สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ให้การส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษี และที่ไม่ใช่ภาษี โดยสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรเป็นการยกเว้น หรือลดหย่อนสำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบ วัสดุจำเป็น รวมถึงภาษีเงินได้นิติบุคคล และอื่นๆ นักลงทุนทั้งไทย และต่างชาติสามารถขอส่งเสริมฯ ได้
บางกิจการมีทั้งโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ จากบีโอไอ และโครงการเดิมที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ หรือเป็นโครงการที่ไม่สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้ เนื่องจากไม่มีประเภทให้การส่งเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในโครงการบีโอไอด้วยแล้ว ผลประกอบการทั้งสองส่วนจะจัดการ และใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในโครงการบีโอไออย่างไร หรือกรณีกิจการเดียว แต่มีบัตรส่งเสริมฯ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงเวลาใกล้เคียงกันหลายฉบับ
สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล บัญญัติไว้ในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 จะให้ทุกจังหวัด โดยที่เขตส่งเสริมฯ ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่โครงการลงทุนที่ตั้งอยู่นอกนิคม หรือเขตอุตสาหกรรมของเขตส่งเสริมการลงทุนที่ 1 (กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 31 นอกนั้นจะได้รับสิทธินี้ จำนวน 3, 7 และ 8 ปี ขึ้นอยู่กับเขตที่ตั้งของโครงการ
ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ สามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากบัตรส่งเสริมฯ โดยระยะเวลาการใช้สิทธิ จะนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ จนครบกำหนดระยะเวลาตามบัตรส่งเสริมฯ โดยนับวันชนวัน วันเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ถือเอาวันที่โครงการนั้นมีรายได้จากการขายสินค้าที่ผลิตได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ไม่ว่าจะได้รับเงิน หรือได้รับชำระราคาแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นการรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิของมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ มากกว่า 1 โครงการ การได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบัตรส่งเสริมฯ ที่ออกให้แต่ละโครงการอาจมีระยะเวลาไม่เท่ากัน และการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมฯ โดยผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ที่ได้รับบัตรส่งเสริมฯ จะต้องจัดทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ แยกต่างหากจากกิจการส่วนอื่น ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมฯ หรือไม่ก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณผลกำไร และผลขาดทุนตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 นี้
รายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ เท่านั้นที่จัดเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ นั้น โดยต้องเป็นรายได้ที่ไม่เกิดขึ้นก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมฯ และรายได้นั้นมาจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และ/หรือบริการตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมฯ ไม่เกินปริมาณการผลิตต่อปี หรือไม่เกินขนาดของกิจการที่ให้บริการ รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ และ/หรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามชนิดและปริมาณที่กำหนดตามบัตรส่งเสริมฯ
การขายเศษวัสดุ และผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานถือเป็นการขายเศษวัสดุของเสีย ของชำรุดที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโครงการส่งเสริมฯ โดยตรง และยังมิได้แปรสภาพเป็นอย่างอื่น ถือเป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ แต่การจำหน่ายเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเครื่องตกแต่งในสำนักงานของผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ไม่ถือเป็นรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการ
หากเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ ส่วนประกอบ และทรัพย์สิน ที่ใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ แล้วหมดสภาพ รายได้จากการขายทรัพย์สินนั้นถือเป็นรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยหากใช้ในกิจการที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ให้เฉลี่ยรายได้ตามส่วนของรายได้จากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับเงินชดเชยภาษีอากรจากการส่งออกก็ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล อีกทั้งกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการนำเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ก็ถือเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเช่นกัน ขณะที่ดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้นที่ฝากกับบริษัทเงินทุน และรายได้ที่วิสาหกิจได้รับชดเชยจากการขาดรายได้ตามสัญญาประกันภัยไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ
ส่วนดอกเบี้ยจากเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินเฉพาะที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ซึ่งใช้สมุดคู่ฝากในการฝากถอน และไม่ใช้เช็คในการถอนที่มีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้ทั้งสิ้นของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ก็ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
การใช้สิทธิแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นการใช้สิทธิในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง กลุ่มที่ 2 เป็นการใช้สิทธิภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคสี่ และกลุ่มที่ 3 เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
มาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่นำสัดส่วนของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียนเข้ามาพิจารณาประกอบกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้น
