ASTVผู้จัดการรายวัน-ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคม.ค.พุ่งสูงสุดรอบ 21 เดือน ปัจจัยบวกจากสินค้าเกษตรแพงขึ้น รัฐบาลปรับค่าแรง รัฐบาลอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้หากการเมือง-มาบตาพุดนิ่ง น้ำมันดีเซลไม่เกิน 33 บาท/ลิตร การบริโภคฟื้นกลางปีแน่
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,245 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือนม.ค.2553 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคม.ค. เท่ากับ 79.3 สูงขึ้นจากเดือนธ.ค.ที่ 77.7 สูงสุดในรอบ 21 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน 65.8 เพิ่มขึ้นจาก 64.9 สูงสุดรอบ 13 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 82.8 เพิ่มขึ้นจาก 80.9 สูงสุดในรอบ 47 เดือน
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือนม.ค.เท่ากับ 71.9 สูงขึ้นจากเดือนธ.ค. 70.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน 70.4 เพิ่มขึ้นจาก 68.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 95.7 เพิ่มขึ้นจาก 93.8
ปัจจัยบวกที่ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น มีหลายปัจจัย เช่น ราคาพืชผลเกษตรแพงขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้จับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจ การขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 1-8 บาททั่วประเทศ ในช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกในเดือนม.ค.ที่ปรับตัวดีขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินจีดีพีไทยปี นี้จะขยายตัว 3.3-3.5% คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.25% ตามเดิม เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และลดแรงกดดันเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ และเม็ดเงินในโครงการไทยเข้มแข็งเริ่มหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ทิศทางของดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่าคนรับรู้ว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แม้ว่าปัจจุบันคนจะยังระมัดระวังการใช้จ่าย แต่ก็มีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะดีขึ้น เห็นได้จากค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวสูงสุดในรอบ 4 ปี หากรัฐบาลสามารถดูแลระดับราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยระดับราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกภายในประเทศไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร และไม่เกิดสถานการณ์ทางการเมืองรุนแรง จะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาเป็นปกติ มีค่าทะลุ 100 จุดขึ้นไปในช่วงกลางปี ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวในกรอบ 3.5-4%
“ความเชื่อมั่นเริ่มมีทิศทางดีขึ้น อย่างยอดการซื้อรถ ซื้อบ้านก็เพิ่มขึ้น ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ต้องระวังปัจจัยการเมือง มาบตาพุด และราคาน้ำมัน หากไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ความเชื่อมั่นกลับมาเป็นปกติกลางปีนี้แน่นอน” นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับการสั่งทบทวนโครงการลงทุนไทยเข้มแข็ง เช่น โครงการถนนปลอดฝุ่น มองว่าจะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะเชื่อว่ารัฐบาลคงไม่ได้ลดวงเงินในโครงการลงไป เพียงแต่อาจปรับโครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์เป็นอยู่ โดยเชื่อว่ายังมีเม็ดเงิน 3-4 แสนล้านบาทเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจไทยยังต้องพึ่งพาการอัดฉีดจากเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐอยู่โดยเฉพาะในปี 2553-2554 หลังจากนั้นรัฐบาลค่อยลดวงเงินลงมา แม้ว่าไทยจะมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 60% ของจีดีพีจากการอัดฉีดเม็ดเงินในโครงการไทยเข้มแข็ง แต่หากเป็นการลงทุนเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น และควรสนับสนุน เพราะผลตอนแทนทางเศรษฐกิจจะคุ้มค่า
ขณะที่การปรับลดค่าเงินด่องของเวียดนามรอบ 2 อีก 3.4% นั้น จะกระทบกับภาคการส่งออกไทย เพราะมีหลายสินค้าที่ไทยแข่งกับเวียดนาม แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการไทยจะปรับตัวได้ โดยอาจจะยอดลดกำไรลงมา เพื่อลดราคาแข่งขันกับสินค้าเวียดนาม และคงไม่ทำให้อัตราการขยายตัวการส่งออกไทยปีนี้กระทบ โดยเป้าขยายตัว 10-15% น่าจะยังเป็นไปได้อยู่ เพียงแต่ธปท.ต้องเข้ามาดูแลค่าเงินบาทของไทยด้วย โดยระดับค่าเงินบาทควรอยู่ที่ 33 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้เอกชนไทยแข่งขันได้
