ตอนที่ 1 ได้แนะนำสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และการใช้สิทธิในกลุ่มที่ 1 ที่เป็นการใช้สิทธิในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง โดยที่ระเบียบหลักเกณฑ์นี้ปรากฏตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530
สำหรับในตอนที่ 2 นี้จะได้กล่าวถึงการใช้สิทธิในกลุ่มที่ 2 ที่เป็นการใช้สิทธิภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคสี่ ที่วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง (กรณีได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามสัดส่วนของเงินลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน)
หรือวรรคสอง (กรณีเป็นกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ จึงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่กำหนดสัดส่วนของเงินลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน) ให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีก็ได้
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ที่ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2540 ยกเลิกข้อ 4.1 (ก) ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 ข้อ 4.1 (ก) ให้ความหมายของผลขาดทุนประจำปีไว้ว่า หมายถึง ผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยไม่ต้องนำไปหักออกจากกำไรประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (12)
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 35/2540 เรื่อง การนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปหักภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สั่ง ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2540 ก็ยืนยันผลขาดทุนประจำปีที่จะนำไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปีนั้น ไม่ต้องนำไปหักออกจากกำไรประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแยกตามเขตการลงทุน โดยทุกจังหวัดในเขต 3 เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน เขต 3 ครอบคลุม 58 จังหวัด ได้รับสิทธินี้ 8 ปี โดยเขต 1 ครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร สำหรับเขต 2 ครอบคลุม 12 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ระยะเวลาการได้สิทธิปรากฏตามตารางต่อไปนี้
หากโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตั้งอยู่ในเขต 3 ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ นั้น ผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 1 ถึงปีที่ 8 ทั้งจำนวน สามารถนำมาหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในปีที่ 9 ถึงปีที่ 13 ได้ โดยเลือกหักทั้งจำนวนจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือทยอยหักจากหลายปีก็ได้ ซึ่งทางปฏิบัติก็ขึ้นอยู่กับจำนวนของผลขาดทุนประจำปีสะสมระหว่างปีที่ 1 ถึงปีที่ 8 ที่ยกมาในปีที่ 9 กับผลกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่ 9 ที่หากยอดขาดทุนประจำปีสะสมนั้นสูงกว่ายอดกำไรสุทธิ ก็จะคงเหลือยอดขาดทุนประจำปีสะสมยกไปหักจากกำไรสุทธิในปีที่ 10 ต่อไป
กรณีกิจการมีโครงการที่ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมากกว่า 1 โครงการในกิจการเดียว ระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมฯ ที่ออกให้แต่ละโครงการอาจมีกำหนดเวลาไม่เท่ากัน และการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมฯ โดยผู้ที่ได้รับการส่งเสริมฯ จะต้องจัดทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ แยกต่างหากจากกิจการส่วนอื่น ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมฯ หรือไม่ก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไร และขาดทุนตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
การคำนวณผลขาดทุนประจำปีตามความเห็นของบีโอไอ ซึ่งปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พิจารณาให้แยกเป็นรายบัตรส่งเสริมการลงทุน รายโครงการ แต่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 38/2552 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สั่ง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า
กรณีบริษัทประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ และมีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ในกิจการแต่ละประเภทมากกว่า 1 โครงการนั้น เนื่องจากมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับกับการคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ กรณีนี้จึงต้องคำนวณจากรายได้ และรายจ่ายจากกิจการทุกประเภททุกโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
บีโอไอได้นำเสนอปัญหาข้อนี้ขึ้นหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5) ก็ได้มีคำวินิจฉัยตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งเป็นเรื่องเสร็จที่ 158/2552 มีความเห็นว่า
ในกรณีที่มีความไม่ชัดเจนที่จะต้องตีความ หรือดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจตีความในเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องความหมาย และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบ หรือสร้างความสับสนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป
ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติการจัดเก็บภาษีอากรเป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรมาใช้บังคับกับข้อหารือนี้
นอกจากนั้น ถ้อยคำตามมาตรา 31 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ก็แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้คำนวณผลขาดทุนประจำปีเป็นรายโครงการ วิธีการคำนวณผลขาดทุนประจำปีตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงชอบแล้ว
ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมากกว่า 1 โครงการ จึงอาจประสบปัญหาการใช้สิทธิในกลุ่มที่ 2 นี้ หากการใช้สิทธิถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของบีโอไอก็จะสามารถนำผลขาดทุนประจำปีทั้งจำนวนที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งขัดกับหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรที่ให้นำเพียงผลขาดทุนสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินกำไรสุทธิในระหว่างเวลาได้รับสิทธิเท่านั้นที่สามารถนำไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังได้
อย่างไรก็ตาม แม้ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นแล้ว ก็คาดว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจะยังคงมีแนวโน้มในอันที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 38/2552 โดยไม่ยินยอมให้ถือผลขาดทุนของโครงการแต่ละโครงการแยกต่างหากจากกัน จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาของศาล
สำหรับในตอนจบ จะได้นำเสนอกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่กิจการมีทั้งขาดทุนประจำปียกไป สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล และส่วนของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ ในรอบปีบัญชีเดียวกัน จะต้องดำเนินการอย่างไร
