นการส่วนตัวกับ นายวีระ สมความคิดเพื่อขอให้เลิกติดตามเรื่องนี้ โดยอ้างเพียงแค่ว่าคงดำเนินคดีนี้ไม่ทัน
จึงขอร้องและขอเตือน ป.ป.ช.เอาไว้ตรงนี้ว่า อย่าให้กรรมการ ป.ป.ช.คนดังกล่าวที่มีพฤติกรรมเช่นนี้มาสืบสวนและสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับ ไทยทีวีสีช่อง 3 นี้อีก!!!
คดีการแก้ไขสัญญาครั้งที่ 3 ที่ผ่านมา 20 ปีจะเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ก็เรื่องหนึ่ง แต่เมื่อเราอยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบันนี้ ใครก็ตามซึ่งมีหน้าที่ก็ต้องหยุดการกระทำทั้งปวงที่จะนำไปสู่การต่อสัญญาออกไปอีก 10 ปี ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ อสมท และผลประโยชน์ของชาติอย่างสุดความสามารถ
บุคคลที่มีโอกาสจะหยุดยั้งการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและสัญญาได้โดยตรง ประกอบด้วย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ อสมท และกรรมการ อสมท อีก 13 คน นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ อสมท ซึ่งได้รับรู้ข้อมูลในเรื่องสัญญาที่อาจขัดต่อกฎหมาย และการกระทำผิดสัญญาเป็นอย่างดี ทั้งจากการรายงานผลการศึกษาภายใน อสมท ผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และการรับทราบข้อมูลทั้งหมดในการออกอากาศสดทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี อีกด้วย
ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้กล่าวยอมรับหลายครั้งว่า สัญญาที่แก้ไขเมื่อปี 2532 มีความไม่เป็นธรรมกับ อสมท
ต้องถือว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้มาออกอากาศรายการ คนในข่าว ที่ เอเอสทีวี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ย่อมได้รับทราบข้อมูลแล้วว่า ข้อความในสัญญาที่อัปลักษณ์นั้นได้ใช้ข้อความที่ขัดกับมติคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติเอาไว้แล้ว สัญญาอัปลักษณ์นี้จึงอาจไม่มีผลบังคับใช้ได้จริงตามกฎหมาย
ต้องถือว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้มาออกอากาศรายการ คนในข่าว ที่ เอเอสทีวี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ได้รับทราบข้อมูลแล้วว่า สัญญาที่อัปลักษณ์และทำให้ อสมท เสียประโยชน์นั้น ขัดต่ออำนาจหน้าที่ของ อสมท ตามพระราชกฤษฎีกาในการจัดตั้ง อสมท อย่างชัดเจน ซึ่งก็ถือว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อกฎหมายเช่นกัน
ต้องถือว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้รับทราบในรายการคนในข่าวที่ เอเอสทีวี และกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 แล้วว่า มีทรัพย์สินที่ไม่ได้โอนให้กับ อสมท ตามสัญญาที่ระบุให้ว่าต้องโอนให้ในวันที่จัดหาได้มา ดังปรากฏทั้งตามพฤติกรรมและการรายงานในหมายเหตุประกอบงบดุลของทั้ง บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ และบีอีซีเวิลด์ ซึ่งถือว่ามีการกระทำผิดสัญญาเสร็จสิ้นแล้ว
ต้องถือว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้รับทราบแล้วว่า “มีการเช่าช่วงเวลา” ทางสถานีไทยทีวีสีช่อง 3 โดย “ยังไม่ได้ขออนุญาตจาก อสมท” ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดสัญญาที่สำเร็จแล้ว
มิพักต้องพูดถึงการยอมรับว่ามีการกระทำผิดสัญญาเกิดขึ้นแล้วจาก อสมท ทั้งจากรายงานของ นายจรัญ ภักดีธนากุล และจากหนังสือของ อสมท ที่ทำถึง บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ซึ่งโต้แย้งและหักล้างเหตุผลของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ หมดสิ้นแล้ว ตามด้วยลายมือของ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ที่เขียนถึง ผอ.อสมท ว่าให้ฝ่ายกฎหมายยกร่างหนังสือบอกเลิกสัญญา “เพราะมีการกระทำผิดสัญญาเกิดขึ้นแล้ว”
ซึ่งสัญญาระบุว่า การตกลงต่อสัญญาไปอีก 10 ปีนั้น มีเงื่อนไขว่าต้องไม่มีการทำผิดสัญญาเกิดขึ้น!!!
