ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยกำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงบวกกับโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 17 โรงในอีก 20 ข้างหน้า
นี่คือ ภาพอนาคตที่กระทรวงพลังงานวางไว้ให้กับสังคมไทย ผ่านการวางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ แผนพีดีพี 2010
สิ่งที่น่าสนใจคือ เราอยากให้ภาพอนาคตของระบบไฟฟ้าไทยเป็นอย่างไร และใครเป็นผู้มีสิทธิกำหนดอนาคตของสังคมไทย
ไฟฟ้าไทยในสายตาของกระทรวงพลังงาน
เหตุผลสำคัญที่กระทรวงพลังงานมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้ากันขนานใหญ่ ก็เพราะคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 22,050 เมกะวัตต์ เป็น 57,097 เมกะวัตต์ในปี พ.ศ.2573
เมื่อหักลบการจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งกระทรวงพลังงานคาดว่าจะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เพียง 240 เมกะวัตต์ (หรือประหยัดได้เพียงร้อยละ 0.4 ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเท่านั้น) ทำให้ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดลดลงเล็กน้อยเหลือ 56,863 เมกะวัตต์
จากความต้องการไฟฟ้าสูงสุดดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงกำหนดให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งประมาณ 70,126 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ.2573 โดยเผื่อให้มีกำลังการผลิตสำรองไว้ร้อยละ 15
เมื่อบวกกับกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน 30,000 เมกะวัตต์ และการปลดระวางโรงไฟฟ้าเก่าไปอีกจำนวนหนึ่ง กระทรวงพลังงานจึงกำหนดว่า ประเทศไทยจะต้องมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบ 50,000 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 20 ปี
ตัวเลข 50,000 เมกะวัตต์จึงเป็นที่มาของโครงการต่างๆ รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 11 โรง รวมกัน 11,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 17 โรง รวมกัน 13,600 เมกะวัตต์ และซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอีกประมาณ 10 โรง รวมกัน 8,000 เมกะวัตต์
ในขณะที่ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กระทรวงพลังงานกำหนดให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกันเพียง 5,656 เมกะวัตต์ในปีพ.ศ. 2573 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงพลังงานตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ที่กำหนดให้มีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียน 5,690 เมกะวัตต์ ในปีพ.ศ. 2565
กล่าวโดยสรุป ตามแผนพีดีพีของกระทรวงพลังงาน ประเทศไทยจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ประมาณ 40,000 เมกะวัตต์ (ไม่รวมการซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน) หรือเท่ากับว่า ใน 20 ปีข้างหน้าเราต้องสร้างโรงไฟฟ้ากันมากกว่าโรงไฟฟ้าที่เรามีอยู่ในปัจจุบันเสียอีก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ นับจากปีพ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปีละหนึ่งโรง ต่อเนื่องกันทุกปี ไม่มีเว้นจนถึงปี พ.ศ. 2573 รวมทั้งสิ้น 11 โรง
ทางเลือกของอนาคตไฟฟ้าไทย
สิ่งที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยของเรามีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
ในความเป็นจริง ประเทศไทยยังมีทางเลือกอื่นๆ อีกไม่น้อย ที่ไม่ได้รับความสนใจจากกระทรวงพลังงานอย่างจริงจัง
เริ่มต้นจากการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นแผนพีดีพี 2004 หรือแผนพีดีพี 2007 ก็ล้วนพยากรณ์เกินความจริงไปไม่ไม่น้อย โดยในแผนพีดีพี 2007 (ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว) พยากรณ์ความต้องการเกินไปประมาณ 3,180 เมกะวัตต์ คิดเป็นภาระการลงทุนเกินจริงมากกว่า 120,000 ล้านบาท
มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานให้พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด พบว่า ในปีพ.ศ. 2573 ความต้องการไฟฟ้าของไทยจะมีเพียง 51,123 เมกะวัตต์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของกระทรวงพลังงานถึง 5,740 เมกะวัตต์
เช่นเดียวกับมูลนิธินโยบายสุขภาวะซึ่งคาดการณ์ว่า ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในปี พ.ศ. 2573 จะมีเพียงประมาณ 49,743 เมกะวัตต์เท่านั้น หรือต่างจากที่กระทรวงพลังงานกว่า 7,374 เมกะวัตต์
