ตามคำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ของกลุ่มผู้คัดค้าน เริ่มยอมรับแล้วว่า ประเด็นที่ คตส. อ้างถึงวินมาร์ค–แอมเพิลริช- การรายงาน 246-2 โดยยูบีเอสนั้น เป็นเรื่องที่มีนัย แต่ที่สรุปพิรุธก็คือ ในการแก้ข้อกล่าวหานั้น สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัว ทำได้ดีที่สุดคือ เพียงบอกว่า ยูบีเอส “อาจ” เข้าใจผิด จึงรายงานโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ในฐานะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นลูกค้ารายใหญ่ของ ธ.ยูบีเอส ตั้งแต่ราวๆ ปี 2543 จ่ายค่าธรรมเนียมกรณีแอมเพิลริช (เชื่อว่า วินมาร์ค ด้วย) ตั้งเท่าไร หาก ธ.ยูบีเอสรายงานผิดจริงๆ การแจ้งให้ ธ.ยูบีเอส ยอมรับว่า หุ้นในส่วนของวินมาร์คนั้น ไม่ใช่ของครอบครัวชินวัตร แต่เป็นของ นายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ตามคำให้การของครอบครัว การนับรวมหุ้นกับแอมเพิลริช ซึ่งเป็นของครอบครัวชินวัตรดังที่ทำรายงาน 246-2 ไปนั้น จึงไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในเมื่อไม่ใช่ของบุคคลเดียวกัน ก็ต้องยกเลิกรายงาน 246-2 ให้เป็นโมฆะ ซึ่งน่าจะทำได้ง่ายมาก ตั้งแต่ปี 2544 (ปีที่รายงาน) ปี 2549 (ปีที่มีการสอบถามเพิ่มเติมและชี้แจง) หรือปัจจุบัน ก็ไม่เคยทำ ทำได้ดีที่สุดแค่ “อาจ” เป็นเพราะเข้าใจผิด จึงทำให้ขาดน้ำหนักในการโต้แย้ง โดยสิ้นเชิง
รายละเอียดในเรื่องนี้มีดังนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกได้อ้างถึงข้อกล่าวหา คตส.ว่า หลักฐานสำคัญอีกประการหนึ่ง คือพฤติการณ์จัดการดูแลหุ้นชินคอร์ป ที่เกิดขึ้นในบัญชียูบีเอส ในช่วงปี 2544 ที่ได้เริ่มมีการย้ายหุ้นชินคอร์ปของวินมาร์ค จำนวน 54,059,130 หุ้น (ตามรายงาน คือ 5,405,913 หุ้น ก่อนแตกราคาพาร์) ซึ่งเปิดบัญชีฝากไว้ในนามยูบีเอส บัญชีเลขที่ 800248002 ที่ธนาคารซิตี้แบงก์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็น custodian ก่อน จากนั้นจึงได้มีการย้ายหุ้นหุ้นชินคอร์ป 100 ล้านหุ้น (10 ล้านหุ้นก่อนแตกราคาพาร์) ของแอมเพิลริชไปฝากไว้กับยูบีเอส ในบัญชีเดียวกันกับบัญชีหุ้นชินคอร์ปของวินมาร์ค บัญชีเลขที่ 800248002 เมื่อเดือนสิงหาคม 2544
จากนั้น ยูบีเอสก็ได้มีหนังสือรายงาน (246-2) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ว่าธุรกรรมดังกล่าวได้ยังผลให้ธนาคารต้องรับดูแลจัดการหุ้นชินคอร์ปของบุคคลหนึ่งเพิ่มขึ้นเกินระดับ 5% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. จึงได้รายงานให้ ก.ล.ต.ได้ทราบ ซึ่งแสดงว่า ยูบีเอสได้พบว่าทั้งวินมาร์คและแอมเพิลริช เป็นของบุคคลเดียวกัน จึงต้องนำหุ้นทั้งสองมารวมเข้าด้วยกัน... แล้วคิดเป็น 5.24% ของยอดหุ้นชินคอร์ปทั้งหมด ซึ่งเมื่อเพิ่มจนเกินระดับ 5% (จุดเงื่อนไขต้องรายงาน triggered point) เช่นนี้แล้วยูบีเอส จึงมีหน้าที่ต้องรายงานต่อ ก.ล.ต.ไทยตามกฎหมาย
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า “เรื่องบริษัทผู้รับฝากทรัพย์สิน (custodian) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยไม่มีพยานหลักฐานว่า หุ้นจำนวน 100 ล้านหุ้น และหุ้นจำนวน 54,059,130 หุ้น เป็นของใคร และบุคคลเดียวกันจะหมายถึงใคร ซึ่งข้าพเจ้าไม่ทราบ โดยข้าพเจ้ารู้เพียงว่ายูบีเอส เป็นบริษัทผู้รับฝากทรัพย์สิน ที่ให้บริการจัดการดูแลหุ้นและหลักทรัพย์ ซึ่งย่อมจะให้บริการแก่ลูกค้ารายอื่นด้วย
การที่ยูบีเอสนำหุ้นชินคอร์ปของลูกค้าทุกรายที่ตนดูแลอยู่มารวมไว้ในบัญชีเดียวกัน บัญชีเลขที่ 800248002 ซึ่งเป็นบัญชีของยูบีเอส ก็เป็นเรื่องของยูบีเอสเอง เพราะมีฐานะเป็นบริษัทผู้รับฝากสินทรัพย์ คือหุ้นดังกล่าวทั้งหมด โดย “อาจ” เห็นว่าเป็นหุ้นชินคอร์ป เหมือนกันจึงนำมารวมในบัญชีเดียวกัน ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่ายูบีเอส คงจะต้องมีบัญชีและหลักฐานที่แสดงชัดเจนว่าหุ้นทั้งหมดในบัญชีดังกล่าวเป็นของผู้ใดและจำนวนเท่าใดบ้าง…
หากยูบีเอส นำหุ้นมารวมในบัญชีเดียวกันจริง ยูบีเอส “อาจ” เห็นว่าเมื่อตนเป็นผู้ดูแลหุ้นของลูกค้าในบัญชีดังกล่าว เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนถึงเกณฑ์ต้องรายงาน จึงได้ดำเนินการรายงานต่อ ก.ล.ต. แต่ไม่ได้หมายความว่าหุ้นทั้งหมดเป็นของบุคคลเดียวกัน และเป็นของข้าพเจ้าและคู่สมรส... การเป็นของบุคคลเดียวกัน บุคคลนั้นน่าจะหมายถึงยูบีเอสนั่นเอง มิใช่ข้าพเจ้าและคู่สมรส ยูบีเอสจึงรายงานให้ ก.ล.ต.ในฐานะบริษัทผู้รับฝากทรัพย์สินทั้งหมดแทนผู้ถือหุ้นอื่นทุกคนที่เป็นเจ้าของที่แท้จริง
