ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันที่ 9 ก.พ.53 เวลา 13.30 น. ทนายความคุณหญิงพจมาน อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้คัดค้าน ได้ยื่นคำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ มีเนื้อหาสรุปว่า
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้คัดค้าน (คุณหญิงพจมาน) ซึ่งมีหุ้นอยู่ 69,300,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาทและได้ขายให้กับนายพานทองแท้ และนายบรรณพจน์ โดยได้ทำการโอนขายอย่างถูกกฎหมาย มีเจตนาในการซื้อขายหุ้นกันจริง และมีการชำระค่าหุ้นกันจริง
ประเด็นข้อกล่าวหาที่ว่า ผู้คัดค้าน (คุณหญิงพจมาน) ได้รับชำระเงินจากนายพานทองแท้ เกินกว่ามูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินชำระค่าหุ้น และนายพานทองแท้ได้คืนเงินปันผลที่นายพานทองแท้ได้รับจากชินคอร์ปฯ นั้น ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนพยานของศาลฎีการับฟังได้ว่า นายพานทองแท้ ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่เป็นหนี้ผู้คัดค้าน จำนวน 5,056,348,840 ล้านบาทตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 4 ฉบับ คือ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินค่าซื้อหุ้นชินคอร์ปจำนวน 424,750,000 บาท หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินค่าซื้อหุ้นชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) 37,249,340 บาท หนี้ค่าซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 4,500,000,000 บาท หนี้ค่าซื้อหุ้นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 94,459,000 ล้านบาท ส่วนคำให้การของนายแก้วสรร พยานฝ่ายผู้ร้องให้การเกี่ยวกับการชำระหนี้ข้างต้นโดยไม่มีพยานหลักฐาน การที่ผู้ร้องกล่าวหาประเด็นนี้ จึงไม่เป็นความจริงและขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนอย่างชัดเจน
สรุปแม้นายพานทองแท้จะได้กำไรจากการซื้อขายหุ้นก็เป็นเรื่องของความเป็นแม่กับลูก ที่เอื้ออาทรมากกว่าบุคคลทั่วไป รวมทั้งกรณีที่ขายหุ้นให้กับนายบรรณพจน์ ที่ได้ร่วมก่อตั้งบ.ชินคอร์ปฯ และช่วยเหลือเกื้อกูลมาตั้งแต่เด็ก ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างพยานผู้คัดค้านที่ 1 ข้อกล่าวหาผู้ร้องจึงเป็นเพียงการคาดเดาลอยๆ
1. น่าจะถือได้ว่า มีความกล้าให้การเท็จต่อศาลยุติธรรมอย่างชัดเจน ด้วยการอ้างว่ามีการโอนหนี้ค่าซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) 4,500,000,000 บาทนั้น ความจริง เป็นหุ้น TMB เพียง 150 ล้านหุ้นๆ ละ 10 บาท ต้นทุนจริงเพียง 1,500,000,000 บาทเท่านั้น ที่เหลือเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิฯ TMB-C1 จำนวน 300 ล้านหน่วย ต้นทุนเป็น “ศูนย์” คือได้แถมมาฟรี ซึ่งทุนของคุณหญิงทั้งสิ้น 1.5 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่งซื้อมาในเดือนพฤษภาคม กลับทำรายการให้เป็นการขายลูกถึง 4.5 พันล้านบาท ในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 ก่อนโอนหุ้นชินฯให้ลูกเพียง 1 วัน
และด้วยหนี้ “อำพราง” นั้นเอง ทำให้นายพานทองแท้ จ่ายปันผลคืนแม่เพลิน จนเกินหนี้จริงไปมากมาย หากจะนับจากหนี้รวม 5,056,348,840 ล้านบาทนั้น หนี้ “อำพราง” ก็มีมูลค่าสูงถึงเกือบ 60% และทำรายการกันเพียง 1 วันก่อนโอนหุ้นชินฯ จะให้เชื่อได้อย่างไรว่า เป็นการโอนแบบแม่โอนให้ลูกแบบเอื้ออาทร นอกจากนั้น นายพานทองแท้ต้องเป็นหนี้แม่ 4,500 ล้านบาทค่าหุ้นกลุ่ม TMB นั้น แต่หุ้น TMB และ TMB-C1 มีราคาตลาดเพียง 5.70 และ 1.30 บาทเท่านั้น คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,245 ล้านบาทเท่านั้น แต่นายพานทองแท้กลับใช้อ้างว่าซื้อจากแม่ที่มูลค่ารวม 4,500 ล้านบาท จะให้เชื่อว่าเป็นการรับโอนอย่างเป็นอิสระในฐานะบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วได้อย่างไร???
