วันนี้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลาบ่ายจะเป็นวันเวลาที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีกำหนดอ่านคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ที่เรียกขานกันโดยนิยมว่า “คดียึดทรัพย์ทักษิณ 76,000 ล้านบาท”
ก็อีกไม่กี่ชั่วโมงจากนี้ไปก็คงจะรู้ผลกันว่าผลคำตัดสินจะให้ทรัพย์ที่อายัดไว้ทั้งหมดตกเป็นของแผ่นดิน หรือว่าคืนให้แก่เจ้าของทั้งหมด หรือว่าให้ตกเป็นของแผ่นดินบางส่วน
เพราะความเป็นไปได้ของคดีนี้ก็มีอยู่ 3 ประการเท่านี้แหละ แต่จะออกทางไหนนั้นย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะตัดสินคดี และก็เหลือเวลาอีกไม่มากที่ทุกคนจะได้รู้ผลกันเสียทีหนึ่ง
คดีนี้ต้องนับว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และเป็นคดีที่คนไทยทั้งประเทศ รวมทั้งประชาคมโลกล้วนให้ความสนใจและติดตามผลคดีอยู่อย่างใกล้ชิด
ดังนั้นการตัดสินคดีนี้จึงย่อมไม่เหมือนคดีธรรมดาที่อาจจะใช้วิธีเขียนคำพิพากษาแบบย่นย่อหรือพอเป็นสังเขปได้ หากจะเป็นคำพิพากษาที่จะแสดงข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา การนำสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย การรับฟังข้อเท็จจริงของศาล ตลอดจนเหตุผลที่ใช้ในการรับฟังนั้น และผลสรุปคือคำตัดสินว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นการทำคำพิพากษาที่มีความละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์ มากที่สุดคดีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของศาลยุติธรรมไทย
ทว่าก่อนถึงวันตัดสินคดีได้มีเหตุการณ์มากหลายเกิดขึ้น และกำลังทำให้ประเทศไทยเสมือนหนึ่งอยู่ในสภาวะศึกสงคราม ส่งผลสะเทือนเลือนลั่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
เป็นคดีที่มีการประกาศไล่ล่าให้ฆ่าผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้อย่างเปิดเผย มีการส่งสัญญาณว่าจะมีการอุ้มฆ่าผู้พิพากษากันอย่างเปิดเผย มีการกล่าวหาว่าองค์คณะผู้พิพากษาเป็นสมุนอำมาตย์และรับคำสั่งจากอำมาตย์โดยเปิดเผย
ในขณะเดียวกันก็มีการปล่อยข่าวว่ามีคนพยายามบ่อนทำลายความยุติธรรม ด้วยการติดต่อวิ่งเต้นติดสินบนตุลาการคนละ 1,000 ล้านบาท เป็นจำนวนถึง 5 คน ซึ่งกำลังเป็นข่าวฮือฮากันอยู่ในขณะนี้
มีการส่งสัญญาณถึงใครก็ไม่รู้ว่าให้หาทางปรองดองกัน เพราะถ้าหากมีการยึดทรัพย์และไม่มีการนิรโทษกรรม “ประเทศไทยเละ” แต่จะเละอย่างไรก็ไม่มีใครรู้ และทำไมถึงจะต้องเละก็ไม่มีการแสดงเหตุผล
มีการส่งสัญญาณถึงใครก็ไม่รู้อีกว่า ถ้าหากไม่มีความสนใจในข้อเสนอหรือทางออกที่บอกให้ The game is going on. ซึ่งไม่รู้ว่าเกมที่ว่านั้นคืออะไร และจะดำเนินไปอย่างไร แต่ถึงจะไม่รู้ความนัยก็พอเข้าใจได้ว่านี่คือคำขู่และเป็นคำส่งสัญญาณที่แจ่มชัด
มันเป็นสัญญาณที่ไปสอดคล้องรองรับกับการประกาศหลายครั้งหลายหน เช่น การประกาศระดมพล 1 ล้านคน พร้อมรถ 1 แสนคัน หรือการประกาศให้คน 1 ล้านคนเอาน้ำมันก๊าซเข้ามาคนละ 1 ลิตรเพื่อเผากรุงเทพฯ ให้เป็นทะเลเพลิง
