ASTVผู้จัดการรายวัน-คาดกินเจปีนี้เงินสะพัด 2.7 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 8% แต่มาจากของแพง ไม่ใช่กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายคนไทยในช่วงเทศกาลกินเจ ระหว่าง 17-26 ต.ค.2552 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,282 คนว่า การใช้จ่ายในเทศกาลกินเจ จะมีเม็ดเงินสะพัด 27,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีการใช้จ่าย 25,000 ล้านบาท ประมาณ 8% โดยการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น มาจากจำนวนผู้บริโภคที่มากขึ้นและราคาสินค้าที่สูงขึ้น แต่ปริมาณการบริโภคยังเท่าเดิม
“กินเจปีนี้คงไม่ซบเซา เพราะผลสำรวจสะท้อนว่าคนยังใช้จ่ายอยู่ แต่เม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นจะมาจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น ไม่ได้มาจากปริมาณการซื้อที่เพิ่มขึ้น บรรยากาศคงไม่ถึงขั้นคึกคักมาก เพราะเมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มีการใช้จ่ายเติบโตถึง 13%”
ทั้งนี้ ผู้ตอบผลสำรวจ 53.1% ระบุว่าปริมาณซื้อสินค้ายังเท่าเดิม รองลงมา 30.3% ซื้อน้อยลง มีเพียง 12.5% เท่านั้นที่ซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายโดยรวม 61.2% ตอบว่าใช้จ่ายเพิ่ม อีก 25.5% เท่าเดิม และมีเพียง 3.3% ที่ใช้จ่ายน้อยลง สำหรับชนิดสินค้าที่ใช้จ่ายเพิ่มมากสุด ได้แก่ ผัก ผลไม้ อาหารเจสำเร็จรูป อาหารเจแช่แข็ง โปรตีนเกษตร รองลงมาเป็นอาหารกระป๋อง เต้าหู้และนมถั่วเหลืองน้ำมันพืช และนม ส่วนการทำบุญแม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่คนไทยยังนิยมทำบุญเพิ่มขึ้น 45.2%
นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย กล่าวว่า พฤติกรรมการกินเจของคนไทยปีนี้ ส่วนใหญ่เลือกกินเพราะตรงกับเทศกาล ตั้งใจทำบุญเพื่อลดการกินเนื้อสัตว์ และยังเป็นแฟชั่น รวมถึงเป็นการแก้บน ขณะที่สาเหตุที่ไม่กินเพราะที่บ้านไม่มีคนกิน เศรษฐกิจไม่ดี อาหารเจแพง และไม่มีเชื้อสายจีน โดยในจำนวนของผู้กินเจกว่า 65.4% บริโภคต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และตั้งใจกินทั้งเทศกาล 62.1% กินบางมื้อที่ 37.9%
สำหรับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารส่วนใหญ่ นิยมบริโภคอาหารสำเร็จรูป 48.6% รองลงมาซื้อมาทำกินเอง 31.6% บริโภคที่โรงเจ 19.4% และอื่นๆ ขณะที่การเดินทางไปทำบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มี 77.4% ระบุว่าไม่ไป มีเพียง 22.6% ที่เดินทางไป โดยมีแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมมากสุด คือ กรุงเทพฯ 11.5% รองลงมาเป็นพระนครศรีอยุธยา 11.2% ชลบุรี 8.6% และเชียงใหม่ 6.8% โดยมีระยะเวลาพักค้างคืนเฉลี่ย 3 วัน
ส่วนสิ่งที่ผู้บริโภคเป็นห่วงช่วงเทศกาลกินเจ คือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ รองลงมาเป็นปัญหาการเมือง ราคาสินค้า น้ำมัน เศรษฐกิจโลก ปัญหาสังคม โรคติดต่อ ส่วนความกังวลต่อสถานการณ์ของประเทศไทย ยังเป็นห่วงความขัดแย้งทางการเมืองทำให้นโยบายการทำงานไม่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น ความไม่โปร่งใสในการทำงานโครงการรัฐและภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำจากนโยบายเศรษฐกิจที่ล่าช้า ทำให้ความเห็น 55.2% ไม่เชื่อมั่นว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะฟื้นเศรษฐกิจได้ มีเพียง 44.8% ที่เชื่อว่าช่วยได้ และมีคนถึง 41% ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยไม่น่าฟื้นตัวในต้นปีหน้า มีเพียง 59% ที่เชื่อว่าจะฟื้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายคนไทยในช่วงเทศกาลกินเจ ระหว่าง 17-26 ต.