2. คุณหญิงอ้อยังอ้างอีกว่าให้เงินเป็นแก่ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร จำนวน 370 ล้านบาทนั้น เป็นของขวัญวันเกิดครบรอบ 20 ปีธรรมดา แต่เป็นจำนวนที่ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นการอำพราง ด้วยใกล้เคียงกับยอดซื้อหุ้นจากพี่ชายจำนวน 367 ล้านบาทพอดี ซึ่งทำให้ พิณทองทาถือหุ้น 367 ล้านหุ้น และพานทองแท้ถือหุ้น 366.95 ล้านหุ้น เท่าๆ กัน พอดีๆ โดยหากไม่ใช่ทำรายการเพื่อการปรับโครงสร้างการถือหุ้นแทน ก็น่าจะมีของขวัญวันเกิด เมื่อพานทองแท้อายุครบ 20 ปี หรือแพทองธารอายุครบ 20 ปีด้วยในลักษณะคล้ายกัน แต่เท่าที่ติดตามข่าวมาก็เชื่อว่าไม่มี เป็นการสร้างรายการเพื่อปรับชื่อในการถือหุ้นเท่านั้น นายพานทองแท้อย่างมากก็มีเงินที่ได้จากของขวัญวันเกิด วันปีใหม่ เป็นเพียงหลัก 10 ล้านบาทเท่านั้น
3. และหากถือเป็นการแบ่งสมบัติจำนวนใกล้ๆ กันให้บุตรทั้งสาม เมื่อขายหุ้นแล้ว ก็น่าจะได้แบ่งเงินสดให้ น.ส.แพทองธารไปด้วย เพราะไม่มีปัญหาต่อการดำรงตำแหน่งของบิดาอีกต่อไป แต่ก็ไม่ได้โอนแบ่งแต่อย่างใด ทำให้เชื่อได้มากกว่าว่าเป็นการกระบวนการใช้ชื่อบุตรถือหุ้นแทนมากกว่า และที่ไม่ได้แบ่งให้ ก็เพราะภารกิจถือหุ้นแทนจบสิ้นแล้ว พ่อลงจากตำแหน่งแล้ว โดยเมื่อโอนไปที่ต่างๆ เช่น ประไหมสุหรี ซื้อหุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ซื้อเหมืองเพชร ก็เป็นที่เห็นประจักษ์กันทั่วโลกว่า ผู้เป็นเจ้าของคือ ทักษิณ ชินวัตร โดยใช้เงินที่ผ่านจากการซุกหุ้นเหล่านี้มาใช้ในฐานะเจ้าของแท้จริง
4. นายบรรพจน์ ดามาพงศ์ ได้หุ้นมาโดยไม่มีหลักฐานการชำระเงินค่าหุ้นชินคอร์ปฯ ด้วยเงินของตนเองเลย โดยมีตัวอย่างหนี้จำนวน 102,135,225 บาท เพื่อชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนหุ้น SHIN เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 เป็นเงินที่คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ออกเงินชำระทุกบาททุกสตางค์ ซึ่งแม้นายบรรณพจน์มีเงินเข้าบัญชีหลายสิบล้านบาท ก็มิได้คืนเงินเลย แม้เศษๆ 135,225 บาทก็ไม่ได้คืนนานถึง 3-4 ปีด้วยเงินของตนเอง รอจนรับปันผลหุ้น SHIN จึงนำมาชำระคืน ในช่วงท้าย ก็มีการเปิดบัญชีแยกเงินรับปันผลและค่าขายหุ้นจากบัญชีสำหรับชีวิตปรกติของตัว
5. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ค้างหนี้เพียง 20 ล้านบาท โดยมิได้คืนเงินเลย เป็นเวลา 3-4 ปี ทั้งที่ก็มีเงินไม่น้อย แล้วจึงทยอยชำระด้วยปันผลที่ได้รับจากหุ้นที่ได้รับโอนนั้น โดยไม่ใช้เงินของตนเองเลยเช่นกัน และก็มิได้เคยคืนเงินแต่อย่างใดเป็นเวลาประมาณ 3 ปี แล้วจึงชำระคืนหนี้ค่าหุ้นดังกล่าว จากปันผลที่ได้รับ 2 ครั้งแรก 9 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท โดยครั้งที่ 2 นั้น ได้รับปันผลมา 13.5 ล้านบาท ก็สั่งจ่ายเต็มจำนวน หลังจากนั้นจึงขีดฆ่า (ด้วยคงรู้ตัวว่า จ่ายเกินหนี้แล้ว) และแก้ไขเป็น 11 ล้านบาท นับว่าเป็นการจ่ายด้วยสัญชาตญาณนอมินีจริงๆ และส่วนที่เหลือจากเข้าบัญชี พิณทองทา ซึ่งต่อมาบอกว่าเป็นค่านาฬิกาหรูหลายเรือน ก็คงแล้วแต่ว่าใครจะเต็มใจเชื่อว่า หลานเป็นคนซื้อนาฬิกาหลักล้านบาทหลายเรือน แล้วขายต่อให้หรืออย่างไร และช่างเป็นจำนวนและเวลาที่ประจวบพอดีกับการคืนปันผลในจำนวนที่เพิ่งขีดฆ่าบนเช็คเพื่อแก้ไขจำนวนไปอย่างเหลือเชื่อ