คำชี้แจงแบบข้างๆ คูๆ เช่นนี้ ไร้ความน่าเชื่อถือ ด้วยหลักฐานและเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. การรายงาน 246-2 ซึ่ง ธ.ยูบีเอส ทำเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 เป็นการรายงานตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ฯ 2535 มีเป็นภาษาอังกฤษเรียบร้อย โดยมีเนื้อหาสรุปว่า “Securities of a business held by the following persons or partnerships shall be regarded as securities held by the person referred to in Section 246 and Section 247: (1) the spouse of such person; (2) a minor child of such person; …(4) a limited partnership in which such person or the person under (1) or (2) is an unlimited liability partner or a limited liability partner who collectively holds contribution in an amount exceeding thirty percent of the total contribution of the limited partnership; …
กล่าวคือ การทำรายงานนี้ ไม่ใช่ใครนึกจะเอาหุ้นของคนอื่นมารวมกันโดยไม่ได้เป็นไปตามข้อกฎหมายมาตรา 246 และ 258 นี้ก็ไม่ถูกต้อง การที่ ธ.ยูบีเอส รายงานไปนั้น จึงทำตามกฎหมายนี้ จะอ้างว่าไม่ทราบกฎหมายก็คงไม่ได้ ด้วยมีภาษาอังกฤษแปลไว้ชัดเจน จะอ้างว่า ก.ล.ต.ก็ยอมรับว่าวิธีปฏิบัติของแต่ละรายในการแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้นมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน เช่น บางรายแจ้งเป็นชื่อลูกค้า บางรายก็แจ้งเป็นชื่อบริษัทผู้รับฝากทรัพย์สินก็ไม่น่าเชื่อถือ เพราะด้วยฐานะลูกค้ากลับไม่ให้ยูบีเอสตอบให้ชัดในประเด็นนี้อย่างเจาะจง
2. แม้ในปี 2549 ประมาณ 5 ปีต่อมา ตามที่มีหนังสือโต้ตอบระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และ ธ.ยูบีเอส เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า รายงาน 246-2 นี้มีความผิดพลาดหรือไม่? ปรากฏตามหนังสือแถลงข่าวของสำนักงาน ก.ล.ต. ว่า ธ.ยูบีเอสได้มีหนังสือลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อชี้แจงสำนักงาน ก.ล.ต. ว่า “รายงานแบบ 246-2 เป็นความผิดพลาด ทั้งนี้ รายการดังกล่าวไม่ใช่เป็นการซื้อในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ราคาหุ้นละ 179 บาทแต่อย่างใด” แต่ไม่ได้แก้ไขว่า นับรวมหุ้น 10 ล้านหุ้น กับ 5.4 ล้านหุ้นมิได้เป็นของบุคคลเดียวกันตามมาตรา 246 และ 258 เลย แสดงว่าหลังจากการ “ตรวจสอบแล้ว” มีการแก้ไขเฉพาะจุดเล็กๆ แต่ไม่แก้ประเด็นการรวมหุ้นของบุคคลเดียวกัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดรายงานนี้ จึงยังเป็นการยืนยันว่า เป็นการรวมหุ้นของบุคคลเดียวกันจริง แล้วผ่านจุดที่ต้องรายงาน (triggered) ตามกฎหมายนั่นเอง
ทุกท่านลองคิดดูได้ครับว่า หากมีการถามเพื่อความชัดเจน จะได้ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หมดข้อสงสัยว่าเป็นเจ้าของหุ้นทั้ง 2 จำนวนหรือไม่ การได้ทบทวนแล้วบอกว่า หุ้นวินมาร์คเป็นของ นายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ต้องไม่นับรวมกับหุ้น 100 ล้านหุ้นของแอมเพิลริช ของครอบครัวชินวัตรนั้น รายงานนี้ก็ยกเลิกเป็นโมฆะ ก็จะไม่ง่ายกว่าหรือ จะไม่ชัดกว่าหรือ ปรากฏว่า ได้แก้ไขเพียงเรื่องการซื้อนอกตลาดฯ และไม่ใช่ราคา 179 บาทเท่านั้นเอง ปล่อยให้เป็นเรื่อง “อาจจะ” ต่อไป
แน่นอน หากหลงไปถามคำถาม ธ.ยูบีเอสกว้างๆ ว่า หุ้นทั้งหมดที่ ธ.ยูบีเอสดูแล เป็นของใครบ้าง ยูบีเอสย่อมตอบไม่ได้ เพราะต้องรักษาความลับ (Confidentiality) ของลูกค้า แต่ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะลูกค้า จะแจ้งต่อยูบีเอสว่า ให้รับรองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบรรดาบริษัท หรือกองทุนที่ถือต่อกันเป็นทอดๆ นั้น มีเพียง 100 ล้านหุ้นนั้น ส่วนอีก 54 ล้านหุ้นเศษนั้นไม่ใช่ ย่อมทำได้ แต่ไม่เคยได้ทำ
แต่เป็นเพราะ ธ.ยูบีเอส เป็นธนาคารที่ทำหน้าที่นี้ระดับโลก โดยทำหน้าที่ในหลายๆ ประเทศ เขาไม่ยอมรับหรอกว่า ได้ทำหน้าที่รายงาน 246-2 ไปโดยไม่เข้าใจกฎหมายของประเทศไทยว่าต้องนับรวมของกลุ่มบุคคลเดียวกันตามกฎหมายเท่านั้น และก็จะไม่ยอมแจ้งเท็จอย่างจงใจ เพื่อปกปิดความผิดของใครด้วย
3. ฝ่ายผู้คัดค้านได้อ้างว่า มีพยานเอกสารของนายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ซึ่งเป็นคำชี้แจงโดยรับรองจากศาลดูไบ ยืนยันว่า นายมาห์มูด เป็นเจ้าของบริษัท วินมาร์คที่แท้จริงเพียงผู้เดียว ก็น่าแปลกใจว่า ก่อนหน้านี้ ไม่เคยแสดงตัวเลย แต่หลังจากกองทุนเหล่านี้ขายหุ้นไปหมดแล้วจึงปรากฏตัว นี่เป็นเพราะความเสี่ยงที่จะถูกนายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ยึดเอาหุ้นไปหมดแล้ว จึงปรากฏชื่อมาหรือไม่?
