โดย...ไทยทน
คดียึดทรัพย์ทักษิณ 7.6 หมื่นล้านบาท ได้ดำเนินการมาอย่างดี มีการนำเสนอข้อมูลจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งฝ่ายคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้คัดค้าน จึงเชื่อได้ว่า เมื่อประชาชนได้ตั้งใจนำเอาข้อมูลทุกด้าน ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาวินิจฉัย ก็น่าจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า “ซุกหุ้น+เอื้อประโยชน์หุ้นที่ตนซุก” หรือไม่ ?
เสียดายที่ พ.ต.ท.ทักษิณ หนีสภา หนีคดี หนีคุก ไม่เคยยอมพูดคุยแบบ 2 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในสภาหรือต่อหน้าสื่อมวลชน เว้นแต่เป็นพวกของตน เช่นนี้ก็คงประเมินออกว่า สิ่งที่ขาดไป คือ “ความจริง” นั่นเอง โดยข้อมูลจากแถลงการณ์เพื่อปิดคดี ได้ขาด “ความจริง” ไปในหลายประเด็นดังนี้
1.ท่านอ้างว่า “มีหลักฐานในสำนวนนี้ ซึ่งรับรองโดยศาลรัฐดูไบว่าผู้เป็นเจ้าของบริษัทวินมาร์ค คือ นายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี (นายมาห์มูด โมฮัมหมัด) ... การที่ นายสุนัย มโนมัยอุดม และ นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ ได้เบิกความไว้ต่อศาลว่า มีหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ที่บริษัทวินมาร์ค ถือครองอยู่ โดยผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าของนั้น ก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีต้นฉบับเอกสารที่เชื่อถือได้มารองรับ โดยเฉพาะหลังจากที่ผู้กล่าวหาเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 แล้ว ก็ไม่มีเอกสารใดๆที่แสดงว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้เกี่ยวข้องสั่งการเกี่ยวกับธุรกรรมใดๆของบริษัทวินมาร์คทั้งสิ้น”
ถือว่า มีการเขียนสำนวนที่แยบยล แต่ก็จับ “ความจริง” ยุติตรงกันอย่างหนึ่งกับฝ่าย คตส. ว่า หลักฐานที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต. )และกรมสอบสวนคดีพิเศษ( ดีเอสไอ )(ตั้งแต่สมัยท่านสุนัย) เคยเห็นว่า วินมาร์ค ตั้งมาตั้งแต่ปี 2537 (ตั้งแต่ช่วงที่ท่านเป็น รมว. ต่างประเทศ และมีโอกาสร่วมในคณะกรรมการนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน 3 ปีก่อนลอยค่าเงินบาท) ด้วยการที่ใช้สำนวนว่า “โดยเฉพาะ...หลังจากเข้า ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2544 แล้ว ก็ไม่มีเอกสารใดๆที่แสดงว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้เกี่ยวข้องสั่งการเกี่ยวกับธุรกรรมใดๆ ของบริษัทวินมาร์คทั้งสิ้น”
ซึ่งทาง ก.ล.ต. ก็ได้แสดงความเห็นแย้งกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นว่า น่าจะเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนในเจตนารมณ์ของกฎหมาย ก.ล.ต. และไม่มีการกล่าวอ้างว่า จากหลักฐานที่เห็นนั้น ขัดกับข้อสรุปสมัยท่านสุนัยว่า “Win Mark VIF OGF และ ODF เป็นนิติบุคคลที่อำพรางการถือหุ้น (Nominee) ของพ.ต.ท. ทักษิณฯ และภรรยา”
โดย ในหนังสือเรียน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งลงนามโดยเลขาธิการ ก.ล.ต. วันที่ 29 ตุลาคม 2551 ระบุว่า “แต่ก็มีพยานหลักฐานจำนวนมากในสำนวนคดี ทั้งในเรื่องการสั่งการและการรับประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน หรือนิติบุคคลในทอดต่างๆ เชื่อมโยงว่า ในปี 2537 ที่มีการจัดตั้ง Win Mark Limited พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นเจ้าของผู้รับประโยชน์ ตลอดจนมีอำนาจหรืออิทธิพลในการควบคุมจัดการกองทุน OGF และ ODF ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนดังกล่าว จนมีการขายหุ้นบริษัท SC ออกไปในปี 2549 ก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ที่แจ้งเปลี่ยนแปลงเจ้าของผู้รับประโยชน์ในกองทุนทั้งสอง”
ในเมื่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ให้ข้อมูลยอมรับแล้วว่า “โดยเฉพาะ..หลังรับตำแหน่งนายกฯ..” นั้น แสดงว่า เป็นครั้งแรกที่ยอมรับว่า ตนเป็นเจ้าของ และเคยเกี่ยวข้องกับการสั่งการเกี่ยวกับธุรกรรมในวินมาร์คในช่วงก่อนหน้านั้น เพราะ หากไม่เคยมีเลย ก็คงไม่น่าจะใช้ วลี “โดยเฉพาะ..หลังรับตำแหน่ง..” เช่นนั้น
หลักฐานมากมายที่ได้รับ ก็ดูจะได้รับมาจากหน่วนงานราชการของแต่ละประเทศเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย แม้บางฉบับอาจติดขัดทางเทคนิคที่ขาดการรับรองสำเนาของประเทศที่อาจจะมีความเกี่ยวโยงแล้วบ้าง แต่ในเมื่อสอดคล้องกัน และสอดคล้องกับหลักฐานอื่นๆทั้งหมด ก็น่าจะยอมรับได้ ด้วยหลักฐานสำคัญบางส่วนที่ได้รับมาแล้วก็น่าจะพอเพียงอยู่แล้ว
ประเด็นสำคัญที่ท่านอ้างหลักฐานจากศาลรัฐดูไบ เรื่อง นายมาห์มูด โมฮัมหมัดฯ นั้น ทำไมท่านจึงไม่เคยเปิดเผยมาก่อนหน้านี้เลย โดยในวันที่ 11 กันยายน 2543 ประชาชาติธุรกิจ ได้พาดหัวข่าวใหญ่โดยคุณ ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ว่า “ตะลึง ! ‘ทักษิณ’ โอนหุ้น 900 ลบ. เข้าบริษัทบนเกาะฟอกเงิน”
ในวันที่ 12 กันยายน 2543 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย การขายหุ้นอสังหาริมทรัพย์ 5-6 บริษัทให้แก่กองทุนวินมาร์คนั้น “เป็นการขายหุ้นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศธรรมดา ไม่มีอะไรที่พิสดาร ... ขายไปในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ..ตอนนี้อสังหาริมทรัพย์ในตลาดต่ำกว่าราคาพาร์ทั้งนั้น เราขายได้ราคาพาร์ในช่วงนี้ก็ถือว่าเฮงแล้ว”
ตอนนั้นกำลังเข้ารับตำแหน่ง หากบอกว่าเป็น นายมาห์มูด โมฮัมหมัดฯ เศรษฐีจากตะวันออกกลางอย่างที่ คุณหญิง พจมานให้การนั้น ก็จะไม่ง่ายกว่าหรือ
จะอ้างว่าเพิ่งรู้จักกันก็แปลก เพราะ คุณหญิง พจมาน ให้การในวันที่ 15 กันยายน 2552 ว่า “รู้จักกันมาก่อน เป็นเพื่อนกับอดีตนายกมาประมาณ 10 กว่าปี เป็นเพื่อนนักธุรกิจสมัยที่ทำธุรกิจอยู่”
เมื่อทนายผู้คัดค้านถามว่า “พยานรู้จักกับ นายมาห์มูด ก่อนการขายหุ้นดังกล่าวนี้ประมาณกี่ปี” ก็ตอบว่า 10 ปี และเมื่อถามว่า “ใครมีฐานะร่ำรวยหรือมีทรัพย์สินมากกว่า เมื่อเทียบกับครอบครัวพยาน” ก็ยืนยันว่า “นายมาห์มูดมีมากกว่า” แล้วทำไมจึงไม่กล้าเปิดเผย หรือเป็นเพราะหากอ้างชื่อก่อนหุ้นทั้งหมดถูกขายออกไป ก็อาจถูกหักหลังยึดเป็นหุ้นของตัวก็ได้ !!
