ASTVผู้จัดการรายวัน-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน หลังรัฐบาลต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพ ปรับค่าแรงขั้นต่ำ สินค้าเกษตรราคาดี สัญญาณเศรษฐกิจฟื้น คาดความเชื่อมั่นดีขึ้นต่อเนื่องทั้งปี 53 แต่ห่วงการเมือง ค่าครองชีพ น้ำมัน ฉุดดิ่ง แนะรัฐกระตุ้นกำลังซื้อต่อเนื่อง
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนธ.ค.2552 จากสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,242 คน ว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเท่ากับ 77.7 เพิ่มจากเดือนพ.ย.ที่ 76.5 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน 64.9 เพิ่มจาก 63.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 80.9 เพิ่มจาก 79.5 สูงสุดในรอบ 46 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 70.4 เพิ่มจาก 69.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ 68.9 เพิ่มจาก 67.8 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 93.8 เพิ่มจาก 92.6 เพิ่มสูงสุดรอบ 47 เดือน
ปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น มาจากการที่รัฐบาลได้ต่ออายุ 5 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อไปอีก 3 เดือน การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 1-8 บาท ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศทรงตัวระดับต่ำ คณะกรรมการนโยบายการเงินคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% รวมทั้งตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มดี ทั้งค่าเงินบาท การส่งออก และจีดีพี
ขณะที่ปัจจัยลบยังเป็นเรื่องเดิม คือ เสถียรภาพการเมือง การชะลอโครงการมาบตาพุด ปัญหาค่าครองชีพสูง รวมถึงเกิดความไม่ชัดเจนต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การฟื้นตัวดัชนีผู้บริโภค 2 เดือนติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจกลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง ประกอบกับการทำโปรโมชั่นของผู้ผลิต และการตรึงดอกเบี้ยของรัฐ ทำให้ความต้องการซื้อบ้าน รถยนต์คันใหม่เพิ่มสูงสุดรอบ 1-4 ปี ขณะที่ความต้องการท่องเที่ยว และลงทุนในธุรกิจเอสเอ็มอี ก็เพิ่มขึ้นในระดับสูงเช่นกัน
“ประชาชนรับรู้ว่าเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ประกอบกับรัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินไทยเข้มแข็ง การเพิ่มรายได้ขั้นต่ำ และสินค้าเกษตรราคาสูงขึ้น ทำให้คนมีความหวังว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะดีและกล้ากลับมาใช้จ่าย แต่ยังไม่มากเท่ากับภาวะปกติ เพราะยังเป็นห่วงโอกาสการหางานทำ และการหารายได้เพิ่ม”
สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปี 2553 น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยหากรัฐบาลสามารถผลักดันงบไทยเข้มแข็ง 1.5 แสนล้านบาทเข้าสู่ระบบ และไม่เกิดปัญหาการเมืองและราคาน้ำมันไม่เพิ่มรุนแรง ในไตรมาสแรก คาดว่าดัชนีผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น 1% ยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น 3-5% ไตรมาสสองดัชนีเพิ่มขึ้น 1-2% ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น 5-7% และในครึ่งปีหลังดัชนีผู้บริโภคจะกลับคืนภาวะปกติเพิ่มขึ้น 3-3.5% ยอดขายขึ้น 7-10% ขณะที่จีดีพีทั้งปียังคงเป้าหมายไว้ 3.2-3.5%
อย่างไรก็ตาม แม้ทิศทางความเชื่อมั่นจะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่คนยังกังวลปัญหาการเมืองหากเกิดความขัดแย้งรุนแรง จะฉุดความเชื่อมั่นให้ทรุดตัวลงได้ รวมถึงปัญหาค่าครองชีพสูง โดยผู้บริโภคยังรู้สึกกังวล มีรายได้ไม่พอรายจ่าย ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการแทรกแซงราคาน้ำมันขายปลีกในครึ่งปีแรก ดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท และเบนซินไม่เกิน 35 บาท เพราะในครึ่งปีแรกการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มากกว่าการพึ่งพาเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนธ.ค.2552 จากสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,242 คน ว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเท่ากับ 77.7 เพิ่มจากเดือนพ.ย.ที่ 76.5 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน 64.9 เพิ่มจาก 63.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 80.9 เพิ่มจาก 79.5 สูงสุดในรอบ 46 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 70.4 เพิ่มจาก 69.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ 68.9 เพิ่มจาก 67.8 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 93.8 เพิ่มจาก 92.6 เพิ่มสูงสุดรอบ 47 เดือน
ปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น มาจากการที่รัฐบาลได้ต่ออายุ 5 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อไปอีก 3 เดือน การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 1-8 บาท ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศทรงตัวระดับต่ำ คณะกรรมการนโยบายการเงินคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% รวมทั้งตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มดี ทั้งค่าเงินบาท การส่งออก และจีดีพี
ขณะที่ปัจจัยลบยังเป็นเรื่องเดิม คือ เสถียรภาพการเมือง การชะลอโครงการมาบตาพุด ปัญหาค่าครองชีพสูง รวมถึงเกิดความไม่ชัดเจนต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การฟื้นตัวดัชนีผู้บริโภค 2 เดือนติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจกลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง ประกอบกับการทำโปรโมชั่นของผู้ผลิต และการตรึงดอกเบี้ยของรัฐ ทำให้ความต้องการซื้อบ้าน รถยนต์คันใหม่เพิ่มสูงสุดรอบ 1-4 ปี ขณะที่ความต้องการท่องเที่ยว และลงทุนในธุรกิจเอสเอ็มอี ก็เพิ่มขึ้นในระดับสูงเช่นกัน
“ประชาชนรับรู้ว่าเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ประกอบกับรัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินไทยเข้มแข็ง การเพิ่มรายได้ขั้นต่ำ และสินค้าเกษตรราคาสูงขึ้น ทำให้คนมีความหวังว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะดีและกล้ากลับมาใช้จ่าย แต่ยังไม่มากเท่ากับภาวะปกติ เพราะยังเป็นห่วงโอกาสการหางานทำ และการหารายได้เพิ่ม”
สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปี 2553 น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยหากรัฐบาลสามารถผลักดันงบไทยเข้มแข็ง 1.5 แสนล้านบาทเข้าสู่ระบบ และไม่เกิดปัญหาการเมืองและราคาน้ำมันไม่เพิ่มรุนแรง ในไตรมาสแรก คาดว่าดัชนีผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น 1% ยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น 3-5% ไตรมาสสองดัชนีเพิ่มขึ้น 1-2% ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น 5-7% และในครึ่งปีหลังดัชนีผู้บริโภคจะกลับคืนภาวะปกติเพิ่มขึ้น 3-3.5% ยอดขายขึ้น 7-10% ขณะที่จีดีพีทั้งปียังคงเป้าหมายไว้ 3.2-3.5%
อย่างไรก็ตาม แม้ทิศทางความเชื่อมั่นจะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่คนยังกังวลปัญหาการเมืองหากเกิดความขัดแย้งรุนแรง จะฉุดความเชื่อมั่นให้ทรุดตัวลงได้ รวมถึงปัญหาค่าครองชีพสูง โดยผู้บริโภคยังรู้สึกกังวล มีรายได้ไม่พอรายจ่าย ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการแทรกแซงราคาน้ำมันขายปลีกในครึ่งปีแรก ดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท และเบนซินไม่เกิน 35 บาท เพราะในครึ่งปีแรกการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มากกว่าการพึ่งพาเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน