โดย...ไทยทน
เมื่อใกล้ถึงวันตัดสินคดี ดูจะพยายามต่อสู้ช่วงสุดท้าย แต่เสียดายที่อยากเป็นผู้นำประเทศ แต่กลับไม่ต่อสู้ด้วย “ความจริง” แต่กลับพยายามหาทางสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ทั้งๆ ที่การต่อสู้คดียึดทรัพย์ที่ดีที่สุด คือ การให้ “ความจริง” และ พ.ต.ท. ทักษิณ ยังคงจะ “แพ้” แน่นอนหากไม่ยอมที่จะใช้ “ความจริง”
คดีนี้ ไม่ใช่เป็นการโอนหุ้นในครอบครัวอย่างธรรมดา หรือธรรมชาติ แต่เป็นการ “ซุกหุ้น” เลี่ยงรัฐธรรมนูญที่ห้ามรัฐมนตรี (และนายกฯ) ถือหุ้นเกิน 5% และกฎหมาย ป.ป.ช. ห้ามรัฐมนตรีมีหุ้นสัมปทาน เพื่อกันคนเป็นเจ้าของกิจการสัมปทานมาหาประโยชน์จากภาครัฐโดยมิชอบดังคดีนี้ที่เราได้เห็น
“ความจริง” ที่ พ.ต.ท. ทักษิณขาดไป จากข้อมูลแถลงการณ์เพื่อปิดคดี มีหลายประเด็นดังนี้
1. ท่านอ้างว่า “เป็นเรื่องการซื้อขายทรัพย์สินที่บิดามารดาขายให้บุตรในสายเลือดของตนเอง...ซึ่งแม้จะยกให้ก็ได้...ในหลักการที่ผู้ถูกกล่าวหาจะขายหุ้นให้บุตรนั้น ก็มิใช่เป็นการขายให้เฉพาะหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ เท่านั้น แต่ยังมีหุ้นบรรษัทเงินทุนฯ (IFCT) หุ้นชินแซทฯ (SATTEL) หุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (Warrants) ธนาคารทหารไทย (TMB และ TMB-C1) ... โดยถือหลักการเดียวกัน คือ ตามราคาพาร์อันเป็น “ต้นทุนที่แท้จริงที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสลงทุนซื้อมาตั้งแต่เริ่มแรก” โดยการขายให้บุตรนั้นไม่ได้พิจารณาเลยว่าเป็นราคาซื้อขายของหุ้นนั้นๆ ในขณะที่ขายให้บุตรจะมีราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สูงหรือต่ำกว่าราคาพาร์หรือไม่ เพียงใด เพราะไม่ได้หวังจะหากำไรจากบุตรของตนเอง”
ที่ท่านอ้างมาก็น่าซึ้งใจจนน้ำตาไหล แต่เป็นการกล้า “ให้การเท็จ” ต่อศาลสถิตยุติธรรม
“ความจริง” ก็คือ นายพานทองแท้ ได้รับโอนหุ้นมูลค่า 733.95 ล้าน จากพ่อแม่ โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงิน ในวันที่ 1 กันยายน 2543 แต่ต้องทำตั๋วสัญญาใช้เงิน “เพิ่ม” พิเศษอีก 4,500 ล้านบาท ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2543 เพียง 1 วัน ก่อนวันโอนหุ้นซึ่งครอบครัวชินวัตรได้เบิกความให้การตรงกันเป็นที่ยุติตรงกันว่า เป็นค่าหุ้นธนาคารทหารไทย (TMB)150 ล้านหุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ฯ (TMB-C1) 300 ล้านหน่วย รวม 4,500 ล้านบาท โดยพ.ต.ท. ทักษิณ ให้การว่าเป็นการซื้อขายทุกหลักทรัพย์ทำที่ “ราคาทุน” จึงเป็นข้อยุติที่ชี้ว่า ฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ ให้การเท็จ ด้วยในความเป็นจริง TMB-C1 นั้นเป็น “ของฟรี” ที่แม่ได้มาเปล่าๆ พร้อมหุ้น ในอัตรา 2 TMB-C1 ต่อ 1 หุ้น TMB โดยสามารถตรวจสอบได้จากหมายเหตุประกอบงบการเงินของธนาคารทหารไทย ปี 2544-2545 ระบุว่า “ทั้งนี้ผู้ซื้อหุ้นสามัญใหม่ที่ออกจะได้รับหุ้นสามัญใหม่พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่จะซื้อหุ้นบุริมสิทธิหมวด ข. จากกระทรวงการคลัง โดยมีอัตราส่วน 1 หุ้นสามัญใหม่ต่อ 2 ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” ซึ่งหมายความว่า ซื้อหุ้นจะได้หุ้น + warrants (TMB 1 หุ้น + TMB-C1 2 หน่วย) ฟรีๆ
แต่แม่กลับขาย “ของฟรี” ให้ลูกด้วยมูลค่า “เท็จ” ถึง 3,000 ล้านบาท จึงไม่ใช่โอนที่ทุนอย่างที่ให้การ เพราะราคาทุนของแม่เพียง 1,500 ล้านบาทเท่านั้น จะอ้างว่าเป็นการขายปกติได้อย่างไร
คตส.ได้ชี้แจงว่า ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ด้วยหนี้ 3,000 ล้านที่เป็นหนี้ปลอมนี้ เป็นถึงประมาณ 60% ของหนี้ทั้งสิ้นที่นายพานทองแท้ทำให้แก่มารดาในช่วงวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2543 รวม 5,056,348,840 บาท ซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว เป็นเครื่องมือที่ทำให้นายพานทองแท้ ได้คืนปันผลแทบทุกงวดกลับมาให้แม่ หากถือเป็นหนี้ปลอมและต้องถือเป็นโมฆะ ก็เป็นหลักฐานแสดงว่า การที่นายพานทองแท้ถูกใช้ชื่อถือหุ้นเท่านั้น ปันผลต่างๆ ยังจ่ายกลับมาให้แม่อยู่ดี
“ความจริง” อีกประการคือ ในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 นั้น หุ้น TMB และ TMB-C1 มีราคาตลาดเพียง 5.70 และ 1.30บาทเท่านั้น ทำให้มูลค่าของ TMB กับ TMB-C1 ที่ซื้อจากแม่นั้น คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,245 ล้านบาทเท่านั้น และหากมองมุมที่อ้างว่า นายพานทองแท้ รับโอนอย่างเป็นอิสระในฐานะบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่นายพานทองแท้กลับใช้อ้างว่าซื้อจากแม่ที่มูลค่ารวม 4,500 ล้านบาท จึงไม่น่าเชื่อถือ
2. ท่านอ้างว่าการโอนหุ้นระหว่าง นายพานทองแท้ พี่ชาย กับ น.ส.พิณทองทาน้องสาวผู้ซื้อนั้นเป็นการโอนกันจริง “เพราะบุคคลทั้งสองเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีความรู้ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทจากประเทศอังกฤษ” ก็ละเว้นไม่ได้ต่อสู้ข้อสงสัยหลายประเด็น
“ความจริง” คือ ยอดของขวัญวันเกิดในโอกาสอายุครบ 20 ปี (บรรลุนิติภาวะ) พอดี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร จำนวน 370 ล้านบาท เป็นจำนวนที่ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นการอำพราง ด้วยใกล้เคียงกับยอดซื้อหุ้นจากพี่ชายจำนวน 367 ล้านบาทพอดี ซึ่งทำให้ พิณทองทาถือหุ้น 367 ล้านหุ้น และพานทองแท้ถือหุ้น 366.95 ล้านหุ้น เท่าๆ กัน พอดีๆ โดยหากไม่ใช่ทำรายการเพื่อการปรับโครงสร้างการถือหุ้นแทน ก็น่าจะมีของขวัญวันเกิด เมื่อพานทองแท้อายุครบ 20 ปี หรือ แพทองธารอายุครบ 20 ปีด้วยในลักษณะคล้ายกัน แต่เท่าที่ติดตามข่าวมาก็เชื่อว่าไม่มี เป็นการสร้างรายการเพื่อปรับชื่อในการถือหุ้นเท่านั้น
พี่ชายเอง ซื้อของจากแม่ TMB + TMB-C1 ก่อนรับโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 1 วัน ทำให้ต้องแบกหนี้ปลอม 3,000 ล้านบาท คนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ซื้อ TMB + TMB-C1 ในราคา 4,500 ล้านบาท ทั้งที่ ราคาตลาดมีค่าเพียง 1,245 ล้านบาทเท่านั้น จะให้เชื่อว่า ประการแรก จะถือว่าเป็นผู้คิดแบบผู้บรรลุนิติภาวะแล้วได้อย่างไร
และยิ่งกว่านั้น ประการที่ 2 พี่กลับต้องโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ให้น้องพิณทองทาในราคาถูกๆ คือที่ราคาพาร์ โดยไม่ได้แบ่งหนี้ปลอมไปด้วย ครั้งแรก วันที่ 9 กันยายน 2545 ก็ 367 ล้านหุ้น และครั้งที่ 2 วันที่ 4 มิถุนายน 2546 อีก 73 ล้านหุ้น ทำให้ น.ส.พิณทองทา ถือหุ้น จำนวน 440 ล้านหุ้น มากกว่าพี่ชายซึ่งเหลือหุ้นเพียง 293.95 ล้านหุ้นเสียอีก พี่ชายต้องแบกภาระมหาศาล แต่ให้น้องมีหุ้นมากกว่า จะทำให้เชื่อว่าเป็นการโอนกันเยี่ยงผู้บรรลุนิติภาวะที่เป็นอิสระแท้จริงได้อย่างไร
และหากถือเป็นการแบ่งสมบัติจำนวนใกล้ๆ กัน ในเมื่อท่านมีบุตร 3 คน เมื่อขายหุ้นแล้ว ก็น่าจะได้แบ่งเงินสดให้ น.ส.แพทองธารไปด้วย เพราะไม่มีปัญหาต่อการดำรงตำแหน่งของบิดาอีกต่อไป แต่ก็ไม่ได้โอนแบ่งแต่อย่างใด ทำให้เชื่อได้มากกว่าว่าเป็นกระบวนการใช้ชื่อบุตรถือหุ้นแทนมากกว่า และที่ไม่ได้แบ่งให้ ก็เพราะภารกิจถือหุ้นแทนจบสิ้นแล้ว พ่อลงจากตำแหน่งแล้ว โดยเมื่อโอนไปที่ต่างๆ เช่น ประไหมสุหรี ซื้อหุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ซื้อเหมืองเพชร ดังคำให้การสารภาพของลูกๆ เพื่อให้พ่อใช้บริหาร แต่ก็เป็นที่เห็นประจักษ์กันทั่วโลกว่า ผู้เป็นเจ้าของคือ ทักษิณ ชินวัตร โดยใช้เงินที่ผ่านจากการซุกหุ้นเหล่านี้มาใช้ในฐานะเจ้าของแท้จริง
การที่ น.ส.พิณทองทา มีเงินปันผลสะสม 2,105 ล้านบาทเศษนั้น ก็ดูจะดีกว่ากรณีของนายพานทองแท้ ที่ต้องคืนปันผลในเวลาอันสั้นแทบทุกงวด แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ในบัญชีดังกล่าว ไม่ได้ปนกับรายการใช้จ่ายปรกติประจำวัน ซึ่งในทางปฏิบัติอาจเป็นการแยกสมุดบัญชีให้คุณกาญจนาภาดูแลไว้ และสอดคล้องกับข่าวที่ น.ส.พิณทองทาได้ไปให้การที่ คตส. ว่า “ที่ผ่านมา ตนไม่ค่อยได้รู้เรื่องอะไร พี่กาญจนาภาให้เซ็นอะไรก็เซ็น” ก่อนที่ภายหลังจากมีการร้องไห้และยืนยันว่า คำให้การใดๆ ที่เป็นผลร้ายต่อบุพการีก็ไม่อยากให้อีกแล้วในฐานะลูกกตัญญู ส่วนรายการระหว่าง น.ส.พิณทองทากับวินมาร์คก็สะท้อนความเป็นนอมินีทั้งสิ้นจะกล่าวถึงต่อไปในบทความตอน 2
3. ท่านอธิบายรายละเอียดตามหลักฐานที่ทำไว้ว่า นายบรรพจน์ ดามาพงศ์ ได้ชำระเงินให้แก่ คุณหญิงพจมาน ก็เป็นการชำระเงินกู้ยืมที่ยืมไปจากคุณหญิงพจมาน