และอ้างว่า ซื้อไว้เพื่อรอเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ในเวลาเพียง 3 สัปดาห์ ก่อนการยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. คือในวันที่ 11 สิงหาคม 2546 Win Mark ได้โอนหุ้น SC Asset ที่มีอยู่ทั้งหมดให้ Value Investment Mutual Fund Inc. (VIF) (หรือเดิมชื่อ Value Asset Fund Limited :VAF) และวันที่ 1 กันยายน 2546 VIF ได้โอนหุ้น SC Asset ทั้งหมดให้แก่ Overseas Growth Fund Inc. (OGF) และ Offshore Dynamic Fund Inc. (ODF) ต่อมา SC Asset ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546
จากพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับปรากฏว่า เมื่อ 28 สิงหาคม 2546 VIF ได้สละสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุน SC Asset ในราคาพาร์ให้บุตรสาว 2 คนของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นผู้รับซื้อหุ้นเพิ่มทุนด้วย การสละสิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้ VIF ต้องเสียประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้นเมื่อ SC Asset ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 71 ล้านบาทเศษ และต่อมาในปี 2547 Win Mark ได้โอนขายหุ้นบริษัทของครอบครัวชินวัตร 5 บริษัท คืนให้แก่ น.ส.พิณทองทาฯ โดย Win Mark ไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนและถือครองหุ้นเป็นระยะเวลานาน”
ข้อพิรุธคือ การโอนหุ้น 2 ต่อนั้น กองทุนทั้ง 3 คือ VAF (หรือ VIF), OGF และ ODF นั้นมีที่อยู่เดียวกันคือ L1, LOT7, BLK F, SAGUKING ... LABUAN FT, MALYSIA และ วินมาร์คเองก็มีที่อยู่ P.O. BOX 3151 ROAD TOWN TORTOLA BRITISH VIRGIN ISLAND เหมือนบริษัท แอมเพิลริช ก่อนที่จะมีการแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ของแอมเพิลริชในภายหลัง ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่มีเหตุผลต้องเปลี่ยนเลย นอกจากว่า จะทำให้เป็นหลักฐานเพิ่มว่ามีที่อยู่เดียวกับวินมาร์คนั่นเอง
นอกจากนั้น น.ส. ยิ่งลักษณ์ ทำหนังสือถึง ก.ล.ต. อันเป็นหลักฐานทางราชการและอ้างอิงในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 24 มีนาคม 2549 ว่า “จากการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนบริษัท SC พบชื่อ วินมาร์ค แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับครอบครัว” สะท้อนว่า
(ก) ไม่ได้ทราบอยู่แล้วว่า เป็นเพื่อนกันกว่าอย่างน้อย 15-16 ปี (กว่า 10 ปีก่อนขายหุ้นในปี 2543) มิเช่นนั้น ทำไมต้องไปสำรวจทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงได้ “พบชื่อ”
และ (ข) น.ส. ยิ่งลักษณ์ยืนยันว่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับครอบครัว ชินวัตร แสดงว่า น่าจะได้ตรวจสอบครอบครัวครบหมดแล้ว โดยเฉพาะน่าจะมีวิธีคิดที่เป็นปรกติพอที่จะได้ตรวจสอบกับพี่ชายคือ พ.ต.ท. ทักษิณ และ คุณหญิงพจมานแล้ว แต่กลับชี้แจงว่า “จากการตรวจสอบทะเบียน” “พบชื่อวินมาร์ค” และ “ไม่มีความสัมพันธ์กับครับครัวชินวัตร” ทั้งๆ ที่เป็นช่วงวิกฤต ถูกประท้วงมากมาย ก็ยังไม่เปิดเผยให้กระจ่าง ก็ค่อนข้างสะท้อนว่าเป็นความเท็จ
ยังมีหลักฐานอีกมากมายในบทความ “ทำไม ทักษิณ จึงแก้ข้อกล่าวหา ปกปิดวินมาร์ค ได้ดีที่สุดแค่ ยูบีเอส ‘อาจ’ เข้าใจผิด?” ที่ผู้อ่านอาจดูเพิ่มเติมได้
2.ดีที่ท่านเริ่มให้ความสำคัญกับหลักฐานเอกสาร 246-2 ที่ ธ.ยูบีเอส ได้รายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ในเดือนสิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นหลักฐานที่เมื่อมองตามหลักของกฎหมาย แสดงว่า หุ้น 10 ล้านหุ้น (ตอนนั้น พาร์ 10 บาท) ที่ ธ.ยูบีเอส รับมาจาก Vikers Ballas ในฐานะ Custodian นั้น เมื่อรวมกับหุ้นอีก 5.4 ล้านหุ้น เป็นเจ้าของเดียวกันตามกฎหมาย ด้วย พ.ร.บ. หลักทรัพย์ 2535 มีมานาน และมีภาษาอังกฤษด้วยในมาตรา 258 เพื่อใช้ตีความมาตรา 246-247 ว่า “Securities of a business held by the following persons or partnerships shall be regarded as securities held by the person referred to in Section 246 and Section 247: (1) the spouse of such person; …(4) a limited partnership in which such person or the person under (1) or (2) … who collectively holds …” ซึ่งเป็นหลักฐานราชการไทย ที่สมบูรณ์อยู่แล้ว
