น่าอับอายที่อดีตผู้นำไทยล้มละลายในความน่าเชื่อถือ จนต้องวิ่งหาผู้นำเขมรมาช่วยค้ำประกันความน่าเชื่อถือ สิ่งที่ไทยทนเป็นห่วงคือ ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบทักษิณอีกครั้งหนึ่ง จะถูกนำจนความน่าเชื่อถือลดลงจนต้องให้เขมรค้ำประกันความน่าเชื่อถืออีกหรือไม่??
ประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ A- สำหรับพันธบัตรในประเทศสกุลตนเอง โดย S&P ขณะที่เขมรอยู่ที่ B+ คือ ห่างกันถึง 7 ขั้น ในเอเชีย ที่ถัดจากเรายังมีอินเดีย BBB- ต่ำกว่าไทย 3 ขั้น) อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ BB+ ต่ำกว่าไทย 4 ขั้น ที่พอๆ กับเขมรคือ ศรีลังกา มีความน่าเชื่อถือ B+ เท่ากัน
หากจะดูแนวคิดทักษิณ ก็ดูไม่แตกต่างกับฮุนเซน คิดจะทำอะไรก็ทำ คดีวิศวกรไทยในเขมรก็สะท้อนว่า อยากจะให้กระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างไรก็ทำได้ เพียงข้อมูลตารางบิน ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลลับเชิงจารกรรมใดๆ ก็จำคุกได้ถึง 7 ปี มีผู้รู้ล่วงหน้าว่าจะดำเนินการขอพระราชทานอภัยได้ และได้รับการพระราชทานอภัยก่อนที่เรื่องจากพรรคเพื่อไทยจะไปถึง ออกมาแล้วฮุนเซนก็จูงมือคนไทยนักโทษ 7 ปีกันอย่างสนิทสนม
ด้านเศรษฐกิจก็ดูจะคิดคล้ายกัน ฮุนเซนจะเจรจาเซ็งลี้อย่างไรก็ทำ ให้สัมปทานแคทส์กับบริษัทไทย คิดจะเอาคืนก็เอาคืน ดูเหมือนเขมรจะได้อย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว รู้หรือไม่ว่าได้กระทบความเชื่อทางการเมืองไม่น้อยทีเดียว จากนี้ไป ใครจะเข้าไปลงทุนในเขมรก็คงต้องคิดแล้วคิดอีก
แนวความคิดทางการเมืองการปกครองก็อาจจะคล้ายกัน จากการค้นในวิกิพีเดีย ฮุนเซนได้รับเลือกจากเวียดนามเพื่อเป็นผู้นำกองทัพปฏิวัติต่อต้านเขมรแดง จนสามารถยึดกรุงพนมเปญได้ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2522 และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้น ซึ่งมีเวียดนามหนุนหลัง โดยที่เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจนถึง พ.ศ. 2528 จึงได้รับเลือกขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ในวัยเพียง 33 ปี สงครามกลางเมืองทำให้ชาวเขมรต้องเสียชีวิตเป็นล้านๆ คน ทักษิณกำลังใช้หลักยืมกำลังทหารมายึดชาติไทยหรือไม่? ตั้งใจเตรียมสงครามกลางเมืองหรือไม่?
ผลของการยึดอำนาจสำเร็จ ก็คือ แม้ฮุนเซนจะมั่นใจได้ว่าชนะการเลือกตั้งเสมอ แต่ประชาชนที่ขยันทำมาหากินก็รับยากกับการใช้อำนาจเน้นแสวงหาประโยชน์ใส่ตนก็หลบหนีออกไปต่างประเทศ คงเหลือแต่ประชาชนผู้คอยพึ่งการสนับสนุนของรัฐ หากจะเทียบรายได้เฉลี่ยของคนไทยประมาณ 2.3 แสนบาทต่อคนต่อปี ของเขมรเพียง 6.5 หมื่นบาทต่อคนต่อปีเท่านั้น น้อยกว่า 30% ของรายได้คนไทยเสียอีก ไทยทนเป็นคนหนึ่งล่ะที่ไม่อยากเห็นภาพไทยพัฒนาไปกลายเป็นเขมร
กลัวเพียงว่า ทักษิณต้องให้ฮุนเซนผู้นำเขมรรับรองเครดิต ถ้าระบอบทักษิณกลับมาเรืองอำนาจใหม่ ไทยจะตกต่ำถึงจุดที่ต้องให้เขมรรับรองเครดิตให้หรือไม่??