และมันก็สอดคล้องรองรับกับการประกาศนัดชุมนุมประท้วงที่สนามหลวงในวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2553 และต่อมาก็มีอีกกลุ่มหนึ่งประกาศชุมนุมในวันที่ 6 มีนาคม 2553 และอีกกลุ่มหนึ่งก็ประกาศนัดชุมนุมในวันที่ 12-14 มีนาคม 2553
แต่มันจะสอดคล้องกับคำประกาศล่าสุดของนายฮวยเซ็งที่ว่าจะขึ้นมาประกาศศักดาของกษัตริย์เขมรในดินแดนไทยเหมือนครั้งก่อนในวันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ ศกนี้ และการยิงจรวดโชว์อีก 200 ลูกที่กำปงจามหรือไม่ คนที่มีอำนาจและคนที่รักชาติทั้งหลายก็จะต้องคิดกันเอาเอง
เพราะข่าวคราวที่ปรากฏเช่นนั้นจึงทำให้ทั่วทั้งประเทศต้องอกสั่นขวัญแขวนและเป็นผลให้รัฐบาลต้องเตรียมการรับมือประหนึ่งว่าจะเกิดศึกสงคราม มีการระดมกำลังมากมายหลายๆ ฝ่าย เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
มีการกำหนดเขตพื้นที่ในต่างจังหวัดถึง 38 จังหวัด และในกรุงเทพฯ อีก 200 จุด ที่จะต้องตรวจตราอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น มีการเตรียมกักตุนเงินสำหรับสถาบันการเงินต่างๆ มีการเตรียมกักตุนอาหารในหลายสถาบันที่มีความวิตกกังวล
เพื่อป้องกันเหตุร้าย รัฐบาลได้จัดหาเซฟเฮาส์สำหรับเป็นที่พักของคณะผู้พิพากษาที่จะพิจารณาตัดสินคดีนี้ และเตรียมการจัดระบบตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ในท่ามกลางข่าวว่าจะมีการใช้รถแท็กซี่ 20 ขบวนหลายร้อยคัน ทำการปิดกั้นปิดล้อมศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เป็นผลให้ขณะนี้ 27 ชาติทั่วโลกออกคำสั่งห้ามประชากรของตนไม่ให้เดินทางมาประเทศไทย หรือถ้าจำเป็นก็ให้หลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใกล้ในสถานที่ที่มีการชุมนุม
รวมความได้ว่า ผลสะเทือนของคดียึดทรัพย์ทักษิณ 76,000 ล้านบาทนี้ยิ่งใหญ่และมโหฬารยิ่งกว่าคดีใดๆ ในประวัติศาสตร์ของประเทศ แต่ไม่ว่าจะเป็นประการใด เลขานุการศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ได้แถลงอย่างแจ้งชัดแล้วว่าศาลจะพิพากษาคดีนี้ตามกำหนด ไม่มีการเลื่อนเด็ดขาด
ดังนั้นแม้เวลาจะเหลืออีกไม่กี่ชั่วโมง แต่ความระทึกใจก็ดูเหมือนว่าจะเข้มข้นและหนักหนาขึ้นกว่าห้วงเวลาที่ผ่านมา
ในที่สุดไม่ว่าศาลจะตัดสินออกมาในรูปใด ผลแห่งคำตัดสินนั้นย่อมได้รับการบังคับให้เป็นไปตามคำตัดสินนั้นเสมอ นั่นคือ
ในกรณีที่ตัดสินให้คืนทรัพย์สินทั้งหมดไป ผู้เป็นเจ้าของก็มีสิทธิได้รับทรัพย์สินนั้นกลับคืน แต่จะรับไปได้จริงหรือไม่อาจจะเป็นปัญหาอยู่บ้าง เพราะขณะนี้ก็มีรายงานข่าวว่ากรมสรรพากรได้มีหนังสือไปอายัดเงินจำนวนหนึ่ง โดยอ้างว่าเพื่อเป็นค่าภาษีค้างชำระ ซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจที่จะทำเช่นนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้เงินจำนวนที่อายัดก็จะถูกส่งไปกรมสรรพากร
ในกรณีที่ตัดสินให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินบางส่วน และคืนบางส่วน สำหรับส่วนที่คืนนั้นหากเป็นส่วนที่ต้องอายัดตามคำสั่งของกรมสรรพากร ส่วนนั้นก็ต้องส่งไปกรมสรรพากรตามจำนวนที่อายัดไว้ ส่วนที่เหลือต้องคืนแก่เจ้าของ
