เอเจนซี– ฮอนด้า มอเตอร์ แถลงวานนี้(10)ว่า จะเรียกคืนรถยนต์เพิ่มขึ้นอีกราว 444,000 คันทั่วโลก เพื่อซ่อมแซมถุงลมนิรภัย หรือ “แอร์แบ็ก” ที่มีข้อบกพร่อง ในขณะที่คู่แข่งรายใหญ่กว่าอย่างค่ายโตโยต้า กำลังจะถูกสอบสวนเพิ่มมากขึ้นอีก เกี่ยวกับความปลอดภัยของรถที่บริษัทเป็นผู้ผลิต ซึ่งถือเป็นวิกฤตคุณภาพครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่โตโยต้าเคยเผชิญมา
เมื่อรวมกับการเรียกคืนที่กระทำมาก่อนหน้านี้ หมายความว่าฮอนด้าซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่นรองจากโตโยต้า ต้องเรียกคืนรถกลับมาแก้ไขปัญหาถุงลมนิรภัยรวมแล้วเกือบ 950,000 คัน โดยที่ข้อบกพร่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่เกิดในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 1 คน และบาดเจ็บอีก 11 คน แต่ยังไม่พบปัญหาดังกล่าวในตลาดอื่นๆ
ขณะที่การเรียกคืนรถมาซ่อมจุดบกพร่องจากโรงงาน ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร อีกทั้งจำนวนที่ฮอนด้าเรียกกลับมาคราวนี้ก็ไม่ถือว่าใหญ่โตมโหฬาร แต่ที่กลายเป็นจุดสนใจกันมากเป็นพิเศษ เนื่องจากช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาอันอ่อนไหวยิ่งของอุตสาหกรรมรถยนต์
ฮอนด้าระบุว่าจากการสอบสวนพบว่า ปัญหาเกิดขึ้นจากอุปกรณ์อัดลมสำหรับถุงลมนิรภัยมีแรงดันไม่เพียงพอ และไม่ใช่ปัญหาการดูดซับความชื้นเข้ามามากเกินไปอย่างที่เคยเชื่อกันมาแต่เดิม
ทั้งนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2008 ฮอนด้าได้เรียกคืนรถยนต์รุ่น “แอคคอร์ด” และ “ซีวิก” จำนวน 4,200 คันที่มีปัญหาเกี่ยวกับถุงลมนิรภัยเป็นครั้งแรก และต่อมาในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ยังเรียกคืนรถเพิ่มอีก 510,000 คันทั่วโลก
เมื่อเดือนที่แล้ว ฮอนด้ายังได้เรียกคืนรถยนต์ทั่วโลกราว 646,000 คัน โดยคราวนี้หลังพบปัญหาบกพร่องที่สวิตช์ปิด-เปิดกระจก
ในส่วนของโตโยต้า มอเตอร์นั้น หลังจากเจอปัญหาคันเร่งในรถหลายรุ่น แล้วตามมาด้วยความบกพร่องในระบบเบรกของรถแบบไฮบริด จนต้องเรียกรถคืนมาซ่อมแซมในทั่วโลกรวมกว่า 8 ล้านคันแล้ว เมื่อวันอังคาร(9) สำนักงานความปลอดภัยของการจราจรทางหลวงแห่งสหรัฐฯ แถลงว่าขณะนี้กำลังพิจารณาคำร้องเรียนอีกหลายสิบรายที่ระบุว่าพวงมาลัยรถยนต์ “โคโรลา” รุ่นใหม่ของโตโยต้าก็มีปัญหาเช่นกัน แต่ยังอยู่ในระหว่างพูดคุยเรื่องนี้กับทางโตโยต้าก่อนที่จะดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นทางการหากพบว่ามีเหตุผลอันควร
ส่วนทางด้านคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ประกาศเลื่อนกำหนดการรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกคืนรถของโตโยต้าในวันพุธ (10) ออกไป เนื่องจากมีพายุหิมะในวอชิงตัน ก่อนหน้านี้ อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการบริหารของโตโยต้ากล่าวเมื่อวันอังคารว่าเขาอาจเดินทางไปสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้าเพื่อชี้แจงปัญหาและแก้ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ
นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าพวกสื่อมีปฏิกิริยาต่อข่าวการเรียกคืนรถยนต์ในระยะนี้มากเกินไป ทั้งๆ ที่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ แต่สิ่งที่น่าห่วงมากกว่าก็คือรายได้ของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปีหน้า เพราะปีนี้จะไม่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเหมือนอย่างในปีนี้แล้ว