“ความจริง” มีรายละเอียดที่เป็นพิรุธคือ นายบรรพจน์ ดามาพงศ์ ได้หุ้นมาโดยไม่มีหลักฐานการชำระเงินค่าหุ้นชินคอร์ปฯ ด้วยเงินของตนเองเลย โดยมีตัวอย่างหนี้จำนวน 102,135,225 บาท เพื่อชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนหุ้น SHIN เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 เป็นเงินที่คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ออกเงินชำระทุกบาททุกสตางค์ ทั้งที่ในวันนั้น เฉพาะมูลค่าหุ้นของนายบรรณพจน์ที่มีก็กว่า 500 ล้านบาทอยู่แล้ว
ซึ่งแม้นายบรรณพจน์มีเงินเข้าบัญชีหลายสิบล้านบาท ก็มิได้คืนเงินเลย แม้เศษๆ 135,225 บาทก็ไม่ได้คืนนานถึง 3-4 ปีด้วยเงินของตนเอง แม้บางช่วงที่ นายบรรณพจน์ เป็นผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นมากที่สุดของครอบครัวชินวัตรแล้ว คือมีหุ้น 404,430,300 หุ้นตามทะเบียนหุ้นวันที่ 9 เมษายน 2546 มีหุ้นมูลค่ากว่า 5,500 ล้านบาท (ราคาตลาดหุ้น SHIN หุ้นละ 13-14 บาทในช่วงเวลาดังกล่าว) ก็ยังไม่คืนเงินคุณหญิงพจมานแม้แต่บาทเดียว แต่กลับรอจนรับปันผลหุ้น SHIN จึงนำมาชำระคืน
ในช่วงท้าย นายบรรณพจน์ ก็มีการเปิดบัญชีแยกเงินรับปันผลและค่าขายหุ้นจากบัญชีสำหรับชีวิตปกติของตัว ถ้าเป็นการโอนจริง ก็ไม่น่าจะต้อง ได้เงินมาก็ใช้ไป ผสมกับเงินส่วนตัวบ้างก็ไม่แปลก แต่กลับแยกชัดเจนต่างหากจากเงินจริงของตัว และโอนเงิน 570 ล้านบาท และ 330 ล้านบาท ซึ่งคงเหลือจากปันผลใหญ่ๆ ก่อนหน้านั้น รวมกับ เงินปันผลรอบต่อมา 454.98 ล้านบาท และค่าขายหุ้นรวมเกือบ 2 หมื่นล้านบาท (เฉพาะของ นายบรรณพจน์) แยกออกจากบัญชีชีวิตส่วนตัวที่มีรายการเงินเดือนเข้าบัญชีต่างหากจากกัน
ในทางปฏิบัติมีความเป็นไปได้สูงที่แยกสมุดบัญชี เพื่อให้คนของคุณหญิง พจมาน เช่น นางกาญจนาภา อาจเป็นผู้ดูแลไว้ก็เป็นได้ เพื่อไม่ให้เกิดความโลภจนอาจเอาเงินก้อนใหญ่ที่ถือหุ้นแทนนี้ไปใช้ส่วนตัว จึงต้องแยกจากบัญชีส่วนตัวของนายบรรณพจน์ให้ชัดเจน
หากนับรวมรายการที่มีการซื้อหุ้นในบัญชี นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ โดยใช้เงินของคุณหญิงพจมาน ตั้งแต่รายการที่ถูกศาลสั่งว่าผิดในการรับโอนหุ้นที่เคยเก็บไว้ในชื่อโนมินี คือ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี 738 ล้านบาท ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ก็ยังมีรายการคล้ายๆ กันที่บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งว่า มีหุ้นชินอินเตอร์ฯ อีกประมาณ 126 ล้านบาท ใกล้ๆ ช่วงลอยตัวค่าเงินบาท และหุ้น ADVANC-F อีกประมาณ 89 ล้านบาท ก็จะทำให้เห็นภาพในลักษณะที่ว่า มีการยกระดับนอมินีใช้ชื่อถือหุ้นแทน จากระดับ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี มาเป็นระดับนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์นั่นเอง ซึ่งกรณี 738 ล้านบาท บอกว่าเป็นการให้ของขวัญที่ได้ลูกครบ 1 ปี (เศษๆ ?) แล้ว อีก 126 ล้านบาท หรือ 89 ล้านบาท จะเป็นค่าอะไรอีก??
4. ท่านอธิบายเรื่อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ตามที่เธอได้ให้การว่า ซื้อตามกำลังความสามารถที่คาดว่าชำระหนี้ได้ และตามแต่พี่ชาย จึงซื้อได้แค่ 2,000,000 หุ้น หากเป็นการโอนหุ้นอำพรางจริง ไม่ต้องทำก็ได้ เพราะสามารถโอนหุ้นให้นายพานทองแท้ ซึ่งรับโอนไป 30,900,000 หุ้นอยู่แล้ว เงินปันผลประมาณ 97,200,000 บาท ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการจ่ายให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา หรือคุณหญิงพจมาน เกินกว่าค่าหุ้นที่ซื้อจากผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 20 ล้านบาทเลย ดังที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ให้การว่านำไปใช้ในการทำธุรกิจ และตกแต่งบ้านของตนและซื้อทรัพย์สิน
“ความจริง” คือ เมื่อนายพานทองแท้รับโอนหุ้นจาก พ.ต.ท.ทักษิณไป 30,900,000 หุ้นแล้ว เมื่อรวมกับหุ้นจากแม่ จะมีจำนวนรวม 73,395,000 หุ้น คิดเป็น 24.99% อยู่แล้วก็เพื่อไม่ให้ถึง 25.00% ซึ่งทำให้เกิดภาระต้องเสนอซื้อหุ้นจากประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว ซึ่งหากเพิ่มอีก 2,000,000 หุ้น ก็จะทำให้มีหุ้นเกิน 25% และต้องมีภาระดังกล่าวนั่นเอง