แต่สิ่งที่ยังเห็นได้ชัดคือ ประเทศไทยยังมีระดับความน่าเชื่อถือที่สูงใช้ได้ A- สำหรับสกุลเงินเราเอง ก็ขอให้ความล้มละลายในความน่าเชื่อถือ อยู่ที่ตัวอดีตผู้นำเพียงคนเดียวเท่านั้น
ดูไปแล้ว ความน่าเชื่อถือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องเสื่อมลงเพราะมักมีแต่ภาพมายา อาจเป็นเพราะพื้นเพ เป็นผู้ที่เริ่มชีวิตธุรกิจกับวงการภาพยนตร์ ซึ่งวงการดังกล่าว ไม่มีความเสียหายในการสร้างความบันเทิงด้วยภาพมายา แต่ไม่ควรนำความเชี่ยวชาญดังกล่าวมาหาอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ภาพมายาแห่งวีรบุรุษผู้ปกป้องประชาธิปไตย สร้างภาพความรักชาติ ก้มกราบแผ่นดินไทย แต่กลับใส่ร้ายกระบวนการยุติธรรมไทยในต่างประเทศเพียงเพื่อทรัพย์ที่ได้มาจากโกงชาติ และส่งสาส์นนำม็อบประชาชนโดยกระตุ้นความรุนแรง จนล้มการประชุมผู้นำอาเซียน สร้างภาพใส่ร้ายผู้นำปัจจุบันด้วยการตัดต่อคลิปเสียง ฯลฯ ก็ล้วนเป็นความเท็จและภาพมายาทั้งสิ้น
มีมากมายหลายคดีที่ทักษิณจำนนต่อหลักฐาน ไม่มีอะไรจะสู้ความในขั้นศาล ถึงกับใช้วิธีสร้างสถานการณ์ความแตกแยกในสังคม ยุให้แบ่งเป็นกลุ่ม “เกลียดตน” “รักตน” และกลุ่ม “เบื่อการแบ่งสี” ทั้งๆ ที่ถ้าคนไทยไม่หลงกลหลุมพรางทักษิณ เราก็เป็นคนไทยด้วยกัน รู้รักสามัคคี เทิดทูนพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวกัน แล้วก็ให้ผลการตัดสินเป็นไปตามสาระแห่งหลักฐานอย่างตรงไปตรงมา
คดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทกำลังใกล้ถึงจุดสำคัญ ทักษิณก็คงหมดปัญญาที่จะหาหลักฐานมาสู้ ในเมื่ออยู่ในสถานะล้มละลายในความน่าเชื่อถือ จึงได้ให้ผู้นำประเทศระดับต่ำกว่าไทย 7 ขั้น อย่างฮุนเซนแห่งเขมรมาการันตี หรืออาจหลบไปพึ่งศรีลังกาอีกประเทศซึ่งมีเครดิตพอๆ กัน โดยเมื่อดูจากการขอเอกสารในคดีแล้ว จะพบว่า
1.พยานเอกสารจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เกี่ยวกับการสอบสวนคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเซท : จะทำให้เห็นว่า วินมาร์คที่จ่ายเงินค่าหุ้นให้ทักษิณนั้น จ่ายเป็นจำนวนมากกว่า 500 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคม 2543 เพื่อให้ทันใช้ 500 ล้านบาทในการจองหุ้นธนาคารทหารไทย แต่กว่าวินมาร์คจะได้รับหุ้นนั้น มาทำหลักฐานกันวันที่ 1 สิงหาคม 2543 ซึ่งแปลกที่ใครจะต้องทำขนาดนั้น ดังที่ทักษิณบอกผ่านสื่อมวลชนในช่วงที่ขายหุ้นว่า สภาพตลาดไม่ดี หุ้นอสังหาริมทรัพย์ฯ มากมายต่ำกว่าพาร์ ตนขายที่พาร์ได้ก็ดีแล้ว แต่วินมาร์คจ่ายเงินล่วงหน้ากว่า 500 ล้านบาทในช่วงนั้น โดยไม่มีอะไรแลกเปลี่ยนกลับไปเลย และเจ้าหน้าที่ กลต. ยังพบอีกว่า ในจำนวนเงินดังกล่าว มียอดประมาณ 300 ล้านบาทมาจากบัญชีส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยาในต่างประเทศ แต่อ้างชื่อในการโอนเป็น “วินมาร์ค” อีกด้วย
2. เอกสารที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว : จะทำให้เห็นว่า แม้มีหลักฐานในมือมากมาย แต่ในเอกสารที่สั่งไม่ฟ้องนั้น ไม่ได้อ้างหลักฐานจากต่างประเทศซึ่งชี้ถึงความเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ผ่านกองทุนต่างๆ มาชี้ว่าเป็นเหตุให้เห็นแตกต่างแต่อย่างใด แต่อ้างเชิงเทคนิคถึงเกณฑ์ระดับประกาศในการเปิดเผยข้อมูล มาทำให้เปิดเผยข้อมูลโดยอาจผิดกฎหมายระดับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ห้ามปกปิดความจริงและห้ามแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จได้
3.ซึ่งไทยทนติดตามข่าวได้รับทราบว่า สำนักงาน กลต. ก็น่าจะได้ส่งความเห็นแย้งไปที่ดีเอสไอแล้ว ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 นั้น โดยอ้างถึงว่า จากพยานหลักฐานมากมายในคดี ชี้ให้เห็นว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และภรรยา เป็นเจ้าของที่แท้จริงของกองทุนวินมาร์ค VIF OGF และ ODF นอกจากนั้น การอ้างว่าการเปิดเผยข้อมูลเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนนั้นก็ไม่ใช่ ด้วยเป็นกองทุนส่วนบุคคลที่ต้องทำตามหน้าที่ในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เป็นเจ้าของกองทุนเท่านั้น