ในกรณีที่ตัดสินให้ทรัพย์ที่อายัดไว้ตกเป็นของแผ่นดินทั้งหมด เงินที่อายัดไว้ก็จะตกเป็นของแผ่นดิน และต้องโอนไปเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง หรือเข้าบัญชีเงินคงคลังต่อไป ส่วนที่กรมสรรพากรอายัดไว้ก็ต้องไปยึดหรืออายัดทรัพย์สินอื่นนอกจากเงิน 76,000 ล้านบาทนี้เอาเอง
ผลของคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นเป็นอันยุติถึงที่สุด ยกเว้นจะมีพยานหลักฐานปรากฏขึ้นใหม่และเป็นสาระสำคัญที่จะทำให้ผลแห่งคำตัดสินเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้
แต่ถ้าจะมีการอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็จะพิจารณาเป็นเบื้องต้นก่อนว่ามีเหตุอันควรรับอุทธรณ์หรือไม่ ถ้ามีเหตุคือมีพยานหลักฐานใหม่จริง และเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญจริง ก็จะส่งให้ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
ในกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะคดีนี้คู่ความทุกฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานกันอย่างเต็มที่ และศาลก็ได้เรียกพยานหลักฐานเองตามที่ศาลเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรมและจะทำความจริงให้ปรากฏได้ ดังนั้นจึงยากที่จะมีหลักฐานพยานใหม่ใช้ในการอุทธรณ์ได้
แต่ดูเหมือนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังมีทางออก ดังที่ได้ประกาศไว้ว่าจะนำคดีไปฟ้องต่อศาลโลก และถูกตีโต้ว่าฟ้องไม่ได้ เพราะศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณา
ในปัญหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะนำคดีไปฟ้องต่อศาลโลกได้หรือไม่นั้น พึงเข้าใจว่าสิ่งที่เรียกว่าศาลโลกนั้น มีความเป็นไปได้อยู่ 3 ศาล นอกจาก 3 ศาลนี้แล้วก็ไม่มีศาลอื่นอีก
ศาลแรก คือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นตามกฎบัตรสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก เป็นศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ซึ่งคดียึดทรัพย์นั้นไม่อยู่ในข่ายอำนาจของศาลนี้
ศาลที่สอง คือศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นศาลที่ตั้งขึ้นตามมติของสหประชาชาติเช่นเดียวกัน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรสงคราม คดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งคดียึดทรัพย์นั้นไม่อยู่ในข่ายอำนาจของศาลนี้เช่นเดียวกัน
ศาลที่สาม คือศาลที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พูดถึง แต่แท้จริงกลับไม่ใช่ศาลโลกใดๆ เลย หากเป็นองค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทในทางการค้าระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับรัฐบาลตามข้อตกลง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเท่านั้น
คดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท ไม่ใช่เรื่องการค้า ไม่ใช่ปัญหาระหว่างเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับรัฐตามข้อตกลงทางการค้า จึงไม่อยู่ในอำนาจที่จะดำเนินการใดๆ ได้