เมื่อบวกกับว่า เราต้องสำรองกำลังการผลิตไฟฟ้าไว้อีกร้อยละ 15 การคาดการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้นจะช่วยลดความต้องการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ไปได้ถึง 8,457 เมกะวัตต์ หรือ เท่ากับไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไป 8 โรง ประหยัดเงินลงทุนไปได้กว่า 900,000 ล้านบาท
ยิ่งไปกว่านั้น หากเราพยายามอนุรักษ์พลังงานให้มากขึ้น โดยลดการใช้ไฟฟ้าส่วนที่ไม่มีประสิทธิภาพลงให้ได้ร้อยละ 15 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (แทนที่จะลดลงเพียงร้อยละ 0.4 ตามที่กระทรวงพลังงานวางแผน) เราก็จะประหยัดพลังงานไปได้อีก 7,461 เมกะวัตต์
จากการประหยัดพลังงานที่ดียิ่งขึ้นดังกล่าว เราจะสามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าได้อีกกว่า 8,580 เมกะวัตต์ เหลือ เท่ากับลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 3 โรงที่เหลือ และลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงได้อีก 7 โรง ประหยัดเงินในการสร้างโรงไฟฟ้าไปได้กว่า 620,000 ล้านบาท
ส่วนพลังงานหมุนเวียน หากเราทำได้ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปีที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้ พร้อมต่อยอดอย่างต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2565-2573 เราก็จะมีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มอีก 8,900 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าในปี พ.ศ. 2573 เราจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 15 ของกำลังการผลิตทั้งหมด แทนที่จะเป็นร้อยละ 8 ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้
ในจำนวนเกือบ 9,000 เมกะวัตต์นี้ เราสามารถพึ่งพากำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้อีก 4,500 เมกะวัตต์ (มากกว่าที่กระทรงพลังงานกำหนดไว้ในแผนพีดีพีประมาณ 2,500 เมกะวัตต์) ดังนั้น จึงช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้เพิ่มขึ้นอีก 3 โรง
แถมเรายังสามารถผลิตไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าและความร้อนร่วม ซึ่งมีประสิทธิภาพทางพลังงานสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว สำหรับนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้มากกว่า 8,000 เมกะวัตต์ (ในขณะที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้เพียง 4,000 เมกะวัตต์) ทำให้สามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไปได้อีก 5 โรง
เช่นเดียวกับ โรงไฟฟ้าเก่าๆ ที่ต้องปลดระวางไป ประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ แทนที่จะปลดทิ้งไปเฉยๆ เราก็ควรทำการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าดังกล่าวแทน ซึ่งก็จะช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 2 โรงที่เหลือ พร้อมทั้งยังลดความจำเป็นในการนำเข้าไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านไปได้อีกด้วย
เพราะฉะนั้น ทางเลือกที่เราจะลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงและโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรง นั้นมีอยู่มาก ซึ่งจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านล้านบาทตลอดระยะเวลา 20 ปี
ปัญหาคือความเร่งรีบของกระทรวงพลังงาน
ในระหว่างทางเลือกที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงและโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรง ซึ่งจะต้องนำเข้าทั้งเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง กับการเอาจริงเอาจังในการประหยัดพลังงานและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนด้วยตัวเราเองนั้น กำลังจะนำสู่ภาพอนาคตที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก
กล่าวเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงก็คงจะต้องมีการก่อสร้างในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 จังหวัด ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรงก็คงตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด
ภายใต้ความแตกต่างดังกล่าว การหารือแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผย โปร่งใส และแบบเป็นขั้นเป็นตอน เป็นหัวใจสำหรับการยอมรับซึ่งกันและกัน และการลดทอนความขัดแย้งที่จะตามมาจากโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว
แม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับโรงฟ้านิวเคลียร์ แต่ผมก็มิได้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ หากผ่านกระบวนการวางแผนและคิดร่วมกันอย่างรอบคอบ
แต่กระทรวงพลังงานกลับเลือกที่จะเดินหน้าการวางแผนดังกล่าวอย่างเร่งรีบจนน่าประหลาดใจ เพราะแม้ว่าความถูกต้องของการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดก็ยังไม่ได้รับการยืนยัน กระทรวงพลังงานกลับเลือกใช้การพยากรณ์ของตนเอง ทั้งๆ ที่ที่ผ่านมาก็พยากรณ์เกินความเป็นจริงมาโดยตลอด
ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงพลังงาน ยังรีบจัดกระบวนการรับฟังความเห็น ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยแจ้งล่วงหน้าเพียง 7วัน และตราบจนถึงเช้าวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 (48 ชั่วโมงก่อนเวทีจะเริ่มขึ้น) กระทรวงพลังงานก็ยังไม่ยอมเผยแพร่เอกสารที่จะใช้การรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวให้ผู้เข้าร่วมได้ศึกษาก่อน
ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมกระทรวงพลังงานถึงต้องรีบเหลือเกิน ทั้งๆ ที่เรายังมีกำลังการผลิตสำรองเหลือเฟือ (ประมาณร้อยละ 30 ของความต้องการสูงสุด) และสังคมไทยต้องการเวลาและกระบวนการที่เปิดกว้างสำหรับการตัดสินใจที่สำคัญเหลือเกินในอนาคต
คำตอบที่ผมได้รับจากกระทรวงพลังงานคือ ภาคการเมือง (ซึ่งผมไม่รู้ว่าหมายถึงใคร???) ต้องการเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนที่กระทรวงพลังงานจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพียงครั้งเดียว เพราะหน่วยงานไม่มีงบประมาณ
นี่หรือคือเมืองไทย ที่อนาคตถูกกำหนดจากใครก็ไม่รู้
นี่หรือคือเมืองไทย ที่เรากำลังจะลงทุนนับเป็นเงินกว่าสามถึงสี่ล้านล้านบาท (ย้ำ!! ล้านล้านบาท) แต่เรากลับไม่มีงบประมาณ (น่าจะไม่ถึงหนึ่งล้านบาท) สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ
แล้วเราจะยอมให้การกำหนดอนาคตของประเทศไทย เดินหน้าต่อไปเช่นนี้หรือ???
-----------------
เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นักวิชาการผู้เกาะติดนโยบายพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง
นี่คือ ภาพอนาคตที่กระทรวงพลังงานวางไว้ให้กับสังคมไทย ผ่านการวางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ แผนพีดีพี 2010
สิ่งที่น่าสนใจคือ เราอยากให้ภาพอนาคตของระบบไฟฟ้าไทยเป็นอย่างไร และใครเป็นผู้มีสิทธิกำหนดอนาคตของสังคมไทย
ไฟฟ้าไทยในสายตาของกระทรวงพลังงาน
เหตุผลสำคัญที่กระทรวงพลังงานมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้ากันขนานใหญ่ ก็เพราะคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 22,050 เมกะวัตต์ เป็น 57,097 เมกะวัตต์ในปี พ.ศ.2573
เมื่อหักลบการจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งกระทรวงพลังงานคาดว่าจะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เพียง 240 เมกะวัตต์ (หรือประหยัดได้เพียงร้อยละ 0.4 ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเท่านั้น) ทำให้ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดลดลงเล็กน้อยเหลือ 56,863 เมกะวัตต์
จากความต้องการไฟฟ้าสูงสุดดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงกำหนดให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งประมาณ 70,126 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ.2573 โดยเผื่อให้มีกำลังการผลิตสำรองไว้ร้อยละ 15
เมื่อบวกกับกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน 30,000 เมกะวัตต์ และการปลดระวางโรงไฟฟ้าเก่าไปอีกจำนวนหนึ่ง กระทรวงพลังงานจึงกำหนดว่า ประเทศไทยจะต้องมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบ 50,000 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 20 ปี
ตัวเลข 50,000 เมกะวัตต์จึงเป็นที่มาของโครงการต่างๆ รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 11 โรง รวมกัน 11,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 17 โรง รวมกัน 13,600 เมกะวัตต์ และซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอีกประมาณ 10 โรง รวมกัน 8,000 เมกะวัตต์