6. วินมาร์ค (WM) มีพฤติกรรมซุกหุ้นกลุ่ม SC และบริษัทอสังหาฯ อีก 5 บริษัท คตส. เห็นว่าผิดปกติด้วยซื้อทุกหุ้น ขายทุกหุ้น ทุกครั้งที่ราคาพาร์ ทั้งๆ ที่มูลค่าทางบัญชีไม่เหมือนกันเลย กำไร/ขาดทุนไม่เหมือนกัน ต้องถือว่า แม่ขายของให้ลูกที่ราคาพาร์ ไม่น่าแปลกใจ แต่ขายของมูลค่า 1.5 พันล้านบาท ให้ลูกเป็นเงิน 4.5 พันล้านบาทนั้น ไม่น่าเชื่อ และขายหุ้น 5-6 บริษัทให้นักลงทุนต่างประเทศทุกบริษัท ทุกครั้งที่ราคาทุน ก็ไม่น่าเชื่อ นอกจากนั้น วินมาร์คยังจ่ายเงินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน หลายงวด จ่ายกว่า 550 ล้านบาท ในช่วงเดือนพฤษภาคม ล่วงหน้าร่วม 3 เดือนกว่าจะได้หุ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2543 พิรุธคือ ระยะเวลาชำระเงินตรงกับที่ต้องใช้จองหุ้น ธ.ทหารไทย และ หากวินมาร์คเป็นของนายมามุส โมฮัมหมัด อัล อัลซาลี มหาเศรษฐี ชาวตะวันออกกลางจริง จะต้องยอมจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนรับหุ้นหลายเดือนเชียวหรือ ช่วงนั้นก็เป็นช่วงวิกฤต ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็บอกกับสื่อมวลชนเองว่า เป็นช่วงวิกฤต ขายได้ที่พาร์ก็ดีแล้ว
ที่สำคัญคือ กลต. ตรวจสอบพบว่า ในยอดรวม 1,500 ล้านบาทค่าหุ้น 5-6 บริษัทที่วินมาร์คซื้อจากทั้งคู่นั้น เงินประมาณ 1,200 ล้านบาทมาจากบัญชีที่ใช้ชื่อวินมาร์ค แต่ประมาณ 300 ล้านมาจากบัญชีของตนเอง แต่อ้างชื่อวินมาร์ค!!
โดย ดีเอสไอ และ กลต. พบหลักฐานชัดแล้วตรงกันว่า วินมาร์คและแอมเพิลริชเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ผ่านกองทุน ซิเนตร้าทรัสต์ และบลูไดมอนด์ และโดยวินมาร์คมีรหัสบัญชี 121751 ที่ ธ.ยูบีเอส สิงคโปร์ เคยถือหุ้น SHIN ประมาณ 54 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท = 5.4 ล้านหุ้นช่วงพาร์ 10 บาท) ด้วย!!
7. แอมเพิลริลเป็นของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงปี 2548 ตามหนังสือรับรองบริษัท มีเงื่อนไขว่า “Any withdrawal is to be authorised by Dr. T. SHINAWATRA solely.” แสดงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแต่เพียงผู้เดียวในช่วงเวลาดังกล่าว จนถึงปี 2548 จึงได้มีชื่อบุตรทั้งสองปรากฏเป็นผู้มีอำนาจลงนาม ไม่ตรงกับที่ได้อ้างว่าโอนหุ้น ARI ให้นายพานทองแท้ ชินวัตร ในวันที่ 1 ธันวาคม 2543
นอกจากนั้น ในวันที่ 24 สิงหาคม 2544 UBS ทำรายงาน 246-2 ต่อสำนักงาน กลต. โดยนับหุ้น SHIN จำนวน 10,000,000 หุ้นของ ARI รวมกับหุ้นอีกจำนวนอีก 5,405,913 หุ้น ทั้งนี้ มีหลักฐานว่าเป็นหุ้นของวินมาร์ค รวมเป็น15,405,913 หุ้น (พาร์ 10 บาท) คิดเป็นร้อยละ 5.24 ก็เป็นหลักฐานยืนยันการนับหุ้น 10 ล้านหุ้นของ ARI และอีกกว่า 5 ล้านหุ้นของ WM เป็นของเจ้าของเดียวกันตามมาตรา 258 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
ดูเหมือนมีความเห็นในเรื่องรายงาน 246-2 ว่า ในฐานะคัสโตเดียน “ไม่มีหน้าที่ต้องรายงานนี้” แต่ไม่ได้แก้ความจริงบนรายงานนี้เลย โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 คือประมาณ 5 ปีต่อมา UBS ก็ยังยืนยันว่า เอกสารนี้มีที่ผิดเล็กน้อย คือ ไม่ใช่เป็นการขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในราคาหุ้นละ 179 บาทแต่อย่างใด แสดงว่าการนับรวมหุ้นเป็นของบุคคลเดียวกันเกิน 5% (triggered) ไม่ผิด การบอกว่า “ไม่มีหน้าที่” เป็นเหมือนการบอกว่า ยามที่ถ่ายภาพโจรปล้นทรัพย์ได้นอกกะทำงาน ไม่มีหน้าที่ต้องส่งภาพนั้น ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่เอาภาพถ่ายนั้นมาใช้เป็นหลักฐานเอาผิดโจรในภาพแต่อย่างใด
ซึ่งหนังสือนี้ เป็นหลักฐานว่า แอมเพิลริช และวินมาร์คมีเจ้าของเดียวกัน จึงไม่มีทางเป็น นายมามุส โมฮัมหมัด อัล อัลซาลี ได้ ด้วยครอบครัวยังยืนยันว่า แอมเพิลริชเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งต่อมาโอนให้นายพานทองแท้ และในเมื่อพานทองแท้ ไม่เคยเปิดเผยว่ามีวินมาร์คทั้งๆ ไม่มีเหตุต้องซุกซ่อนปกปิด จึงพิสูจน์ได้ว่าเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณนั่นเอง
ให้การเท็จอย่างนี้แล้ว จะหวังให้คนเข้าใจผิดต่อกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร?
