คณะอนุกรรมการฯ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้ตรวจสอบพบความผิดปรกติในประเด็นข้อกฎหมายของสัญญาการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ช่อง 3
วันนี้จะนำเสนอ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มีผลให้การต่อสัญญาฯแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ในการบริหารกิจการช่อง 3 ไม่สามารถกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้ xระเด็นที่ 5. หากแม้จะฟังว่าสัญญาฯ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 ไม่ตกเป็นโมฆะ แต่การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฯ ครั้งที่ 3 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2532 ให้แก้ไขได้เพียง 7 ประเด็นนั้น
การเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 และการที่คณะรัฐมนตรี มีมติเช่นว่านั้น ซึ่งเป็นการร่วมกิจการหรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเอกชนโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่กิจการของ อสมท ทำให้รัฐ และ อสมท ได้รับความเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 มาตรา 7
(5) ส่งผลให้ผู้อำนวยการ อสมท ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการลงนามในสัญญาดังกล่าวโดยยังไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว และได้ลงนามไปก่อนหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะมีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้ผู้อำนวยการ อสมท และคณะกรรมการ อสมท ทราบ ถึง 10 วัน ได้โดยชอบ โดยนัยเดียวกัน ดังนั้น สัญญาฯแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 จึงตกเป็นโมฆะและไม่มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกันอีกทั้งสัญญาฯแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 มีข้อความ ไม่เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติไว้ว่าให้แก้ไขได้เพียง 7 ประเด็น และปิดบังมูลเหตุที่คณะรัฐมนตรีมีมติเช่นว่านั้น ตามหนังสือขอความเป็นธรรมของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 และกลับมีข้อกำหนดให้บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ต้องแบกรับภาระค่าก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นด้วย จึงขัดแย้งกับเหตุผลที่อ้างในหนังสือขอความเป็นธรรมดังกล่าว
ประเด็นที่ 6. หากแม้จะฟังว่า สัญญาฯ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ชอบด้วยกฎหมาย แต่สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาที่มีผลให้ต่อสัญญาได้อีก 10 ปี โดยอัติโนมัติ เนื่องจากมีกรณีการกระทำผิดเงื่อนไขของสัญญาหลายประการ ซึ่งจะกล่าวถึงในข้อต่อไป อีกทั้งสัญญาดังกล่าวตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของ
6.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 บทเฉพาะกาล มาตรา 305 (1) และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
6.2 พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
6.3 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543
6.4 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
6.5 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
6.6 พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
6.7 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
6.8 พระราชบัญญัติวิธีการปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
6.9 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
6.10 กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นกรณีสัญญาฯ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 จึงไม่สามารถต่อสัญญาได้โดยอัติโนมัติ ได้มีความเห็นของคณะบุคคลหลายคณะรวมทั้งคณะกรรมการพิจารณาด้านสัญญาและกฎหมายซึ่งมีนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธานกรรมการ ที่ได้ศึกษาเรื่องนี้ตามที่ บมจ.อสมท แต่งตั้งขึ้นและให้ความเห็นไว้ว่า สัญญาดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นที่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา และส่งผลให้ อสมท เสียเปรียบและเสียประโยชน์นานัประการ
และต่อมายังปรากฎอีกด้วยว่า บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ได้มีหนังสือขอต่ออายุสัญญา อันเป็นเหตุให้ บมจ.อสมท ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 อันถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายแล้วว่าสัญญาดังกล่าวไม่สามารถต่อสัญญาออกไปได้โดยอัติโนมัติ และหากจะต่อสัญญาก็จะต้องปฎิบัติให้ชอบด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาของสัญญา และอยู่ภายใต้บังคับของรัฐธรรมนูญและกฎหมายตามข้อ 6.1-6.10
อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้
วันนี้จะนำเสนอ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มีผลให้การต่อสัญญาฯแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ในการบริหารกิจการช่อง 3 ไม่สามารถกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้ xระเด็นที่ 5. หากแม้จะฟังว่าสัญญาฯ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 ไม่ตกเป็นโมฆะ แต่การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฯ ครั้งที่ 3 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2532 ให้แก้ไขได้เพียง 7 ประเด็นนั้น
การเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 และการที่คณะรัฐมนตรี มีมติเช่นว่านั้น ซึ่งเป็นการร่วมกิจการหรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเอกชนโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่กิจการของ อสมท ทำให้รัฐ และ อสมท ได้รับความเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 มาตรา 7
(5) ส่งผลให้ผู้อำนวยการ อสมท ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการลงนามในสัญญาดังกล่าวโดยยังไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว และได้ลงนามไปก่อนหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะมีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้ผู้อำนวยการ อสมท และคณะกรรมการ อสมท ทราบ ถึง 10 วัน ได้โดยชอบ โดยนัยเดียวกัน ดังนั้น สัญญาฯแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 จึงตกเป็นโมฆะและไม่มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกันอีกทั้งสัญญาฯแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 มีข้อความ ไม่เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติไว้ว่าให้แก้ไขได้เพียง 7 ประเด็น และปิดบังมูลเหตุที่คณะรัฐมนตรีมีมติเช่นว่านั้น ตามหนังสือขอความเป็นธรรมของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 และกลับมีข้อกำหนดให้บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ต้องแบกรับภาระค่าก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นด้วย จึงขัดแย้งกับเหตุผลที่อ้างในหนังสือขอความเป็นธรรมดังกล่าว
ประเด็นที่ 6. หากแม้จะฟังว่า สัญญาฯ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ชอบด้วยกฎหมาย แต่สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาที่มีผลให้ต่อสัญญาได้อีก 10 ปี โดยอัติโนมัติ เนื่องจากมีกรณีการกระทำผิดเงื่อนไขของสัญญาหลายประการ ซึ่งจะกล่าวถึงในข้อต่อไป อีกทั้งสัญญาดังกล่าวตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของ
6.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 บทเฉพาะกาล มาตรา 305 (1) และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
6.2 พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
6.3 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543
6.4 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
6.5 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
6.6 พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
6.7 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
6.8 พระราชบัญญัติวิธีการปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
6.9 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
6.10 กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นกรณีสัญญาฯ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 จึงไม่สามารถต่อสัญญาได้โดยอัติโนมัติ ได้มีความเห็นของคณะบุคคลหลายคณะรวมทั้งคณะกรรมการพิจารณาด้านสัญญาและกฎหมายซึ่งมีนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธานกรรมการ ที่ได้ศึกษาเรื่องนี้ตามที่ บมจ.อสมท แต่งตั้งขึ้นและให้ความเห็นไว้ว่า สัญญาดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นที่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา และส่งผลให้ อสมท เสียเปรียบและเสียประโยชน์นานัประการ
และต่อมายังปรากฎอีกด้วยว่า บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ได้มีหนังสือขอต่ออายุสัญญา อันเป็นเหตุให้ บมจ.อสมท ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 อันถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายแล้วว่าสัญญาดังกล่าวไม่สามารถต่อสัญญาออกไปได้โดยอัติโนมัติ และหากจะต่อสัญญาก็จะต้องปฎิบัติให้ชอบด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาของสัญญา และอยู่ภายใต้บังคับของรัฐธรรมนูญและกฎหมายตามข้อ 6.1-6.10
อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้