4.เอกสารแปลการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของบริษัทวินมาร์คฯ : ซึ่งเข้าใจว่า เพิ่งมานำเสนอโดยฝ่ายครอบครัวชินวัตรว่าเป็นของ นายมามุส โมฮัมหมัด อัล อัลซาลี มหาเศรษฐี ชาวตะวันออกกลาง ธุรกิจเกี่ยวกับเรียลเอสเตท เพื่อนนักธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ กว่า 10 ปี ซึ่งเป็นครั้งแรก ทั้งๆ ที่ตอนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกถามมากๆ ว่าเอาเงินของตนมาฟอกไม่มีผู้ซื้อตัวจริง ก่อนเข้าตำแหน่ง ก็ไม่เปิดเผยชื่อนี้ ต้นปี 2549 ถูกซักถามมากตอนถูกประท้วงขับไล่ ก็ไม่เอ่ยชื่อนี้ ในหนังสือชี้แจงต่อ กลต. ในวันที่ 24 มีนาคม 49 น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องใช้คำว่า “จากการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนหุ้นของบริษัท SC” ทั้งที่เจ้าหน้าที่ กลต. และสังคมก็ถามตลอดมาว่า ใครคือเจ้าของตัวจริง ก็ไม่ตอบตั้งแต่ตอนนั้น จนกระทั่งขายหุ้นไปแล้วทั้งหมด ไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงอ้างชื่อนี้มาเป็นเจ้าของ และเอกสารนี้ ก็ขัดกับหลักฐานจากสถาบันระดับ ธ.ยูบีเอส ซึ่งได้ส่งแบบรายงาน 246-2 หุ้นชินคอร์ปฯ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2544 ว่าหุ้น 10 ล้านหุ้นของแอมเพิลริช และอีก 5.4 ล้านหุ้นซึ่งมีหลักฐานชัดว่าเป็นของวินมาร์คนั้นเป็นของบุคคลเดียวกันตามกฎหมาย เมื่อนับรวมแล้ว ก้าวข้าม 5% (triggered) จึงได้ทำรายงานดังกล่าว
แม้อาจมีบางคนอธิบายว่า ในฐานะคัสโตเดียน “ไม่มีหน้าที่” ต้องรายงาน เพราะเป็นการย้ายที่เก็บหุ้น แต่ก็ไม่ได้หักล้างว่า เอกสารที่ส่งมานี้ “ผิด” แต่อย่างใด ประดุจ ยามธนาคารออกจากกะ แต่ถ่ายรูปเห็นคนปล้นธนาคาร เมื่อเอาหลักฐานมาให้ จะถือว่าภาพถ่ายนี้ไม่ควรใช้เพราะผู้ถ่ายออกจากกะ “ไม่มีหน้าที่” แล้วเช่นนั้นหรือ
แม้มีคำถามว่าแบบรายงานนี้ผิดหรือไม่ ก็ยังได้รับการยืนยันหลายครั้ง จนสำนักงาน กลต.เองก็แถลงข่าวในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า เป็นรายงานที่ผิดพลาด ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการซื้อขาย “ในตลาดหลักทรัพย์” ในราคา 179 บาทแต่อย่างใด แสดงว่าส่วนที่สำคัญที่สุด คือ การนับรวมหุ้นเป็นของคนเดียวกันไม่ผิด เพราะถ้าผิดจริง ก็ควรแก้มาพร้อมกันหลังจากที่ถูกถามแล้วถามอีก แม้ใน 5 ปีหลังจากนั้นก็ยังยืนยันว่านับรวมถูกต้องจนผ่านจุดที่ต้องรายงานแล้ว (triggered) หลักฐานเอกสารนี้ชี้ชัดว่า ในเมื่อแอมเพิลริชเป็นของครอบครัวชินวัตร แสดงว่าวินมาร์คจะเป็นของชาวตะวันออกกลางได้อย่างไร และในเมื่อนายพานทองแท้ ถูกปรับตั้งแต่ต้นปี 2549 แล้วในการไม่เปิดเผยส่วนแอมเพิลริช ก็ไม่เคยกล่าวถึงวินมาร์คเลย และนายพานทองแท้ก็ไม่มีเหตุจูงใจให้ต้องปกปิดวินมาร์ค จึงเชื่อได้ว่าทั้งแอมเพิลริชและวินมาร์คก็คือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและภรรยานั่นเอง
5.ข้อมูลหลักทรัพย์ของธนาคารทหารไทย ตั้งแต่วันที่ 30-31 ส.ค. 2543 ซึ่งเป็นช่วงที่ คุณหญิงพจมานโอนหุ้น TMB 150 ล้านหุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิ์ฯ TMB-C1 300 ล้านหน่วยนั้น ก็จะพบว่า ราคาหุ้น TMB อยู่ที่ประมาณ 5.70 บาท และใน TMB-C1 อยู่ที่ประมาณ 1.30 บาท หากนับรวมมูลค่าตลาดในช่วงนั้น ก็เพียงประมาณ 1,245 ล้านบาทเท่านั้น แสดงว่า นายพานทองแท้ ไม่ได้ซื้อหุ้น โดยสร้างสัญญาหนี้ต่อแม่สำหรับค่าหุ้นทหารไทย 4,500 ล้านบาท ด้วยความเป็นผู้รับโอนหุ้นอย่างผู้บรรลุนิติภาวะแล้วอย่างแท้จริง เป็นเพียงการถือหุ้นแทน