โดยท่านได้สรุปว่า การรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ตามแบบ 246-2 ของธ.ยูบีเอส เอจี สิงคโปร์ ต่อ ก.ล.ต. ก็เป็นการรายงานในฐานะของ Custodian ไม่ได้เป็นการรายงานว่า มีบุคคลคนเดียวถือหุ้นรวมกันในเกณฑ์ที่ต้องทำการรายงานต่อ ก.ล.ต. โดยในเรื่องนี้ นาง ณัฐยา ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงาน ก.ล.ต. ก็ได้เบิกความว่า “เราถามไปเยอะ แต่เขาตอบมาไม่ครบ ในส่วนที่เขาตอบ เขาตอบว่ าเหมือนกับเขารายงานเข้ามาผิด เพราะว่าเขาเป็นเพียง Custodian ไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องรายงาน .. คือเขาบอกว่าวันนั้นที่รายงานเข้ามาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 จริงๆ เป็นรายการรับหลักทรัพย์จากการโอนหุ้นในฐานะ Custodian คือ Custodian free of payment transfer 10 ล้านหุ้นชินฯ ในรายงานฉบับนั้น เดิมเขาไปกรอกว่า ได้หลักทรัพย์มาในราคา 179 บาทต่อหุ้น ซึ่งจริงๆ เนื่องจากเป็นการโอนแบบ free of payment transfer ก็ไม่ต้องมีราคา เขาก็เลยบอกว่า เขารายงานผิด และ Confirm ว่าเขารายงานเพราะ Acting ในฐานะที่เป็น Custodian ซึ่งในจดหมายฉบับหลังถึงบอกว่าจริงๆ เขาไม่ได้มีหน้าที่ เขาไปจ้าง Law firm อื่นช่วย Confirm transaction นั้น”
ประเด็นชวนให้วินิจฉัยตาม พ.ต.ท.ทักษิณว่า 5.4 ล้านหุ้นของวินมาร์คนั้น ไม่เกี่ยวกับครอบครัว การที่วินมาร์คจะมีหุ้นชินฯ หรือไม่ก็เป็นเรื่องของวินมาร์ค และเจ้าของวินมาร์ค คือ นายมาห์มูด ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเป็นไปตามนั้น ดังนี้
ก) มีหลักฐานตามเอกสารโอนเงินที่ น.ส. พินทองทาจ่ายค่าหุ้นให้แก่ วินมาร์ค 485 ล้านบาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2544 ระบุ วินมาร์ค ซึ่งดูแลโดย ธ.ยูบีเอส มีรหัสบัญชี 121751 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์ตามทะเบียนหุ้นวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 ว่าบัญชี UBS AG Singapore Branch – Pledge A/C 121751 มีหุ้นอยู่ 53,642,130 หุ้น คือประมาณ 5.4 ล้านหุ้นสมัยพาร์ 10 บาทนั่นเอง ยืนยันว่า วินมาร์คมีหุ้นจำนวนนี้ และ ธ.ยูบีเอสเป็นผู้ดูแลบัญชีวินมาร์ค #121751 และแอมเพิลริช #119449 ด้วย
ข) ในการยื่นนั้น ธ.ยูบีเอสได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งหาก 5.4 ล้านหุ้นของวินมาร์คเป็นของ นายมามูดจริง ก็ต้องไม่รายงานนับรวมกัน ใครจะกล่าวหาว่า ธ. ยูบีเอสกระทำรายการนี้โดยไม่เข้าใจกฎหมายก็น่าจะฟ้องไปเลย หรือกล่าวหาตรงๆ เลย ก็ไม่มี
ค) เจ้าหน้าที่ใช้คำว่า “แม้มีคำถามไปเยอะ” เนื่องจากเป็นที่สนใจมากว่าเป็นของคนเดียวกันหรือไม่? คำตอบที่ได้ก็เป็นดังที่ฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณยอมรับและกล่าวอ้างถึงว่า เป็นการแก้ราคาที่ไม่ควรเป็น 179 บาท และไม่ควรเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีประโยคสำคัญในหนังสือที่ผูกมัดเข้าไปอีกชั้นหนึ่งว่า “we can confirm that the transaction which triggered the requirement to make a disclosure was custodian to custodian free of payment..” และประโยค “We can also confirm that UBS AG Singapore Branch was acting in its capacity as a custodian for its underlying clients when it submitted the Form 246-2” ซึ่งแสดงว่า ทำเพื่อลูกค้า ไม่ใช่ทำหน้าที่รายงานเป็นของตน และที่ทำเพราะเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย (“triggered”) ซึ่งการเติม “ed” ก็แปลว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแล้ว หากรวมหุ้นของบุคคลเดียวกันตามมาตรา 258 แล้วไม่ผ่าน 5% ตามกฎหมาย ก็ไม่ triggered ซึ่งดีที่ถือได้ว่า หนังสือฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 นี้เป็นหลักฐานที่ทุกฝ่ายใช้อ้างอิงเป็นที่ยุติตรงกัน และแสดงว่า ที่ขอแก้นั้น คือเพียงเรื่อง ราคา 179 บาทและการซื้อขายในตลาดฯเท่านั้น
หากการตรวจสอบความถูกต้องที่ถามโดยหน่วยงานกำกับของรัฐแล้วพบว่า จริงๆแล้วไม่ใช่ของคนเดียวกัน และไม่ต้องรายงานตามกฎหมายนี้ แก้เพียงแจ้งยกเลิกจะไม่ง่ายกว่าหรือ ?