“ความจริง” อีกด้านคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ค้างหนี้เพียง 20 ล้านบาท โดยมิได้คืนเงินเลย เป็นเวลา 3-4 ปี ทั้งที่ก็มีเงินไม่น้อย แล้วจึงทยอยชำระด้วยปันผลที่ได้รับจากหุ้นที่ได้รับโอนนั้น โดยไม่ใช้เงินของตนเองเลยเช่นกัน และก็มิได้เคยคืนเงินแต่อย่างใดเป็นเวลาประมาณ 3 ปี แล้วจึงชำระคืนหนี้ค่าหุ้นดังกล่าว จากปันผลที่ได้รับ 2 ครั้งแรก 9 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท โดยครั้งที่ 2 นั้น ได้รับปันผลมา 13.5 ล้านบาท ก็สั่งจ่ายเต็มจำนวน หลังจากนั้นจึงขีดฆ่า (ด้วยคงรู้ตัวว่า จ่ายเกินหนี้ 20 ล้านบาทแล้ว) และแก้ไขเป็น 11 ล้านบาท นับว่าเป็นการจ่ายด้วยสัญชาตญาณนอมินีจริงๆ และส่วนที่เหลือจากเข้าบัญชี พิณทองทา ซึ่งต่อมาบอกว่าเป็นค่านาฬิกาหรูหลายเรือน ก็คงแล้วแต่ว่าใครจะเต็มใจเชื่อว่า หลานเป็นคนซื้อนาฬิกาหลักล้านบาทหลายเรือน แล้วขายต่อให้หรืออย่างไร และช่างเป็นเวลาที่ประจวบพอดีกับการคืนปันผลในจำนวนที่เพิ่งขีดฆ่าบนเช็คเพื่อแก้ไขจำนวนไปอย่างเหลือเชื่อ
หลังจากนั้นเอง ก็มีการถอนเงินสด ซึ่งมีตัวอย่างงวดปันผลรับวันที่ 10 กันยายน 2547 จำนวน 16,560,000 บาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ได้สั่งจ่ายเป็นเช็ค 9 ฉบับเลขที่ต่อกัน xxx9310-18 ลงวันที่เป็นวันทำการต่อกัน คือ 15-27 กันยายน ยอด 2 ล้าน 1.5 ล้าน 2 ล้าน 1.6 ล้าน 2 ล้าน 1.7 ล้าน 2 ล้าน 2 ล้าน และเช็คใบสุดท้ายก็พอดี 560,000 บาท เพื่อความเป็นธรรม ดูเหมือนขาดไป 1.2 ล้านบาท ก็อาจเป็นผลตอบแทนค่าใช้ชื่อก็ได้ เพราะแม้เศษ 560,000 บาทที่จ่ายก็พอดีกับยอดเศษของปันผลเลย หากทำธุรกิจตกแต่งบ้าน หรือซื้อทรัพย์สิน ก็ไม่น่าจะลึกลับ น่าจะเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้รับมากกว่า จะได้เป็นหลักฐานด้วย แต่เป็นเงินสดหลบกฎหมายฟอกเงินอย่างนี้ ต่อเนื่องทุกวันทำการ ด้วยเช็คเลขที่ต่อกันนี่ น่าจะเป็นการนำเช็คปันผล มาแลกเช็คคืนจำนวนนี้พร้อมๆ กันมากกว่า
และก็ไม่ใช่ครั้งเดียว ปันผลทุกครั้ง ก็มีพฤติกรรมคล้ายๆ กันเช่นนี้ จึงทำให้เชื่อไม่ได้ว่า เป็นการตกแต่งบ้าน หรือซื้อทรัพย์สิน หรือลงทุนธุรกิจ ด้วยเป็นจังหวะเดียวกับปันผลทุกครั้ง และจำนวนใกล้เคียงทุกครั้ง และเป็นเช็คเงินสดทุกครั้ง
ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ดูจะพยายามต่อสู้คดี ด้วยการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมือง กล้าบอกว่า “สิ่งที่ประเทศไทยกำลังทำ คือการไล่จับหนู จนยอมเผาบ้านเรือน ซึ่งแม้หนูหนีไปแล้ว บ้านก็วอดวายแล้ว” หากจะเทียบเสมือนตนเป็นผู้บริสุทธิ์ ถูกเผาบ้านไล่จับหนู ก็คงต้องมามองว่า “ใครเป็นคนเผา?” คนจับหนูเผา หรือหนูตัวแสบนำพรรคพวกเผากันแน่
เมื่อปี 2552 ท่านก็บอกว่า “เราจะไม่กลับมือเปล่า หากวันใดเสียงปืนแตก ผมจะกลับมา” แต่ก่อนเสียงปืนแตก ครอบครัวก็กลับบินหนีออกไปก่อน จากนั้นกลุ่มเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง ก็ได้ถล่มการประชุมผู้นำอาเซียนทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศไทยสำเร็จ เมื่อผู้นำกลับขึ้นเวที ก็ประกาศกันบนเวทีคนเสื้อแดงว่า “ตบมือต้อนรับวีรบุรุษของเราด้วยครับ”
เสียงปืนก็แตกแล้ว แผนคือ “หาศพ” ตั้งเรื่องราวดังธุรกิจภาพยนตร์ที่ตนถนัด แต่ท่านก็ต้องเสียดายที่รัฐบาล ตำรวจ และทหาร เขามีหัวใจเป็นไทยแท้ เขาไม่ทำร้ายคนไทยด้วยกัน เขาพาชาวบ้านที่ถูกหลอกกลับบ้าน เขาใช้แต่กระสุนยางเป็นอย่างมาก แม้จะมีการยั่วยุระดับเอารถแก๊สมาขวาง มีการเผารถประจำทาง ฯลฯ ก็ตาม ก็ได้ช่วยให้คุมสถานการณ์ให้ยังอยู่ในความสงบได้
เมื่อใกล้ถึงวันตัดสินคดี ดูจะพยายามต่อสู้ช่วงสุดท้าย แต่เสียดายที่อยากเป็นผู้นำประเทศ แต่กลับไม่ต่อสู้ด้วย “ความจริง” แต่กลับพยายามหาทางสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง “เผาบ้านเมือง” เพื่อให้หนูหนีคุกหรือไม่? ทำไมพรรคพวกของตนถึงขั้นจะระดมคนมากมาย ถือขวดแก้วมาคนละขวด มาเติมน้ำมันเผาบ้านเผาเมือง จะทำไปเพื่ออะไร? สังคมยังยอมรับได้หรือ? สื่อมวลชนยังยอมรับได้หรือ?
หากดูความเคลื่อนไหวของสหายฮุนเซนแล้ว ก็กลัวว่าจะเกิดการทำศึกร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมกับสร้างความแตกแยกในประเทศ ดูๆ แล้ว อาจจะมีเขาพระวิหาร และปราสาทตาเมือนธม เป็นข้อแลกเปลี่ยน ถึงกับมาดูของจริงก่อนว่าจะคุ้มค่าน่าสนใจแค่ไหนหรือไม่? ช่างเป็นเรื่อง win-win ซึ่งฮุนเซนก็ได้ ทักษิณก็ชนะ มีแต่ประเทศไทยเป็นผู้แพ้ และลูกหลานไทยพ่ายแพ้ เราคนไทยยอมได้หรือ? สื่อมวลชนหัวใจไทยยอมได้หรือ?