เรื่องการอ้างถึง นายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ช่างขัดกับพฤติกรรมการปกปิดมากว่า 10 ปี ดังนี้
1) วันที่ 1 สิงหาคม 2543 วินมาร์คได้มาซื้อหุ้น (1) พี.ที. คอร์ปอเรชั่น (2) เอสซีออฟฟิซ ปาร์ค (3) เวิร์ธ ซัพพลายซ์ (4) โอเอไอ พร็อพเพอร์ตี้ (เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) : SC) (5) เอส ซี เค เอสเทต (6) บี.พี. พร็อพเพอร์ตี้ ทุกบริษัท ที่ราคาพาร์ (แม้กระทั่งบริษัทที่ชำระหุ้นเพิ่มทุนเพียงบางส่วน)
โดยในวันที่ 11 กันยายน 2543 ประชาชาติธุรกิจ ได้พาดหัวข่าวใหญ่โดยคุณ ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ว่า “ตะลึง! ‘ทักษิณ’ โอนหุ้น 900 ลบ. เข้าบริษัทบนเกาะฟอกเงิน” ในวันที่ 12 กันยายน 2543 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย การขายหุ้นอสังหาริมทรัพย์ 5-6 บริษัทให้แก่กองทุนวินมาร์คนั้น “เป็นการขายหุ้นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศธรรมดา ไม่มีอะไรที่พิสดาร มีการโอนขายไป 500-600 ล้านบาท หรือ 700-800 ล้านบาท จำนวนเท่าไหร่ จำตัวเลขที่แน่นอนไม่ได้ ขายไปในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ตอนนี้ต้องยอมรับว่า ตอนนี้อสังหาริมทรัพย์ในตลาดต่ำกว่าราคาพาร์ทั้งนั้น เราขายได้ราคาพาร์ในช่วงนี้ก็ถือว่าเฮงแล้ว”
ข้อพิรุธคืองบการเงินแต่ละบริษัทในช่วงนั้นของแต่ละบริษัทย่อมแตกต่างกันไป เช่น เวิร์ธ ซัพพลาย มีมูลค่าทางบัญชีหุ้นละ 7.3-7.4 บาท ปี 2543 ขาดทุน 118 ล้านบาท คิดเป็น 2.68 บาทต่อหุ้น ก็ขายที่ 10 บาท บี.พี.พร็อพเพอร์ตี้ (เดิมคือ บริษัท บัสซาวด์) มีมูลค่าทางบัญชีหุ้นละ 5.5-5.7 บาท ปี 2543 ขาดทุน 13.6 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุน 0.40 บาทต่อหุ้น ก็ขายที่ 10 บาท ต่างกับกรณีขายหุ้นให้เทมาเส็กโดยสิ้นเชิงที่โอนครั้งเดียวแลกหุ้น ด้วยราคาที่ต่อรองกันจนสรุปได้ที่ 49.25 บาทต่อหุ้นจริง ไม่ใช่เหมาที่ราคาพาร์เช่นนี้ ซึ่งเหมือนการโอนในครอบครัวมากกว่าที่ทุกรายการในครอบครัวชินวัตร ก็ทำที่ราคาพาร์ (นอกจากหนี้ปลอม 3,000 ล้านบาท ค่า TMB-C1 ทำที่ 10 บาท ทั้งที่ต้นทุนหญิงอ้อเป็นศูนย์)
2) ผู้สื่อข่าวถามว่า “บริษัทที่ขายหุ้นให้กับต่างชาติก็ผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก ทำไมนักลงทุนถึงสนใจซื้อ” ทักษิณตอบว่า “ที่ต่างชาติสนใจซื้อเพราะบริษัทจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในโอกาสต่อไป” แต่ความจริงใน 6 บริษัทที่วินมาร์คซื้อไปนี่ มีบริษัทเดียวที่เข้าตลาดฯ ได้ คือ บ. โอเอไอ พร็อพเพอตี้ (ปัจจุบันคือ SC) แต่วินมาร์คกลับขายหุ้นออกไป 3 สัปดาห์ก่อนยื่นไฟลิ่ง คือวันที่ 11 สิงหาคม 2546 โดยผู้ซื้อคือ VAF ซึ่งถือหุ้นเพียง 3 สัปดาห์แล้วขายต่อให้ อีก 2 กองทุน คือ OGF และ ODF เหมือนเป็นคนละกองทุน โดยทั้ง VAF, OGF และ ODF มีที่อยู่ที่มาเลเซียเหมือนกัน คือ เลขที่ L1, LOT7, BLK F, …LABUAN FT, MALYSIA
3) ถ้าวินมาร์คเป็นของ นายนายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี จริง ทำไมไม่เปิดเผยตัวตั้งแต่ตอนนั้น จะทำให้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งได้อย่างไร้ข้อกังขา จะกล่าวว่าตอนนั้นยังไม่รู้จักก็ฟังไม่ขึ้น เพราะการซื้อหุ้นตั้ง 6 บริษัท เป็นหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้สอบบัญชีไม่ใช่ระดับสากล ก็ซื้อเหมาเข่งที่ราคาพาร์ทุกหุ้น และก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทใดๆ ให้เป็นคนของนายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี เลย ต้องรู้จักใกล้ชิดกันมากจึงยอมขนาดนั้นได้ แต่กลับไม่ได้เปิดเผยในช่วงนั้น
4) ข้อพิรุธสำคัญตามคำชี้แจงตามหนังสือถึงสำนักงาน ก.ล.ต. ในวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือ รายการรับเงินของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มูลค่าขายหุ้นรวม 650,500,000 บาท ทยอยรับเงินเป็น 5 รายการ รวม 612,959,600 บาท ราวกับทยอยเบิกเงินของตนเองมาใช้ โดยงวดที่เป็นพิรุธมากขึ้น คือรายการวันที่ 11 พ.ค. จำนวน 191,999,900 บาท และ 12 พฤษภาคม จำนวน 243,809,900 บาท และ115,949,900.00 บาท รวมประมาณ 550 ล้านบาทนั้น เป็นระยะเวลาล่วงหน้าถึงประมาณ 3 เดือนก่อนการโอนหุ้น และที่เหลือ 1 เดือนครึ่งหลังการโอนหุ้นทั้งจำนวน ก็ไม่น่าเชื่อถือ ด้วย 3 ก้อนแรกนั้น สอดคล้องกับการใช้จ่ายค่าจองซื้อหุ้นสามัญ บมจ. ธนาคารทหารไทย 500 ล้านบาท (เพิ่มจาก 1,000 ล้านบาทในบัญชีในประเทศ) ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นการนำเงินของวินมาร์ค ซึ่งเป็นของตัวมาจองซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย และใบสำคัญแสดงสิทธิ์อนุพันธ์ตามความประสงค์ของตนมากกว่า
ทั้งนี้ วินมาร์คจ่ายเงินกว่า 500 ล้านบาท โดยไม่ได้หุ้นอะไรเลย จนอีก 3 เดือนจะได้หุ้นนั้น ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นความจริงได้ ทั้งนี้ หุ้นก็เป็นหลักทรัพย์ที่แบ่งแยกทยอยส่งมอบตามจำนวนที่ตกลงกันก็ย่อมได้ แต่การไม่มีสัญญาและจ่ายเงินก่อนการได้หุ้นประมาณ 3 เดือนนั้น แสดงว่าเป็นนอมินีของตนนั่นเอง
5) ที่สำคัญคือ ก.ล.ต. ตรวจสอบพบว่า ในยอดรวม 1,500 ล้านบาทค่าหุ้นนั้น เงินประมาณ 1,200 ล้านบาทมาจากบัญชีที่ใช้ชื่อวินมาร์ค แต่ประมาณ 300 ล้านมาจากบัญชีของครอบครัวชินวัตรเอง แต่อ้างชื่อวินมาร์ค!!