อำนาจแห่งความยุติธรรมนั้น ไม่ขึ้นอยู่กับอำเภอใจของใคร แต่ย่อมเป็นไปตามพยานหลักฐานและกฎหมาย เหตุนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงมีบทพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “ในกระแสแห่งยุติธรรมา ยากจะหาความเกษมเปรมปรีดิ์”
ก็อีกไม่กี่ชั่วโมงจากนี้ไปก็คงจะรู้ผลกันว่าผลคำตัดสินจะให้ทรัพย์ที่อายัดไว้ทั้งหมดตกเป็นของแผ่นดิน หรือว่าคืนให้แก่เจ้าของทั้งหมด หรือว่าให้ตกเป็นของแผ่นดินบางส่วน
เพราะความเป็นไปได้ของคดีนี้ก็มีอยู่ 3 ประการเท่านี้แหละ แต่จะออกทางไหนนั้นย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะตัดสินคดี และก็เหลือเวลาอีกไม่มากที่ทุกคนจะได้รู้ผลกันเสียทีหนึ่ง
คดีนี้ต้องนับว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และเป็นคดีที่คนไทยทั้งประเทศ รวมทั้งประชาคมโลกล้วนให้ความสนใจและติดตามผลคดีอยู่อย่างใกล้ชิด
ดังนั้นการตัดสินคดีนี้จึงย่อมไม่เหมือนคดีธรรมดาที่อาจจะใช้วิธีเขียนคำพิพากษาแบบย่นย่อหรือพอเป็นสังเขปได้ หากจะเป็นคำพิพากษาที่จะแสดงข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา การนำสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย การรับฟังข้อเท็จจริงของศาล ตลอดจนเหตุผลที่ใช้ในการรับฟังนั้น และผลสรุปคือคำตัดสินว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นการทำคำพิพากษาที่มีความละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์ มากที่สุดคดีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของศาลยุติธรรมไทย
ทว่าก่อนถึงวันตัดสินคดีได้มีเหตุการณ์มากหลายเกิดขึ้น และกำลังทำให้ประเทศไทยเสมือนหนึ่งอยู่ในสภาวะศึกสงคราม ส่งผลสะเทือนเลือนลั่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
เป็นคดีที่มีการประกาศไล่ล่าให้ฆ่าผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้อย่างเปิดเผย มีการส่งสัญญาณว่าจะมีการอุ้มฆ่าผู้พิพากษากันอย่างเปิดเผย มีการกล่าวหาว่าองค์คณะผู้พิพากษาเป็นสมุนอำมาตย์และรับคำสั่งจากอำมาตย์โดยเปิดเผย
ในขณะเดียวกันก็มีการปล่อยข่าวว่ามีคนพยายามบ่อนทำลายความยุติธรรม ด้วยการติดต่อวิ่งเต้นติดสินบนตุลาการคนละ 1,000 ล้านบาท เป็นจำนวนถึง 5 คน ซึ่งกำลังเป็นข่าวฮือฮากันอยู่ในขณะนี้
มีการส่งสัญญาณถึงใครก็ไม่รู้ว่าให้หาทางปรองดองกัน เพราะถ้าหากมีการยึดทรัพย์และไม่มีการนิรโทษกรรม “ประเทศไทยเละ” แต่จะเละอย่างไรก็ไม่มีใครรู้ และทำไมถึงจะต้องเละก็ไม่มีการแสดงเหตุผล
มีการส่งสัญญาณถึงใครก็ไม่รู้อีกว่า ถ้าหากไม่มีความสนใจในข้อเสนอหรือทางออกที่บอกให้ The game is going on. ซึ่งไม่รู้ว่าเกมที่ว่านั้นคืออะไร และจะดำเนินไปอย่างไร แต่ถึงจะไม่รู้ความนัยก็พอเข้าใจได้ว่านี่คือคำขู่และเป็นคำส่งสัญญาณที่แจ่มชัด
มันเป็นสัญญาณที่ไปสอดคล้องรองรับกับการประกาศหลายครั้งหลายหน เช่น การประกาศระดมพล 1 ล้านคน พร้อมรถ 1 แสนคัน หรือการประกาศให้คน 1 ล้านคนเอาน้ำมันก๊าซเข้ามาคนละ 1 ลิตรเพื่อเผากรุงเทพฯ ให้เป็นทะเลเพลิง
และมันก็สอดคล้องรองรับกับการประกาศนัดชุมนุมประท้วงที่สนามหลวงในวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2553 และต่อมาก็มีอีกกลุ่มหนึ่งประกาศชุมนุมในวันที่ 6 มีนาคม 2553 และอีกกลุ่มหนึ่งก็ประกาศนัดชุมนุมในวันที่ 12-14 มีนาคม 2553