ส่วนเรื่องที่แถลงเกี่ยวโยงกับแอมเพิลริชและวินมาร์คนั้น มาต่อกันในบทความ “หากทักษิณแพ้ ก็เพราะไม่มีสิ่งที่สำคัญ ... คือ ความจริง (2)” ต่อไปครับ
เมื่อใกล้ถึงวันตัดสินคดี ดูจะพยายามต่อสู้ช่วงสุดท้าย แต่เสียดายที่อยากเป็นผู้นำประเทศ แต่กลับไม่ต่อสู้ด้วย “ความจริง” แต่กลับพยายามหาทางสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ทั้งๆ ที่การต่อสู้คดียึดทรัพย์ที่ดีที่สุด คือ การให้ “ความจริง” และ พ.ต.ท. ทักษิณ ยังคงจะ “แพ้” แน่นอนหากไม่ยอมที่จะใช้ “ความจริง”
คดีนี้ ไม่ใช่เป็นการโอนหุ้นในครอบครัวอย่างธรรมดา หรือธรรมชาติ แต่เป็นการ “ซุกหุ้น” เลี่ยงรัฐธรรมนูญที่ห้ามรัฐมนตรี (และนายกฯ) ถือหุ้นเกิน 5% และกฎหมาย ป.ป.ช. ห้ามรัฐมนตรีมีหุ้นสัมปทาน เพื่อกันคนเป็นเจ้าของกิจการสัมปทานมาหาประโยชน์จากภาครัฐโดยมิชอบดังคดีนี้ที่เราได้เห็น
“ความจริง” ที่ พ.ต.ท. ทักษิณขาดไป จากข้อมูลแถลงการณ์เพื่อปิดคดี มีหลายประเด็นดังนี้
1. ท่านอ้างว่า “เป็นเรื่องการซื้อขายทรัพย์สินที่บิดามารดาขายให้บุตรในสายเลือดของตนเอง...ซึ่งแม้จะยกให้ก็ได้...ในหลักการที่ผู้ถูกกล่าวหาจะขายหุ้นให้บุตรนั้น ก็มิใช่เป็นการขายให้เฉพาะหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ เท่านั้น แต่ยังมีหุ้นบรรษัทเงินทุนฯ (IFCT) หุ้นชินแซทฯ (SATTEL) หุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (Warrants) ธนาคารทหารไทย (TMB และ TMB-C1) ... โดยถือหลักการเดียวกัน คือ ตามราคาพาร์อันเป็น “ต้นทุนที่แท้จริงที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสลงทุนซื้อมาตั้งแต่เริ่มแรก” โดยการขายให้บุตรนั้นไม่ได้พิจารณาเลยว่าเป็นราคาซื้อขายของหุ้นนั้นๆ ในขณะที่ขายให้บุตรจะมีราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สูงหรือต่ำกว่าราคาพาร์หรือไม่ เพียงใด เพราะไม่ได้หวังจะหากำไรจากบุตรของตนเอง”
ที่ท่านอ้างมาก็น่าซึ้งใจจนน้ำตาไหล แต่เป็นการกล้า “ให้การเท็จ” ต่อศาลสถิตยุติธรรม
“ความจริง” ก็คือ นายพานทองแท้ ได้รับโอนหุ้นมูลค่า 733.95 ล้าน จากพ่อแม่ โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงิน ในวันที่ 1 กันยายน 2543 แต่ต้องทำตั๋วสัญญาใช้เงิน “เพิ่ม” พิเศษอีก 4,500 ล้านบาท ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2543 เพียง 1 วัน ก่อนวันโอนหุ้นซึ่งครอบครัวชินวัตรได้เบิกความให้การตรงกันเป็นที่ยุติตรงกันว่า เป็นค่าหุ้นธนาคารทหารไทย (TMB)150 ล้านหุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ฯ (TMB-C1) 300 ล้านหน่วย รวม 4,500 ล้านบาท โดยพ.ต.ท. ทักษิณ ให้การว่าเป็นการซื้อขายทุกหลักทรัพย์ทำที่ “ราคาทุน” จึงเป็นข้อยุติที่ชี้ว่า ฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ ให้การเท็จ ด้วยในความเป็นจริง TMB-C1 นั้นเป็น “ของฟรี” ที่แม่ได้มาเปล่าๆ พร้อมหุ้น ในอัตรา 2 TMB-C1 ต่อ 1 หุ้น TMB โดยสามารถตรวจสอบได้จากหมายเหตุประกอบงบการเงินของธนาคารทหารไทย ปี 2544-2545 ระบุว่า “ทั้งนี้ผู้ซื้อหุ้นสามัญใหม่ที่ออกจะได้รับหุ้นสามัญใหม่พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่จะซื้อหุ้นบุริมสิทธิหมวด ข. จากกระทรวงการคลัง โดยมีอัตราส่วน 1 หุ้นสามัญใหม่ต่อ 2 ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” ซึ่งหมายความว่า ซื้อหุ้นจะได้หุ้น + warrants (TMB 1 หุ้น + TMB-C1 2 หน่วย) ฟรีๆ
แต่แม่กลับขาย “ของฟรี” ให้ลูกด้วยมูลค่า “เท็จ” ถึง 3,000 ล้านบาท จึงไม่ใช่โอนที่ทุนอย่างที่ให้การ เพราะราคาทุนของแม่เพียง 1,500 ล้านบาทเท่านั้น จะอ้างว่าเป็นการขายปกติได้อย่างไร
คตส.ได้ชี้แจงว่า ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ด้วยหนี้ 3,000 ล้านที่เป็นหนี้ปลอมนี้ เป็นถึงประมาณ 60% ของหนี้ทั้งสิ้นที่นายพานทองแท้ทำให้แก่มารดาในช่วงวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2543 รวม 5,056,348,840 บาท ซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว เป็นเครื่องมือที่ทำให้นายพานทองแท้ ได้คืนปันผลแทบทุกงวดกลับมาให้แม่ หากถือเป็นหนี้ปลอมและต้องถือเป็นโมฆะ ก็เป็นหลักฐานแสดงว่า การที่นายพานทองแท้ถูกใช้ชื่อถือหุ้นเท่านั้น ปันผลต่างๆ ยังจ่ายกลับมาให้แม่อยู่ดี