และหลักฐานเหล่านี้ก็ชี้ว่า คุณหญิงพจมานและบุตรให้การเท็จในศาล เพราะอ้างว่าโอนกันที่ราคาทุน แต่ทุนนั้นเพียง 1,500 ล้านบาทค่าหุ้น TMB แต่ผู้ซื้อหุ้น TMB จะได้รับหุ้น TMB พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ์ฯ TMB-C1 ในอัตรา 1 TMB : 2 TMB-C1 แต่อ้างว่าโอนที่ทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท
แต่การสร้าง “หนี้อำพราง” ที่เกินทุนจริง 1,500 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงถึงประมาณ 3,000 ล้านบาทเพียง 1 วันก่อนโอนหุ้นชินฯ ให้นายพานทองแท้ที่ราคาพาร์นั้น ได้เป็นช่องทางให้นายพานทองแท้ ต้องคืนเงินปันผล และค่าขายหุ้นชินฯ ให้แม่เสมอมา หากหนี้อำพรางนี้โมฆะด้วยความที่ไม่อาจเชื่อได้ว่าเป็นหนี้จริง เงินคืนปันผลและค่าขายหุ้นส่วน “หนี้อำพราง” นี้ก็เป็นหลักฐานว่า ที่จริงแล้ว การโอนนี้เป็นเพียงการใช้ชื่อถือหุ้นแทนเท่านั้น
6.การขอข้อมูลราคาหุ้นชินคอร์ปฯ ประกอบกับการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ไม่น่าจะช่วยแก้ความ เพราะหากข้อกล่าวหาของ คตส. จะเป็นเพียงว่า เมื่อดำรงตำแหน่งนายกฯ หุ้นชินฯ ขึ้นมากเพียงเท่านั้น ก็จะไม่มีความเป็นธรรม เพราะหลังจากรัฐบาลหลายรัฐบาลได้เข้ามาแก้วิกฤตต้มยำกุ้งจากสมัยรัฐบาลชวลิต ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ ก็ได้เข้าไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น สภาพเศรษฐกิจต่างๆ ก็เริ่มมีเสถียรภาพ และทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัว แต่หุ้นแต่ละหุ้นที่ขึ้นนั้น ก็มีเหตุผลของตนเอง กลุ่มปตท. พลังงาน ปิโตรเคมี ขึ้นเพราะราคาเชื้อเพลิงและราคาโภคภัณฑ์ด้านปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นมากมาย กลุ่มปูนฯ ขึ้นเพราะปิโตรเคมีดีขึ้น และวัสดุก่อสร้างก็ดีขึ้น หลายบริษัทที่เคยมีหนี้มาก เช่น ทรู แทค เมื่อเพิ่มทุนได้ ดอกเบี้ยลงก็ขึ้น กลุ่มชินฯ มีนโยบายรัฐบาลหลายประการที่เอื้อประโยชน์ธุรกิจที่วัดได้ว่ารัฐเสียหายเท่าไร ครอบครัวที่ใช้ชื่อถือหุ้นแทนตนได้ประโยชน์เท่าใด (รัฐอาจเสียหายมากกว่ามูลค่าหุ้นที่เพิ่มหลายเท่าอีกด้วย เพราะที่ถือหุ้นนั้นเป็นเพียงบางส่วน) รัฐก็ต้องเรียกค่าเสียหายตามที่รัฐเสียไปทั้งหมดด้วย ซึ่งจะเกินมูลค่าทั้งหมดของหุ้น ไม่ใช่เฉพาะส่วนเพิ่มมูลค่าหุ้นเท่านั้น เพราะรัฐเสียหายกว่านั้นมาก
หากจะสร้างประเด็นเท็จให้สังคมแตกแยกอีกว่า ของกลุ่มอื่น เช่น ปตท. ปูนซิเมนต์ฯ ก็ขึ้น ทำไมไม่เอาผิดเล่า? เป็น 2 มาตรฐานหรือไม่? ก็ต้องให้หาหลักฐานเช่นนี้ว่า มีใครที่มีอำนาจรัฐ และถือหุ้นเป็นเจ้าของกิจการนั้น และใช้อำนาจรัฐเอื้อกิจการที่ตนถือหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (เกินร้อยละ 5 ตามรัฐธรรมนูญ 40) ก็ต้องมีความผิดด้วย เมื่อกรณีองค์ประกอบครบ เช่น กรณีครอบครัวชินวัตรนี้ผิด หากใครเห็นว่ามีกรณีเทียบเคียงกันก็เอาผิดได้เช่นเดียวกัน ไม่เป็น 2 มาตรฐานแต่อย่างใด
นี่ยังไม่นับว่า วินมาร์คเอาเงินที่ไหนมาฟอก ได้ยินว่าตั้งขึ้นในปี 2537 ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็น รมว. ต่างประเทศ ได้เข้าไปนั่งในคณะกรรมการด้านนโยบายกำกับอัตราแลกเปลี่ยน 3 ปีก่อนวิกฤต ซึ่งหากเป็นไปตามที่นายเสนาะ เทียนทองได้กล่าวไว้ว่า “เพราะรวยจากโกงชาติ กล้าทำแม้เผาบ้านเผาเมืองเพื่อเอาประกัน มีการไตร่ตรองและวางแผนไว้ก่อนทุกขั้นทุกตอนไอ้หมอนี่คิดเป็นจ๊อบๆ" และ กล่าวอีกว่า “ให้นายทนง พิทยะ มาเป็น รมว.คลัง เข้ามาไม่กี่วันก็ลอยตัวค่าเงินบาท จาก 26 บาท ขึ้นเป็น 50 บาท พี่น้องคนไทยเจ๊งเป็นเอ็นพีแอลทั้งประเทศ พอเสร็จภารกิจก็ลาออกเลย มาจัดตั้งรัฐบาลใหม่” หากนับความเสียหายเรื่องค่าเงินนับแสนๆ ล้านบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย รัฐบาลไทยควรยึดไม่ใช่เพียงทรัพย์สินก้อนนี้ แต่ทรัพย์สินที่ยังอยู่ในต่างประเทศทั้งหมดด้วย
ไทยทนขอเพียงว่า ขอให้ความล้มละลายในความน่าเชื่อถือ อยู่ที่ตัวอดีตผู้นำเพียงคนเดียวเท่านั้น ไทยคงไม่ถูกระบอบทักษิณครอบงำ และนำให้ไทยตกต่ำจนถึงจุดที่ต้องให้เขมรรับรองเครดิตเหมือนของอดีตผู้นำไป!!
ประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ A- สำหรับพันธบัตรในประเทศสกุลตนเอง โดย S&P ขณะที่เขมรอยู่ที่ B+ คือ ห่างกันถึง 7 ขั้น ในเอเชีย ที่ถัดจากเรายังมีอินเดีย BBB- ต่ำกว่าไทย 3 ขั้น) อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ BB+ ต่ำกว่าไทย 4 ขั้น ที่พอๆ กับเขมรคือ ศรีลังกา มีความน่าเชื่อถือ B+ เท่ากัน
หากจะดูแนวคิดทักษิณ ก็ดูไม่แตกต่างกับฮุนเซน คิดจะทำอะไรก็ทำ คดีวิศวกรไทยในเขมรก็สะท้อนว่า อยากจะให้กระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างไรก็ทำได้ เพียงข้อมูลตารางบิน ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลลับเชิงจารกรรมใดๆ ก็จำคุกได้ถึง 7 ปี มีผู้รู้ล่วงหน้าว่าจะดำเนินการขอพระราชทานอภัยได้ และได้รับการพระราชทานอภัยก่อนที่เรื่องจากพรรคเพื่อไทยจะไปถึง ออกมาแล้วฮุนเซนก็จูงมือคนไทยนักโทษ 7 ปีกันอย่างสนิทสนม
ด้านเศรษฐกิจก็ดูจะคิดคล้ายกัน ฮุนเซนจะเจรจาเซ็งลี้อย่างไรก็ทำ ให้สัมปทานแคทส์กับบริษัทไทย คิดจะเอาคืนก็เอาคืน ดูเหมือนเขมรจะได้อย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว รู้หรือไม่ว่าได้กระทบความเชื่อทางการเมืองไม่น้อยทีเดียว จากนี้ไป ใครจะเข้าไปลงทุนในเขมรก็คงต้องคิดแล้วคิดอีก
แนวความคิดทางการเมืองการปกครองก็อาจจะคล้ายกัน จากการค้นในวิกิพีเดีย ฮุนเซนได้รับเลือกจากเวียดนามเพื่อเป็นผู้นำกองทัพปฏิวัติต่อต้านเขมรแดง จนสามารถยึดกรุงพนมเปญได้ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2522 และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้น ซึ่งมีเวียดนามหนุนหลัง โดยที่เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจนถึง พ.ศ. 2528 จึงได้รับเลือกขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ในวัยเพียง 33 ปี สงครามกลางเมืองทำให้ชาวเขมรต้องเสียชีวิตเป็นล้านๆ คน ทักษิณกำลังใช้หลักยืมกำลังทหารมายึดชาติไทยหรือไม่? ตั้งใจเตรียมสงครามกลางเมืองหรือไม่?
ผลของการยึดอำนาจสำเร็จ ก็คือ แม้ฮุนเซนจะมั่นใจได้ว่าชนะการเลือกตั้งเสมอ แต่ประชาชนที่ขยันทำมาหากินก็รับยากกับการใช้อำนาจเน้นแสวงหาประโยชน์ใส่ตนก็หลบหนีออกไปต่างประเทศ คงเหลือแต่ประชาชนผู้คอยพึ่งการสนับสนุนของรัฐ หากจะเทียบรายได้เฉลี่ยของคนไทยประมาณ 2.3 แสนบาทต่อคนต่อปี ของเขมรเพียง 6.5 หมื่นบาทต่อคนต่อปีเท่านั้น น้อยกว่า 30% ของรายได้คนไทยเสียอีก ไทยทนเป็นคนหนึ่งล่ะที่ไม่อยากเห็นภาพไทยพัฒนาไปกลายเป็นเขมร
กลัวเพียงว่า ทักษิณต้องให้ฮุนเซนผู้นำเขมรรับรองเครดิต ถ้าระบอบทักษิณกลับมาเรืองอำนาจใหม่ ไทยจะตกต่ำถึงจุดที่ต้องให้เขมรรับรองเครดิตให้หรือไม่??