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
สำหรับในตอนที่ 2 นี้จะได้กล่าวถึงการใช้สิทธิในกลุ่มที่ 2 ที่เป็นการใช้สิทธิภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคสี่ ที่วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง (กรณีได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามสัดส่วนของเงินลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน)
หรือวรรคสอง (กรณีเป็นกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ จึงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่กำหนดสัดส่วนของเงินลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน) ให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีก็ได้
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ที่ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2540 ยกเลิกข้อ 4.1 (ก) ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 ข้อ 4.1 (ก) ให้ความหมายของผลขาดทุนประจำปีไว้ว่า หมายถึง ผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยไม่ต้องนำไปหักออกจากกำไรประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (12)
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 35/2540 เรื่อง การนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปหักภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สั่ง ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2540 ก็ยืนยันผลขาดทุนประจำปีที่จะนำไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปีนั้น ไม่ต้องนำไปหักออกจากกำไรประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแยกตามเขตการลงทุน โดยทุกจังหวัดในเขต 3 เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน เขต 3 ครอบคลุม 58 จังหวัด ได้รับสิทธินี้ 8 ปี โดยเขต 1 ครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร สำหรับเขต 2 ครอบคลุม 12 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ระยะเวลาการได้สิทธิปรากฏตามตารางต่อไปนี้
หากโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตั้งอยู่ในเขต 3 ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ นั้น ผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 1 ถึงปีที่ 8 ทั้งจำนวน สามารถนำมาหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในปีที่ 9 ถึงปีที่ 13 ได้ โดยเลือกหักทั้งจำนวนจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือทยอยหักจากหลายปีก็ได้ ซึ่งทางปฏิบัติก็ขึ้นอยู่กับจำนวนของผลขาดทุนประจำปีสะสมระหว่างปีที่ 1 ถึงปีที่ 8 ที่ยกมาในปีที่ 9 กับผลกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่ 9 ที่หากยอดขาดทุนประจำปีสะสมนั้นสูงกว่ายอดกำไรสุทธิ ก็จะคงเหลือยอดขาดทุนประจำปีสะสมยกไปหักจากกำไรสุทธิในปีที่ 10 ต่อไป
กรณีกิจการมีโครงการที่ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมากกว่า 1 โครงการในกิจการเดียว ระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมฯ ที่ออกให้แต่ละโครงการอาจมีกำหนดเวลาไม่เท่ากัน และการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมฯ โดยผู้ที่ได้รับการส่งเสริมฯ จะต้องจัดทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ แยกต่างหากจากกิจการส่วนอื่น ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมฯ หรือไม่ก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไร และขาดทุนตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
การคำนวณผลขาดทุนประจำปีตามความเห็นของบีโอไอ ซึ่งปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พิจารณาให้แยกเป็นรายบัตรส่งเสริมการลงทุน รายโครงการ แต่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 38/2552 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สั่ง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า
กรณีบริษัทประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ และมีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ในกิจการแต่ละประเภทมากกว่า 1 โครงการนั้น เนื่องจากมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับกับการคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ กรณีนี้จึงต้องคำนวณจากรายได้ และรายจ่ายจากกิจการทุกประเภททุกโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
บีโอไอได้นำเสนอปัญหาข้อนี้ขึ้นหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5) ก็ได้มีคำวินิจฉัยตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งเป็นเรื่องเสร็จที่ 158/2552 มีความเห็นว่า
ในกรณีที่มีความไม่ชัดเจนที่จะต้องตีความ หรือดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจตีความในเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องความหมาย และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบ หรือสร้างความสับสนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป
ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติการจัดเก็บภาษีอากรเป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรมาใช้บังคับกับข้อหารือนี้
นอกจากนั้น ถ้อยคำตามมาตรา 31 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ก็แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้คำนวณผลขาดทุนประจำปีเป็นรายโครงการ วิธีการคำนวณผลขาดทุนประจำปีตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงชอบแล้ว
ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมากกว่า 1 โครงการ จึงอาจประสบปัญหาการใช้สิทธิในกลุ่มที่ 2 นี้ หากการใช้สิทธิถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของบีโอไอก็จะสามารถนำผลขาดทุนประจำปีทั้งจำนวนที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งขัดกับหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรที่ให้นำเพียงผลขาดทุนสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินกำไรสุทธิในระหว่างเวลาได้รับสิทธิเท่านั้นที่สามารถนำไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังได้
อย่างไรก็ตาม แม้ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นแล้ว ก็คาดว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจะยังคงมีแนวโน้มในอันที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 38/2552 โดยไม่ยินยอมให้ถือผลขาดทุนของโครงการแต่ละโครงการแยกต่างหากจากกัน จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาของศาล
สำหรับในตอนจบ จะได้นำเสนอกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่กิจการมีทั้งขาดทุนประจำปียกไป สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล และส่วนของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ ในรอบปีบัญชีเดียวกัน จะต้องดำเนินการอย่างไร
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th