เมื่อรู้ทั้งรู้ว่าความผิดปกติในเรื่องนี้เป็นอย่างไร แล้วยังจะดันทุรังต่อสัญญาออกไปอีก 10 ปี โดยให้ อสมท รับเงินค่าปิดปาก 405 ล้านบาท เพื่อไม่ให้พูดถึงสัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อไม่ให้พูดถึงการกระทำผิดสัญญา และเพื่อไม่ให้ต้องพูดถึงว่าจะมีการเปิดประมูลใหม่ต่อไปหรือไม่ คงจะต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบว่า หลังจาก 2 วันข้างหน้าผ่านไป คณะกรรมการ อสมท และพวกจะใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไร?
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 บัญญัติตามมาตรา 12 เอาไว้ว่า:
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำการใดๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ มีความผิดฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 แสนบาท ถึง 4 แสนบาท
วันที่ 11 มีนาคม 2553 ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้มาออกรายการ “คนในข่าว” ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี ได้ตอบคำถามข้อสงสัยประเด็นหนึ่งที่ว่า คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งได้แจ้งขอให้ อสมท เร่งมีหนังสือหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในขั้นตอนการต่อสัญญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 นั้น เหตุใดคณะกรรมการ อสมท จึงไม่ส่งไปหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่กลับไปเจรจาต่อรองกันเอง?
ศ.ดร.สุรพล ได้ตอบในรายการ “คนในข่าว” ทาง “เอเอสทีวี” ว่า:
“ในประเด็นขั้นตอนวิธีการเนี่ยไม่ต้องหารือหรอก ก็หารือไปกฤษฎีกาก็ไม่ตอบ กฤษฎีกาก็บอกว่าคุณเป็นหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ต้องมาถามว่าตามกฎหมายต้องทำอะไร มันมีอยู่แล้ว แล้วเราก็ทำอยู่แล้ว อันนี้เป็นประเด็นที่ไม่ต้องถามเลย ถ้าจะถามว่าขั้นตอนตามกฎหมายคืออะไรบ้าง มีวิธีปฏิบัติอย่างไร รู้กันดีอยู่แล้วครับ”
แต่ในความเป็นจริง ได้ปรากฏในรายงานการประชุมของคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 จึงทำให้เข้าใจว่าเหตุผลที่แท้จริงในการไม่ส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น ดูมันจะมีเงื่อนงำมากกว่าที่ ศ.ดร.สุพลได้ชี้แจง โดยในการประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 ในวันนั้นได้มีบันทึกรายงานการประชุมความตอนหนึ่งว่า:
“คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 13 พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ “มิได้มีอำนาจหน้าที่” ในการพิจารณาว่าสมควรต่อสัญญาหรือไม่”
แปลว่าการที่ อสมท ได้ขอให้คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 พิจารณาดำเนินการต่อสัญญาไทยทีวีสีช่อง 3 นั้น คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 ได้ขอให้ อสมท เร่งหารือไปยังกฤษฎีกาถึง “แนวทางและขั้นตอนต่อสัญญา” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ นั้น ย่อมแสดงว่าคณะกรรมการดำเนินการโครงการฯ ตามาตรา 13 อาจสงสัยว่า “การต่อสัญญา” ครั้งนี้ “อาจทำไม่ได้”
เพราะตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ 2535 นั้นใช้สำหรับโครงการที่เกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป และกำหนดในมาตรา 15 ว่า “ต้องใช้วิธีประมูล”
และหากเห็นว่าไม่ใช้วิธีประมูล ก็จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 16 ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบจากทั้งกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน แล้วจึงขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกชั้นหนึ่ง
นอกจาก อสมท จะไม่ส่งข้อหารือตามคำร้องขอของคณะกรรมการดำเนินโครงการฯตามมาตรา 13 ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว อสมท กลับตัดสินใจเจรจาต่อรองกับ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ เพื่อดำเนินการต่อสัญญาเสียเอง แล้วจึง “กลับลำในภายหลัง” พูดว่าสัญญามันต่อเนื่องกันมาจากสัญญาเดิมและไม่ใช่การต่อสัญญาใหม่ จึงไม่ต้องให้คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 พิจารณาในเรื่องนี้
ถ้าเชื่อว่าสามารถเจรจากันเองอย่างที่ทำกันอยู่ตอนนี้ ก็ต้องถามว่ามติคณะกรรมการ อสมท ที่มีประธานกรรมการ อสมท ชื่อ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งเป็นถึงอธิการบดี และอดีตคณบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกหนังสือเชิญหน่วยงานราชการต่างๆ หลายแห่ง เข้ามาเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552 ไปเพื่ออะไร?
และมีคำถามต่อมาว่า แท้ที่จริงแล้วพอคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามมาตรา 13 แสดงท่าทีสงสัยว่าจะต่อสัญญาได้หรือไม่ หรือแสดงทีท่าว่าอาจจะเปิดประมูล ก็เลยทำให้ อสมท ตัดสินใจไม่หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะต้องการจะต่อสัญญาให้ได้ โดยไม่ต้องการให้เปิดประมูลใช่หรือไม่?
กลับมาต้นเหตุแห่งปัญหาเดิม ในการแก้ไขสัญญาครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ระหว่าง อ.ส.ม.ท. กับ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ถือเป็นการแก้ไขสัญญาที่เก็บงำอยู่ในความมืดดำของ อสมท ซึ่งประชาชนทั่วไปไม่สามารถจะล่วงรู้ข้อมูลถึงความอัปลักษณ์ของการแก้ไขสัญญาครั้งนั้นในแดนสนธยาของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ได้มาเป็นเวลากว่า 20 ปี
เป็นเวลา 20 ปี ที่ไม่มีใครเคยรู้ว่ามีการแก้ไขสัญญาตัดผลตอบแทน 6.5% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ที่เคยให้กับ อสมท นั้นทำให้ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมามีการประเมินกันว่า อสมท มีรายได้ที่สูญหายไปจากการแก้ไขสัญญาครั้งนั้นถึง 5,200 ล้านบาท และหากจะต่อสัญญาไปอีก 10 ปีภายใต้เงื่อนไขเดิม อสมท ก็จะมีรายได้สูญหายไปอีกกว่า 4,000 ล้านบาท
เป็นเวลา 20 ปี ที่ไม่มีใครเคยรู้ว่ามีการแก้ไขสัญญาโดย อสมท ตกลงให้ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ร่วมดำเนินการไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อไปอีก 10 ปี ตั้งแต่ปี 2553 – ถึงปี 2563 หาก บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ไม่มีการกระทำที่ผิดสัญญา โดยจ่ายผลตอบแทนให้กับ อสมท เฉลี่ยปีละประมาณ 200 ล้านบาทเศษเท่านั้น
บันทึกเอาไว้ตรงนี้อีกครั้งหนึ่งว่า สัญญาที่แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 นั้น ลงนามโดย นายราชันย์ ฮูเซ็น ผู้อำนวยการ อสมท โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
จึงขอใช้โอกาสนี้มอบความคารวะแด่ นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ที่แม้รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท ในช่วงสั้นๆ แต่ก็ได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงให้กับ อสมท โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการกระทำความผิดสัญญาและความเสียเปรียบของสัญญากรณีไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งมีนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว ซึ่งได้ตรวจสอบพบความเสียเปรียบและการกระทำผิดสัญญามากมาย
นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร สามารถผลักดันเอาผลการศึกษาดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ อสมท ได้รับทราบการกระทำผิดต่อสัญญามากมายของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ได้เป็นผลสำเร็จ จนเป็นที่มาที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลความลับอันแสนอัปลักษณ์ของการแก้ไขสัญญาที่เก็บเงียบมาตลอด 20 ปี
แต่อิทธิพลของไทยทีวีสีช่อง 3 นั้นไม่ธรรมดา เพราะกว่าที่นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียรจะฝ่าฟันอุปสรรคนำผลการศึกษาให้เอาเข้าที่ประชุมกรรมการ อสมท ให้ทราบได้ก็เกือบจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งของตัวเองแล้ว
ด้วยอิทธิพลของไทยทีวีสีช่อง 3 และ อสมท ได้ทำให้คนในวงการสื่อมวลชนเกือบทั้งหมดต่างปิดปากเงียบ ละเลยการทำหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ เพราะคนที่เรียกตัวเองว่าสื่อมวลชนเหล่านั้นต่างมีผลประโยชน์อยู่ในขุมทรัพย์ดังกล่าวไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
แม้แต่การเคลื่อนไหวของ สหภาพแรงงานและพนักงาน อสมท ก็เมินเฉย มองเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่า ผลประโยชน์ขององค์กรและผลประโยชน์ของชาติ
เพราะถ้าเพียงแค่มีคนที่กล้าหาญต่อสู้เพื่อความถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ของ อสมท และผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริงแล้ว ทั้งพนักงานและผู้บริหารของ อสมท ตลอดจนนักการเมืองทั้งหมด จะปล่อยให้สัญญาอัปลักษณ์ดำเนินการต่อกันมาถึง 20 ปีโดยไม่มีใครทำอะไรได้อย่างไร?
อิทธิพลของไทยทีวีสีช่อง 3 มีมากขนาดไหน ก็ลองพิจารณาดูว่า แม้แต่นายวีระ สมความคิด ได้เคยไปร้องเรียนกล่าวหาการกระทำผิดในการแก้ไขสัญญาอัปลักษณ์นี้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนหมดอายุความอาญา 4 เดือน แต่ก็ยังมีกรรมการของ ป.ป.ช. 1 ท่านมาทำหน้าที่เหมือนนายหน้าล็อบบี้เจรจาเป็นการส่วนตัวกับ นายวีระ สมความคิดเพื่อขอให้เลิกติดตามเรื่องนี้ โดยอ้างเพียงแค่ว่าคงดำเนินคดีนี้ไม่ทัน
จึงขอร้องและขอเตือน ป.ป.ช.เอาไว้ตรงนี้ว่า อย่าให้กรรมการ ป.ป.ช.คนดังกล่าวที่มีพฤติกรรมเช่นนี้มาสืบสวนและสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับ ไทยทีวีสีช่อง 3 นี้อีก!!!
