ASTVผู้จัดการรายวัน- สนพ.เปิดรับฟังความเห็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่(2010) ระยะยาว 20 ปี(2553-2573) 17 ก.พ.นี้ ขณะที่นักวิชาการค้านคลอดเร็วผิดปกติไม่รอค่าพยากรณ์ต่างๆที่จะเสร็จมี.ค.นี้ จับตาแผนเบื้องต้นเสียบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 แห่ง ถ่านหิน 14 แห่ง กำลังผลิตพุ่งกว่า 6 หมื่นเมกะวัตต์ลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท
นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาลตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะ กรรมการคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP 2010) หรือ(2553-2573) เปิดเผยว่า การจัดทำPDP 2010 เบื้องต้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์โดยจะมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งในการประชุมคณะทำงานทบทวนสมมติฐานPDP2010 เป็นการภายในอีกครั้งก่อนที่จะสรุปเพื่อนำไปทำการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียวันที่ 17 ก.พ.นี้
ทั้งนี้ตนคงจะคัดค้านถึงแนวทางการสรุปแผนดังกล่าวที่ได้มีการเสนอร่างมาแล้วเบื้องต้นที่มีการกำหนดอัตรากำลังการผลิตไฟฟ้าตามแผนสูงถึง 66,000 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท ขณะที่กำลังการผลิตตามแผนปัจจุบันหรือ PDP-2007 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่2) หรือช่วงปี 2551-2564 กำลังการผลิต 30,155 เมกะวัตต์ลงทุนประมาณ 1,626,274 ล้านบาท
นอกจากนี้แผนยังบรรจุการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ถึง 11 แห่งตลอดแผนโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2563 โรงแรกและเฉลี่ยที่เหลือปีละแห่งกำลังผลิตแห่งละประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกันยังบรรจุการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกประมาณ 14 แห่งกำลังผลิตเฉลี่ยแห่งละ 800 เมกะวัตต์โดยจะทยอยเข้าระบบควบคู่ไปกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
“ การเสนอแผนดังกล่าวมาถือเป็นการเร่งรีบทำเพราะเดิมจะต้องรอการจัดทำค่าพยากรณ์การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ของสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์หรือนิด้าที่มีการจ้างให้ดำเนินการรวมถึงการนำค่าจีดีพีไปพิจารณาในการจัดทำความต้องการไฟฟ้าจากมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมเสียก่อนซึ่งล่าสุดนิด้าคาดการณ์จีดีพีของไทยตลอดแผนจะโตเฉลี่ย 4-4.5% ซึ่งทั้งหมดจะสรุปไม่เกินมี.ค.นี้แต่การจัดทำแผนมีการอิงจีดีพีที่ 4.5-5 %“นายเดชรัตน์กล่าว
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการส่วนไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า สนพ.ได้แจ้งผ่านเว็บไซต์เพื่อประกาศเปิดรับฟังความเห็น "ร่างแผนพัฒนาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010)" ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08.30-13.00 น. ณ โรงแรมอมารี วอร์เตอร์เกต ห้องวอเตอร์เกตบอลรูม ผู้จัดได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว หากผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมได้ โดยส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมสัมมนาทางโทรสาร 0-2967-1474
สำหรับกรณีที่มีผู้ระบุว่ามีการจัดทำเร่งรีบเกินไปนั้นได้มีการหารือกันมาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและแผนขณะนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จะมีการดูรายละเอียดอีกครั้งเร็วๆ นี้โดยส่วนของนิวเคลียร์ที่ตามแผนจะมีเพิ่มขึ้นนั้นเนื่องจากนิวเคลียร์จะมีข้อดีที่ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจกได้ดีที่สุดและยังกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงที่ไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่สูงเกินไป
“ ตามแผนพีดีพีเป็นระยะยาว 20 ปี มุ่งเน้นความมั่นคงของกำลังการผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม คือ มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศที่เหมาะสม และมีการกระจายแหล่งและชนิดเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration)”นายเสมอใจกล่าว
นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาลตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะ กรรมการคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP 2010) หรือ(2553-2573) เปิดเผยว่า การจัดทำPDP 2010 เบื้องต้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์โดยจะมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งในการประชุมคณะทำงานทบทวนสมมติฐานPDP2010 เป็นการภายในอีกครั้งก่อนที่จะสรุปเพื่อนำไปทำการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียวันที่ 17 ก.พ.นี้
ทั้งนี้ตนคงจะคัดค้านถึงแนวทางการสรุปแผนดังกล่าวที่ได้มีการเสนอร่างมาแล้วเบื้องต้นที่มีการกำหนดอัตรากำลังการผลิตไฟฟ้าตามแผนสูงถึง 66,000 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท ขณะที่กำลังการผลิตตามแผนปัจจุบันหรือ PDP-2007 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่2) หรือช่วงปี 2551-2564 กำลังการผลิต 30,155 เมกะวัตต์ลงทุนประมาณ 1,626,274 ล้านบาท
นอกจากนี้แผนยังบรรจุการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ถึง 11 แห่งตลอดแผนโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2563 โรงแรกและเฉลี่ยที่เหลือปีละแห่งกำลังผลิตแห่งละประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกันยังบรรจุการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกประมาณ 14 แห่งกำลังผลิตเฉลี่ยแห่งละ 800 เมกะวัตต์โดยจะทยอยเข้าระบบควบคู่ไปกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
“ การเสนอแผนดังกล่าวมาถือเป็นการเร่งรีบทำเพราะเดิมจะต้องรอการจัดทำค่าพยากรณ์การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ของสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์หรือนิด้าที่มีการจ้างให้ดำเนินการรวมถึงการนำค่าจีดีพีไปพิจารณาในการจัดทำความต้องการไฟฟ้าจากมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมเสียก่อนซึ่งล่าสุดนิด้าคาดการณ์จีดีพีของไทยตลอดแผนจะโตเฉลี่ย 4-4.5% ซึ่งทั้งหมดจะสรุปไม่เกินมี.ค.นี้แต่การจัดทำแผนมีการอิงจีดีพีที่ 4.5-5 %“นายเดชรัตน์กล่าว
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการส่วนไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า สนพ.ได้แจ้งผ่านเว็บไซต์เพื่อประกาศเปิดรับฟังความเห็น "ร่างแผนพัฒนาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010)" ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08.30-13.00 น. ณ โรงแรมอมารี วอร์เตอร์เกต ห้องวอเตอร์เกตบอลรูม ผู้จัดได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว หากผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมได้ โดยส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมสัมมนาทางโทรสาร 0-2967-1474
สำหรับกรณีที่มีผู้ระบุว่ามีการจัดทำเร่งรีบเกินไปนั้นได้มีการหารือกันมาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและแผนขณะนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จะมีการดูรายละเอียดอีกครั้งเร็วๆ นี้โดยส่วนของนิวเคลียร์ที่ตามแผนจะมีเพิ่มขึ้นนั้นเนื่องจากนิวเคลียร์จะมีข้อดีที่ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจกได้ดีที่สุดและยังกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงที่ไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่สูงเกินไป
“ ตามแผนพีดีพีเป็นระยะยาว 20 ปี มุ่งเน้นความมั่นคงของกำลังการผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม คือ มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศที่เหมาะสม และมีการกระจายแหล่งและชนิดเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration)”นายเสมอใจกล่าว