“ความจริง” อีกประการคือ ในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 นั้น หุ้น TMB และ TMB-C1 มีราคาตลาดเพียง 5.70 และ 1.30บาทเท่านั้น ทำให้มูลค่าของ TMB กับ TMB-C1 ที่ซื้อจากแม่นั้น คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,245 ล้านบาทเท่านั้น และหากมองมุมที่อ้างว่า นายพานทองแท้ รับโอนอย่างเป็นอิสระในฐานะบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่นายพานทองแท้กลับใช้อ้างว่าซื้อจากแม่ที่มูลค่ารวม 4,500 ล้านบาท จึงไม่น่าเชื่อถือ
2. ท่านอ้างว่าการโอนหุ้นระหว่าง นายพานทองแท้ พี่ชาย กับ น.ส.พิณทองทาน้องสาวผู้ซื้อนั้นเป็นการโอนกันจริง “เพราะบุคคลทั้งสองเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีความรู้ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทจากประเทศอังกฤษ” ก็ละเว้นไม่ได้ต่อสู้ข้อสงสัยหลายประเด็น
“ความจริง” คือ ยอดของขวัญวันเกิดในโอกาสอายุครบ 20 ปี (บรรลุนิติภาวะ) พอดี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร จำนวน 370 ล้านบาท เป็นจำนวนที่ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นการอำพราง ด้วยใกล้เคียงกับยอดซื้อหุ้นจากพี่ชายจำนวน 367 ล้านบาทพอดี ซึ่งทำให้ พิณทองทาถือหุ้น 367 ล้านหุ้น และพานทองแท้ถือหุ้น 366.95 ล้านหุ้น เท่าๆ กัน พอดีๆ โดยหากไม่ใช่ทำรายการเพื่อการปรับโครงสร้างการถือหุ้นแทน ก็น่าจะมีของขวัญวันเกิด เมื่อพานทองแท้อายุครบ 20 ปี หรือ แพทองธารอายุครบ 20 ปีด้วยในลักษณะคล้ายกัน แต่เท่าที่ติดตามข่าวมาก็เชื่อว่าไม่มี เป็นการสร้างรายการเพื่อปรับชื่อในการถือหุ้นเท่านั้น
พี่ชายเอง ซื้อของจากแม่ TMB + TMB-C1 ก่อนรับโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 1 วัน ทำให้ต้องแบกหนี้ปลอม 3,000 ล้านบาท คนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ซื้อ TMB + TMB-C1 ในราคา 4,500 ล้านบาท ทั้งที่ ราคาตลาดมีค่าเพียง 1,245 ล้านบาทเท่านั้น จะให้เชื่อว่า ประการแรก จะถือว่าเป็นผู้คิดแบบผู้บรรลุนิติภาวะแล้วได้อย่างไร
และยิ่งกว่านั้น ประการที่ 2 พี่กลับต้องโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ให้น้องพิณทองทาในราคาถูกๆ คือที่ราคาพาร์ โดยไม่ได้แบ่งหนี้ปลอมไปด้วย ครั้งแรก วันที่ 9 กันยายน 2545 ก็ 367 ล้านหุ้น และครั้งที่ 2 วันที่ 4 มิถุนายน 2546 อีก 73 ล้านหุ้น ทำให้ น.ส.พิณทองทา ถือหุ้น จำนวน 440 ล้านหุ้น มากกว่าพี่ชายซึ่งเหลือหุ้นเพียง 293.95 ล้านหุ้นเสียอีก พี่ชายต้องแบกภาระมหาศาล แต่ให้น้องมีหุ้นมากกว่า จะทำให้เชื่อว่าเป็นการโอนกันเยี่ยงผู้บรรลุนิติภาวะที่เป็นอิสระแท้จริงได้อย่างไร
และหากถือเป็นการแบ่งสมบัติจำนวนใกล้ๆ กัน ในเมื่อท่านมีบุตร 3 คน เมื่อขายหุ้นแล้ว ก็น่าจะได้แบ่งเงินสดให้ น.ส.แพทองธารไปด้วย เพราะไม่มีปัญหาต่อการดำรงตำแหน่งของบิดาอีกต่อไป แต่ก็ไม่ได้โอนแบ่งแต่อย่างใด ทำให้เชื่อได้มากกว่าว่าเป็นกระบวนการใช้ชื่อบุตรถือหุ้นแทนมากกว่า และที่ไม่ได้แบ่งให้ ก็เพราะภารกิจถือหุ้นแทนจบสิ้นแล้ว พ่อลงจากตำแหน่งแล้ว โดยเมื่อโอนไปที่ต่างๆ เช่น ประไหมสุหรี ซื้อหุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ซื้อเหมืองเพชร ดังคำให้การสารภาพของลูกๆ เพื่อให้พ่อใช้บริหาร แต่ก็เป็นที่เห็นประจักษ์กันทั่วโลกว่า ผู้เป็นเจ้าของคือ ทักษิณ ชินวัตร โดยใช้เงินที่ผ่านจากการซุกหุ้นเหล่านี้มาใช้ในฐานะเจ้าของแท้จริง
การที่ น.ส.พิณทองทา มีเงินปันผลสะสม 2,105 ล้านบาทเศษนั้น ก็ดูจะดีกว่ากรณีของนายพานทองแท้ ที่ต้องคืนปันผลในเวลาอันสั้นแทบทุกงวด แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ในบัญชีดังกล่าว ไม่ได้ปนกับรายการใช้จ่ายปรกติประจำวัน ซึ่งในทางปฏิบัติอาจเป็นการแยกสมุดบัญชีให้คุณกาญจนาภาดูแลไว้ และสอดคล้องกับข่าวที่ น.ส.พิณทองทาได้ไปให้การที่ คตส. ว่า “ที่ผ่านมา ตนไม่ค่อยได้รู้เรื่องอะไร พี่กาญจนาภาให้เซ็นอะไรก็เซ็น” ก่อนที่ภายหลังจากมีการร้องไห้และยืนยันว่า คำให้การใดๆ ที่เป็นผลร้ายต่อบุพการีก็ไม่อยากให้อีกแล้วในฐานะลูกกตัญญู ส่วนรายการระหว่าง น.ส.พิณทองทากับวินมาร์คก็สะท้อนความเป็นนอมินีทั้งสิ้นจะกล่าวถึงต่อไปในบทความตอน 2
3. ท่านอธิบายรายละเอียดตามหลักฐานที่ทำไว้ว่า นายบรรพจน์ ดามาพงศ์ ได้ชำระเงินให้แก่ คุณหญิงพจมาน ก็เป็นการชำระเงินกู้ยืมที่ยืมไปจากคุณหญิงพจมาน