คดีการแก้ไขสัญญาครั้งที่ 3 ที่ผ่านมา 20 ปีจะเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ก็เรื่องหนึ่ง แต่เมื่อเราอยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบันนี้ ใครก็ตามซึ่งมีหน้าที่ก็ต้องหยุดการกระทำทั้งปวงที่จะนำไปสู่การต่อสัญญาออกไปอีก 10 ปี ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ อสมท และผลประโยชน์ของชาติอย่างสุดความสามารถ
บุคคลที่มีโอกาสจะหยุดยั้งการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและสัญญาได้โดยตรง ประกอบด้วย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ อสมท และกรรมการ อสมท อีก 13 คน นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ อสมท ซึ่งได้รับรู้ข้อมูลในเรื่องสัญญาที่อาจขัดต่อกฎหมาย และการกระทำผิดสัญญาเป็นอย่างดี ทั้งจากการรายงานผลการศึกษาภายใน อสมท ผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และการรับทราบข้อมูลทั้งหมดในการออกอากาศสดทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี อีกด้วย
ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้กล่าวยอมรับหลายครั้งว่า สัญญาที่แก้ไขเมื่อปี 2532 มีความไม่เป็นธรรมกับ อสมท
ต้องถือว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้มาออกอากาศรายการ คนในข่าว ที่ เอเอสทีวี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ย่อมได้รับทราบข้อมูลแล้วว่า ข้อความในสัญญาที่อัปลักษณ์นั้นได้ใช้ข้อความที่ขัดกับมติคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติเอาไว้แล้ว สัญญาอัปลักษณ์นี้จึงอาจไม่มีผลบังคับใช้ได้จริงตามกฎหมาย
ต้องถือว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้มาออกอากาศรายการ คนในข่าว ที่ เอเอสทีวี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ได้รับทราบข้อมูลแล้วว่า สัญญาที่อัปลักษณ์และทำให้ อสมท เสียประโยชน์นั้น ขัดต่ออำนาจหน้าที่ของ อสมท ตามพระราชกฤษฎีกาในการจัดตั้ง อสมท อย่างชัดเจน ซึ่งก็ถือว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อกฎหมายเช่นกัน
ต้องถือว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้รับทราบในรายการคนในข่าวที่ เอเอสทีวี และกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 แล้วว่า มีทรัพย์สินที่ไม่ได้โอนให้กับ อสมท ตามสัญญาที่ระบุให้ว่าต้องโอนให้ในวันที่จัดหาได้มา ดังปรากฏทั้งตามพฤติกรรมและการรายงานในหมายเหตุประกอบงบดุลของทั้ง บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ และบีอีซีเวิลด์ ซึ่งถือว่ามีการกระทำผิดสัญญาเสร็จสิ้นแล้ว
ต้องถือว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้รับทราบแล้วว่า “มีการเช่าช่วงเวลา” ทางสถานีไทยทีวีสีช่อง 3 โดย “ยังไม่ได้ขออนุญาตจาก อสมท” ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดสัญญาที่สำเร็จแล้ว
มิพักต้องพูดถึงการยอมรับว่ามีการกระทำผิดสัญญาเกิดขึ้นแล้วจาก อสมท ทั้งจากรายงานของ นายจรัญ ภักดีธนากุล และจากหนังสือของ อสมท ที่ทำถึง บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ซึ่งโต้แย้งและหักล้างเหตุผลของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ หมดสิ้นแล้ว ตามด้วยลายมือของ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ที่เขียนถึง ผอ.อสมท ว่าให้ฝ่ายกฎหมายยกร่างหนังสือบอกเลิกสัญญา “เพราะมีการกระทำผิดสัญญาเกิดขึ้นแล้ว”
ซึ่งสัญญาระบุว่า การตกลงต่อสัญญาไปอีก 10 ปีนั้น มีเงื่อนไขว่าต้องไม่มีการทำผิดสัญญาเกิดขึ้น!!!
เมื่อรู้ทั้งรู้ว่าความผิดปกติในเรื่องนี้เป็นอย่างไร แล้วยังจะดันทุรังต่อสัญญาออกไปอีก 10 ปี โดยให้ อสมท รับเงินค่าปิดปาก 405 ล้านบาท เพื่อไม่ให้พูดถึงสัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อไม่ให้พูดถึงการกระทำผิดสัญญา และเพื่อไม่ให้ต้องพูดถึงว่าจะมีการเปิดประมูลใหม่ต่อไปหรือไม่ คงจะต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบว่า หลังจาก 2 วันข้างหน้าผ่านไป คณะกรรมการ อสมท และพวกจะใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไร?
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 บัญญัติตามมาตรา 12 เอาไว้ว่า:
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำการใดๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ มีความผิดฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 แสนบาท ถึง 4 แสนบาท