ในขณะที่ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กระทรวงพลังงานกำหนดให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกันเพียง 5,656 เมกะวัตต์ในปีพ.ศ. 2573 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงพลังงานตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ที่กำหนดให้มีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียน 5,690 เมกะวัตต์ ในปีพ.ศ. 2565
กล่าวโดยสรุป ตามแผนพีดีพีของกระทรวงพลังงาน ประเทศไทยจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ประมาณ 40,000 เมกะวัตต์ (ไม่รวมการซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน) หรือเท่ากับว่า ใน 20 ปีข้างหน้าเราต้องสร้างโรงไฟฟ้ากันมากกว่าโรงไฟฟ้าที่เรามีอยู่ในปัจจุบันเสียอีก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ นับจากปีพ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปีละหนึ่งโรง ต่อเนื่องกันทุกปี ไม่มีเว้นจนถึงปี พ.ศ. 2573 รวมทั้งสิ้น 11 โรง
ทางเลือกของอนาคตไฟฟ้าไทย
สิ่งที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยของเรามีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
ในความเป็นจริง ประเทศไทยยังมีทางเลือกอื่นๆ อีกไม่น้อย ที่ไม่ได้รับความสนใจจากกระทรวงพลังงานอย่างจริงจัง
เริ่มต้นจากการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นแผนพีดีพี 2004 หรือแผนพีดีพี 2007 ก็ล้วนพยากรณ์เกินความจริงไปไม่ไม่น้อย โดยในแผนพีดีพี 2007 (ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว) พยากรณ์ความต้องการเกินไปประมาณ 3,180 เมกะวัตต์ คิดเป็นภาระการลงทุนเกินจริงมากกว่า 120,000 ล้านบาท
มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานให้พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด พบว่า ในปีพ.ศ. 2573 ความต้องการไฟฟ้าของไทยจะมีเพียง 51,123 เมกะวัตต์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของกระทรวงพลังงานถึง 5,740 เมกะวัตต์
เช่นเดียวกับมูลนิธินโยบายสุขภาวะซึ่งคาดการณ์ว่า ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในปี พ.ศ. 2573 จะมีเพียงประมาณ 49,743 เมกะวัตต์เท่านั้น หรือต่างจากที่กระทรวงพลังงานกว่า 7,374 เมกะวัตต์
เมื่อบวกกับว่า เราต้องสำรองกำลังการผลิตไฟฟ้าไว้อีกร้อยละ 15 การคาดการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้นจะช่วยลดความต้องการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ไปได้ถึง 8,457 เมกะวัตต์ หรือ เท่ากับไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไป 8 โรง ประหยัดเงินลงทุนไปได้กว่า 900,000 ล้านบาท
ยิ่งไปกว่านั้น หากเราพยายามอนุรักษ์พลังงานให้มากขึ้น โดยลดการใช้ไฟฟ้าส่วนที่ไม่มีประสิทธิภาพลงให้ได้ร้อยละ 15 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (แทนที่จะลดลงเพียงร้อยละ 0.4 ตามที่กระทรวงพลังงานวางแผน) เราก็จะประหยัดพลังงานไปได้อีก 7,461 เมกะวัตต์
จากการประหยัดพลังงานที่ดียิ่งขึ้นดังกล่าว เราจะสามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าได้อีกกว่า 8,580 เมกะวัตต์ เหลือ เท่ากับลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 3 โรงที่เหลือ และลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงได้อีก 7 โรง ประหยัดเงินในการสร้างโรงไฟฟ้าไปได้กว่า 620,000 ล้านบาท
ส่วนพลังงานหมุนเวียน หากเราทำได้ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปีที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้ พร้อมต่อยอดอย่างต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2565-2573 เราก็จะมีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มอีก 8,900 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าในปี พ.ศ. 2573 เราจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 15 ของกำลังการผลิตทั้งหมด แทนที่จะเป็นร้อยละ 8 ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้
ในจำนวนเกือบ 9,000 เมกะวัตต์นี้ เราสามารถพึ่งพากำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้อีก 4,500 เมกะวัตต์ (มากกว่าที่กระทรงพลังงานกำหนดไว้ในแผนพีดีพีประมาณ 2,500 เมกะวัตต์) ดังนั้น จึงช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้เพิ่มขึ้นอีก 3 โรง
แถมเรายังสามารถผลิตไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าและความร้อนร่วม ซึ่งมีประสิทธิภาพทางพลังงานสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว สำหรับนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้มากกว่า 8,000 เมกะวัตต์ (ในขณะที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้เพียง 4,000 เมกะวัตต์) ทำให้สามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไปได้อีก 5 โรง
เช่นเดียวกับ โรงไฟฟ้าเก่าๆ ที่ต้องปลดระวางไป ประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ แทนที่จะปลดทิ้งไปเฉยๆ เราก็ควรทำการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าดังกล่าวแทน ซึ่งก็จะช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 2 โรงที่เหลือ พร้อมทั้งยังลดความจำเป็นในการนำเข้าไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านไปได้อีกด้วย
เพราะฉะนั้น ทางเลือกที่เราจะลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงและโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรง นั้นมีอยู่มาก ซึ่งจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านล้านบาทตลอดระยะเวลา 20 ปี
ปัญหาคือความเร่งรีบของกระทรวงพลังงาน
ในระหว่างทางเลือกที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงและโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรง ซึ่งจะต้องนำเข้าทั้งเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง กับการเอาจริงเอาจังในการประหยัดพลังงานและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนด้วยตัวเราเองนั้น กำลังจะนำสู่ภาพอนาคตที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก
กล่าวเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงก็คงจะต้องมีการก่อสร้างในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 จังหวัด ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรงก็คงตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด
ภายใต้ความแตกต่างดังกล่าว การหารือแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผย โปร่งใส และแบบเป็นขั้นเป็นตอน เป็นหัวใจสำหรับการยอมรับซึ่งกันและกัน และการลดทอนความขัดแย้งที่จะตามมาจากโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว
แม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับโรงฟ้านิวเคลียร์ แต่ผมก็มิได้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ หากผ่านกระบวนการวางแผนและคิดร่วมกันอย่างรอบคอบ
แต่กระทรวงพลังงานกลับเลือกที่จะเดินหน้าการวางแผนดังกล่าวอย่างเร่งรีบจนน่าประหลาดใจ เพราะแม้ว่าความถูกต้องของการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดก็ยังไม่ได้รับการยืนยัน กระทรวงพลังงานกลับเลือกใช้การพยากรณ์ของตนเอง ทั้งๆ ที่ที่ผ่านมาก็พยากรณ์เกินความเป็นจริงมาโดยตลอด
ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงพลังงาน ยังรีบจัดกระบวนการรับฟังความเห็น ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยแจ้งล่วงหน้าเพียง 7วัน และตราบจนถึงเช้าวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 (48 ชั่วโมงก่อนเวทีจะเริ่มขึ้น) กระทรวงพลังงานก็ยังไม่ยอมเผยแพร่เอกสารที่จะใช้การรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวให้ผู้เข้าร่วมได้ศึกษาก่อน
ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมกระทรวงพลังงานถึงต้องรีบเหลือเกิน ทั้งๆ ที่เรายังมีกำลังการผลิตสำรองเหลือเฟือ (ประมาณร้อยละ 30 ของความต้องการสูงสุด) และสังคมไทยต้องการเวลาและกระบวนการที่เปิดกว้างสำหรับการตัดสินใจที่สำคัญเหลือเกินในอนาคต
คำตอบที่ผมได้รับจากกระทรวงพลังงานคือ ภาคการเมือง (ซึ่งผมไม่รู้ว่าหมายถึงใคร???) ต้องการเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนที่กระทรวงพลังงานจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพียงครั้งเดียว เพราะหน่วยงานไม่มีงบประมาณ
นี่หรือคือเมืองไทย ที่อนาคตถูกกำหนดจากใครก็ไม่รู้
นี่หรือคือเมืองไทย ที่เรากำลังจะลงทุนนับเป็นเงินกว่าสามถึงสี่ล้านล้านบาท (ย้ำ!! ล้านล้านบาท) แต่เรากลับไม่มีงบประมาณ (น่าจะไม่ถึงหนึ่งล้านบาท) สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ
แล้วเราจะยอมให้การกำหนดอนาคตของประเทศไทย เดินหน้าต่อไปเช่นนี้หรือ???
-----------------
เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นักวิชาการผู้เกาะติดนโยบายพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง