xs
xsm
sm
md
lg

กลับไปอ่านคำพิพากษา คดีคุณหญิงพจมาน เลี่ยงภาษี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อีก 2 สัปดาห์เท่านั้น ก็จะถึงวันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่างทางการเมือง จะอ่านคำพิพากษาคดี ยึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร 76,000 ล้านบาท สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้ง 2 ฝ่ายคือ อัยการสูงสุด ผู้ร้องให้ยึดทรัพย์ และฝ่ายผู้คัดค้านคือ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร กับลูกๆ และพี่ชาย น้องสามี ต่างก็ยื่นคำแถลงปิดคดี ต่อศาล ตามกำหนด ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ศาลมีคำสั่ง เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553

เป็นอันสิ้นสุด กระบวนการไต่สวนพยานหลักฐานอย่างเป็นทางการ นับจากนี้ไป องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน จะได้ใช้เวลา พิเคราะห์พยานหลักฐาน ประกอบข้อกฎหมาย เพื่อวินิจฉัยว่า ในช่วงที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ถึงมีนาคม 2548 พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นชินคอร์ป 1,149 ล้านหุ้นหรือคิดเป้นร้อยละ 48 ของหุ้นทั้งหมด โดยซุกเอาไว้ในชื่อของลูกชาย-ลูกสาว –พี่ชาย –น้องสาว หรือไม่

หากศาลวินิจฉัยว่า หุ้นชินคอร์ป 1,149 ล้านหุ้นนี้ ไม่ใช่ของ พ.ต.ท. ทักษิณ กับภรรยาตามกฎหมายในขณะนั้น ก็จบแค่นี้ ไม่มีการยึดทรัพย์

แต่ถ้าศาลเชื่อว่า มีการซุกหุ้นภาค 2 จริง ก็จะวินิจฉัยข้อกล่าวหาข้อต่อไปของอัยการสูงสุด ที่ว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ให้ชินคอร์ป หรือไม่

ถ้าศาลเชื่อว่า ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ ก็จบแค่นี้เหมือนกัน ต้องคืนเงิน 76,000 ล้านบาท จากการขายหุ้นชินคอร์ปที่ถูกดอายัดไว้ แต่ถ้าเห็นว่า มีการเอื้อประโยชน์จริง นั่นแหละจึงจะถึงขั้นต่อไปว่า จะยึดทรัพย์ไหม ยึดเท่าไร ซึ่งไม่มีใครรู้ล่วงหน้า ประชาชนคนไทย ที่กำลังลุ้นใจจดใจจ่อว่า ผลคดีจะเป็นอย่างไร อย่าไปชื่อใครว่า ผลจะมามาเช่นนั้น เช่นนี้ ให้รอฟังศาลว่า ทีเดียวในวันที่ 26 กุมภาพันธืที่จะถึงนี้ดีกว่า

ระหว่างที่รอ ขอแนะนำให้ไปหาคำพิพากษาคดีก่อนหน้านี้ ที่เกี่ยวกับเรื่องคุณหญิงพจมาน โอนหุ้น –ขายหุ้น ซึ่งถูก คณะกรรมการตรวสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่รัฐ หรือ คตส. ตรวจสอบพบว่า มีพฤติกรรมเลี่ยงภาษี จึงส่งเรื่องให้อัยการเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลอาญา โดยมีนายบรรณพจน์ ดามาพงษ์ เป็นจำเลยที่ 1 คุณหญิงพจมานเป็นจำเลยที่สอง นางกาญจนาภา หงส์เหิน เป็นจำเลยที่สาม ฐานร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษี

ศาลอาญาพิพากษา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ว่า จำเลยทั้งสามมีความผิด ลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา โดยนายบรรณพจน์ และคุณหญิงพจมาน ถูกตัดสินจำคุก คนละ 3 ปี นางกาญจนาถูกจำคุก 2 ปี โดยจำเลยทั้ง 3 คน อุทธรณ์สู้คดี