“ความจริง” มีรายละเอียดที่เป็นพิรุธคือ นายบรรพจน์ ดามาพงศ์ ได้หุ้นมาโดยไม่มีหลักฐานการชำระเงินค่าหุ้นชินคอร์ปฯ ด้วยเงินของตนเองเลย โดยมีตัวอย่างหนี้จำนวน 102,135,225 บาท เพื่อชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนหุ้น SHIN เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 เป็นเงินที่คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ออกเงินชำระทุกบาททุกสตางค์ ทั้งที่ในวันนั้น เฉพาะมูลค่าหุ้นของนายบรรณพจน์ที่มีก็กว่า 500 ล้านบาทอยู่แล้ว
ซึ่งแม้นายบรรณพจน์มีเงินเข้าบัญชีหลายสิบล้านบาท ก็มิได้คืนเงินเลย แม้เศษๆ 135,225 บาทก็ไม่ได้คืนนานถึง 3-4 ปีด้วยเงินของตนเอง แม้บางช่วงที่ นายบรรณพจน์ เป็นผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นมากที่สุดของครอบครัวชินวัตรแล้ว คือมีหุ้น 404,430,300 หุ้นตามทะเบียนหุ้นวันที่ 9 เมษายน 2546 มีหุ้นมูลค่ากว่า 5,500 ล้านบาท (ราคาตลาดหุ้น SHIN หุ้นละ 13-14 บาทในช่วงเวลาดังกล่าว) ก็ยังไม่คืนเงินคุณหญิงพจมานแม้แต่บาทเดียว แต่กลับรอจนรับปันผลหุ้น SHIN จึงนำมาชำระคืน
ในช่วงท้าย นายบรรณพจน์ ก็มีการเปิดบัญชีแยกเงินรับปันผลและค่าขายหุ้นจากบัญชีสำหรับชีวิตปกติของตัว ถ้าเป็นการโอนจริง ก็ไม่น่าจะต้อง ได้เงินมาก็ใช้ไป ผสมกับเงินส่วนตัวบ้างก็ไม่แปลก แต่กลับแยกชัดเจนต่างหากจากเงินจริงของตัว และโอนเงิน 570 ล้านบาท และ 330 ล้านบาท ซึ่งคงเหลือจากปันผลใหญ่ๆ ก่อนหน้านั้น รวมกับ เงินปันผลรอบต่อมา 454.98 ล้านบาท และค่าขายหุ้นรวมเกือบ 2 หมื่นล้านบาท (เฉพาะของ นายบรรณพจน์) แยกออกจากบัญชีชีวิตส่วนตัวที่มีรายการเงินเดือนเข้าบัญชีต่างหากจากกัน
ในทางปฏิบัติมีความเป็นไปได้สูงที่แยกสมุดบัญชี เพื่อให้คนของคุณหญิง พจมาน เช่น นางกาญจนาภา อาจเป็นผู้ดูแลไว้ก็เป็นได้ เพื่อไม่ให้เกิดความโลภจนอาจเอาเงินก้อนใหญ่ที่ถือหุ้นแทนนี้ไปใช้ส่วนตัว จึงต้องแยกจากบัญชีส่วนตัวของนายบรรณพจน์ให้ชัดเจน
หากนับรวมรายการที่มีการซื้อหุ้นในบัญชี นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ โดยใช้เงินของคุณหญิงพจมาน ตั้งแต่รายการที่ถูกศาลสั่งว่าผิดในการรับโอนหุ้นที่เคยเก็บไว้ในชื่อโนมินี คือ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี 738 ล้านบาท ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ก็ยังมีรายการคล้ายๆ กันที่บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งว่า มีหุ้นชินอินเตอร์ฯ อีกประมาณ 126 ล้านบาท ใกล้ๆ ช่วงลอยตัวค่าเงินบาท และหุ้น ADVANC-F อีกประมาณ 89 ล้านบาท ก็จะทำให้เห็นภาพในลักษณะที่ว่า มีการยกระดับนอมินีใช้ชื่อถือหุ้นแทน จากระดับ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี มาเป็นระดับนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์นั่นเอง ซึ่งกรณี 738 ล้านบาท บอกว่าเป็นการให้ของขวัญที่ได้ลูกครบ 1 ปี (เศษๆ ?) แล้ว อีก 126 ล้านบาท หรือ 89 ล้านบาท จะเป็นค่าอะไรอีก??
4. ท่านอธิบายเรื่อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ตามที่เธอได้ให้การว่า ซื้อตามกำลังความสามารถที่คาดว่าชำระหนี้ได้ และตามแต่พี่ชาย จึงซื้อได้แค่ 2,000,000 หุ้น หากเป็นการโอนหุ้นอำพรางจริง ไม่ต้องทำก็ได้ เพราะสามารถโอนหุ้นให้นายพานทองแท้ ซึ่งรับโอนไป 30,900,000 หุ้นอยู่แล้ว เงินปันผลประมาณ 97,200,000 บาท ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการจ่ายให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา หรือคุณหญิงพจมาน เกินกว่าค่าหุ้นที่ซื้อจากผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 20 ล้านบาทเลย ดังที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ให้การว่านำไปใช้ในการทำธุรกิจ และตกแต่งบ้านของตนและซื้อทรัพย์สิน
“ความจริง” คือ เมื่อนายพานทองแท้รับโอนหุ้นจาก พ.ต.ท.ทักษิณไป 30,900,000 หุ้นแล้ว เมื่อรวมกับหุ้นจากแม่ จะมีจำนวนรวม 73,395,000 หุ้น คิดเป็น 24.99% อยู่แล้วก็เพื่อไม่ให้ถึง 25.00% ซึ่งทำให้เกิดภาระต้องเสนอซื้อหุ้นจากประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว ซึ่งหากเพิ่มอีก 2,000,000 หุ้น ก็จะทำให้มีหุ้นเกิน 25% และต้องมีภาระดังกล่าวนั่นเอง