คำถามต่อไป คือ เมื่อพบความเป็นอุบายยอกย้อนขนาดนี้แล้ว น่าจะยึดทรัพย์เท่าไร ไทยทนว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ถือกระเป๋าเอกสารเข้ามาทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรี แล้วเงินรัฐตกเข้าไปในกระเป๋าแบบ “บกพร่องโดยสุจริต” ก็อาจจะน่าฟังว่า เอาเงินที่เผลอตกลงไปนั้นกลับมาคืน แต่นี่เป็นความจงใจซุกซ่อน อำพราง หลบกฎหมาย หลบรัฐธรรมนูญ และยังเข้ามาใช้อำนาจรัฐ หรือไม่ใช้อำนาจอันควร เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตน ก็คงต้องยึดทั้งหมด หากโกงกันยอกย้อนแยบยลเต็มที่ แล้วยึดคืนเฉพาะส่วนที่ “จับได้” ต่อไป “ใครจะกลัวที่จะโกง” เพราะที่ไม่ถูกจับได้ก็เก็บไว้ คืนเฉพาะที่ถูกจับได้
ยังน่าคิดอีกว่า การเอื้อประโยชน์นั้น มูลค่าหุ้นอาจเพิ่มเพียงบางส่วน แต่รัฐเสียหายมากกว่า เกินมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น การลดสัมปทานมือถือ ทำให้บริษัทแอดวานซ์อินโฟร์ฯ ได้ประโยชน์เพิ่ม 8 หมื่นล้านบาท แต่ชินคอร์ปฯ อาจได้ประมาณครึ่งเดียว คือ 4 หมื่นล้านบาท และครอบครัวถือหุ้นครึ่งหนึ่งก็อาจได้เพียง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งแม้รัฐจะริบทั้งหมด ก็ยังไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
และเงินซุกซ่อนที่วินมาร์คมาจากไหน? อาจจะเป็นไปตามที่ นายเสนาะเทียนทอง อดีตเลขาธิการพรรค ทรท. ยุคแรก กล่าวบนเวทีพันธมิตรฯ ช่วงต้นปี 2549 ว่า “เพราะรวยจากโกงชาติ กล้าทำแม้เผาบ้านเผาเมืองเพื่อเอาประกัน มีการไตร่ตรองและวางแผนไว้ก่อนทุกขั้นทุกตอนไอ้หมอนี่คิดเป็นจ๊อบๆ”
และ กล่าวอีกว่า “วันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กับประธานรัฐสภาที่เพิ่งหมดวาระไปหาหัวหน้าจิ๋ว คุยกุ๊กกิ๊กอะไรตนไม่รู้ แล้วในที่สุดให้ นายทนง พิทยะ มาเป็น รมว.คลัง เข้ามาไม่กี่วันก็ลอยตัวค่าเงินบาทจาก 26 บาท ขึ้นเป็น 50 บาท พี่น้องคนไทยเจ๊งเป็นเอ็นพีแอลทั้งประเทศ พอเสร็จภารกิจก็ลาออกเลย มาจัดตั้งรัฐบาลใหม่” ซึ่งย่อมเชื่อถือได้ เพราะเป็นคนขายหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์ให้ทักษิณ 500 ล้านบาท และเท่าที่พูดเป็นหลักฐานชัดเจนมากมาย ทักษิณก็ไม่เคยกล้าฟ้องหมิ่นประมาท กรณีนั้น กองทุนสำรองระหว่างประเทศก็เสียเป็นแสนๆ ล้านบาท ประชาชนไทยก็เดือดร้อนกันไปทั่ว ค่าเงินต้องอ่อนก็จริง แต่ถ้าอ่อนเพียง 32-33 บาท/ดอลลาร์ ความเจ็บปวดก็น้อยลง แต่ถ้าใครไปถล่มเงินบาทในต่างประเทศเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองในต่างประเทศ ไทยทนว่าต้องยึดให้หมดครับ
สื่อมวลชนมีอิทธิพลสูงในการสร้างความเข้าใจ สัจธรรมและ “ความจริง” ไม่ปล่อยให้คนเข้าใจไม่เท่ากัน และต้องแตกแยกกันเพราะคนคนเดียว ยุทธศาสตร์ทักษิณ คิดอย่างเดียวคือ หาทางยึดพื้นที่สื่อ เบี่ยงเบนไม่ให้ประชาชนเข้าใจ ไทยทนเคารพที่สื่อมวลชนพึงเป็นกลางระหว่างทุกฝ่าย แต่อย่าเป็นกลางให้ “ความเท็จ” มาแย่งพื้นที่ “ความจริง” ซึ่งประชาชนพึงได้เข้าใจชัดเจนจากทุกฝ่ายตรงกันอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดความสันติสุข และความรักสามัคคีของประเทศไทยต่อไปครับ
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 ผู้คัดค้าน (คุณหญิงพจมาน) ซึ่งมีหุ้นอยู่ 69,300,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาทและได้ขายให้กับนายพานทองแท้ และนายบรรณพจน์ โดยได้ทำการโอนขายอย่างถูกกฎหมาย มีเจตนาในการซื้อขายหุ้นกันจริง และมีการชำระค่าหุ้นกันจริง