แม้คดีนี้ยังถึงไม่ที่สุด และเป็นคนละกรณี คนละศาล กับ คดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท แต่ประแด็นการต่อสู้คดี การนำสืบของฝ่ายจำเลย และ ลีลาการไล่จับขโมยของ คตส. บางเรื่อง มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน เช่น ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ที่ตั้ง คตส. ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ คตส. มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่ คตส. เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยหรือไม่ และพฤติกรรมการซื้อขายหุ้น ที่มิได้ มีการซื้อขายกันจริง แต่เป็นการกระทำโดยลวงเพื่ออำพรางการให้ ตามเจตนาที่แท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี

เรื่องราวในคดีนี้คือ คุณหญิงพจมาน จะยกหุ้น บริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ฯ ( เรื่องนี้เกิดเมื่อปี 2540 ก่อนที่ชินวัตร คอมพิวเตอร์ฯ จะเปลียนชื่อเป็นชินคอร์ป) จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 164 บาท รวมเป็นเงิน 738 ล้านบาท ให้กับนายบรรณพจน์ แต่จะเลี่ยงภาษีเงินได้ ที่นายบรรณพจน์ ต้องจ่ายคิดเป็นเงิน 273 ล้านบาท จึงอำพรางว่าเป็นการซื้อขายผ่านตลาดหุ้น จะได้ไม่ต้องเสียภาษี โดยนายบรรณพจน์ เป็นผู้ซื้อ คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ขาย ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร จำกัด ซึ่งเป็นโบกรเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์

คตส.จับได้ว่า เป็นการซื้อขายหลอกๆ เพราะว่า เช็คค่าหุ้น 741 ล้านบาท ที่จ่ายให้โบรกเกอร์ แทนที่จะเป็นเช็คของนายบรรณพจน์ ผู้ซื้อ กลับเป็นเช็คของคุญหญิงพจมานเ ผู้ขายเสียเอง ที่ออกโดยธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน เมื่อเมอร์ริล ลินซ์ได้รับเช็คค่าซื้อหุ้นมาแล้ว ก็ออกเช็คสั่งจ่ายให้กับนางดวงตา ประมูลเรือง นอมินีของคุณหญิงพจมาน หลังจากนั้น เช็คค่าขายหุ้นนี้ก็ถูกนำเข้าบัญชีออมทรัพย์ของคุณหญิงพจมาน ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน โดยมีจำนวนเงิน 734 ล้านบาท

ส่วนต่างประมาณ 7 ล้านบาท ของเช็คค่าซื้อหุ้น กับเช็คค่าขายหุ้นคือ ค่าคอมมิชชั่น ที่เมอร์ริล ลินซ. ภัทร หักเอาไว้ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ คุณหญิงพจมานยอมเสียค่าคอมมิชั่น 7 ล้านบาทให้โบรกเกอร์ เพื่อเลี่ยงภาษีเงินได้ 273 ล้านบาทที่ต้องจ่ายให้รัฐ

เมื่อถูกจับได้ว่า ไม่มีการซิ้อขายหุ้นจริง เป็นการอำพรางการให้ คุณหญิงพจมานและนายบรรพจน์ก็ยอมรับว่า หุ้นชินวัตร 4.5 ล้านหุ้นนี้ คุณหญิงพจมานยกให้นายบรรณพจน์ เพื่อเป็นของขวัญวันแต่งงานของนายบรรณพจน์ ที่ไม่ได้ให้ในวันแต่งงาน แต่มาให้หลังจากแต่งงานแล้ว 1 ปี เพราะช่วงนั้น พ.ต.ท. ทักษิณ กำลังเคลียร์ ทรัพย์สิน เพื่อเตรียมเล่นการเมือง การให้หุ้น 4.5 ล้านหุ้นนี้ จึงเป็นการให้ที่เป็นการ” อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา” ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

แต่ศาลเห็นว่า เป็นการโอนให้ ไม่ใช่ การให้เพื่อเป็นการอุปการะโดนยหน้าที่ธรรมจรรยา จึงถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องเสียภาษี พฤติกรรม ของคุณหญิงพจมาน และนายบรรณพจน์จึงเข้าข่าย ร่วมกันโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หลีกเลียงการเสียภาษีอากร และร่วมกันมห้ถ้อยคำเท็จ หรือแสดงพยานหลักฐานเท็จ เพื่อเลี่ยงภาษี

