ASTVผู้จัดการรายวัน-มีแต่ปัญหารุมเร้า ทั้งน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง มาบตาพุด การเมืองป่วน ฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน จับตาเดือนหน้าดิ่งลงต่อ หากปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนต.ค.2552 จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ 2,242 คนว่า ดัชนีบางรายการเริ่มปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.เท่ากับ 75.4 ลดจากเดือนก.ย. ที่ 75.6 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบันเท่ากับ 63.3 ลดลงจาก 64.3 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเท่ากับ 78.2 เพิ่มจาก 78.0 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 68.0 ลดจาก 68.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 66.9 ลดจาก 67.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 91.2 เพิ่มจาก 91.0
สาเหตุที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง มาจากราคาเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาเบนซินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยลิตรละ 1.80-2.00 บาท ขณะที่ดีเซลเพิ่มลิตรละ 2.60 บาท รวมทั้งความกังวลถึงภาวะค่าครองชีพสูงและราคาสินค้าแพง ได้ส่งผลกระทบเชิงจิตวิทยาต่อผู้บริโภค ทำให้ชะลอการใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังมีความกังวลการชะลอโครงการการลงทุน 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดรวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่เป็นปัจจัยบันทอนสำคัญ ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ส่วนปัจจัยบวกยังมาจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการไทยเข้มแข็ง ประกอบกับทิศทางเศรษฐกิจในประเทศ ค่าเงินบาทที่เริ่มมีเสถียรภาพ
“ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนต.ค. ที่ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่เคลื่อนไหวสวนทางอย่างหลากหลายและขัดแย้ง ทั้งปัญหาราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ มาบตาพุด และการเมือง จนทำให้ภาพความเชื่อมั่นในปัจจุบัน ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม และการจ้างงานลดลง รวมถึงความเชื่อมั่นในอนาคตก็มีอัตราเพิ่มที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการซื้อรถยนต์ ท่องเที่ยว และการลงทุนเริ่มฟื้นตัวขึ้น เพราะมีโปรโมชั่น ดึงดูดใจ เว้นแต่การซื้อบ้านที่ยังไม่ดีนัก”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ดัชนีผู้บริโภคเดือนพ.ย. ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ และเป็นตัวชี้วัดว่า ดัชนีในอนาคตจะมีทิศทางเป็นอย่างไร เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญหลายเรื่องที่จะกระทบ ทั้งการแก้ปัญหาโครงการลงทุนมาบตาพุด จากคณะกรรมการแก้ปัญหา 4 ฝ่าย ชุดนายอานันท์ ปัญยารชุน รวมถึงประเด็นความขัดแย้งไทย-เขมร ที่จะส่งผลต่อการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอย่างชัดเจนในเดือนหน้า และการแก้ปัญหาราคาน้ำมัน การเมือง รวมถึงการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ว่าจะได้ผลมากน้อยเพียงใด
ส่วน ทิศทางความเชื่อมั่นไตรมาส 4 น่าจะยังอยู่ช่วงขาขึ้น แต่คาดว่าการใช้จ่ายจะไม่คึกคักจนกระทั่งถึงเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ยังโตกระจุกตัวในกลุ่มเศรษฐกิจมหภาคกับธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ประกอบกับเงินกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก 20,000 ล้านบาท ยังไม่ถูกกระจายลงสู่ชุมชน ทำให้การรับรู้การฟื้นตัวเศรษฐกิจในภาคประชาชนยังมีน้อย และไม่มั่นใจว่าจะมีการจ้างงานหรือมีรายได้เพิ่ม ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้า จะต้องมีการแข่งขันจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง และห้ามขึ้นราคาสินค้า ไม่เช่นนั้นอาจกระทบต่อยอดขายได้
สำหรับปัญหาความขัดแย้งไทย-เขมร หากยังไม่การปิดด่าน เชื่อว่าการค้าตามชายแดนยังดำเนินได้ปกติ ส่วนการแห่ตุนซื้อสินค้าตามชายแดน การลดการให้เครดิต น่าจะส่งผลในช่วงสั้นเท่านั้น ขณะที่การลงทุนไม่น่าจะมีผลกระทบ เพราะการลงทุนของคนไทยในกัมพูชาส่วนใหญ่ เป็นภาคบริการ ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเขมร จึงเชื่อว่าจะมีการอำนวยความสะดวกในนักลงทุนไทยเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม แม้การส่งออกสินค้าไทยไปเขมรจะลดลง แต่ก็ไม่กระทบต่อภาพรวมการส่งออก เพราะเทียบมูลค่าส่งออกเขมร 47,000 ล้านบาท ยังไม่มากเมื่อเทียบกับยอดส่งออกรวม 6 ล้านล้านบาท