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,245 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือนม.ค.2553 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคม.ค. เท่ากับ 79.3 สูงขึ้นจากเดือนธ.ค.ที่ 77.7 สูงสุดในรอบ 21 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน 65.8 เพิ่มขึ้นจาก 64.9 สูงสุดรอบ 13 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 82.8 เพิ่มขึ้นจาก 80.9 สูงสุดในรอบ 47 เดือน
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือนม.ค.เท่ากับ 71.9 สูงขึ้นจากเดือนธ.ค. 70.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน 70.4 เพิ่มขึ้นจาก 68.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 95.7 เพิ่มขึ้นจาก 93.8
ปัจจัยบวกที่ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น มีหลายปัจจัย เช่น ราคาพืชผลเกษตรแพงขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้จับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจ การขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 1-8 บาททั่วประเทศ ในช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกในเดือนม.ค.ที่ปรับตัวดีขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินจีดีพีไทยปี นี้จะขยายตัว 3.3-3.5% คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.25% ตามเดิม เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และลดแรงกดดันเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ และเม็ดเงินในโครงการไทยเข้มแข็งเริ่มหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ทิศทางของดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่าคนรับรู้ว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แม้ว่าปัจจุบันคนจะยังระมัดระวังการใช้จ่าย แต่ก็มีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะดีขึ้น เห็นได้จากค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวสูงสุดในรอบ 4 ปี หากรัฐบาลสามารถดูแลระดับราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยระดับราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกภายในประเทศไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร และไม่เกิดสถานการณ์ทางการเมืองรุนแรง จะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาเป็นปกติ มีค่าทะลุ 100 จุดขึ้นไปในช่วงกลางปี ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวในกรอบ 3.5-4%
“ความเชื่อมั่นเริ่มมีทิศทางดีขึ้น อย่างยอดการซื้อรถ ซื้อบ้านก็เพิ่มขึ้น ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ต้องระวังปัจจัยการเมือง มาบตาพุด และราคาน้ำมัน หากไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ความเชื่อมั่นกลับมาเป็นปกติกลางปีนี้แน่นอน” นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับการสั่งทบทวนโครงการลงทุนไทยเข้มแข็ง เช่น โครงการถนนปลอดฝุ่น มองว่าจะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะเชื่อว่ารัฐบาลคงไม่ได้ลดวงเงินในโครงการลงไป เพียงแต่อาจปรับโครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์เป็นอยู่ โดยเชื่อว่ายังมีเม็ดเงิน 3-4 แสนล้านบาทเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจไทยยังต้องพึ่งพาการอัดฉีดจากเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐอยู่โดยเฉพาะในปี 2553-2554 หลังจากนั้นรัฐบาลค่อยลดวงเงินลงมา แม้ว่าไทยจะมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 60% ของจีดีพีจากการอัดฉีดเม็ดเงินในโครงการไทยเข้มแข็ง แต่หากเป็นการลงทุนเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น และควรสนับสนุน เพราะผลตอนแทนทางเศรษฐกิจจะคุ้มค่า
ขณะที่การปรับลดค่าเงินด่องของเวียดนามรอบ 2 อีก 3.4% นั้น จะกระทบกับภาคการส่งออกไทย เพราะมีหลายสินค้าที่ไทยแข่งกับเวียดนาม แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการไทยจะปรับตัวได้ โดยอาจจะยอดลดกำไรลงมา เพื่อลดราคาแข่งขันกับสินค้าเวียดนาม และคงไม่ทำให้อัตราการขยายตัวการส่งออกไทยปีนี้กระทบ โดยเป้าขยายตัว 10-15% น่าจะยังเป็นไปได้อยู่ เพียงแต่ธปท.ต้องเข้ามาดูแลค่าเงินบาทของไทยด้วย โดยระดับค่าเงินบาทควรอยู่ที่ 33 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้เอกชนไทยแข่งขันได้