สำหรับคดียึดทรัพย์ นั้น ในแถลงการณ์ปิดคดี ของคุณหญิงพจมาน ข้อ 1 ระบุว่า ประเด็นที่อัยการสูงสุดผู้ร้อง กล่าวหาว่า คุณหญิงพจมานผู้คัดค้านที่ 1 และ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ยังคงถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป ผ่านบุตร ญาติ พี่น้อง นั้น

“ ผู้คัดค้านที่ 1 ได้นำนายพานทองแท้ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน ให้การยืนยันชัดเจนว่าหุ้นชินคอร์ปของผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาโดยสุจริตมาตั้งแต่ปี 2526 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยการซื้อจากการเพิ่มทุน กระทั่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 มีหุ้นอยู่ 69,300,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาทและได้ขายให้กับนายพานทองแท้ และนายบรรณพจน์ โดยได้ทำการโอนขายอย่างถูกกฎหมาย มีเจตนาในการซื้อขายหุ้นกันจริง และมีการชำระค่าหุ้นกันจริง จึงได้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้รับโอนอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)แล้ว “

ในขณะที่แถลงการร์ปืดคดี ของอัยการสูงสุด ระบุว่า

“ หุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสใช้ชื่อบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นแทนมีจำนวนทั้งหมด 1,419,490,150 หุ้น ใช้เงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนในชื่อของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ผู้คัดค้านที่ 5(เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542) และการโอนหุ้นให้นายพานทองแท้ ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 2 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 4 และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ผู้คัดค้านที่ 5(เมื่อวันที่ ื1 กันายน 2543) ไม่ได้ชำระเงินกันจริงเพียงแต่ทำหลักฐานตั๋วสัญญาใช้เงินระบุลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 และวันที่ 1 กันยายน 2543 ให้ไว้กับผู้ถูกกล่าวหาและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร รวมจำนวน 5 ฉบับ เป็นเงินเพียง 1,124,335,225 บาท

อีกทั้งตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับระบุลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 ระบุว่า นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ผู้คัดค้านที่ 5 สัญญาจะจ่ายเงินจำนวน 102,135,225 บาท ให้แก่"คุณหญิงพจมาน ชินวัตร "ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย ทั้งที่ในวันที่ 16 มีนาคม 2542 คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ยังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จตุตถจุลจอมเกล้า ที่จะใช้คำนำนามว่า "คุณหญิง" ได้ โดยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จตุตถจุลจอมเกล้าในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2542 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2542

ดังนั้น คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 1 จะใช้คำนำนามว่าคุณหญิง ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2542

ข้ออ้างว่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมสูญหายจึงจัดทำขึ้นใหม่นั้นก็ไม่มีการแจ้งความเอกสารหายแต่อย่างใด จึงเชื่อว่าตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว เป็นการจัดทำเป็นหลักฐานขึ้นในภายหลังเท่านั้นไม่ได้จัดทำขึ้นตามความจริง และหากมีการซื้อขายกันจริง นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ผู้คัดค้านที่ 5 ก็มีเงินของตนเพียงพอที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้โดย ผู้คัดค้านที่ 5 ไม่จำเป็นต้องทำตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร แต่อย่างใด

แต่เป็นการกระทำเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าได้มีการซื้อขายเท่านั้นทั้งที่ไม่มีการซื้อขายกันจริง การซื้อหุ้นเพิ่มทุนและการโอนหุ้นดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้มีชื่อดังกล่าวถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวและคู่สมรส หุ้นดังกล่าวยังคงเป็นของผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส”


ศาลจะเชื่อใคร ต้องรอฟังคำพิพากษา ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ แต่ถ้าอยากจะเดา ระหว่างนี้ ก็หาหนังสือ “ คดีประวัติศาสตร์ จำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร คดีที่ดินรัชดา –คดีเลี่ยงภาษี “ ที่รวบรวม เรียบเรียงโดย บุญร่วม เทียมจันทร์ อัยการอาวุโส และศรัญญา วิชชาธรรม มาอ่านอุ่นเครื่องไปพลางๆก่อน
กำลังโหลดความคิดเห็น