ประเด็นข้อกล่าวหาที่ว่า ผู้คัดค้าน (คุณหญิงพจมาน) ได้รับชำระเงินจากนายพานทองแท้ เกินกว่ามูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินชำระค่าหุ้น และนายพานทองแท้ได้คืนเงินปันผลที่นายพานทองแท้ได้รับจากชินคอร์ปฯ นั้น ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนพยานของศาลฎีการับฟังได้ว่า นายพานทองแท้ ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่เป็นหนี้ผู้คัดค้าน จำนวน 5,056,348,840 ล้านบาทตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 4 ฉบับ คือ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินค่าซื้อหุ้นชินคอร์ปจำนวน 424,750,000 บาท หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินค่าซื้อหุ้นชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) 37,249,340 บาท หนี้ค่าซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 4,500,000,000 บาท หนี้ค่าซื้อหุ้นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 94,459,000 ล้านบาท ส่วนคำให้การของนายแก้วสรร พยานฝ่ายผู้ร้องให้การเกี่ยวกับการชำระหนี้ข้างต้นโดยไม่มีพยานหลักฐาน การที่ผู้ร้องกล่าวหาประเด็นนี้ จึงไม่เป็นความจริงและขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนอย่างชัดเจน
สรุปแม้นายพานทองแท้จะได้กำไรจากการซื้อขายหุ้นก็เป็นเรื่องของความเป็นแม่กับลูก ที่เอื้ออาทรมากกว่าบุคคลทั่วไป รวมทั้งกรณีที่ขายหุ้นให้กับนายบรรณพจน์ ที่ได้ร่วมก่อตั้งบ.ชินคอร์ปฯ และช่วยเหลือเกื้อกูลมาตั้งแต่เด็ก ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างพยานผู้คัดค้านที่ 1 ข้อกล่าวหาผู้ร้องจึงเป็นเพียงการคาดเดาลอยๆ
1. น่าจะถือได้ว่า มีความกล้าให้การเท็จต่อศาลยุติธรรมอย่างชัดเจน ด้วยการอ้างว่ามีการโอนหนี้ค่าซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) 4,500,000,000 บาทนั้น ความจริง เป็นหุ้น TMB เพียง 150 ล้านหุ้นๆ ละ 10 บาท ต้นทุนจริงเพียง 1,500,000,000 บาทเท่านั้น ที่เหลือเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิฯ TMB-C1 จำนวน 300 ล้านหน่วย ต้นทุนเป็น “ศูนย์” คือได้แถมมาฟรี ซึ่งทุนของคุณหญิงทั้งสิ้น 1.5 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่งซื้อมาในเดือนพฤษภาคม กลับทำรายการให้เป็นการขายลูกถึง 4.5 พันล้านบาท ในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 ก่อนโอนหุ้นชินฯให้ลูกเพียง 1 วัน
และด้วยหนี้ “อำพราง” นั้นเอง ทำให้นายพานทองแท้ จ่ายปันผลคืนแม่เพลิน จนเกินหนี้จริงไปมากมาย หากจะนับจากหนี้รวม 5,056,348,840 ล้านบาทนั้น หนี้ “อำพราง” ก็มีมูลค่าสูงถึงเกือบ 60% และทำรายการกันเพียง 1 วันก่อนโอนหุ้นชินฯ จะให้เชื่อได้อย่างไรว่า เป็นการโอนแบบแม่โอนให้ลูกแบบเอื้ออาทร นอกจากนั้น นายพานทองแท้ต้องเป็นหนี้แม่ 4,500 ล้านบาทค่าหุ้นกลุ่ม TMB นั้น แต่หุ้น TMB และ TMB-C1 มีราคาตลาดเพียง 5.70 และ 1.30 บาทเท่านั้น คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,245 ล้านบาทเท่านั้น แต่นายพานทองแท้กลับใช้อ้างว่าซื้อจากแม่ที่มูลค่ารวม 4,500 ล้านบาท จะให้เชื่อว่าเป็นการรับโอนอย่างเป็นอิสระในฐานะบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วได้อย่างไร???