หากจะนับเป็นความผิด ก็เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย เพราะเป็นหุ้นเพียง 5.24% เท่านั้น ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่ได้มีผลต่อราคาหุ้นแต่อย่างใด ข้อมูลราคาเสียอีกที่อาจมีผลต่อตลาดหากแตกต่างกัน ซึ่งยอมรับว่าแจ้งราคาผิด แต่ไม่ยอมรับว่าเอกสารนี้ ไม่ได้นับรวมตามกฎหมาย กลับยืนยัน (confirm) ว่ามันผ่านเงื่อนไขตามกฎหมาย (“triggered”)
ง) ส่วนเงื่อนไขที่ว่า มีหนังสือจาก Law firm อิสระชี้แจงว่า ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้ง ก็อาจจะจริงว่า ด้วยความเป็น Custodian ของครอบครัวชินวัตรฯ หากมองรวมว่าทั้งหมดนี้ก็เป็นหุ้นของครอบครัวทั้งสิ้น จะแอมเพิลริช หรือวินมาร์ค ซึ่งการย้ายที่เก็บหุ้นจาก Vickers Ballas มาเป็น ธ.ยูบีเอสนั้น ก็ไม่ต้องรายงาน ก็จริง แต่ไม่ได้แก้ประเด็นว่า ที่รายงานมานั้น เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ? ในเมื่อ ธ.ยูบีเอสยืนยัน (confirm) แล้วว่า มันผ่านเงื่อนไขตามกฎหมาย (“triggered”) เหมือนยามอยู่นอกกะ ถ่ายรูปโจรปล้นได้ จะถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะยามไม่มีหน้าที่เช่นนั้นหรือ ?
จ) ยังดูจะมีการให้การกันว่า คัสโตเดียนแต่ละแห่งอาจมีวิธีปฏิบัติต่างกัน ก็ไม่ช่วยลดความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นลูกค้ารายใหญ่ มายาวนาน แม้ไม่สามารถบอกได้ว่า ธ.ยูบีเอสดูแลหุ้นให้ใครอีกบ้างเพราะติดเงื่อนไขการรักษาความลับลูกค้า (confidentiality) แต่การให้ยืนยันว่า หุ้น 15.4 ล้านหุ้นนี้ เป็นของแอมเพิลริชของครอบครัวตน 10 ล้านหุ้น และของวินมาร์ค ซึ่งเป็นของนายมามู๊ด ที่เป็นเพื่อนกันมากกว่า 10 ปี 5.4 ล้านหุ้นนั้นเป็นคนละคนกัน ต้องไม่รายงานตามกฎหมายมาตรา 246 และ 258 นี้ก็ง่ายมากแต่ก็ทำไม่ได้ กลับต้องจ้าง Law Firm อื่นมากล่าวในประเด็นที่ไม่ได้มีน้ำหนักต่อสู้หลักฐานนี้เลย
3.ดีที่ท่านก็ยอมรับ “ความจริง” แล้วว่า “ส่วนข้ออ้างที่พบว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงินจากการเปิดบัญชีไว้กับธนาคารยูบีเอส และไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจนปี 2548 นั้นก็มิใช่เรื่องผิดปกติ เพราะที่สำคัญคือ เป็นการเปิดบัญชีไว้กับ ธ.ยูบีเอส ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ... ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่เคยมีการลงลายมือชื่อทำธุรกรรมการเงินใดๆ กับธนาคารเลยแม้แต่ครั้งเดียวตั้งแต่เปิดบัญชี”
ก็ยืนยันหลักฐานตามหนังสือรับรองบริษัท ซึ่งได้รับมาจากครอบครัวชินวัตร ซึ่งมีเงื่อนไขว่า “Any withdrawal is to be authorized by Dr. T. SHINAWATRA solely.” แสดงว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแต่เพียงผู้เดียวในช่วงเวลาดังกล่าวก่อนปี 2548 จึงได้มีชื่อบุตรทั้งสองปรากฏเป็นผู้มีอำนาจลงนาม และยืนยันที่ได้อ้างว่าโอนหุ้น ARI ให้นาย พานทองแท้ ชินวัตร ในวันที่ 1 ธันวาคม 2543 นั้น ก็ไม่ได้ลงลายมือชื่อเปลี่ยนเงื่อนไขผู้มีอำนาจถอนเงินให้ลูกแต่อย่างใด ซึ่งใครจะคิดว่าแสดงว่าโอนจริงสมบูรณ์แล้วก็ต้องใคร่ครวญให้ดี
โดยมีพิรุธที่สอดคล้องกัน ก็คือ พานทองแท้ได้ทำรายงานหุ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 ก็ทำในลักษณะที่ไม่มีหุ้นแอมเพิลริชทำให้ต้องแก้หลักฐานย้อนหลัง (Back Date) ในปี 2549 ต่อมา
ยังมีหลักฐานของ คตส. อีกว่า
(ก) UBS ได้ส่งหุ้นไปเข้าบัญชี UOB Nominee Private Limited เพื่อบัญชี Win Mark จำนวน 18,048,870 หุ้น ในวันที่ 19 กันยายน 2545
(ข) โดยตัดหุ้นจากบัญชีที่ถือหุ้น Aแอมเพิลริชและต่อมา UBS ตัดหุ้นจากบัญชี Pledge A/C – 121751 (Win Mark) จำนวน 17,000,000 หุ้น มาชดเชยบัญชีแอมเพิลริชในวันที่ 4 ตุลาคม 2545 ทำให้หุ้นในบัญชี Pledge A/C – 121751 ดังกล่าว ลดลงจาก 53,642,130 หุ้น (ตามข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 10 เมษายน 2545) เหลือ 36,642,130 หุ้น (ตามข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 9 เมษายน 2546)
เป็นหลักฐานยืนยันว่า แอมเพิมริช และ วินมาร์คของเจ้าของเดียวกัน จึงตัดหุ้นกว่า 18 ล้านหุ้นจากบัญชี แอมเพิลริช (ที่ทราบเพราะหลังการส่งหุ้นจำนวนนี้ หุ้นในบัญชีที่ ธ.ซิตี้แบงก์ ผู้เก็บหุ้นให้ ธ.ยูบีเอส มีหุ้นเหลือเพียงประมาณ 83,385,000 หุ้นเท่านั้น ซึ่งมีความจริงยุติตรงกันว่า ส่วนแอมเพิลริชรายเดียวก็ต้องมีอย่างน้อย 100 ล้านหุ้นอยู่แล้ว การที่หุ้นเหลือเพียง 83 ล้านหุ้นแสดงว่าต้องตัดหุ้นส่วนของแอมเพิลริชไป) โดยส่งไปเข้าบัญชี วินมาร์ค ที่ UOB และตัดหุ้นจากบัญชี วินมาร์คมาคืนเพียง 17 ล้านหุ้นก็ทำได้ ทั้งนี้รายการเหล่านี้เป็นรายการที่ไม่มีการชำระเงินแต่อย่างใด (free of payment transfer) เช่นกัน
ทั้งสิ้นนี้ ก็เป็นเพียงข้อสรุปที่ว่า “หากทักษิณแพ้ ก็เพราะไม่มีสิ่งที่สำคัญ ... คือ ความจริง” ครับ
คดียึดทรัพย์ทักษิณ 7.6 หมื่นล้านบาท ได้ดำเนินการมาอย่างดี มีการนำเสนอข้อมูลจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งฝ่ายคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้คัดค้าน จึงเชื่อได้ว่า เมื่อประชาชนได้ตั้งใจนำเอาข้อมูลทุกด้าน ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาวินิจฉัย ก็น่าจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า “ซุกหุ้น+เอื้อประโยชน์หุ้นที่ตนซุก” หรือไม่ ?