“ความจริง” อีกด้านคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ค้างหนี้เพียง 20 ล้านบาท โดยมิได้คืนเงินเลย เป็นเวลา 3-4 ปี ทั้งที่ก็มีเงินไม่น้อย แล้วจึงทยอยชำระด้วยปันผลที่ได้รับจากหุ้นที่ได้รับโอนนั้น โดยไม่ใช้เงินของตนเองเลยเช่นกัน และก็มิได้เคยคืนเงินแต่อย่างใดเป็นเวลาประมาณ 3 ปี แล้วจึงชำระคืนหนี้ค่าหุ้นดังกล่าว จากปันผลที่ได้รับ 2 ครั้งแรก 9 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท โดยครั้งที่ 2 นั้น ได้รับปันผลมา 13.5 ล้านบาท ก็สั่งจ่ายเต็มจำนวน หลังจากนั้นจึงขีดฆ่า (ด้วยคงรู้ตัวว่า จ่ายเกินหนี้ 20 ล้านบาทแล้ว) และแก้ไขเป็น 11 ล้านบาท นับว่าเป็นการจ่ายด้วยสัญชาตญาณนอมินีจริงๆ และส่วนที่เหลือจากเข้าบัญชี พิณทองทา ซึ่งต่อมาบอกว่าเป็นค่านาฬิกาหรูหลายเรือน ก็คงแล้วแต่ว่าใครจะเต็มใจเชื่อว่า หลานเป็นคนซื้อนาฬิกาหลักล้านบาทหลายเรือน แล้วขายต่อให้หรืออย่างไร และช่างเป็นเวลาที่ประจวบพอดีกับการคืนปันผลในจำนวนที่เพิ่งขีดฆ่าบนเช็คเพื่อแก้ไขจำนวนไปอย่างเหลือเชื่อ
หลังจากนั้นเอง ก็มีการถอนเงินสด ซึ่งมีตัวอย่างงวดปันผลรับวันที่ 10 กันยายน 2547 จำนวน 16,560,000 บาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ได้สั่งจ่ายเป็นเช็ค 9 ฉบับเลขที่ต่อกัน xxx9310-18 ลงวันที่เป็นวันทำการต่อกัน คือ 15-27 กันยายน ยอด 2 ล้าน 1.5 ล้าน 2 ล้าน 1.6 ล้าน 2 ล้าน 1.7 ล้าน 2 ล้าน 2 ล้าน และเช็คใบสุดท้ายก็พอดี 560,000 บาท เพื่อความเป็นธรรม ดูเหมือนขาดไป 1.2 ล้านบาท ก็อาจเป็นผลตอบแทนค่าใช้ชื่อก็ได้ เพราะแม้เศษ 560,000 บาทที่จ่ายก็พอดีกับยอดเศษของปันผลเลย หากทำธุรกิจตกแต่งบ้าน หรือซื้อทรัพย์สิน ก็ไม่น่าจะลึกลับ น่าจะเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้รับมากกว่า จะได้เป็นหลักฐานด้วย แต่เป็นเงินสดหลบกฎหมายฟอกเงินอย่างนี้ ต่อเนื่องทุกวันทำการ ด้วยเช็คเลขที่ต่อกันนี่ น่าจะเป็นการนำเช็คปันผล มาแลกเช็คคืนจำนวนนี้พร้อมๆ กันมากกว่า
และก็ไม่ใช่ครั้งเดียว ปันผลทุกครั้ง ก็มีพฤติกรรมคล้ายๆ กันเช่นนี้ จึงทำให้เชื่อไม่ได้ว่า เป็นการตกแต่งบ้าน หรือซื้อทรัพย์สิน หรือลงทุนธุรกิจ ด้วยเป็นจังหวะเดียวกับปันผลทุกครั้ง และจำนวนใกล้เคียงทุกครั้ง และเป็นเช็คเงินสดทุกครั้ง
ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ดูจะพยายามต่อสู้คดี ด้วยการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมือง กล้าบอกว่า “สิ่งที่ประเทศไทยกำลังทำ คือการไล่จับหนู จนยอมเผาบ้านเรือน ซึ่งแม้หนูหนีไปแล้ว บ้านก็วอดวายแล้ว” หากจะเทียบเสมือนตนเป็นผู้บริสุทธิ์ ถูกเผาบ้านไล่จับหนู ก็คงต้องมามองว่า “ใครเป็นคนเผา?” คนจับหนูเผา หรือหนูตัวแสบนำพรรคพวกเผากันแน่
เมื่อปี 2552 ท่านก็บอกว่า “เราจะไม่กลับมือเปล่า หากวันใดเสียงปืนแตก ผมจะกลับมา” แต่ก่อนเสียงปืนแตก ครอบครัวก็กลับบินหนีออกไปก่อน จากนั้นกลุ่มเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง ก็ได้ถล่มการประชุมผู้นำอาเซียนทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศไทยสำเร็จ เมื่อผู้นำกลับขึ้นเวที ก็ประกาศกันบนเวทีคนเสื้อแดงว่า “ตบมือต้อนรับวีรบุรุษของเราด้วยครับ”
เสียงปืนก็แตกแล้ว แผนคือ “หาศพ” ตั้งเรื่องราวดังธุรกิจภาพยนตร์ที่ตนถนัด แต่ท่านก็ต้องเสียดายที่รัฐบาล ตำรวจ และทหาร เขามีหัวใจเป็นไทยแท้ เขาไม่ทำร้ายคนไทยด้วยกัน เขาพาชาวบ้านที่ถูกหลอกกลับบ้าน เขาใช้แต่กระสุนยางเป็นอย่างมาก แม้จะมีการยั่วยุระดับเอารถแก๊สมาขวาง มีการเผารถประจำทาง ฯลฯ ก็ตาม ก็ได้ช่วยให้คุมสถานการณ์ให้ยังอยู่ในความสงบได้
เมื่อใกล้ถึงวันตัดสินคดี ดูจะพยายามต่อสู้ช่วงสุดท้าย แต่เสียดายที่อยากเป็นผู้นำประเทศ แต่กลับไม่ต่อสู้ด้วย “ความจริง” แต่กลับพยายามหาทางสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง “เผาบ้านเมือง” เพื่อให้หนูหนีคุกหรือไม่? ทำไมพรรคพวกของตนถึงขั้นจะระดมคนมากมาย ถือขวดแก้วมาคนละขวด มาเติมน้ำมันเผาบ้านเผาเมือง จะทำไปเพื่ออะไร? สังคมยังยอมรับได้หรือ? สื่อมวลชนยังยอมรับได้หรือ?
หากดูความเคลื่อนไหวของสหายฮุนเซนแล้ว ก็กลัวว่าจะเกิดการทำศึกร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมกับสร้างความแตกแยกในประเทศ ดูๆ แล้ว อาจจะมีเขาพระวิหาร และปราสาทตาเมือนธม เป็นข้อแลกเปลี่ยน ถึงกับมาดูของจริงก่อนว่าจะคุ้มค่าน่าสนใจแค่ไหนหรือไม่? ช่างเป็นเรื่อง win-win ซึ่งฮุนเซนก็ได้ ทักษิณก็ชนะ มีแต่ประเทศไทยเป็นผู้แพ้ และลูกหลานไทยพ่ายแพ้ เราคนไทยยอมได้หรือ? สื่อมวลชนหัวใจไทยยอมได้หรือ?
ส่วนเรื่องที่แถลงเกี่ยวโยงกับแอมเพิลริชและวินมาร์คนั้น มาต่อกันในบทความ “หากทักษิณแพ้ ก็เพราะไม่มีสิ่งที่สำคัญ ... คือ ความจริง (2)” ต่อไปครับ