2. คุณหญิงอ้อยังอ้างอีกว่าให้เงินเป็นแก่ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร จำนวน 370 ล้านบาทนั้น เป็นของขวัญวันเกิดครบรอบ 20 ปีธรรมดา แต่เป็นจำนวนที่ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นการอำพราง ด้วยใกล้เคียงกับยอดซื้อหุ้นจากพี่ชายจำนวน 367 ล้านบาทพอดี ซึ่งทำให้ พิณทองทาถือหุ้น 367 ล้านหุ้น และพานทองแท้ถือหุ้น 366.95 ล้านหุ้น เท่าๆ กัน พอดีๆ โดยหากไม่ใช่ทำรายการเพื่อการปรับโครงสร้างการถือหุ้นแทน ก็น่าจะมีของขวัญวันเกิด เมื่อพานทองแท้อายุครบ 20 ปี หรือแพทองธารอายุครบ 20 ปีด้วยในลักษณะคล้ายกัน แต่เท่าที่ติดตามข่าวมาก็เชื่อว่าไม่มี เป็นการสร้างรายการเพื่อปรับชื่อในการถือหุ้นเท่านั้น นายพานทองแท้อย่างมากก็มีเงินที่ได้จากของขวัญวันเกิด วันปีใหม่ เป็นเพียงหลัก 10 ล้านบาทเท่านั้น
3. และหากถือเป็นการแบ่งสมบัติจำนวนใกล้ๆ กันให้บุตรทั้งสาม เมื่อขายหุ้นแล้ว ก็น่าจะได้แบ่งเงินสดให้ น.ส.แพทองธารไปด้วย เพราะไม่มีปัญหาต่อการดำรงตำแหน่งของบิดาอีกต่อไป แต่ก็ไม่ได้โอนแบ่งแต่อย่างใด ทำให้เชื่อได้มากกว่าว่าเป็นการกระบวนการใช้ชื่อบุตรถือหุ้นแทนมากกว่า และที่ไม่ได้แบ่งให้ ก็เพราะภารกิจถือหุ้นแทนจบสิ้นแล้ว พ่อลงจากตำแหน่งแล้ว โดยเมื่อโอนไปที่ต่างๆ เช่น ประไหมสุหรี ซื้อหุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ซื้อเหมืองเพชร ก็เป็นที่เห็นประจักษ์กันทั่วโลกว่า ผู้เป็นเจ้าของคือ ทักษิณ ชินวัตร โดยใช้เงินที่ผ่านจากการซุกหุ้นเหล่านี้มาใช้ในฐานะเจ้าของแท้จริง
4. นายบรรพจน์ ดามาพงศ์ ได้หุ้นมาโดยไม่มีหลักฐานการชำระเงินค่าหุ้นชินคอร์ปฯ ด้วยเงินของตนเองเลย โดยมีตัวอย่างหนี้จำนวน 102,135,225 บาท เพื่อชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนหุ้น SHIN เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 เป็นเงินที่คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ออกเงินชำระทุกบาททุกสตางค์ ซึ่งแม้นายบรรณพจน์มีเงินเข้าบัญชีหลายสิบล้านบาท ก็มิได้คืนเงินเลย แม้เศษๆ 135,225 บาทก็ไม่ได้คืนนานถึง 3-4 ปีด้วยเงินของตนเอง รอจนรับปันผลหุ้น SHIN จึงนำมาชำระคืน ในช่วงท้าย ก็มีการเปิดบัญชีแยกเงินรับปันผลและค่าขายหุ้นจากบัญชีสำหรับชีวิตปรกติของตัว
5. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ค้างหนี้เพียง 20 ล้านบาท โดยมิได้คืนเงินเลย เป็นเวลา 3-4 ปี ทั้งที่ก็มีเงินไม่น้อย แล้วจึงทยอยชำระด้วยปันผลที่ได้รับจากหุ้นที่ได้รับโอนนั้น โดยไม่ใช้เงินของตนเองเลยเช่นกัน และก็มิได้เคยคืนเงินแต่อย่างใดเป็นเวลาประมาณ 3 ปี แล้วจึงชำระคืนหนี้ค่าหุ้นดังกล่าว จากปันผลที่ได้รับ 2 ครั้งแรก 9 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท โดยครั้งที่ 2 นั้น ได้รับปันผลมา 13.5 ล้านบาท ก็สั่งจ่ายเต็มจำนวน หลังจากนั้นจึงขีดฆ่า (ด้วยคงรู้ตัวว่า จ่ายเกินหนี้แล้ว) และแก้ไขเป็น 11 ล้านบาท นับว่าเป็นการจ่ายด้วยสัญชาตญาณนอมินีจริงๆ และส่วนที่เหลือจากเข้าบัญชี พิณทองทา ซึ่งต่อมาบอกว่าเป็นค่านาฬิกาหรูหลายเรือน ก็คงแล้วแต่ว่าใครจะเต็มใจเชื่อว่า หลานเป็นคนซื้อนาฬิกาหลักล้านบาทหลายเรือน แล้วขายต่อให้หรืออย่างไร และช่างเป็นจำนวนและเวลาที่ประจวบพอดีกับการคืนปันผลในจำนวนที่เพิ่งขีดฆ่าบนเช็คเพื่อแก้ไขจำนวนไปอย่างเหลือเชื่อ