แต่มันจะสอดคล้องกับคำประกาศล่าสุดของนายฮวยเซ็งที่ว่าจะขึ้นมาประกาศศักดาของกษัตริย์เขมรในดินแดนไทยเหมือนครั้งก่อนในวันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ ศกนี้ และการยิงจรวดโชว์อีก 200 ลูกที่กำปงจามหรือไม่ คนที่มีอำนาจและคนที่รักชาติทั้งหลายก็จะต้องคิดกันเอาเอง
เพราะข่าวคราวที่ปรากฏเช่นนั้นจึงทำให้ทั่วทั้งประเทศต้องอกสั่นขวัญแขวนและเป็นผลให้รัฐบาลต้องเตรียมการรับมือประหนึ่งว่าจะเกิดศึกสงคราม มีการระดมกำลังมากมายหลายๆ ฝ่าย เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
มีการกำหนดเขตพื้นที่ในต่างจังหวัดถึง 38 จังหวัด และในกรุงเทพฯ อีก 200 จุด ที่จะต้องตรวจตราอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น มีการเตรียมกักตุนเงินสำหรับสถาบันการเงินต่างๆ มีการเตรียมกักตุนอาหารในหลายสถาบันที่มีความวิตกกังวล
เพื่อป้องกันเหตุร้าย รัฐบาลได้จัดหาเซฟเฮาส์สำหรับเป็นที่พักของคณะผู้พิพากษาที่จะพิจารณาตัดสินคดีนี้ และเตรียมการจัดระบบตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ในท่ามกลางข่าวว่าจะมีการใช้รถแท็กซี่ 20 ขบวนหลายร้อยคัน ทำการปิดกั้นปิดล้อมศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เป็นผลให้ขณะนี้ 27 ชาติทั่วโลกออกคำสั่งห้ามประชากรของตนไม่ให้เดินทางมาประเทศไทย หรือถ้าจำเป็นก็ให้หลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใกล้ในสถานที่ที่มีการชุมนุม
รวมความได้ว่า ผลสะเทือนของคดียึดทรัพย์ทักษิณ 76,000 ล้านบาทนี้ยิ่งใหญ่และมโหฬารยิ่งกว่าคดีใดๆ ในประวัติศาสตร์ของประเทศ แต่ไม่ว่าจะเป็นประการใด เลขานุการศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ได้แถลงอย่างแจ้งชัดแล้วว่าศาลจะพิพากษาคดีนี้ตามกำหนด ไม่มีการเลื่อนเด็ดขาด
ดังนั้นแม้เวลาจะเหลืออีกไม่กี่ชั่วโมง แต่ความระทึกใจก็ดูเหมือนว่าจะเข้มข้นและหนักหนาขึ้นกว่าห้วงเวลาที่ผ่านมา
ในที่สุดไม่ว่าศาลจะตัดสินออกมาในรูปใด ผลแห่งคำตัดสินนั้นย่อมได้รับการบังคับให้เป็นไปตามคำตัดสินนั้นเสมอ นั่นคือ
ในกรณีที่ตัดสินให้คืนทรัพย์สินทั้งหมดไป ผู้เป็นเจ้าของก็มีสิทธิได้รับทรัพย์สินนั้นกลับคืน แต่จะรับไปได้จริงหรือไม่อาจจะเป็นปัญหาอยู่บ้าง เพราะขณะนี้ก็มีรายงานข่าวว่ากรมสรรพากรได้มีหนังสือไปอายัดเงินจำนวนหนึ่ง โดยอ้างว่าเพื่อเป็นค่าภาษีค้างชำระ ซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจที่จะทำเช่นนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้เงินจำนวนที่อายัดก็จะถูกส่งไปกรมสรรพากร
ในกรณีที่ตัดสินให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินบางส่วน และคืนบางส่วน สำหรับส่วนที่คืนนั้นหากเป็นส่วนที่ต้องอายัดตามคำสั่งของกรมสรรพากร ส่วนนั้นก็ต้องส่งไปกรมสรรพากรตามจำนวนที่อายัดไว้ ส่วนที่เหลือต้องคืนแก่เจ้าของ
ในกรณีที่ตัดสินให้ทรัพย์ที่อายัดไว้ตกเป็นของแผ่นดินทั้งหมด เงินที่อายัดไว้ก็จะตกเป็นของแผ่นดิน และต้องโอนไปเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง หรือเข้าบัญชีเงินคงคลังต่อไป ส่วนที่กรมสรรพากรอายัดไว้ก็ต้องไปยึดหรืออายัดทรัพย์สินอื่นนอกจากเงิน 76,000 ล้านบาทนี้เอาเอง
ผลของคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นเป็นอันยุติถึงที่สุด ยกเว้นจะมีพยานหลักฐานปรากฏขึ้นใหม่และเป็นสาระสำคัญที่จะทำให้ผลแห่งคำตัดสินเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้
แต่ถ้าจะมีการอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็จะพิจารณาเป็นเบื้องต้นก่อนว่ามีเหตุอันควรรับอุทธรณ์หรือไม่ ถ้ามีเหตุคือมีพยานหลักฐานใหม่จริง และเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญจริง ก็จะส่งให้ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
ในกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะคดีนี้คู่ความทุกฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานกันอย่างเต็มที่ และศาลก็ได้เรียกพยานหลักฐานเองตามที่ศาลเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรมและจะทำความจริงให้ปรากฏได้ ดังนั้นจึงยากที่จะมีหลักฐานพยานใหม่ใช้ในการอุทธรณ์ได้
แต่ดูเหมือนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังมีทางออก ดังที่ได้ประกาศไว้ว่าจะนำคดีไปฟ้องต่อศาลโลก และถูกตีโต้ว่าฟ้องไม่ได้ เพราะศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณา
ในปัญหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะนำคดีไปฟ้องต่อศาลโลกได้หรือไม่นั้น พึงเข้าใจว่าสิ่งที่เรียกว่าศาลโลกนั้น มีความเป็นไปได้อยู่ 3 ศาล นอกจาก 3 ศาลนี้แล้วก็ไม่มีศาลอื่นอีก
ศาลแรก คือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นตามกฎบัตรสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก เป็นศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ซึ่งคดียึดทรัพย์นั้นไม่อยู่ในข่ายอำนาจของศาลนี้
ศาลที่สอง คือศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นศาลที่ตั้งขึ้นตามมติของสหประชาชาติเช่นเดียวกัน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรสงคราม คดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งคดียึดทรัพย์นั้นไม่อยู่ในข่ายอำนาจของศาลนี้เช่นเดียวกัน
ศาลที่สาม คือศาลที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พูดถึง แต่แท้จริงกลับไม่ใช่ศาลโลกใดๆ เลย หากเป็นองค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทในทางการค้าระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับรัฐบาลตามข้อตกลง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเท่านั้น
คดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท ไม่ใช่เรื่องการค้า ไม่ใช่ปัญหาระหว่างเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับรัฐตามข้อตกลงทางการค้า จึงไม่อยู่ในอำนาจที่จะดำเนินการใดๆ ได้
อำนาจแห่งความยุติธรรมนั้น ไม่ขึ้นอยู่กับอำเภอใจของใคร แต่ย่อมเป็นไปตามพยานหลักฐานและกฎหมาย เหตุนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงมีบทพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “ในกระแสแห่งยุติธรรมา ยากจะหาความเกษมเปรมปรีดิ์”