แต่สิ่งที่ยังเห็นได้ชัดคือ ประเทศไทยยังมีระดับความน่าเชื่อถือที่สูงใช้ได้ A- สำหรับสกุลเงินเราเอง ก็ขอให้ความล้มละลายในความน่าเชื่อถือ อยู่ที่ตัวอดีตผู้นำเพียงคนเดียวเท่านั้น
ดูไปแล้ว ความน่าเชื่อถือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องเสื่อมลงเพราะมักมีแต่ภาพมายา อาจเป็นเพราะพื้นเพ เป็นผู้ที่เริ่มชีวิตธุรกิจกับวงการภาพยนตร์ ซึ่งวงการดังกล่าว ไม่มีความเสียหายในการสร้างความบันเทิงด้วยภาพมายา แต่ไม่ควรนำความเชี่ยวชาญดังกล่าวมาหาอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ภาพมายาแห่งวีรบุรุษผู้ปกป้องประชาธิปไตย สร้างภาพความรักชาติ ก้มกราบแผ่นดินไทย แต่กลับใส่ร้ายกระบวนการยุติธรรมไทยในต่างประเทศเพียงเพื่อทรัพย์ที่ได้มาจากโกงชาติ และส่งสาส์นนำม็อบประชาชนโดยกระตุ้นความรุนแรง จนล้มการประชุมผู้นำอาเซียน สร้างภาพใส่ร้ายผู้นำปัจจุบันด้วยการตัดต่อคลิปเสียง ฯลฯ ก็ล้วนเป็นความเท็จและภาพมายาทั้งสิ้น
มีมากมายหลายคดีที่ทักษิณจำนนต่อหลักฐาน ไม่มีอะไรจะสู้ความในขั้นศาล ถึงกับใช้วิธีสร้างสถานการณ์ความแตกแยกในสังคม ยุให้แบ่งเป็นกลุ่ม “เกลียดตน” “รักตน” และกลุ่ม “เบื่อการแบ่งสี” ทั้งๆ ที่ถ้าคนไทยไม่หลงกลหลุมพรางทักษิณ เราก็เป็นคนไทยด้วยกัน รู้รักสามัคคี เทิดทูนพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวกัน แล้วก็ให้ผลการตัดสินเป็นไปตามสาระแห่งหลักฐานอย่างตรงไปตรงมา
คดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทกำลังใกล้ถึงจุดสำคัญ ทักษิณก็คงหมดปัญญาที่จะหาหลักฐานมาสู้ ในเมื่ออยู่ในสถานะล้มละลายในความน่าเชื่อถือ จึงได้ให้ผู้นำประเทศระดับต่ำกว่าไทย 7 ขั้น อย่างฮุนเซนแห่งเขมรมาการันตี หรืออาจหลบไปพึ่งศรีลังกาอีกประเทศซึ่งมีเครดิตพอๆ กัน โดยเมื่อดูจากการขอเอกสารในคดีแล้ว จะพบว่า
1.พยานเอกสารจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เกี่ยวกับการสอบสวนคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเซท : จะทำให้เห็นว่า วินมาร์คที่จ่ายเงินค่าหุ้นให้ทักษิณนั้น จ่ายเป็นจำนวนมากกว่า 500 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคม 2543 เพื่อให้ทันใช้ 500 ล้านบาทในการจองหุ้นธนาคารทหารไทย แต่กว่าวินมาร์คจะได้รับหุ้นนั้น มาทำหลักฐานกันวันที่ 1 สิงหาคม 2543 ซึ่งแปลกที่ใครจะต้องทำขนาดนั้น ดังที่ทักษิณบอกผ่านสื่อมวลชนในช่วงที่ขายหุ้นว่า สภาพตลาดไม่ดี หุ้นอสังหาริมทรัพย์ฯ มากมายต่ำกว่าพาร์ ตนขายที่พาร์ได้ก็ดีแล้ว แต่วินมาร์คจ่ายเงินล่วงหน้ากว่า 500 ล้านบาทในช่วงนั้น โดยไม่มีอะไรแลกเปลี่ยนกลับไปเลย และเจ้าหน้าที่ กลต. ยังพบอีกว่า ในจำนวนเงินดังกล่าว มียอดประมาณ 300 ล้านบาทมาจากบัญชีส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยาในต่างประเทศ แต่อ้างชื่อในการโอนเป็น “วินมาร์ค” อีกด้วย
2. เอกสารที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว : จะทำให้เห็นว่า แม้มีหลักฐานในมือมากมาย แต่ในเอกสารที่สั่งไม่ฟ้องนั้น ไม่ได้อ้างหลักฐานจากต่างประเทศซึ่งชี้ถึงความเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ผ่านกองทุนต่างๆ มาชี้ว่าเป็นเหตุให้เห็นแตกต่างแต่อย่างใด แต่อ้างเชิงเทคนิคถึงเกณฑ์ระดับประกาศในการเปิดเผยข้อมูล มาทำให้เปิดเผยข้อมูลโดยอาจผิดกฎหมายระดับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ห้ามปกปิดความจริงและห้ามแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จได้
3.ซึ่งไทยทนติดตามข่าวได้รับทราบว่า สำนักงาน กลต. ก็น่าจะได้ส่งความเห็นแย้งไปที่ดีเอสไอแล้ว ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 นั้น โดยอ้างถึงว่า จากพยานหลักฐานมากมายในคดี ชี้ให้เห็นว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และภรรยา เป็นเจ้าของที่แท้จริงของกองทุนวินมาร์ค VIF OGF และ ODF นอกจากนั้น การอ้างว่าการเปิดเผยข้อมูลเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนนั้นก็ไม่ใช่ ด้วยเป็นกองทุนส่วนบุคคลที่ต้องทำตามหน้าที่ในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เป็นเจ้าของกองทุนเท่านั้น