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนต.ค.2552 จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ 2,242 คนว่า ดัชนีบางรายการเริ่มปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.เท่ากับ 75.4 ลดจากเดือนก.ย. ที่ 75.6 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบันเท่ากับ 63.3 ลดลงจาก 64.3 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเท่ากับ 78.2 เพิ่มจาก 78.0 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 68.0 ลดจาก 68.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 66.9 ลดจาก 67.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 91.2 เพิ่มจาก 91.0
สาเหตุที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง มาจากราคาเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาเบนซินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยลิตรละ 1.80-2.00 บาท ขณะที่ดีเซลเพิ่มลิตรละ 2.60 บาท รวมทั้งความกังวลถึงภาวะค่าครองชีพสูงและราคาสินค้าแพง ได้ส่งผลกระทบเชิงจิตวิทยาต่อผู้บริโภค ทำให้ชะลอการใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังมีความกังวลการชะลอโครงการการลงทุน 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดรวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่เป็นปัจจัยบันทอนสำคัญ ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ส่วนปัจจัยบวกยังมาจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการไทยเข้มแข็ง ประกอบกับทิศทางเศรษฐกิจในประเทศ ค่าเงินบาทที่เริ่มมีเสถียรภาพ
“ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนต.ค. ที่ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่เคลื่อนไหวสวนทางอย่างหลากหลายและขัดแย้ง ทั้งปัญหาราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ มาบตาพุด และการเมือง จนทำให้ภาพความเชื่อมั่นในปัจจุบัน ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม และการจ้างงานลดลง รวมถึงความเชื่อมั่นในอนาคตก็มีอัตราเพิ่มที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการซื้อรถยนต์ ท่องเที่ยว และการลงทุนเริ่มฟื้นตัวขึ้น เพราะมีโปรโมชั่น ดึงดูดใจ เว้นแต่การซื้อบ้านที่ยังไม่ดีนัก”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ดัชนีผู้บริโภคเดือนพ.ย. ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ และเป็นตัวชี้วัดว่า ดัชนีในอนาคตจะมีทิศทางเป็นอย่างไร เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญหลายเรื่องที่จะกระทบ ทั้งการแก้ปัญหาโครงการลงทุนมาบตาพุด จากคณะกรรมการแก้ปัญหา 4 ฝ่าย ชุดนายอานันท์ ปัญยารชุน รวมถึงประเด็นความขัดแย้งไทย-เขมร ที่จะส่งผลต่อการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอย่างชัดเจนในเดือนหน้า และการแก้ปัญหาราคาน้ำมัน การเมือง รวมถึงการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ว่าจะได้ผลมากน้อยเพียงใด
ส่วน ทิศทางความเชื่อมั่นไตรมาส 4 น่าจะยังอยู่ช่วงขาขึ้น แต่คาดว่าการใช้จ่ายจะไม่คึกคักจนกระทั่งถึงเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ยังโตกระจุกตัวในกลุ่มเศรษฐกิจมหภาคกับธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ประกอบกับเงินกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก 20,000 ล้านบาท ยังไม่ถูกกระจายลงสู่ชุมชน ทำให้การรับรู้การฟื้นตัวเศรษฐกิจในภาคประชาชนยังมีน้อย และไม่มั่นใจว่าจะมีการจ้างงานหรือมีรายได้เพิ่ม ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้า จะต้องมีการแข่งขันจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง และห้ามขึ้นราคาสินค้า ไม่เช่นนั้นอาจกระทบต่อยอดขายได้
สำหรับปัญหาความขัดแย้งไทย-เขมร หากยังไม่การปิดด่าน เชื่อว่าการค้าตามชายแดนยังดำเนินได้ปกติ ส่วนการแห่ตุนซื้อสินค้าตามชายแดน การลดการให้เครดิต น่าจะส่งผลในช่วงสั้นเท่านั้น ขณะที่การลงทุนไม่น่าจะมีผลกระทบ เพราะการลงทุนของคนไทยในกัมพูชาส่วนใหญ่ เป็นภาคบริการ ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเขมร จึงเชื่อว่าจะมีการอำนวยความสะดวกในนักลงทุนไทยเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม แม้การส่งออกสินค้าไทยไปเขมรจะลดลง แต่ก็ไม่กระทบต่อภาพรวมการส่งออก เพราะเทียบมูลค่าส่งออกเขมร 47,000 ล้านบาท ยังไม่มากเมื่อเทียบกับยอดส่งออกรวม 6 ล้านล้านบาท