เสียดายที่ พ.ต.ท.ทักษิณ หนีสภา หนีคดี หนีคุก ไม่เคยยอมพูดคุยแบบ 2 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในสภาหรือต่อหน้าสื่อมวลชน เว้นแต่เป็นพวกของตน เช่นนี้ก็คงประเมินออกว่า สิ่งที่ขาดไป คือ “ความจริง” นั่นเอง โดยข้อมูลจากแถลงการณ์เพื่อปิดคดี ได้ขาด “ความจริง” ไปในหลายประเด็นดังนี้
1.ท่านอ้างว่า “มีหลักฐานในสำนวนนี้ ซึ่งรับรองโดยศาลรัฐดูไบว่าผู้เป็นเจ้าของบริษัทวินมาร์ค คือ นายมาห์มูด โมฮัมหมัด อัล อันซารี (นายมาห์มูด โมฮัมหมัด) ... การที่ นายสุนัย มโนมัยอุดม และ นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ ได้เบิกความไว้ต่อศาลว่า มีหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ที่บริษัทวินมาร์ค ถือครองอยู่ โดยผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าของนั้น ก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีต้นฉบับเอกสารที่เชื่อถือได้มารองรับ โดยเฉพาะหลังจากที่ผู้กล่าวหาเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 แล้ว ก็ไม่มีเอกสารใดๆที่แสดงว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้เกี่ยวข้องสั่งการเกี่ยวกับธุรกรรมใดๆของบริษัทวินมาร์คทั้งสิ้น”
ถือว่า มีการเขียนสำนวนที่แยบยล แต่ก็จับ “ความจริง” ยุติตรงกันอย่างหนึ่งกับฝ่าย คตส. ว่า หลักฐานที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต. )และกรมสอบสวนคดีพิเศษ( ดีเอสไอ )(ตั้งแต่สมัยท่านสุนัย) เคยเห็นว่า วินมาร์ค ตั้งมาตั้งแต่ปี 2537 (ตั้งแต่ช่วงที่ท่านเป็น รมว. ต่างประเทศ และมีโอกาสร่วมในคณะกรรมการนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน 3 ปีก่อนลอยค่าเงินบาท) ด้วยการที่ใช้สำนวนว่า “โดยเฉพาะ...หลังจากเข้า ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2544 แล้ว ก็ไม่มีเอกสารใดๆที่แสดงว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้เกี่ยวข้องสั่งการเกี่ยวกับธุรกรรมใดๆ ของบริษัทวินมาร์คทั้งสิ้น”
ซึ่งทาง ก.ล.ต. ก็ได้แสดงความเห็นแย้งกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นว่า น่าจะเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนในเจตนารมณ์ของกฎหมาย ก.ล.ต. และไม่มีการกล่าวอ้างว่า จากหลักฐานที่เห็นนั้น ขัดกับข้อสรุปสมัยท่านสุนัยว่า “Win Mark VIF OGF และ ODF เป็นนิติบุคคลที่อำพรางการถือหุ้น (Nominee) ของพ.ต.ท. ทักษิณฯ และภรรยา”
โดย ในหนังสือเรียน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งลงนามโดยเลขาธิการ ก.ล.ต. วันที่ 29 ตุลาคม 2551 ระบุว่า “แต่ก็มีพยานหลักฐานจำนวนมากในสำนวนคดี ทั้งในเรื่องการสั่งการและการรับประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน หรือนิติบุคคลในทอดต่างๆ เชื่อมโยงว่า ในปี 2537 ที่มีการจัดตั้ง Win Mark Limited พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นเจ้าของผู้รับประโยชน์ ตลอดจนมีอำนาจหรืออิทธิพลในการควบคุมจัดการกองทุน OGF และ ODF ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนดังกล่าว จนมีการขายหุ้นบริษัท SC ออกไปในปี 2549 ก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ที่แจ้งเปลี่ยนแปลงเจ้าของผู้รับประโยชน์ในกองทุนทั้งสอง”
ในเมื่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ให้ข้อมูลยอมรับแล้วว่า “โดยเฉพาะ..หลังรับตำแหน่งนายกฯ..” นั้น แสดงว่า เป็นครั้งแรกที่ยอมรับว่า ตนเป็นเจ้าของ และเคยเกี่ยวข้องกับการสั่งการเกี่ยวกับธุรกรรมในวินมาร์คในช่วงก่อนหน้านั้น เพราะ หากไม่เคยมีเลย ก็คงไม่น่าจะใช้ วลี “โดยเฉพาะ..หลังรับตำแหน่ง..” เช่นนั้น
หลักฐานมากมายที่ได้รับ ก็ดูจะได้รับมาจากหน่วนงานราชการของแต่ละประเทศเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย แม้บางฉบับอาจติดขัดทางเทคนิคที่ขาดการรับรองสำเนาของประเทศที่อาจจะมีความเกี่ยวโยงแล้วบ้าง แต่ในเมื่อสอดคล้องกัน และสอดคล้องกับหลักฐานอื่นๆทั้งหมด ก็น่าจะยอมรับได้ ด้วยหลักฐานสำคัญบางส่วนที่ได้รับมาแล้วก็น่าจะพอเพียงอยู่แล้ว
ประเด็นสำคัญที่ท่านอ้างหลักฐานจากศาลรัฐดูไบ เรื่อง นายมาห์มูด โมฮัมหมัดฯ นั้น ทำไมท่านจึงไม่เคยเปิดเผยมาก่อนหน้านี้เลย โดยในวันที่ 11 กันยายน 2543 ประชาชาติธุรกิจ ได้พาดหัวข่าวใหญ่โดยคุณ ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ว่า “ตะลึง ! ‘ทักษิณ’ โอนหุ้น 900 ลบ. เข้าบริษัทบนเกาะฟอกเงิน”
ในวันที่ 12 กันยายน 2543 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย การขายหุ้นอสังหาริมทรัพย์ 5-6 บริษัทให้แก่กองทุนวินมาร์คนั้น “เป็นการขายหุ้นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศธรรมดา ไม่มีอะไรที่พิสดาร ... ขายไปในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ..ตอนนี้อสังหาริมทรัพย์ในตลาดต่ำกว่าราคาพาร์ทั้งนั้น เราขายได้ราคาพาร์ในช่วงนี้ก็ถือว่าเฮงแล้ว”
ตอนนั้นกำลังเข้ารับตำแหน่ง หากบอกว่าเป็น นายมาห์มูด โมฮัมหมัดฯ เศรษฐีจากตะวันออกกลางอย่างที่ คุณหญิง พจมานให้การนั้น ก็จะไม่ง่ายกว่าหรือ
จะอ้างว่าเพิ่งรู้จักกันก็แปลก เพราะ คุณหญิง พจมาน ให้การในวันที่ 15 กันยายน 2552 ว่า “รู้จักกันมาก่อน เป็นเพื่อนกับอดีตนายกมาประมาณ 10 กว่าปี เป็นเพื่อนนักธุรกิจสมัยที่ทำธุรกิจอยู่”
เมื่อทนายผู้คัดค้านถามว่า “พยานรู้จักกับ นายมาห์มูด ก่อนการขายหุ้นดังกล่าวนี้ประมาณกี่ปี” ก็ตอบว่า 10 ปี และเมื่อถามว่า “ใครมีฐานะร่ำรวยหรือมีทรัพย์สินมากกว่า เมื่อเทียบกับครอบครัวพยาน” ก็ยืนยันว่า “นายมาห์มูดมีมากกว่า” แล้วทำไมจึงไม่กล้าเปิดเผย หรือเป็นเพราะหากอ้างชื่อก่อนหุ้นทั้งหมดถูกขายออกไป ก็อาจถูกหักหลังยึดเป็นหุ้นของตัวก็ได้ !!