6) โดย ก.ล.ต. พบหลักฐานชัดแล้วว่า วินมาร์คและแอมเพิลริชเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ผ่านกองทุน ซิเนตร้าทรัสต์ และบลูไดมอนด์ และพบตรงกับ คตส. อีกประการ คือ วินมาร์ค มีรหัสบัญชี 121751 ที่ ธ.ยูบีเอส สิงคโปร์ เคยถือหุ้น SHIN ประมาณ 54 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท = 5.4 ล้านหุ้นช่วงพาร์ 10 บาท) ด้วย!!
7) นอกจากนั้น ในช่วงที่ SC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น มีการเพิ่มทุนที่ราคาหุ้นละ 10 บาท เพื่อขายให้ น.ส.พิณทองทา และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นเหตุให้ VIF ต้องเสียประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้นเมื่อ SC ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประมาณ 71 ล้านบาทเศษ ทำให้ไม่น่าเชื่อว่า VIF เป็นผู้ลงทุนอิสระจริง
8) หลังจากขายหุ้นที่เข้าตลาดฯ ได้หุ้นเดียว คือ SC ไป วินมาร์คกลับถือหุ้นที่เหลือที่ “ไม่ได้เข้าตลาดฯ” ไปอีกปี แล้วขายคืนให้ น.ส.พิณทองทา ทั้งหมด เป็นเงิน 485.8 ล้านบาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ทุกบริษัทเหมาเข่งที่หุ้นละ 10 บาท เหมือนเดิม ซึ่งมิใช่วิสัยของนักลงทุนทั่วไป แต่เป็นลักษณะนอมินีอีกเช่นเคย
9) วันที่ 15 กันยายน 2552 คุณหญิงอ้อ อธิบายให้การผิดๆ ถูกๆ อย่างสับสนว่า อีก 5 บริษัท อาจจะมีแผนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศหรือในไทย หากมีการเจรจาธุรกิจจริง ในปี 2543 และรับเงินล่วงหน้าตั้งประมาณ 3 เดือนเข้าบัญชีของตน ควรรู้ชัดอยู่แล้ว
10) วันที่ 17 ก.ย. 2552 น.ส.พิณทองทา ยังเบิกความถึงความจำเป็นที่จะต้องซื้อหุ้นบริษัทคืนจากบริษัท วินมาร์ค ที่มีนายมาห์มูด มหาเศรษฐีชาวตะวันออกกลาง เพื่อนนักธุรกิจของบิดา ว่า เพราะก่อนหน้านั้น บิดาเคยขายหุ้นให้ บ.วินมาร์ค ปี 2542 เนื่องจากขณะจะนำบริษัทในเครือชิน 5 แห่ง เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และให้คำมั่นไว้ว่าจะรับซื้อคืน หากไม่ได้นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ครบตามที่ระบุไว้
ดังนั้น เมื่อตนมีเงินปันผลจากบริษัท จึงนำเงินซื้อหุ้นที่เคยเป็นธุรกิจของครอบครัวกลับมา ระหว่างปี 2547มูลค่า 485 ล้านบาทเศษ ซึ่งน่าสงสารที่ น.ส.พิณทองทา ต้องให้การเท็จเพื่อพ่อแม่ เพราะ เธออ้างว่ามีเงื่อนไขต้องเอาเข้าตลาดฯ แต่เธอทราบหรือไม่ว่า เป็นเพียงคำอ้าง ด้วยเพียง 3 สัปดาห์ก่อนที่ SC ยื่นไฟลิ่ง วินมาร์คกลับขายออกไปก่อนให้ VIF และต่อไปที่ OGF และ ODF และสำหรับบริษัทที่เหลือ ในเมื่อเป็นกิจการของผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน ทำธุรกิจคล้ายๆ กันกับ SC ในตลาดฯ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต.ย่อมไม่อนุญาตเช่นนั้นอยู่แล้วกลับถือต่ออีกกว่าปีจึงมาขายให้เธอ
ไทยทนฟังคำให้การของผู้นำกลุ่มเสื้อแดง ว่า “รัฐธรรมนูญห้ามถือหุ้น ท่านทักษิณก็โอนหุ้นเหมือนทุกคน ท่านทำอะไรก็ผิด เพราะ 2 มาตรฐาน นี่ถ้าถือหุ้นอยู่จะไม่ผิดหรืออย่างไร?” ก็เป็นการเท็จให้คนเข้าใจผิด ด้วยถ้าโอนจริงก็ไม่ผิด แต่โอนให้ลูกก็เท็จ ด้วยมีหนี้ปลอม 3,000 ล้านบาท วินมาร์คก็ซุกซ่อน ฯลฯ จึงผิด สื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญเพื่อให้สังคมรับรู้ความจริงเดียวกัน และคนไทยไม่ต้องขัดแย้งกัน
ในฐานะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นลูกค้ารายใหญ่ของ ธ.ยูบีเอส ตั้งแต่ราวๆ ปี 2543 จ่ายค่าธรรมเนียมกรณีแอมเพิลริช (เชื่อว่า วินมาร์ค ด้วย) ตั้งเท่าไร หาก ธ.ยูบีเอสรายงานผิดจริงๆ การแจ้งให้ ธ.ยูบีเอส ยอมรับว่า หุ้นในส่วนของวินมาร์คนั้น ไม่ใช่ของครอบครัวชินวัตร แต่เป็นของ นายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ตามคำให้การของครอบครัว การนับรวมหุ้นกับแอมเพิลริช ซึ่งเป็นของครอบครัวชินวัตรดังที่ทำรายงาน 246-2 ไปนั้น จึงไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในเมื่อไม่ใช่ของบุคคลเดียวกัน ก็ต้องยกเลิกรายงาน 246-2 ให้เป็นโมฆะ ซึ่งน่าจะทำได้ง่ายมาก ตั้งแต่ปี 2544 (ปีที่รายงาน) ปี 2549 (ปีที่มีการสอบถามเพิ่มเติมและชี้แจง) หรือปัจจุบัน ก็ไม่เคยทำ ทำได้ดีที่สุดแค่ “อาจ” เป็นเพราะเข้าใจผิด จึงทำให้ขาดน้ำหนักในการโต้แย้ง โดยสิ้นเชิง
