นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ เรกกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลตรึงค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ เอฟที เป็นเวลา 1 ปี ทำให้ค่าเอฟทีในเดือนกันยายน - ธันวาคม 2552 ไม่เปลี่ยนแปลง จากเดิมที่จะต้องปรับขึ้น 34.52 สตางค์ต่อหน่วย แต่ กกพ. จะให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ เพราะการตรึงภาระค่าเอฟที ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. มีรายได้ค้างรับ เหลืออยู่ 15,182 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าภายใน 1 ปี จะได้รับรายได้ค้างรับคืนทั้งหมด หากต้นทุนเชื้อเพลิงไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับราคาก๊าซธรรมชาติในงวดนี้ ลดลงจาก 233.28 บาทต่อล้านบีทียู เหลือ 225.19 บาทต่อล้านบีทียู ลดลงร้อยละ 8.09 ซึ่งเป็นผลดีให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง จากงวดก่อนหน้าที่ กฟผ. ต้องมีรายค้างรับ 20,821 ล้านบาท หรือลดลง 5,600 ล้านบาท
ส่วนเรื่องการสอบสวนกรณี กฟผ. ปล่อยน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำนั้น จะมีการตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยตั้งคณะกรรมการเพื่อเข้ามาดูแลให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งนี้ ที่หยุดใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ กฟผ. ต้องใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทน 500 ล้านบาท
สำหรับผลงานของ กกพ.ในรอบ 1 ปี เน้นไปที่การวางรากฐานพลังงาน ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และกำลังอยู่ระหว่างศึกษาค่าบริการ และกำหนดค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม เนื่องจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ซึ่งครบกำหนดระยะเวลาตามสมมติฐานการประมาณการฐานะการเงินของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยคาดว่า การศึกษาจะแล้วเสร็จในปี 2553 รวมทั้งเตรียมตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างการยกร่างหลักเกณฑ์และระเบียบ คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2553
สำหรับราคาก๊าซธรรมชาติในงวดนี้ ลดลงจาก 233.28 บาทต่อล้านบีทียู เหลือ 225.19 บาทต่อล้านบีทียู ลดลงร้อยละ 8.09 ซึ่งเป็นผลดีให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง จากงวดก่อนหน้าที่ กฟผ. ต้องมีรายค้างรับ 20,821 ล้านบาท หรือลดลง 5,600 ล้านบาท
ส่วนเรื่องการสอบสวนกรณี กฟผ. ปล่อยน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำนั้น จะมีการตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยตั้งคณะกรรมการเพื่อเข้ามาดูแลให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งนี้ ที่หยุดใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ กฟผ. ต้องใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทน 500 ล้านบาท
สำหรับผลงานของ กกพ.ในรอบ 1 ปี เน้นไปที่การวางรากฐานพลังงาน ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และกำลังอยู่ระหว่างศึกษาค่าบริการ และกำหนดค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม เนื่องจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ซึ่งครบกำหนดระยะเวลาตามสมมติฐานการประมาณการฐานะการเงินของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยคาดว่า การศึกษาจะแล้วเสร็จในปี 2553 รวมทั้งเตรียมตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างการยกร่างหลักเกณฑ์และระเบียบ คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2553