และอ้างว่า ซื้อไว้เพื่อรอเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ในเวลาเพียง 3 สัปดาห์ ก่อนการยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. คือในวันที่ 11 สิงหาคม 2546 Win Mark ได้โอนหุ้น SC Asset ที่มีอยู่ทั้งหมดให้ Value Investment Mutual Fund Inc. (VIF) (หรือเดิมชื่อ Value Asset Fund Limited :VAF) และวันที่ 1 กันยายน 2546 VIF ได้โอนหุ้น SC Asset ทั้งหมดให้แก่ Overseas Growth Fund Inc. (OGF) และ Offshore Dynamic Fund Inc. (ODF) ต่อมา SC Asset ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546
จากพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับปรากฏว่า เมื่อ 28 สิงหาคม 2546 VIF ได้สละสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุน SC Asset ในราคาพาร์ให้บุตรสาว 2 คนของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นผู้รับซื้อหุ้นเพิ่มทุนด้วย การสละสิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้ VIF ต้องเสียประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้นเมื่อ SC Asset ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 71 ล้านบาทเศษ และต่อมาในปี 2547 Win Mark ได้โอนขายหุ้นบริษัทของครอบครัวชินวัตร 5 บริษัท คืนให้แก่ น.ส.พิณทองทาฯ โดย Win Mark ไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนและถือครองหุ้นเป็นระยะเวลานาน”
ข้อพิรุธคือ การโอนหุ้น 2 ต่อนั้น กองทุนทั้ง 3 คือ VAF (หรือ VIF), OGF และ ODF นั้นมีที่อยู่เดียวกันคือ L1, LOT7, BLK F, SAGUKING ... LABUAN FT, MALYSIA และ วินมาร์คเองก็มีที่อยู่ P.O. BOX 3151 ROAD TOWN TORTOLA BRITISH VIRGIN ISLAND เหมือนบริษัท แอมเพิลริช ก่อนที่จะมีการแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ของแอมเพิลริชในภายหลัง ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่มีเหตุผลต้องเปลี่ยนเลย นอกจากว่า จะทำให้เป็นหลักฐานเพิ่มว่ามีที่อยู่เดียวกับวินมาร์คนั่นเอง
นอกจากนั้น น.ส. ยิ่งลักษณ์ ทำหนังสือถึง ก.ล.ต. อันเป็นหลักฐานทางราชการและอ้างอิงในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 24 มีนาคม 2549 ว่า “จากการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนบริษัท SC พบชื่อ วินมาร์ค แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับครอบครัว” สะท้อนว่า
(ก) ไม่ได้ทราบอยู่แล้วว่า เป็นเพื่อนกันกว่าอย่างน้อย 15-16 ปี (กว่า 10 ปีก่อนขายหุ้นในปี 2543) มิเช่นนั้น ทำไมต้องไปสำรวจทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงได้ “พบชื่อ”
และ (ข) น.ส. ยิ่งลักษณ์ยืนยันว่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับครอบครัว ชินวัตร แสดงว่า น่าจะได้ตรวจสอบครอบครัวครบหมดแล้ว โดยเฉพาะน่าจะมีวิธีคิดที่เป็นปรกติพอที่จะได้ตรวจสอบกับพี่ชายคือ พ.ต.ท. ทักษิณ และ คุณหญิงพจมานแล้ว แต่กลับชี้แจงว่า “จากการตรวจสอบทะเบียน” “พบชื่อวินมาร์ค” และ “ไม่มีความสัมพันธ์กับครับครัวชินวัตร” ทั้งๆ ที่เป็นช่วงวิกฤต ถูกประท้วงมากมาย ก็ยังไม่เปิดเผยให้กระจ่าง ก็ค่อนข้างสะท้อนว่าเป็นความเท็จ
ยังมีหลักฐานอีกมากมายในบทความ “ทำไม ทักษิณ จึงแก้ข้อกล่าวหา ปกปิดวินมาร์ค ได้ดีที่สุดแค่ ยูบีเอส ‘อาจ’ เข้าใจผิด?” ที่ผู้อ่านอาจดูเพิ่มเติมได้
2.ดีที่ท่านเริ่มให้ความสำคัญกับหลักฐานเอกสาร 246-2 ที่ ธ.ยูบีเอส ได้รายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ในเดือนสิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นหลักฐานที่เมื่อมองตามหลักของกฎหมาย แสดงว่า หุ้น 10 ล้านหุ้น (ตอนนั้น พาร์ 10 บาท) ที่ ธ.ยูบีเอส รับมาจาก Vikers Ballas ในฐานะ Custodian นั้น เมื่อรวมกับหุ้นอีก 5.4 ล้านหุ้น เป็นเจ้าของเดียวกันตามกฎหมาย ด้วย พ.ร.บ. หลักทรัพย์ 2535 มีมานาน และมีภาษาอังกฤษด้วยในมาตรา 258 เพื่อใช้ตีความมาตรา 246-247 ว่า “Securities of a business held by the following persons or partnerships shall be regarded as securities held by the person referred to in Section 246 and Section 247: (1) the spouse of such person; …(4) a limited partnership in which such person or the person under (1) or (2) … who collectively holds …” ซึ่งเป็นหลักฐานราชการไทย ที่สมบูรณ์อยู่แล้ว