4.เอกสารแปลการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของบริษัทวินมาร์คฯ : ซึ่งเข้าใจว่า เพิ่งมานำเสนอโดยฝ่ายครอบครัวชินวัตรว่าเป็นของ นายมามุส โมฮัมหมัด อัล อัลซาลี มหาเศรษฐี ชาวตะวันออกกลาง ธุรกิจเกี่ยวกับเรียลเอสเตท เพื่อนนักธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ กว่า 10 ปี ซึ่งเป็นครั้งแรก ทั้งๆ ที่ตอนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกถามมากๆ ว่าเอาเงินของตนมาฟอกไม่มีผู้ซื้อตัวจริง ก่อนเข้าตำแหน่ง ก็ไม่เปิดเผยชื่อนี้ ต้นปี 2549 ถูกซักถามมากตอนถูกประท้วงขับไล่ ก็ไม่เอ่ยชื่อนี้ ในหนังสือชี้แจงต่อ กลต. ในวันที่ 24 มีนาคม 49 น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องใช้คำว่า “จากการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนหุ้นของบริษัท SC” ทั้งที่เจ้าหน้าที่ กลต. และสังคมก็ถามตลอดมาว่า ใครคือเจ้าของตัวจริง ก็ไม่ตอบตั้งแต่ตอนนั้น จนกระทั่งขายหุ้นไปแล้วทั้งหมด ไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงอ้างชื่อนี้มาเป็นเจ้าของ และเอกสารนี้ ก็ขัดกับหลักฐานจากสถาบันระดับ ธ.ยูบีเอส ซึ่งได้ส่งแบบรายงาน 246-2 หุ้นชินคอร์ปฯ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2544 ว่าหุ้น 10 ล้านหุ้นของแอมเพิลริช และอีก 5.4 ล้านหุ้นซึ่งมีหลักฐานชัดว่าเป็นของวินมาร์คนั้นเป็นของบุคคลเดียวกันตามกฎหมาย เมื่อนับรวมแล้ว ก้าวข้าม 5% (triggered) จึงได้ทำรายงานดังกล่าว
แม้อาจมีบางคนอธิบายว่า ในฐานะคัสโตเดียน “ไม่มีหน้าที่” ต้องรายงาน เพราะเป็นการย้ายที่เก็บหุ้น แต่ก็ไม่ได้หักล้างว่า เอกสารที่ส่งมานี้ “ผิด” แต่อย่างใด ประดุจ ยามธนาคารออกจากกะ แต่ถ่ายรูปเห็นคนปล้นธนาคาร เมื่อเอาหลักฐานมาให้ จะถือว่าภาพถ่ายนี้ไม่ควรใช้เพราะผู้ถ่ายออกจากกะ “ไม่มีหน้าที่” แล้วเช่นนั้นหรือ
แม้มีคำถามว่าแบบรายงานนี้ผิดหรือไม่ ก็ยังได้รับการยืนยันหลายครั้ง จนสำนักงาน กลต.เองก็แถลงข่าวในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า เป็นรายงานที่ผิดพลาด ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการซื้อขาย “ในตลาดหลักทรัพย์” ในราคา 179 บาทแต่อย่างใด แสดงว่าส่วนที่สำคัญที่สุด คือ การนับรวมหุ้นเป็นของคนเดียวกันไม่ผิด เพราะถ้าผิดจริง ก็ควรแก้มาพร้อมกันหลังจากที่ถูกถามแล้วถามอีก แม้ใน 5 ปีหลังจากนั้นก็ยังยืนยันว่านับรวมถูกต้องจนผ่านจุดที่ต้องรายงานแล้ว (triggered) หลักฐานเอกสารนี้ชี้ชัดว่า ในเมื่อแอมเพิลริชเป็นของครอบครัวชินวัตร แสดงว่าวินมาร์คจะเป็นของชาวตะวันออกกลางได้อย่างไร และในเมื่อนายพานทองแท้ ถูกปรับตั้งแต่ต้นปี 2549 แล้วในการไม่เปิดเผยส่วนแอมเพิลริช ก็ไม่เคยกล่าวถึงวินมาร์คเลย และนายพานทองแท้ก็ไม่มีเหตุจูงใจให้ต้องปกปิดวินมาร์ค จึงเชื่อได้ว่าทั้งแอมเพิลริชและวินมาร์คก็คือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและภรรยานั่นเอง
5.ข้อมูลหลักทรัพย์ของธนาคารทหารไทย ตั้งแต่วันที่ 30-31 ส.ค. 2543 ซึ่งเป็นช่วงที่ คุณหญิงพจมานโอนหุ้น TMB 150 ล้านหุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิ์ฯ TMB-C1 300 ล้านหน่วยนั้น ก็จะพบว่า ราคาหุ้น TMB อยู่ที่ประมาณ 5.70 บาท และใน TMB-C1 อยู่ที่ประมาณ 1.30 บาท หากนับรวมมูลค่าตลาดในช่วงนั้น ก็เพียงประมาณ 1,245 ล้านบาทเท่านั้น แสดงว่า นายพานทองแท้ ไม่ได้ซื้อหุ้น โดยสร้างสัญญาหนี้ต่อแม่สำหรับค่าหุ้นทหารไทย 4,500 ล้านบาท ด้วยความเป็นผู้รับโอนหุ้นอย่างผู้บรรลุนิติภาวะแล้วอย่างแท้จริง เป็นเพียงการถือหุ้นแทน