รายละเอียดในเรื่องนี้มีดังนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกได้อ้างถึงข้อกล่าวหา คตส.ว่า หลักฐานสำคัญอีกประการหนึ่ง คือพฤติการณ์จัดการดูแลหุ้นชินคอร์ป ที่เกิดขึ้นในบัญชียูบีเอส ในช่วงปี 2544 ที่ได้เริ่มมีการย้ายหุ้นชินคอร์ปของวินมาร์ค จำนวน 54,059,130 หุ้น (ตามรายงาน คือ 5,405,913 หุ้น ก่อนแตกราคาพาร์) ซึ่งเปิดบัญชีฝากไว้ในนามยูบีเอส บัญชีเลขที่ 800248002 ที่ธนาคารซิตี้แบงก์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็น custodian ก่อน จากนั้นจึงได้มีการย้ายหุ้นหุ้นชินคอร์ป 100 ล้านหุ้น (10 ล้านหุ้นก่อนแตกราคาพาร์) ของแอมเพิลริชไปฝากไว้กับยูบีเอส ในบัญชีเดียวกันกับบัญชีหุ้นชินคอร์ปของวินมาร์ค บัญชีเลขที่ 800248002 เมื่อเดือนสิงหาคม 2544
จากนั้น ยูบีเอสก็ได้มีหนังสือรายงาน (246-2) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ว่าธุรกรรมดังกล่าวได้ยังผลให้ธนาคารต้องรับดูแลจัดการหุ้นชินคอร์ปของบุคคลหนึ่งเพิ่มขึ้นเกินระดับ 5% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. จึงได้รายงานให้ ก.ล.ต.ได้ทราบ ซึ่งแสดงว่า ยูบีเอสได้พบว่าทั้งวินมาร์คและแอมเพิลริช เป็นของบุคคลเดียวกัน จึงต้องนำหุ้นทั้งสองมารวมเข้าด้วยกัน... แล้วคิดเป็น 5.24% ของยอดหุ้นชินคอร์ปทั้งหมด ซึ่งเมื่อเพิ่มจนเกินระดับ 5% (จุดเงื่อนไขต้องรายงาน triggered point) เช่นนี้แล้วยูบีเอส จึงมีหน้าที่ต้องรายงานต่อ ก.ล.ต.ไทยตามกฎหมาย
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า “เรื่องบริษัทผู้รับฝากทรัพย์สิน (custodian) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยไม่มีพยานหลักฐานว่า หุ้นจำนวน 100 ล้านหุ้น และหุ้นจำนวน 54,059,130 หุ้น เป็นของใคร และบุคคลเดียวกันจะหมายถึงใคร ซึ่งข้าพเจ้าไม่ทราบ โดยข้าพเจ้ารู้เพียงว่ายูบีเอส เป็นบริษัทผู้รับฝากทรัพย์สิน ที่ให้บริการจัดการดูแลหุ้นและหลักทรัพย์ ซึ่งย่อมจะให้บริการแก่ลูกค้ารายอื่นด้วย
การที่ยูบีเอสนำหุ้นชินคอร์ปของลูกค้าทุกรายที่ตนดูแลอยู่มารวมไว้ในบัญชีเดียวกัน บัญชีเลขที่ 800248002 ซึ่งเป็นบัญชีของยูบีเอส ก็เป็นเรื่องของยูบีเอสเอง เพราะมีฐานะเป็นบริษัทผู้รับฝากสินทรัพย์ คือหุ้นดังกล่าวทั้งหมด โดย “อาจ” เห็นว่าเป็นหุ้นชินคอร์ป เหมือนกันจึงนำมารวมในบัญชีเดียวกัน ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่ายูบีเอส คงจะต้องมีบัญชีและหลักฐานที่แสดงชัดเจนว่าหุ้นทั้งหมดในบัญชีดังกล่าวเป็นของผู้ใดและจำนวนเท่าใดบ้าง…
หากยูบีเอส นำหุ้นมารวมในบัญชีเดียวกันจริง ยูบีเอส “อาจ” เห็นว่าเมื่อตนเป็นผู้ดูแลหุ้นของลูกค้าในบัญชีดังกล่าว เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนถึงเกณฑ์ต้องรายงาน จึงได้ดำเนินการรายงานต่อ ก.ล.ต. แต่ไม่ได้หมายความว่าหุ้นทั้งหมดเป็นของบุคคลเดียวกัน และเป็นของข้าพเจ้าและคู่สมรส... การเป็นของบุคคลเดียวกัน บุคคลนั้นน่าจะหมายถึงยูบีเอสนั่นเอง มิใช่ข้าพเจ้าและคู่สมรส ยูบีเอสจึงรายงานให้ ก.ล.ต.ในฐานะบริษัทผู้รับฝากทรัพย์สินทั้งหมดแทนผู้ถือหุ้นอื่นทุกคนที่เป็นเจ้าของที่แท้จริง
คำชี้แจงแบบข้างๆ คูๆ เช่นนี้ ไร้ความน่าเชื่อถือ ด้วยหลักฐานและเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. การรายงาน 246-2 ซึ่ง ธ.ยูบีเอส ทำเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 เป็นการรายงานตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ฯ 2535 มีเป็นภาษาอังกฤษเรียบร้อย โดยมีเนื้อหาสรุปว่า “Securities of a business held by the following persons or partnerships shall be regarded as securities held by the person referred to in Section 246 and Section 247: (1) the spouse of such person; (2) a minor child of such person; …(4) a limited partnership in which such person or the person under (1) or (2) is an unlimited liability partner or a limited liability partner who collectively holds contribution in an amount exceeding thirty percent of the total contribution of the limited partnership; …