มาตรา 31 วรรคสอง ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่มีการกำหนดสัดส่วนของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน สำหรับกิจการที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ
มาตรา 31 วรรคสี่ ให้สิทธิประโยชน์นำผลขาดทุนประจำปีในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสองไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 5 ปี นับแต่พ้นกำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีก็ได้
มาตรา 35 (1) เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่กำหนดเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
การใช้สิทธิในช่วงเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น กลุ่มที่ 1 เป็นการใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะซับซ้อนขึ้นในกรณีที่กิจการเดียว มีทั้งโครงการที่ได้รับยกเว้น และไม่ได้รับยกเว้น และจะยิ่งซับซ้อนขึ้นอีก หากกิจการนั้นมีบัตรส่งเสริมฯ ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ให้สิทธิในช่วงเวลาทับซ้อนกันหลายฉบับ
กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้น และที่ไม่ได้รับยกเว้น ให้คำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่การคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ยื่นแบบ ภงด.50) ให้นำกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้น และที่ไม่ได้รับยกเว้น มารวมเข้าด้วยกัน รายจ่ายรายการใดไม่สามารถแยกกันได้อย่างชัดเจน และไม่มีเกณฑ์อื่นเฉลี่ยรายจ่ายนั้นได้เหมาะสม ให้เฉลี่ยรายจ่ายนั้นตามรายได้ของกิจการ
หากผลการดำเนินงานรวมประจำปีมีกำไรสุทธิ ซึ่งอาจมาจากผลประกอบการที่กำไรสุทธิทั้งสองกิจการ ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น แต่ถ้ากำไรสุทธิในกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น มากกว่าผลขาดทุนสุทธิในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิรวม แต่ถ้ามีกำไรสุทธิในกิจการที่ได้รับยกเว้น มากกว่าขาดทุนสุทธิในกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเต็มจำนวนกำไรสุทธิรวม กรณีกลับกัน หากผลการดำเนินงานรวมประจำปีไม่มีกำไรสุทธิ ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้ว่ากิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นจะมีกำไรสุทธิก็ตาม
หากกิจการที่ได้รับยกเว้น มีผลขาดทุนประจำปี และกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น มีกำไรสุทธิ และมีผลขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อน ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ จะต้องนำผลขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อนของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น ไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นก่อน หากมีกำไรสุทธิเหลือ จึงมีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น ในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
รายได้ที่ถือเป็นรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ เท่านั้น จึงสามารถนำมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงเวลาที่กำหนดในบัตรส่งเสริมฯ ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ จำเป็นต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
สำหรับกลุ่มที่ 2 และ 3 นั้น จะนำเสนอต่อในสัปดาห์หน้า
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
บางกิจการมีทั้งโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ จากบีโอไอ และโครงการเดิมที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ หรือเป็นโครงการที่ไม่สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้ เนื่องจากไม่มีประเภทให้การส่งเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในโครงการบีโอไอด้วยแล้ว ผลประกอบการทั้งสองส่วนจะจัดการ และใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในโครงการบีโอไออย่างไร หรือกรณีกิจการเดียว แต่มีบัตรส่งเสริมฯ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงเวลาใกล้เคียงกันหลายฉบับ
สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล บัญญัติไว้ในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 จะให้ทุกจังหวัด โดยที่เขตส่งเสริมฯ ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่โครงการลงทุนที่ตั้งอยู่นอกนิคม หรือเขตอุตสาหกรรมของเขตส่งเสริมการลงทุนที่ 1 (กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 31 นอกนั้นจะได้รับสิทธินี้ จำนวน 3, 7 และ 8 ปี ขึ้นอยู่กับเขตที่ตั้งของโครงการ
ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ สามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากบัตรส่งเสริมฯ โดยระยะเวลาการใช้สิทธิ จะนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ จนครบกำหนดระยะเวลาตามบัตรส่งเสริมฯ โดยนับวันชนวัน วันเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ถือเอาวันที่โครงการนั้นมีรายได้จากการขายสินค้าที่ผลิตได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ไม่ว่าจะได้รับเงิน หรือได้รับชำระราคาแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นการรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิของมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ มากกว่า 1 โครงการ การได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบัตรส่งเสริมฯ ที่ออกให้แต่ละโครงการอาจมีระยะเวลาไม่เท่ากัน และการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมฯ โดยผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ที่ได้รับบัตรส่งเสริมฯ จะต้องจัดทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ แยกต่างหากจากกิจการส่วนอื่น ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมฯ หรือไม่ก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณผลกำไร และผลขาดทุนตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 นี้
รายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ เท่านั้นที่จัดเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ นั้น โดยต้องเป็นรายได้ที่ไม่เกิดขึ้นก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมฯ และรายได้นั้นมาจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และ/หรือบริการตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมฯ ไม่เกินปริมาณการผลิตต่อปี หรือไม่เกินขนาดของกิจการที่ให้บริการ รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ และ/หรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามชนิดและปริมาณที่กำหนดตามบัตรส่งเสริมฯ