ค.2552 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,282 คนว่า การใช้จ่ายในเทศกาลกินเจ จะมีเม็ดเงินสะพัด 27,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีการใช้จ่าย 25,000 ล้านบาท ประมาณ 8% โดยการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น มาจากจำนวนผู้บริโภคที่มากขึ้นและราคาสินค้าที่สูงขึ้น แต่ปริมาณการบริโภคยังเท่าเดิม
“กินเจปีนี้คงไม่ซบเซา เพราะผลสำรวจสะท้อนว่าคนยังใช้จ่ายอยู่ แต่เม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นจะมาจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น ไม่ได้มาจากปริมาณการซื้อที่เพิ่มขึ้น บรรยากาศคงไม่ถึงขั้นคึกคักมาก เพราะเมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มีการใช้จ่ายเติบโตถึง 13%”
ทั้งนี้ ผู้ตอบผลสำรวจ 53.1% ระบุว่าปริมาณซื้อสินค้ายังเท่าเดิม รองลงมา 30.3% ซื้อน้อยลง มีเพียง 12.5% เท่านั้นที่ซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายโดยรวม 61.2% ตอบว่าใช้จ่ายเพิ่ม อีก 25.5% เท่าเดิม และมีเพียง 3.3% ที่ใช้จ่ายน้อยลง สำหรับชนิดสินค้าที่ใช้จ่ายเพิ่มมากสุด ได้แก่ ผัก ผลไม้ อาหารเจสำเร็จรูป อาหารเจแช่แข็ง โปรตีนเกษตร รองลงมาเป็นอาหารกระป๋อง เต้าหู้และนมถั่วเหลืองน้ำมันพืช และนม ส่วนการทำบุญแม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่คนไทยยังนิยมทำบุญเพิ่มขึ้น 45.2%
นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย กล่าวว่า พฤติกรรมการกินเจของคนไทยปีนี้ ส่วนใหญ่เลือกกินเพราะตรงกับเทศกาล ตั้งใจทำบุญเพื่อลดการกินเนื้อสัตว์ และยังเป็นแฟชั่น รวมถึงเป็นการแก้บน ขณะที่สาเหตุที่ไม่กินเพราะที่บ้านไม่มีคนกิน เศรษฐกิจไม่ดี อาหารเจแพง และไม่มีเชื้อสายจีน โดยในจำนวนของผู้กินเจกว่า 65.4% บริโภคต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และตั้งใจกินทั้งเทศกาล 62.1% กินบางมื้อที่ 37.9%
สำหรับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารส่วนใหญ่ นิยมบริโภคอาหารสำเร็จรูป 48.6% รองลงมาซื้อมาทำกินเอง 31.6% บริโภคที่โรงเจ 19.4% และอื่นๆ ขณะที่การเดินทางไปทำบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มี 77.4% ระบุว่าไม่ไป มีเพียง 22.6% ที่เดินทางไป โดยมีแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมมากสุด คือ กรุงเทพฯ 11.5% รองลงมาเป็นพระนครศรีอยุธยา 11.2% ชลบุรี 8.6% และเชียงใหม่ 6.8% โดยมีระยะเวลาพักค้างคืนเฉลี่ย 3 วัน
ส่วนสิ่งที่ผู้บริโภคเป็นห่วงช่วงเทศกาลกินเจ คือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ รองลงมาเป็นปัญหาการเมือง ราคาสินค้า น้ำมัน เศรษฐกิจโลก ปัญหาสังคม โรคติดต่อ ส่วนความกังวลต่อสถานการณ์ของประเทศไทย ยังเป็นห่วงความขัดแย้งทางการเมืองทำให้นโยบายการทำงานไม่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น ความไม่โปร่งใสในการทำงานโครงการรัฐและภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำจากนโยบายเศรษฐกิจที่ล่าช้า ทำให้ความเห็น 55.2% ไม่เชื่อมั่นว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะฟื้นเศรษฐกิจได้ มีเพียง 44.8% ที่เชื่อว่าช่วยได้ และมีคนถึง 41% ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยไม่น่าฟื้นตัวในต้นปีหน้า มีเพียง 59% ที่เชื่อว่าจะฟื้น