ASTVผู้จัดการรายวัน- กฟผ. ประเมินการใช้ไฟฟ้ารวมปีนี้จะติดลบแค่ 0.5% ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะติดลบถึง 2% และแนวโน้มปี 2553 จะโต 4% ตามทิศทางเศรษฐกิจของประเทศที่จะขยายตัว แนะดันนิวเคลียร์เป็นวาระแห่งชาติ
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เปิดเผยถึงแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าปี 2553ว่า จะมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอัตรา 4% ตามการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจหรือจีดีพีที่ประเมินว่าจะโตประมาณ 3.5% ส่วนการใช้ไฟฟ้ารวมในปี 2552 คาดว่าจะติดลบเพียง 0.5% จากที่เคยประเมินไว้ว่าจะติดลบ 2% เนื่องจากการใช้นับตั้งแต่มิ.ย.มีทิศทางที่เป็นบวกโดยเฉพาะพ.ย.บวกถึง 8%
สำหรับการบริหารจัดการแหล่งเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในปี 2553 ยังคงพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นหลัก ซึ่งในอนาคตกระทรวงพลังงานควรจะเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องของการหาแหล่งเชื้อเพลิงอื่นๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านพลังงานโดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ควรจะผลักดันให้เป็นวาระระดับชาติหรือขอความเห็นจากรัฐสภาฯ เพราะหากให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ อาจทำให้ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากยังถูกต่อต้านจากภาคมวลชน
“ไทยมีทางเลือกน้อยมากเพราะเราไม่สามารถผลิตเชื้อเพลิงเองได้ตามแผนเราจะเน้นพลังงานหมุนเวียนให้เต็มที่ก่อน และที่เหลือก็มีเพียง 2 ทางเลือกคือถ่านหินกับนิวเคลียร์ โดยถ่านหินนั้นต้นทุนก่อสร้างต่ำกว่าแต่หากต้องลงทุนระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก็จะสูงแต่นิวเคลียร์ดีตรงที่ลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ รัฐบาลควรเข้ามาช่วยอย่างจริงจังเพราะให้ กฟผ.ทำเองคนเดียวคงลำบาก”นายสมบัติ กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับในช่วงปลายปีนี้ แหล่งก๊าซฯจากพม่ามีแผนที่จะหยุดจ่ายก๊าซฯตามแผนหยุดซ่อมบำรุงประจำปี ซึ่งทาง กฟผ.และ ปตท.ได้มีการประสานงานร่วมกันในเรื่องการบริหารเชื้อเพลิง โดยจะใช้น้ำมันเตาจำนวน 20 ล้านลิตร ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 300ล้านบาท ขณะเดียวกันก็จะจัดสรรก๊าซฯจากแหล่งอื่นๆมาทดแทน เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้ามากเกินไป นอกจากนี้ก็จะนำเรื่องนี้หารือกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)เพื่อหาแนวทางในการบริหารค่าไฟฟ้าไม่ให้กระทบภาคประชาชน
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เปิดเผยถึงแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าปี 2553ว่า จะมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอัตรา 4% ตามการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจหรือจีดีพีที่ประเมินว่าจะโตประมาณ 3.5% ส่วนการใช้ไฟฟ้ารวมในปี 2552 คาดว่าจะติดลบเพียง 0.5% จากที่เคยประเมินไว้ว่าจะติดลบ 2% เนื่องจากการใช้นับตั้งแต่มิ.ย.มีทิศทางที่เป็นบวกโดยเฉพาะพ.ย.บวกถึง 8%
สำหรับการบริหารจัดการแหล่งเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในปี 2553 ยังคงพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นหลัก ซึ่งในอนาคตกระทรวงพลังงานควรจะเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องของการหาแหล่งเชื้อเพลิงอื่นๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านพลังงานโดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ควรจะผลักดันให้เป็นวาระระดับชาติหรือขอความเห็นจากรัฐสภาฯ เพราะหากให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ อาจทำให้ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากยังถูกต่อต้านจากภาคมวลชน
“ไทยมีทางเลือกน้อยมากเพราะเราไม่สามารถผลิตเชื้อเพลิงเองได้ตามแผนเราจะเน้นพลังงานหมุนเวียนให้เต็มที่ก่อน และที่เหลือก็มีเพียง 2 ทางเลือกคือถ่านหินกับนิวเคลียร์ โดยถ่านหินนั้นต้นทุนก่อสร้างต่ำกว่าแต่หากต้องลงทุนระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก็จะสูงแต่นิวเคลียร์ดีตรงที่ลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ รัฐบาลควรเข้ามาช่วยอย่างจริงจังเพราะให้ กฟผ.ทำเองคนเดียวคงลำบาก”นายสมบัติ กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับในช่วงปลายปีนี้ แหล่งก๊าซฯจากพม่ามีแผนที่จะหยุดจ่ายก๊าซฯตามแผนหยุดซ่อมบำรุงประจำปี ซึ่งทาง กฟผ.และ ปตท.ได้มีการประสานงานร่วมกันในเรื่องการบริหารเชื้อเพลิง โดยจะใช้น้ำมันเตาจำนวน 20 ล้านลิตร ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 300ล้านบาท ขณะเดียวกันก็จะจัดสรรก๊าซฯจากแหล่งอื่นๆมาทดแทน เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้ามากเกินไป นอกจากนี้ก็จะนำเรื่องนี้หารือกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)เพื่อหาแนวทางในการบริหารค่าไฟฟ้าไม่ให้กระทบภาคประชาชน