การขายเศษวัสดุ และผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานถือเป็นการขายเศษวัสดุของเสีย ของชำรุดที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโครงการส่งเสริมฯ โดยตรง และยังมิได้แปรสภาพเป็นอย่างอื่น ถือเป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ แต่การจำหน่ายเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเครื่องตกแต่งในสำนักงานของผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ไม่ถือเป็นรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการ
หากเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ ส่วนประกอบ และทรัพย์สิน ที่ใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ แล้วหมดสภาพ รายได้จากการขายทรัพย์สินนั้นถือเป็นรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยหากใช้ในกิจการที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ให้เฉลี่ยรายได้ตามส่วนของรายได้จากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับเงินชดเชยภาษีอากรจากการส่งออกก็ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล อีกทั้งกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการนำเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ก็ถือเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเช่นกัน ขณะที่ดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้นที่ฝากกับบริษัทเงินทุน และรายได้ที่วิสาหกิจได้รับชดเชยจากการขาดรายได้ตามสัญญาประกันภัยไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ
ส่วนดอกเบี้ยจากเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินเฉพาะที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ซึ่งใช้สมุดคู่ฝากในการฝากถอน และไม่ใช้เช็คในการถอนที่มีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้ทั้งสิ้นของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ก็ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
การใช้สิทธิแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นการใช้สิทธิในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง กลุ่มที่ 2 เป็นการใช้สิทธิภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคสี่ และกลุ่มที่ 3 เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
มาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่นำสัดส่วนของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียนเข้ามาพิจารณาประกอบกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้น
มาตรา 31 วรรคสอง ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่มีการกำหนดสัดส่วนของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน สำหรับกิจการที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ
มาตรา 31 วรรคสี่ ให้สิทธิประโยชน์นำผลขาดทุนประจำปีในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสองไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 5 ปี นับแต่พ้นกำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีก็ได้
มาตรา 35 (1) เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่กำหนดเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
การใช้สิทธิในช่วงเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น กลุ่มที่ 1 เป็นการใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะซับซ้อนขึ้นในกรณีที่กิจการเดียว มีทั้งโครงการที่ได้รับยกเว้น และไม่ได้รับยกเว้น และจะยิ่งซับซ้อนขึ้นอีก หากกิจการนั้นมีบัตรส่งเสริมฯ ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ให้สิทธิในช่วงเวลาทับซ้อนกันหลายฉบับ
กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้น และที่ไม่ได้รับยกเว้น ให้คำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่การคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ยื่นแบบ ภงด.50) ให้นำกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้น และที่ไม่ได้รับยกเว้น มารวมเข้าด้วยกัน รายจ่ายรายการใดไม่สามารถแยกกันได้อย่างชัดเจน และไม่มีเกณฑ์อื่นเฉลี่ยรายจ่ายนั้นได้เหมาะสม ให้เฉลี่ยรายจ่ายนั้นตามรายได้ของกิจการ
หากผลการดำเนินงานรวมประจำปีมีกำไรสุทธิ ซึ่งอาจมาจากผลประกอบการที่กำไรสุทธิทั้งสองกิจการ ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น แต่ถ้ากำไรสุทธิในกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น มากกว่าผลขาดทุนสุทธิในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิรวม แต่ถ้ามีกำไรสุทธิในกิจการที่ได้รับยกเว้น มากกว่าขาดทุนสุทธิในกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเต็มจำนวนกำไรสุทธิรวม กรณีกลับกัน หากผลการดำเนินงานรวมประจำปีไม่มีกำไรสุทธิ ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้ว่ากิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นจะมีกำไรสุทธิก็ตาม
หากกิจการที่ได้รับยกเว้น มีผลขาดทุนประจำปี และกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น มีกำไรสุทธิ และมีผลขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อน ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ จะต้องนำผลขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อนของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น ไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นก่อน หากมีกำไรสุทธิเหลือ จึงมีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น ในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
รายได้ที่ถือเป็นรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ เท่านั้น จึงสามารถนำมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงเวลาที่กำหนดในบัตรส่งเสริมฯ ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ จำเป็นต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
สำหรับกลุ่มที่ 2 และ 3 นั้น จะนำเสนอต่อในสัปดาห์หน้า
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th