โดยท่านได้สรุปว่า การรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ตามแบบ 246-2 ของธ.ยูบีเอส เอจี สิงคโปร์ ต่อ ก.ล.ต. ก็เป็นการรายงานในฐานะของ Custodian ไม่ได้เป็นการรายงานว่า มีบุคคลคนเดียวถือหุ้นรวมกันในเกณฑ์ที่ต้องทำการรายงานต่อ ก.ล.ต. โดยในเรื่องนี้ นาง ณัฐยา ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงาน ก.ล.ต. ก็ได้เบิกความว่า “เราถามไปเยอะ แต่เขาตอบมาไม่ครบ ในส่วนที่เขาตอบ เขาตอบว่ าเหมือนกับเขารายงานเข้ามาผิด เพราะว่าเขาเป็นเพียง Custodian ไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องรายงาน .. คือเขาบอกว่าวันนั้นที่รายงานเข้ามาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 จริงๆ เป็นรายการรับหลักทรัพย์จากการโอนหุ้นในฐานะ Custodian คือ Custodian free of payment transfer 10 ล้านหุ้นชินฯ ในรายงานฉบับนั้น เดิมเขาไปกรอกว่า ได้หลักทรัพย์มาในราคา 179 บาทต่อหุ้น ซึ่งจริงๆ เนื่องจากเป็นการโอนแบบ free of payment transfer ก็ไม่ต้องมีราคา เขาก็เลยบอกว่า เขารายงานผิด และ Confirm ว่าเขารายงานเพราะ Acting ในฐานะที่เป็น Custodian ซึ่งในจดหมายฉบับหลังถึงบอกว่าจริงๆ เขาไม่ได้มีหน้าที่ เขาไปจ้าง Law firm อื่นช่วย Confirm transaction นั้น”
ประเด็นชวนให้วินิจฉัยตาม พ.ต.ท.ทักษิณว่า 5.4 ล้านหุ้นของวินมาร์คนั้น ไม่เกี่ยวกับครอบครัว การที่วินมาร์คจะมีหุ้นชินฯ หรือไม่ก็เป็นเรื่องของวินมาร์ค และเจ้าของวินมาร์ค คือ นายมาห์มูด ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเป็นไปตามนั้น ดังนี้
ก) มีหลักฐานตามเอกสารโอนเงินที่ น.ส. พินทองทาจ่ายค่าหุ้นให้แก่ วินมาร์ค 485 ล้านบาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2544 ระบุ วินมาร์ค ซึ่งดูแลโดย ธ.ยูบีเอส มีรหัสบัญชี 121751 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์ตามทะเบียนหุ้นวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 ว่าบัญชี UBS AG Singapore Branch – Pledge A/C 121751 มีหุ้นอยู่ 53,642,130 หุ้น คือประมาณ 5.4 ล้านหุ้นสมัยพาร์ 10 บาทนั่นเอง ยืนยันว่า วินมาร์คมีหุ้นจำนวนนี้ และ ธ.ยูบีเอสเป็นผู้ดูแลบัญชีวินมาร์ค #121751 และแอมเพิลริช #119449 ด้วย
ข) ในการยื่นนั้น ธ.ยูบีเอสได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งหาก 5.4 ล้านหุ้นของวินมาร์คเป็นของ นายมามูดจริง ก็ต้องไม่รายงานนับรวมกัน ใครจะกล่าวหาว่า ธ. ยูบีเอสกระทำรายการนี้โดยไม่เข้าใจกฎหมายก็น่าจะฟ้องไปเลย หรือกล่าวหาตรงๆ เลย ก็ไม่มี
ค) เจ้าหน้าที่ใช้คำว่า “แม้มีคำถามไปเยอะ” เนื่องจากเป็นที่สนใจมากว่าเป็นของคนเดียวกันหรือไม่? คำตอบที่ได้ก็เป็นดังที่ฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณยอมรับและกล่าวอ้างถึงว่า เป็นการแก้ราคาที่ไม่ควรเป็น 179 บาท และไม่ควรเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีประโยคสำคัญในหนังสือที่ผูกมัดเข้าไปอีกชั้นหนึ่งว่า “we can confirm that the transaction which triggered the requirement to make a disclosure was custodian to custodian free of payment..” และประโยค “We can also confirm that UBS AG Singapore Branch was acting in its capacity as a custodian for its underlying clients when it submitted the Form 246-2” ซึ่งแสดงว่า ทำเพื่อลูกค้า ไม่ใช่ทำหน้าที่รายงานเป็นของตน และที่ทำเพราะเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย (“triggered”) ซึ่งการเติม “ed” ก็แปลว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแล้ว หากรวมหุ้นของบุคคลเดียวกันตามมาตรา 258 แล้วไม่ผ่าน 5% ตามกฎหมาย ก็ไม่ triggered ซึ่งดีที่ถือได้ว่า หนังสือฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 นี้เป็นหลักฐานที่ทุกฝ่ายใช้อ้างอิงเป็นที่ยุติตรงกัน และแสดงว่า ที่ขอแก้นั้น คือเพียงเรื่อง ราคา 179 บาทและการซื้อขายในตลาดฯเท่านั้น
หากการตรวจสอบความถูกต้องที่ถามโดยหน่วยงานกำกับของรัฐแล้วพบว่า จริงๆแล้วไม่ใช่ของคนเดียวกัน และไม่ต้องรายงานตามกฎหมายนี้ แก้เพียงแจ้งยกเลิกจะไม่ง่ายกว่าหรือ ?