กล่าวคือ การทำรายงานนี้ ไม่ใช่ใครนึกจะเอาหุ้นของคนอื่นมารวมกันโดยไม่ได้เป็นไปตามข้อกฎหมายมาตรา 246 และ 258 นี้ก็ไม่ถูกต้อง การที่ ธ.ยูบีเอส รายงานไปนั้น จึงทำตามกฎหมายนี้ จะอ้างว่าไม่ทราบกฎหมายก็คงไม่ได้ ด้วยมีภาษาอังกฤษแปลไว้ชัดเจน จะอ้างว่า ก.ล.ต.ก็ยอมรับว่าวิธีปฏิบัติของแต่ละรายในการแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้นมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน เช่น บางรายแจ้งเป็นชื่อลูกค้า บางรายก็แจ้งเป็นชื่อบริษัทผู้รับฝากทรัพย์สินก็ไม่น่าเชื่อถือ เพราะด้วยฐานะลูกค้ากลับไม่ให้ยูบีเอสตอบให้ชัดในประเด็นนี้อย่างเจาะจง
2. แม้ในปี 2549 ประมาณ 5 ปีต่อมา ตามที่มีหนังสือโต้ตอบระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และ ธ.ยูบีเอส เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า รายงาน 246-2 นี้มีความผิดพลาดหรือไม่? ปรากฏตามหนังสือแถลงข่าวของสำนักงาน ก.ล.ต. ว่า ธ.ยูบีเอสได้มีหนังสือลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อชี้แจงสำนักงาน ก.ล.ต. ว่า “รายงานแบบ 246-2 เป็นความผิดพลาด ทั้งนี้ รายการดังกล่าวไม่ใช่เป็นการซื้อในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ราคาหุ้นละ 179 บาทแต่อย่างใด” แต่ไม่ได้แก้ไขว่า นับรวมหุ้น 10 ล้านหุ้น กับ 5.4 ล้านหุ้นมิได้เป็นของบุคคลเดียวกันตามมาตรา 246 และ 258 เลย แสดงว่าหลังจากการ “ตรวจสอบแล้ว” มีการแก้ไขเฉพาะจุดเล็กๆ แต่ไม่แก้ประเด็นการรวมหุ้นของบุคคลเดียวกัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดรายงานนี้ จึงยังเป็นการยืนยันว่า เป็นการรวมหุ้นของบุคคลเดียวกันจริง แล้วผ่านจุดที่ต้องรายงาน (triggered) ตามกฎหมายนั่นเอง
ทุกท่านลองคิดดูได้ครับว่า หากมีการถามเพื่อความชัดเจน จะได้ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หมดข้อสงสัยว่าเป็นเจ้าของหุ้นทั้ง 2 จำนวนหรือไม่ การได้ทบทวนแล้วบอกว่า หุ้นวินมาร์คเป็นของ นายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ต้องไม่นับรวมกับหุ้น 100 ล้านหุ้นของแอมเพิลริช ของครอบครัวชินวัตรนั้น รายงานนี้ก็ยกเลิกเป็นโมฆะ ก็จะไม่ง่ายกว่าหรือ จะไม่ชัดกว่าหรือ ปรากฏว่า ได้แก้ไขเพียงเรื่องการซื้อนอกตลาดฯ และไม่ใช่ราคา 179 บาทเท่านั้นเอง ปล่อยให้เป็นเรื่อง “อาจจะ” ต่อไป
แน่นอน หากหลงไปถามคำถาม ธ.ยูบีเอสกว้างๆ ว่า หุ้นทั้งหมดที่ ธ.ยูบีเอสดูแล เป็นของใครบ้าง ยูบีเอสย่อมตอบไม่ได้ เพราะต้องรักษาความลับ (Confidentiality) ของลูกค้า แต่ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะลูกค้า จะแจ้งต่อยูบีเอสว่า ให้รับรองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบรรดาบริษัท หรือกองทุนที่ถือต่อกันเป็นทอดๆ นั้น มีเพียง 100 ล้านหุ้นนั้น ส่วนอีก 54 ล้านหุ้นเศษนั้นไม่ใช่ ย่อมทำได้ แต่ไม่เคยได้ทำ
แต่เป็นเพราะ ธ.ยูบีเอส เป็นธนาคารที่ทำหน้าที่นี้ระดับโลก โดยทำหน้าที่ในหลายๆ ประเทศ เขาไม่ยอมรับหรอกว่า ได้ทำหน้าที่รายงาน 246-2 ไปโดยไม่เข้าใจกฎหมายของประเทศไทยว่าต้องนับรวมของกลุ่มบุคคลเดียวกันตามกฎหมายเท่านั้น และก็จะไม่ยอมแจ้งเท็จอย่างจงใจ เพื่อปกปิดความผิดของใครด้วย
3. ฝ่ายผู้คัดค้านได้อ้างว่า มีพยานเอกสารของนายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ซึ่งเป็นคำชี้แจงโดยรับรองจากศาลดูไบ ยืนยันว่า นายมาห์มูด เป็นเจ้าของบริษัท วินมาร์คที่แท้จริงเพียงผู้เดียว ก็น่าแปลกใจว่า ก่อนหน้านี้ ไม่เคยแสดงตัวเลย แต่หลังจากกองทุนเหล่านี้ขายหุ้นไปหมดแล้วจึงปรากฏตัว นี่เป็นเพราะความเสี่ยงที่จะถูกนายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ยึดเอาหุ้นไปหมดแล้ว จึงปรากฏชื่อมาหรือไม่?
เรื่องการอ้างถึง นายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ช่างขัดกับพฤติกรรมการปกปิดมากว่า 10 ปี ดังนี้
1) วันที่ 1 สิงหาคม 2543 วินมาร์คได้มาซื้อหุ้น (1) พี.ที. คอร์ปอเรชั่น (2) เอสซีออฟฟิซ ปาร์ค (3) เวิร์ธ ซัพพลายซ์ (4) โอเอไอ พร็อพเพอร์ตี้ (เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) : SC) (5) เอส ซี เค เอสเทต (6) บี.พี. พร็อพเพอร์ตี้ ทุกบริษัท ที่ราคาพาร์ (แม้กระทั่งบริษัทที่ชำระหุ้นเพิ่มทุนเพียงบางส่วน)
โดยในวันที่ 11 กันยายน 2543 ประชาชาติธุรกิจ ได้พาดหัวข่าวใหญ่โดยคุณ ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ว่า “ตะลึง! ‘ทักษิณ’ โอนหุ้น 900 ลบ. เข้าบริษัทบนเกาะฟอกเงิน” ในวันที่ 12 กันยายน 2543 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย การขายหุ้นอสังหาริมทรัพย์ 5-6 บริษัทให้แก่กองทุนวินมาร์คนั้น “เป็นการขายหุ้นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศธรรมดา ไม่มีอะไรที่พิสดาร มีการโอนขายไป 500-600 ล้านบาท หรือ 700-800 ล้านบาท จำนวนเท่าไหร่ จำตัวเลขที่แน่นอนไม่ได้ ขายไปในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ตอนนี้ต้องยอมรับว่า ตอนนี้อสังหาริมทรัพย์ในตลาดต่ำกว่าราคาพาร์ทั้งนั้น เราขายได้ราคาพาร์ในช่วงนี้ก็ถือว่าเฮงแล้ว”
ข้อพิรุธคืองบการเงินแต่ละบริษัทในช่วงนั้นของแต่ละบริษัทย่อมแตกต่างกันไป เช่น เวิร์ธ ซัพพลาย มีมูลค่าทางบัญชีหุ้นละ 7.3-7.4 บาท ปี 2543 ขาดทุน 118 ล้านบาท คิดเป็น 2.68 บาทต่อหุ้น ก็ขายที่ 10 บาท บี.พี.พร็อพเพอร์ตี้ (เดิมคือ บริษัท บัสซาวด์) มีมูลค่าทางบัญชีหุ้นละ 5.5-5.7 บาท ปี 2543 ขาดทุน 13.6 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุน 0.40 บาทต่อหุ้น ก็ขายที่ 10 บาท ต่างกับกรณีขายหุ้นให้เทมาเส็กโดยสิ้นเชิงที่โอนครั้งเดียวแลกหุ้น ด้วยราคาที่ต่อรองกันจนสรุปได้ที่ 49.25 บาทต่อหุ้นจริง ไม่ใช่เหมาที่ราคาพาร์เช่นนี้ ซึ่งเหมือนการโอนในครอบครัวมากกว่าที่ทุกรายการในครอบครัวชินวัตร ก็ทำที่ราคาพาร์ (นอกจากหนี้ปลอม 3,000 ล้านบาท ค่า TMB-C1 ทำที่ 10 บาท ทั้งที่ต้นทุนหญิงอ้อเป็นศูนย์)
2) ผู้สื่อข่าวถามว่า “บริษัทที่ขายหุ้นให้กับต่างชาติก็ผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก ทำไมนักลงทุนถึงสนใจซื้อ” ทักษิณตอบว่า “ที่ต่างชาติสนใจซื้อเพราะบริษัทจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในโอกาสต่อไป” แต่ความจริงใน 6 บริษัทที่วินมาร์คซื้อไปนี่ มีบริษัทเดียวที่เข้าตลาดฯ ได้ คือ บ. โอเอไอ พร็อพเพอตี้ (ปัจจุบันคือ SC) แต่วินมาร์คกลับขายหุ้นออกไป 3 สัปดาห์ก่อนยื่นไฟลิ่ง คือวันที่ 11 สิงหาคม 2546 โดยผู้ซื้อคือ VAF ซึ่งถือหุ้นเพียง 3 สัปดาห์แล้วขายต่อให้ อีก 2 กองทุน คือ OGF และ ODF เหมือนเป็นคนละกองทุน โดยทั้ง VAF, OGF และ ODF มีที่อยู่ที่มาเลเซียเหมือนกัน คือ เลขที่ L1, LOT7, BLK F, …LABUAN FT, MALYSIA
3) ถ้าวินมาร์คเป็นของ นายนายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี จริง ทำไมไม่เปิดเผยตัวตั้งแต่ตอนนั้น จะทำให้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งได้อย่างไร้ข้อกังขา จะกล่าวว่าตอนนั้นยังไม่รู้จักก็ฟังไม่ขึ้น เพราะการซื้อหุ้นตั้ง 6 บริษัท เป็นหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้สอบบัญชีไม่ใช่ระดับสากล ก็ซื้อเหมาเข่งที่ราคาพาร์ทุกหุ้น และก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทใดๆ ให้เป็นคนของนายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี เลย ต้องรู้จักใกล้ชิดกันมากจึงยอมขนาดนั้นได้ แต่กลับไม่ได้เปิดเผยในช่วงนั้น
4) ข้อพิรุธสำคัญตามคำชี้แจงตามหนังสือถึงสำนักงาน ก.ล.ต. ในวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือ รายการรับเงินของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มูลค่าขายหุ้นรวม 650,500,000 บาท ทยอยรับเงินเป็น 5 รายการ รวม 612,959,600 บาท ราวกับทยอยเบิกเงินของตนเองมาใช้ โดยงวดที่เป็นพิรุธมากขึ้น คือรายการวันที่ 11 พ.ค. จำนวน 191,999,900 บาท และ 12 พฤษภาคม จำนวน 243,809,900 บาท และ115,949,900.00 บาท รวมประมาณ 550 ล้านบาทนั้น เป็นระยะเวลาล่วงหน้าถึงประมาณ 3 เดือนก่อนการโอนหุ้น และที่เหลือ 1 เดือนครึ่งหลังการโอนหุ้นทั้งจำนวน ก็ไม่น่าเชื่อถือ ด้วย 3 ก้อนแรกนั้น สอดคล้องกับการใช้จ่ายค่าจองซื้อหุ้นสามัญ บมจ. ธนาคารทหารไทย 500 ล้านบาท (เพิ่มจาก 1,000 ล้านบาทในบัญชีในประเทศ) ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นการนำเงินของวินมาร์ค ซึ่งเป็นของตัวมาจองซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย และใบสำคัญแสดงสิทธิ์อนุพันธ์ตามความประสงค์ของตนมากกว่า
ทั้งนี้ วินมาร์คจ่ายเงินกว่า 500 ล้านบาท โดยไม่ได้หุ้นอะไรเลย จนอีก 3 เดือนจะได้หุ้นนั้น ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นความจริงได้ ทั้งนี้ หุ้นก็เป็นหลักทรัพย์ที่แบ่งแยกทยอยส่งมอบตามจำนวนที่ตกลงกันก็ย่อมได้ แต่การไม่มีสัญญาและจ่ายเงินก่อนการได้หุ้นประมาณ 3 เดือนนั้น แสดงว่าเป็นนอมินีของตนนั่นเอง
5) ที่สำคัญคือ ก.ล.ต. ตรวจสอบพบว่า ในยอดรวม 1,500 ล้านบาทค่าหุ้นนั้น เงินประมาณ 1,200 ล้านบาทมาจากบัญชีที่ใช้ชื่อวินมาร์ค แต่ประมาณ 300 ล้านมาจากบัญชีของครอบครัวชินวัตรเอง แต่อ้างชื่อวินมาร์ค!!
6) โดย ก.ล.ต. พบหลักฐานชัดแล้วว่า วินมาร์คและแอมเพิลริชเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ผ่านกองทุน ซิเนตร้าทรัสต์ และบลูไดมอนด์ และพบตรงกับ คตส. อีกประการ คือ วินมาร์ค มีรหัสบัญชี 121751 ที่ ธ.ยูบีเอส สิงคโปร์ เคยถือหุ้น SHIN ประมาณ 54 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท = 5.4 ล้านหุ้นช่วงพาร์ 10 บาท) ด้วย!!
7) นอกจากนั้น ในช่วงที่ SC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น มีการเพิ่มทุนที่ราคาหุ้นละ 10 บาท เพื่อขายให้ น.ส.พิณทองทา และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นเหตุให้ VIF ต้องเสียประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้นเมื่อ SC ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประมาณ 71 ล้านบาทเศษ ทำให้ไม่น่าเชื่อว่า VIF เป็นผู้ลงทุนอิสระจริง
8) หลังจากขายหุ้นที่เข้าตลาดฯ ได้หุ้นเดียว คือ SC ไป วินมาร์คกลับถือหุ้นที่เหลือที่ “ไม่ได้เข้าตลาดฯ” ไปอีกปี แล้วขายคืนให้ น.ส.พิณทองทา ทั้งหมด เป็นเงิน 485.8 ล้านบาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ทุกบริษัทเหมาเข่งที่หุ้นละ 10 บาท เหมือนเดิม ซึ่งมิใช่วิสัยของนักลงทุนทั่วไป แต่เป็นลักษณะนอมินีอีกเช่นเคย
9) วันที่ 15 กันยายน 2552 คุณหญิงอ้อ อธิบายให้การผิดๆ ถูกๆ อย่างสับสนว่า อีก 5 บริษัท อาจจะมีแผนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศหรือในไทย หากมีการเจรจาธุรกิจจริง ในปี 2543 และรับเงินล่วงหน้าตั้งประมาณ 3 เดือนเข้าบัญชีของตน ควรรู้ชัดอยู่แล้ว
10) วันที่ 17 ก.ย. 2552 น.ส.พิณทองทา ยังเบิกความถึงความจำเป็นที่จะต้องซื้อหุ้นบริษัทคืนจากบริษัท วินมาร์ค ที่มีนายมาห์มูด มหาเศรษฐีชาวตะวันออกกลาง เพื่อนนักธุรกิจของบิดา ว่า เพราะก่อนหน้านั้น บิดาเคยขายหุ้นให้ บ.วินมาร์ค ปี 2542 เนื่องจากขณะจะนำบริษัทในเครือชิน 5 แห่ง เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และให้คำมั่นไว้ว่าจะรับซื้อคืน หากไม่ได้นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ครบตามที่ระบุไว้
ดังนั้น เมื่อตนมีเงินปันผลจากบริษัท จึงนำเงินซื้อหุ้นที่เคยเป็นธุรกิจของครอบครัวกลับมา ระหว่างปี 2547มูลค่า 485 ล้านบาทเศษ ซึ่งน่าสงสารที่ น.ส.พิณทองทา ต้องให้การเท็จเพื่อพ่อแม่ เพราะ เธออ้างว่ามีเงื่อนไขต้องเอาเข้าตลาดฯ แต่เธอทราบหรือไม่ว่า เป็นเพียงคำอ้าง ด้วยเพียง 3 สัปดาห์ก่อนที่ SC ยื่นไฟลิ่ง วินมาร์คกลับขายออกไปก่อนให้ VIF และต่อไปที่ OGF และ ODF และสำหรับบริษัทที่เหลือ ในเมื่อเป็นกิจการของผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน ทำธุรกิจคล้ายๆ กันกับ SC ในตลาดฯ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต.ย่อมไม่อนุญาตเช่นนั้นอยู่แล้วกลับถือต่ออีกกว่าปีจึงมาขายให้เธอ
ไทยทนฟังคำให้การของผู้นำกลุ่มเสื้อแดง ว่า “รัฐธรรมนูญห้ามถือหุ้น ท่านทักษิณก็โอนหุ้นเหมือนทุกคน ท่านทำอะไรก็ผิด เพราะ 2 มาตรฐาน นี่ถ้าถือหุ้นอยู่จะไม่ผิดหรืออย่างไร?” ก็เป็นการเท็จให้คนเข้าใจผิด ด้วยถ้าโอนจริงก็ไม่ผิด แต่โอนให้ลูกก็เท็จ ด้วยมีหนี้ปลอม 3,000 ล้านบาท วินมาร์คก็ซุกซ่อน ฯลฯ จึงผิด สื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญเพื่อให้สังคมรับรู้ความจริงเดียวกัน และคนไทยไม่ต้องขัดแย้งกัน