ASTVผู้จัดการรายวัน- เรกูเลเตอร์เผย 3 รายชิงดำศึกษาโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ที่เตรียมใช้ในปี 2554 ใช้เวลาศึกษา 1 ปีคาดรู้ผลเร็วๆ นี้โจทย์หลักที่ให้ศึกษาคือให้คิดค่าเอฟทีจากต้นทุนเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น รวมถึงประกาศค่าเอฟทีปีละครั้งแทน 4 เดือนครั้งจากปัจจุบันเพื่อลดความผันผวนของราคาน้ำมัน
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือเร็กกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าของไทยใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี 2554 ซึ่งมีผู้เสนอ 20 รายและล่าสุดคัดเหลือ 3 รายคือ ซีอาร์เอ อินเตอร์เนชั่นแนล ,ฟอร์นเทียร์ อีโคโนมิกส์ และเนราอีโคโนมิกส์ ซึ่งทางเร็กกูเลเตอร์จะคัดเลือกข้อเสนอจากบริษัทที่ดีที่สุดให้เสร็จไม่เกินก.ย.นี้
ทั้งนี้โจทย์สำคัญที่ให้ที่ปรึกษาพิจารณาถึง คือ ให้พิจารณาต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือเอฟทีให้ดึงเรื่องต้นทุน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ค่าเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนออกมาโดยเฉพาะค่าซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน เงินกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า เงินค่าซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่ม (adder) เพื่อให้สะท้อนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงอย่างแท้จริง และให้ดูไปด้วยว่าค่าเอฟทีควรประกาศรอบเดียว ใน 12 เดือนได้หรือไม่ จากที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนที่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมัน ที่ขณะนี้มีการผันผวนอย่างหนัก
“ แนวทางการศึกษานั้น จะพิจารณาว่าทำอย่างไรให้โครงสร้างค่าไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยไฟฟ้าฐานและค่า เอฟทีมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบกิจการพลังงาน ที่ปัจจุบันมีใบอนุญาต 5 ประเภท ได้แก่ การผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า ระบบจำหน่ายไฟฟ้า (สายส่งระบบจำหน่าย) ศูนย์สั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า และการจำหน่ายไฟฟ้า”นางพัลลภากล่าว
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือเร็กกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าของไทยใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี 2554 ซึ่งมีผู้เสนอ 20 รายและล่าสุดคัดเหลือ 3 รายคือ ซีอาร์เอ อินเตอร์เนชั่นแนล ,ฟอร์นเทียร์ อีโคโนมิกส์ และเนราอีโคโนมิกส์ ซึ่งทางเร็กกูเลเตอร์จะคัดเลือกข้อเสนอจากบริษัทที่ดีที่สุดให้เสร็จไม่เกินก.ย.นี้
ทั้งนี้โจทย์สำคัญที่ให้ที่ปรึกษาพิจารณาถึง คือ ให้พิจารณาต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือเอฟทีให้ดึงเรื่องต้นทุน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ค่าเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนออกมาโดยเฉพาะค่าซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน เงินกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า เงินค่าซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่ม (adder) เพื่อให้สะท้อนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงอย่างแท้จริง และให้ดูไปด้วยว่าค่าเอฟทีควรประกาศรอบเดียว ใน 12 เดือนได้หรือไม่ จากที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนที่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมัน ที่ขณะนี้มีการผันผวนอย่างหนัก
“ แนวทางการศึกษานั้น จะพิจารณาว่าทำอย่างไรให้โครงสร้างค่าไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยไฟฟ้าฐานและค่า เอฟทีมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบกิจการพลังงาน ที่ปัจจุบันมีใบอนุญาต 5 ประเภท ได้แก่ การผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า ระบบจำหน่ายไฟฟ้า (สายส่งระบบจำหน่าย) ศูนย์สั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า และการจำหน่ายไฟฟ้า”นางพัลลภากล่าว