หากจะนับเป็นความผิด ก็เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย เพราะเป็นหุ้นเพียง 5.24% เท่านั้น ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่ได้มีผลต่อราคาหุ้นแต่อย่างใด ข้อมูลราคาเสียอีกที่อาจมีผลต่อตลาดหากแตกต่างกัน ซึ่งยอมรับว่าแจ้งราคาผิด แต่ไม่ยอมรับว่าเอกสารนี้ ไม่ได้นับรวมตามกฎหมาย กลับยืนยัน (confirm) ว่ามันผ่านเงื่อนไขตามกฎหมาย (“triggered”)
ง) ส่วนเงื่อนไขที่ว่า มีหนังสือจาก Law firm อิสระชี้แจงว่า ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้ง ก็อาจจะจริงว่า ด้วยความเป็น Custodian ของครอบครัวชินวัตรฯ หากมองรวมว่าทั้งหมดนี้ก็เป็นหุ้นของครอบครัวทั้งสิ้น จะแอมเพิลริช หรือวินมาร์ค ซึ่งการย้ายที่เก็บหุ้นจาก Vickers Ballas มาเป็น ธ.ยูบีเอสนั้น ก็ไม่ต้องรายงาน ก็จริง แต่ไม่ได้แก้ประเด็นว่า ที่รายงานมานั้น เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ? ในเมื่อ ธ.ยูบีเอสยืนยัน (confirm) แล้วว่า มันผ่านเงื่อนไขตามกฎหมาย (“triggered”) เหมือนยามอยู่นอกกะ ถ่ายรูปโจรปล้นได้ จะถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะยามไม่มีหน้าที่เช่นนั้นหรือ ?
จ) ยังดูจะมีการให้การกันว่า คัสโตเดียนแต่ละแห่งอาจมีวิธีปฏิบัติต่างกัน ก็ไม่ช่วยลดความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นลูกค้ารายใหญ่ มายาวนาน แม้ไม่สามารถบอกได้ว่า ธ.ยูบีเอสดูแลหุ้นให้ใครอีกบ้างเพราะติดเงื่อนไขการรักษาความลับลูกค้า (confidentiality) แต่การให้ยืนยันว่า หุ้น 15.4 ล้านหุ้นนี้ เป็นของแอมเพิลริชของครอบครัวตน 10 ล้านหุ้น และของวินมาร์ค ซึ่งเป็นของนายมามู๊ด ที่เป็นเพื่อนกันมากกว่า 10 ปี 5.4 ล้านหุ้นนั้นเป็นคนละคนกัน ต้องไม่รายงานตามกฎหมายมาตรา 246 และ 258 นี้ก็ง่ายมากแต่ก็ทำไม่ได้ กลับต้องจ้าง Law Firm อื่นมากล่าวในประเด็นที่ไม่ได้มีน้ำหนักต่อสู้หลักฐานนี้เลย
3.ดีที่ท่านก็ยอมรับ “ความจริง” แล้วว่า “ส่วนข้ออ้างที่พบว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงินจากการเปิดบัญชีไว้กับธนาคารยูบีเอส และไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจนปี 2548 นั้นก็มิใช่เรื่องผิดปกติ เพราะที่สำคัญคือ เป็นการเปิดบัญชีไว้กับ ธ.ยูบีเอส ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ... ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่เคยมีการลงลายมือชื่อทำธุรกรรมการเงินใดๆ กับธนาคารเลยแม้แต่ครั้งเดียวตั้งแต่เปิดบัญชี”
ก็ยืนยันหลักฐานตามหนังสือรับรองบริษัท ซึ่งได้รับมาจากครอบครัวชินวัตร ซึ่งมีเงื่อนไขว่า “Any withdrawal is to be authorized by Dr. T. SHINAWATRA solely.” แสดงว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแต่เพียงผู้เดียวในช่วงเวลาดังกล่าวก่อนปี 2548 จึงได้มีชื่อบุตรทั้งสองปรากฏเป็นผู้มีอำนาจลงนาม และยืนยันที่ได้อ้างว่าโอนหุ้น ARI ให้นาย พานทองแท้ ชินวัตร ในวันที่ 1 ธันวาคม 2543 นั้น ก็ไม่ได้ลงลายมือชื่อเปลี่ยนเงื่อนไขผู้มีอำนาจถอนเงินให้ลูกแต่อย่างใด ซึ่งใครจะคิดว่าแสดงว่าโอนจริงสมบูรณ์แล้วก็ต้องใคร่ครวญให้ดี
โดยมีพิรุธที่สอดคล้องกัน ก็คือ พานทองแท้ได้ทำรายงานหุ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 ก็ทำในลักษณะที่ไม่มีหุ้นแอมเพิลริชทำให้ต้องแก้หลักฐานย้อนหลัง (Back Date) ในปี 2549 ต่อมา
ยังมีหลักฐานของ คตส. อีกว่า
(ก) UBS ได้ส่งหุ้นไปเข้าบัญชี UOB Nominee Private Limited เพื่อบัญชี Win Mark จำนวน 18,048,870 หุ้น ในวันที่ 19 กันยายน 2545
(ข) โดยตัดหุ้นจากบัญชีที่ถือหุ้น Aแอมเพิลริชและต่อมา UBS ตัดหุ้นจากบัญชี Pledge A/C – 121751 (Win Mark) จำนวน 17,000,000 หุ้น มาชดเชยบัญชีแอมเพิลริชในวันที่ 4 ตุลาคม 2545 ทำให้หุ้นในบัญชี Pledge A/C – 121751 ดังกล่าว ลดลงจาก 53,642,130 หุ้น (ตามข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 10 เมษายน 2545) เหลือ 36,642,130 หุ้น (ตามข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 9 เมษายน 2546)
เป็นหลักฐานยืนยันว่า แอมเพิมริช และ วินมาร์คของเจ้าของเดียวกัน จึงตัดหุ้นกว่า 18 ล้านหุ้นจากบัญชี แอมเพิลริช (ที่ทราบเพราะหลังการส่งหุ้นจำนวนนี้ หุ้นในบัญชีที่ ธ.ซิตี้แบงก์ ผู้เก็บหุ้นให้ ธ.ยูบีเอส มีหุ้นเหลือเพียงประมาณ 83,385,000 หุ้นเท่านั้น ซึ่งมีความจริงยุติตรงกันว่า ส่วนแอมเพิลริชรายเดียวก็ต้องมีอย่างน้อย 100 ล้านหุ้นอยู่แล้ว การที่หุ้นเหลือเพียง 83 ล้านหุ้นแสดงว่าต้องตัดหุ้นส่วนของแอมเพิลริชไป) โดยส่งไปเข้าบัญชี วินมาร์ค ที่ UOB และตัดหุ้นจากบัญชี วินมาร์คมาคืนเพียง 17 ล้านหุ้นก็ทำได้ ทั้งนี้รายการเหล่านี้เป็นรายการที่ไม่มีการชำระเงินแต่อย่างใด (free of payment transfer) เช่นกัน
ทั้งสิ้นนี้ ก็เป็นเพียงข้อสรุปที่ว่า “หากทักษิณแพ้ ก็เพราะไม่มีสิ่งที่สำคัญ ... คือ ความจริง” ครับ