และหลักฐานเหล่านี้ก็ชี้ว่า คุณหญิงพจมานและบุตรให้การเท็จในศาล เพราะอ้างว่าโอนกันที่ราคาทุน แต่ทุนนั้นเพียง 1,500 ล้านบาทค่าหุ้น TMB แต่ผู้ซื้อหุ้น TMB จะได้รับหุ้น TMB พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ์ฯ TMB-C1 ในอัตรา 1 TMB : 2 TMB-C1 แต่อ้างว่าโอนที่ทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท
แต่การสร้าง “หนี้อำพราง” ที่เกินทุนจริง 1,500 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงถึงประมาณ 3,000 ล้านบาทเพียง 1 วันก่อนโอนหุ้นชินฯ ให้นายพานทองแท้ที่ราคาพาร์นั้น ได้เป็นช่องทางให้นายพานทองแท้ ต้องคืนเงินปันผล และค่าขายหุ้นชินฯ ให้แม่เสมอมา หากหนี้อำพรางนี้โมฆะด้วยความที่ไม่อาจเชื่อได้ว่าเป็นหนี้จริง เงินคืนปันผลและค่าขายหุ้นส่วน “หนี้อำพราง” นี้ก็เป็นหลักฐานว่า ที่จริงแล้ว การโอนนี้เป็นเพียงการใช้ชื่อถือหุ้นแทนเท่านั้น
6.การขอข้อมูลราคาหุ้นชินคอร์ปฯ ประกอบกับการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ไม่น่าจะช่วยแก้ความ เพราะหากข้อกล่าวหาของ คตส. จะเป็นเพียงว่า เมื่อดำรงตำแหน่งนายกฯ หุ้นชินฯ ขึ้นมากเพียงเท่านั้น ก็จะไม่มีความเป็นธรรม เพราะหลังจากรัฐบาลหลายรัฐบาลได้เข้ามาแก้วิกฤตต้มยำกุ้งจากสมัยรัฐบาลชวลิต ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ ก็ได้เข้าไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น สภาพเศรษฐกิจต่างๆ ก็เริ่มมีเสถียรภาพ และทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัว แต่หุ้นแต่ละหุ้นที่ขึ้นนั้น ก็มีเหตุผลของตนเอง กลุ่มปตท. พลังงาน ปิโตรเคมี ขึ้นเพราะราคาเชื้อเพลิงและราคาโภคภัณฑ์ด้านปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นมากมาย กลุ่มปูนฯ ขึ้นเพราะปิโตรเคมีดีขึ้น และวัสดุก่อสร้างก็ดีขึ้น หลายบริษัทที่เคยมีหนี้มาก เช่น ทรู แทค เมื่อเพิ่มทุนได้ ดอกเบี้ยลงก็ขึ้น กลุ่มชินฯ มีนโยบายรัฐบาลหลายประการที่เอื้อประโยชน์ธุรกิจที่วัดได้ว่ารัฐเสียหายเท่าไร ครอบครัวที่ใช้ชื่อถือหุ้นแทนตนได้ประโยชน์เท่าใด (รัฐอาจเสียหายมากกว่ามูลค่าหุ้นที่เพิ่มหลายเท่าอีกด้วย เพราะที่ถือหุ้นนั้นเป็นเพียงบางส่วน) รัฐก็ต้องเรียกค่าเสียหายตามที่รัฐเสียไปทั้งหมดด้วย ซึ่งจะเกินมูลค่าทั้งหมดของหุ้น ไม่ใช่เฉพาะส่วนเพิ่มมูลค่าหุ้นเท่านั้น เพราะรัฐเสียหายกว่านั้นมาก
หากจะสร้างประเด็นเท็จให้สังคมแตกแยกอีกว่า ของกลุ่มอื่น เช่น ปตท. ปูนซิเมนต์ฯ ก็ขึ้น ทำไมไม่เอาผิดเล่า? เป็น 2 มาตรฐานหรือไม่? ก็ต้องให้หาหลักฐานเช่นนี้ว่า มีใครที่มีอำนาจรัฐ และถือหุ้นเป็นเจ้าของกิจการนั้น และใช้อำนาจรัฐเอื้อกิจการที่ตนถือหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (เกินร้อยละ 5 ตามรัฐธรรมนูญ 40) ก็ต้องมีความผิดด้วย เมื่อกรณีองค์ประกอบครบ เช่น กรณีครอบครัวชินวัตรนี้ผิด หากใครเห็นว่ามีกรณีเทียบเคียงกันก็เอาผิดได้เช่นเดียวกัน ไม่เป็น 2 มาตรฐานแต่อย่างใด
นี่ยังไม่นับว่า วินมาร์คเอาเงินที่ไหนมาฟอก ได้ยินว่าตั้งขึ้นในปี 2537 ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็น รมว. ต่างประเทศ ได้เข้าไปนั่งในคณะกรรมการด้านนโยบายกำกับอัตราแลกเปลี่ยน 3 ปีก่อนวิกฤต ซึ่งหากเป็นไปตามที่นายเสนาะ เทียนทองได้กล่าวไว้ว่า “เพราะรวยจากโกงชาติ กล้าทำแม้เผาบ้านเผาเมืองเพื่อเอาประกัน มีการไตร่ตรองและวางแผนไว้ก่อนทุกขั้นทุกตอนไอ้หมอนี่คิดเป็นจ๊อบๆ" และ กล่าวอีกว่า “ให้นายทนง พิทยะ มาเป็น รมว.คลัง เข้ามาไม่กี่วันก็ลอยตัวค่าเงินบาท จาก 26 บาท ขึ้นเป็น 50 บาท พี่น้องคนไทยเจ๊งเป็นเอ็นพีแอลทั้งประเทศ พอเสร็จภารกิจก็ลาออกเลย มาจัดตั้งรัฐบาลใหม่” หากนับความเสียหายเรื่องค่าเงินนับแสนๆ ล้านบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย รัฐบาลไทยควรยึดไม่ใช่เพียงทรัพย์สินก้อนนี้ แต่ทรัพย์สินที่ยังอยู่ในต่างประเทศทั้งหมดด้วย
ไทยทนขอเพียงว่า ขอให้ความล้มละลายในความน่าเชื่อถือ อยู่ที่ตัวอดีตผู้นำเพียงคนเดียวเท่านั้น ไทยคงไม่ถูกระบอบทักษิณครอบงำ และนำให้ไทยตกต่ำจนถึงจุดที่ต้องให้เขมรรับรองเครดิตเหมือนของอดีตผู้นำไป!!