เมื่อรวมกับการเรียกคืนที่กระทำมาก่อนหน้านี้ หมายความว่าฮอนด้าซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่นรองจากโตโยต้า ต้องเรียกคืนรถกลับมาแก้ไขปัญหาถุงลมนิรภัยรวมแล้วเกือบ 950,000 คัน โดยที่ข้อบกพร่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่เกิดในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 1 คน และบาดเจ็บอีก 11 คน แต่ยังไม่พบปัญหาดังกล่าวในตลาดอื่นๆ
ขณะที่การเรียกคืนรถมาซ่อมจุดบกพร่องจากโรงงาน ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร อีกทั้งจำนวนที่ฮอนด้าเรียกกลับมาคราวนี้ก็ไม่ถือว่าใหญ่โตมโหฬาร แต่ที่กลายเป็นจุดสนใจกันมากเป็นพิเศษ เนื่องจากช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาอันอ่อนไหวยิ่งของอุตสาหกรรมรถยนต์
ฮอนด้าระบุว่าจากการสอบสวนพบว่า ปัญหาเกิดขึ้นจากอุปกรณ์อัดลมสำหรับถุงลมนิรภัยมีแรงดันไม่เพียงพอ และไม่ใช่ปัญหาการดูดซับความชื้นเข้ามามากเกินไปอย่างที่เคยเชื่อกันมาแต่เดิม
ทั้งนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2008 ฮอนด้าได้เรียกคืนรถยนต์รุ่น “แอคคอร์ด” และ “ซีวิก” จำนวน 4,200 คันที่มีปัญหาเกี่ยวกับถุงลมนิรภัยเป็นครั้งแรก และต่อมาในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ยังเรียกคืนรถเพิ่มอีก 510,000 คันทั่วโลก
เมื่อเดือนที่แล้ว ฮอนด้ายังได้เรียกคืนรถยนต์ทั่วโลกราว 646,000 คัน โดยคราวนี้หลังพบปัญหาบกพร่องที่สวิตช์ปิด-เปิดกระจก
ในส่วนของโตโยต้า มอเตอร์นั้น หลังจากเจอปัญหาคันเร่งในรถหลายรุ่น แล้วตามมาด้วยความบกพร่องในระบบเบรกของรถแบบไฮบริด จนต้องเรียกรถคืนมาซ่อมแซมในทั่วโลกรวมกว่า 8 ล้านคันแล้ว เมื่อวันอังคาร(9) สำนักงานความปลอดภัยของการจราจรทางหลวงแห่งสหรัฐฯ แถลงว่าขณะนี้กำลังพิจารณาคำร้องเรียนอีกหลายสิบรายที่ระบุว่าพวงมาลัยรถยนต์ “โคโรลา” รุ่นใหม่ของโตโยต้าก็มีปัญหาเช่นกัน แต่ยังอยู่ในระหว่างพูดคุยเรื่องนี้กับทางโตโยต้าก่อนที่จะดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นทางการหากพบว่ามีเหตุผลอันควร
ส่วนทางด้านคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ประกาศเลื่อนกำหนดการรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกคืนรถของโตโยต้าในวันพุธ (10) ออกไป เนื่องจากมีพายุหิมะในวอชิงตัน ก่อนหน้านี้ อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการบริหารของโตโยต้ากล่าวเมื่อวันอังคารว่าเขาอาจเดินทางไปสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้าเพื่อชี้แจงปัญหาและแก้ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ
นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าพวกสื่อมีปฏิกิริยาต่อข่าวการเรียกคืนรถยนต์ในระยะนี้มากเกินไป ทั้งๆ ที่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ แต่สิ่งที่น่าห่วงมากกว่าก็คือรายได้ของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปีหน้า เพราะปีนี้จะไม่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเหมือนอย่างในปีนี้แล้ว