6. วินมาร์ค (WM) มีพฤติกรรมซุกหุ้นกลุ่ม SC และบริษัทอสังหาฯ อีก 5 บริษัท คตส. เห็นว่าผิดปกติด้วยซื้อทุกหุ้น ขายทุกหุ้น ทุกครั้งที่ราคาพาร์ ทั้งๆ ที่มูลค่าทางบัญชีไม่เหมือนกันเลย กำไร/ขาดทุนไม่เหมือนกัน ต้องถือว่า แม่ขายของให้ลูกที่ราคาพาร์ ไม่น่าแปลกใจ แต่ขายของมูลค่า 1.5 พันล้านบาท ให้ลูกเป็นเงิน 4.5 พันล้านบาทนั้น ไม่น่าเชื่อ และขายหุ้น 5-6 บริษัทให้นักลงทุนต่างประเทศทุกบริษัท ทุกครั้งที่ราคาทุน ก็ไม่น่าเชื่อ นอกจากนั้น วินมาร์คยังจ่ายเงินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน หลายงวด จ่ายกว่า 550 ล้านบาท ในช่วงเดือนพฤษภาคม ล่วงหน้าร่วม 3 เดือนกว่าจะได้หุ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2543 พิรุธคือ ระยะเวลาชำระเงินตรงกับที่ต้องใช้จองหุ้น ธ.ทหารไทย และ หากวินมาร์คเป็นของนายมามุส โมฮัมหมัด อัล อัลซาลี มหาเศรษฐี ชาวตะวันออกกลางจริง จะต้องยอมจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนรับหุ้นหลายเดือนเชียวหรือ ช่วงนั้นก็เป็นช่วงวิกฤต ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็บอกกับสื่อมวลชนเองว่า เป็นช่วงวิกฤต ขายได้ที่พาร์ก็ดีแล้ว
ที่สำคัญคือ กลต. ตรวจสอบพบว่า ในยอดรวม 1,500 ล้านบาทค่าหุ้น 5-6 บริษัทที่วินมาร์คซื้อจากทั้งคู่นั้น เงินประมาณ 1,200 ล้านบาทมาจากบัญชีที่ใช้ชื่อวินมาร์ค แต่ประมาณ 300 ล้านมาจากบัญชีของตนเอง แต่อ้างชื่อวินมาร์ค!!
โดย ดีเอสไอ และ กลต. พบหลักฐานชัดแล้วตรงกันว่า วินมาร์คและแอมเพิลริชเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ผ่านกองทุน ซิเนตร้าทรัสต์ และบลูไดมอนด์ และโดยวินมาร์คมีรหัสบัญชี 121751 ที่ ธ.ยูบีเอส สิงคโปร์ เคยถือหุ้น SHIN ประมาณ 54 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท = 5.4 ล้านหุ้นช่วงพาร์ 10 บาท) ด้วย!!
7. แอมเพิลริลเป็นของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงปี 2548 ตามหนังสือรับรองบริษัท มีเงื่อนไขว่า “Any withdrawal is to be authorised by Dr. T. SHINAWATRA solely.” แสดงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแต่เพียงผู้เดียวในช่วงเวลาดังกล่าว จนถึงปี 2548 จึงได้มีชื่อบุตรทั้งสองปรากฏเป็นผู้มีอำนาจลงนาม ไม่ตรงกับที่ได้อ้างว่าโอนหุ้น ARI ให้นายพานทองแท้ ชินวัตร ในวันที่ 1 ธันวาคม 2543
นอกจากนั้น ในวันที่ 24 สิงหาคม 2544 UBS ทำรายงาน 246-2 ต่อสำนักงาน กลต. โดยนับหุ้น SHIN จำนวน 10,000,000 หุ้นของ ARI รวมกับหุ้นอีกจำนวนอีก 5,405,913 หุ้น ทั้งนี้ มีหลักฐานว่าเป็นหุ้นของวินมาร์ค รวมเป็น15,405,913 หุ้น (พาร์ 10 บาท) คิดเป็นร้อยละ 5.24 ก็เป็นหลักฐานยืนยันการนับหุ้น 10 ล้านหุ้นของ ARI และอีกกว่า 5 ล้านหุ้นของ WM เป็นของเจ้าของเดียวกันตามมาตรา 258 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
ดูเหมือนมีความเห็นในเรื่องรายงาน 246-2 ว่า ในฐานะคัสโตเดียน “ไม่มีหน้าที่ต้องรายงานนี้” แต่ไม่ได้แก้ความจริงบนรายงานนี้เลย โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 คือประมาณ 5 ปีต่อมา UBS ก็ยังยืนยันว่า เอกสารนี้มีที่ผิดเล็กน้อย คือ ไม่ใช่เป็นการขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในราคาหุ้นละ 179 บาทแต่อย่างใด แสดงว่าการนับรวมหุ้นเป็นของบุคคลเดียวกันเกิน 5% (triggered) ไม่ผิด การบอกว่า “ไม่มีหน้าที่” เป็นเหมือนการบอกว่า ยามที่ถ่ายภาพโจรปล้นทรัพย์ได้นอกกะทำงาน ไม่มีหน้าที่ต้องส่งภาพนั้น ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่เอาภาพถ่ายนั้นมาใช้เป็นหลักฐานเอาผิดโจรในภาพแต่อย่างใด
ซึ่งหนังสือนี้ เป็นหลักฐานว่า แอมเพิลริช และวินมาร์คมีเจ้าของเดียวกัน จึงไม่มีทางเป็น นายมามุส โมฮัมหมัด อัล อัลซาลี ได้ ด้วยครอบครัวยังยืนยันว่า แอมเพิลริชเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งต่อมาโอนให้นายพานทองแท้ และในเมื่อพานทองแท้ ไม่เคยเปิดเผยว่ามีวินมาร์คทั้งๆ ไม่มีเหตุต้องซุกซ่อนปกปิด จึงพิสูจน์ได้ว่าเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณนั่นเอง
ให้การเท็จอย่างนี้แล้ว จะหวังให้คนเข้าใจผิดต่อกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร?
คำถามต่อไป คือ เมื่อพบความเป็นอุบายยอกย้อนขนาดนี้แล้ว น่าจะยึดทรัพย์เท่าไร ไทยทนว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ถือกระเป๋าเอกสารเข้ามาทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรี แล้วเงินรัฐตกเข้าไปในกระเป๋าแบบ “บกพร่องโดยสุจริต” ก็อาจจะน่าฟังว่า เอาเงินที่เผลอตกลงไปนั้นกลับมาคืน แต่นี่เป็นความจงใจซุกซ่อน อำพราง หลบกฎหมาย หลบรัฐธรรมนูญ และยังเข้ามาใช้อำนาจรัฐ หรือไม่ใช้อำนาจอันควร เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตน ก็คงต้องยึดทั้งหมด หากโกงกันยอกย้อนแยบยลเต็มที่ แล้วยึดคืนเฉพาะส่วนที่ “จับได้” ต่อไป “ใครจะกลัวที่จะโกง” เพราะที่ไม่ถูกจับได้ก็เก็บไว้ คืนเฉพาะที่ถูกจับได้
ยังน่าคิดอีกว่า การเอื้อประโยชน์นั้น มูลค่าหุ้นอาจเพิ่มเพียงบางส่วน แต่รัฐเสียหายมากกว่า เกินมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น การลดสัมปทานมือถือ ทำให้บริษัทแอดวานซ์อินโฟร์ฯ ได้ประโยชน์เพิ่ม 8 หมื่นล้านบาท แต่ชินคอร์ปฯ อาจได้ประมาณครึ่งเดียว คือ 4 หมื่นล้านบาท และครอบครัวถือหุ้นครึ่งหนึ่งก็อาจได้เพียง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งแม้รัฐจะริบทั้งหมด ก็ยังไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
และเงินซุกซ่อนที่วินมาร์คมาจากไหน? อาจจะเป็นไปตามที่ นายเสนาะเทียนทอง อดีตเลขาธิการพรรค ทรท. ยุคแรก กล่าวบนเวทีพันธมิตรฯ ช่วงต้นปี 2549 ว่า “เพราะรวยจากโกงชาติ กล้าทำแม้เผาบ้านเผาเมืองเพื่อเอาประกัน มีการไตร่ตรองและวางแผนไว้ก่อนทุกขั้นทุกตอนไอ้หมอนี่คิดเป็นจ๊อบๆ”
และ กล่าวอีกว่า “วันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กับประธานรัฐสภาที่เพิ่งหมดวาระไปหาหัวหน้าจิ๋ว คุยกุ๊กกิ๊กอะไรตนไม่รู้ แล้วในที่สุดให้ นายทนง พิทยะ มาเป็น รมว.คลัง เข้ามาไม่กี่วันก็ลอยตัวค่าเงินบาทจาก 26 บาท ขึ้นเป็น 50 บาท พี่น้องคนไทยเจ๊งเป็นเอ็นพีแอลทั้งประเทศ พอเสร็จภารกิจก็ลาออกเลย มาจัดตั้งรัฐบาลใหม่” ซึ่งย่อมเชื่อถือได้ เพราะเป็นคนขายหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์ให้ทักษิณ 500 ล้านบาท และเท่าที่พูดเป็นหลักฐานชัดเจนมากมาย ทักษิณก็ไม่เคยกล้าฟ้องหมิ่นประมาท กรณีนั้น กองทุนสำรองระหว่างประเทศก็เสียเป็นแสนๆ ล้านบาท ประชาชนไทยก็เดือดร้อนกันไปทั่ว ค่าเงินต้องอ่อนก็จริง แต่ถ้าอ่อนเพียง 32-33 บาท/ดอลลาร์ ความเจ็บปวดก็น้อยลง แต่ถ้าใครไปถล่มเงินบาทในต่างประเทศเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองในต่างประเทศ ไทยทนว่าต้องยึดให้หมดครับ
สื่อมวลชนมีอิทธิพลสูงในการสร้างความเข้าใจ สัจธรรมและ “ความจริง” ไม่ปล่อยให้คนเข้าใจไม่เท่ากัน และต้องแตกแยกกันเพราะคนคนเดียว ยุทธศาสตร์ทักษิณ คิดอย่างเดียวคือ หาทางยึดพื้นที่สื่อ เบี่ยงเบนไม่ให้ประชาชนเข้าใจ ไทยทนเคารพที่สื่อมวลชนพึงเป็นกลางระหว่างทุกฝ่าย แต่อย่าเป็นกลางให้ “ความเท็จ” มาแย่งพื้นที่ “ความจริง” ซึ่งประชาชนพึงได้เข้าใจชัดเจนจากทุกฝ่ายตรงกันอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดความสันติสุข และความรักสามัคคีของประเทศไทยต่อไปครับ