xs
xsm
sm
md
lg

78 ปี สภาวการณ์เผด็จการและความขัดแย้ง 4 ฝ่ายยังคงเดิม

เผยแพร่:   โดย: ดร.ป. เพชรอริยะ

พรรคร่วมฯ มี นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นแกนนำ มีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใน 2 ประเด็น คือ (1) เพื่อแก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้งจากเขตใหญ่เรียงเบอร์ กลับไปใช้การเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว (2) แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 เรื่องการทำสนธิสัญญาต่างประเทศโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา

ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์มีมติ 82:48 เสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งสองฝ่ายมีจุดยืนอย่างไร เพื่อประชาชน หรือเพื่อให้ฝ่ายตนได้เปรียบ เรานำท่านมาพิสูจน์กันด้วย ศาสตร์ (Science) และศิลปะ (Art) คือการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับความเป็นไทย

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า การเลือกตั้งเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองแบบปกติ การเลือกตั้งจึงถือว่าเป็นวิธีการเลือกตั้งของระบอบการเมืองแบบไหนก็ได้ เพราะการเลือกตั้งเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่ง วิธีการย่อมเป็นของกลาง ระบอบไหนๆ ก็เอาไปใช้ได้ อย่าหลงเข้าใจผิดตามคำโฆษณาชวนเชื่อของผู้ปกครองว่ามีการเลือกตั้งแล้วเป็นประชาธิปไตยเสมอไป

การเลือกตั้งโดยธรรม เป็นธรรมต่อประชาชนทุกคน เรียกกันง่ายๆ ว่า วันแมน วันโหวต หมายความว่า ประชาชนหนึ่งคน มีสิทธิไปกาบัตรเลือกตั้งได้เพียงหนึ่งเสียง คือ ศาสตร์ของการเลือกตั้งโดยธรรมซึ่งเป็นสากล

พรรคร่วมฯ เสนอแก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้งจากเขตใหญ่เรียงเบอร์ กลับไปใช้การเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวถือได้ว่า เสนอถูกต้องในเชิงศาสตร์ คือหนึ่งคนเลือกได้เพียงคนเดียวหรือวันแมนวันโหวต แต่ในเชิงศิลปะ ประยุกต์ใช้ที่ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย คือ กำหนดให้มีเป็นเขตเล็กตายตัว เป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว มีผลเสียตามมามากมาย เช่น จะก่อให้เกิดการลอบสังหารตัวเต็งที่จะได้เป็น ส.ส. และง่ายต่อการซื้อเสียง เป็นประโยชน์ต่อนายทุน หรือพวกนักธุรกิจการเมือง ตัวแทนสาขาอาชีพอื่นๆ ผู้มีความสามารถแต่ขาดเงินตรา ก็ยากที่จะได้รับการเลือกตั้ง การเลือกตั้งลักษณะนี้ยากนักที่จะทำให้ประชาชนตื่นตัว

ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์
เสนอและนิยมชมชอบตามมติของพรรคประชาธิปัตย์ การเลือกตั้งแบบปัจจุบัน แบบเขตใหญ่เรียงเบอร์นี้ จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ มองในเชิง ศาสตร์ มันไม่ถูกต้อง ไม่ยุติธรรมเพราะหนึ่งคนมี 3 เสียง หรือกาได้ 3 เบอร์ หรือเลือกผู้แทนฯ ได้ 3 คน บางเขตหนึ่งคนมี 2 เสียง หรือกาได้ 2 เบอร์ หรือเลือกผู้แทนฯ ได้ 2 คน บางเขตเลือกผู้แทนฯ ได้เพียงคนเดียวมัน เห็นชัดๆ ว่ามันไม่ยุติธรรมต่อประชาชน สอนประชาชนไม่ให้รู้จักความยุติธรรม จะอ้างอย่างไรมันไม่มีความเป็นธรรม มันไม่เสมอภาค เป็นการสอนให้ประชาชนชาชินกับการเลือกตั้งแบบผิดๆ ส่วนมุมมองในเชิงศิลปะ คือการประยุกต์ ถือว่าเหมาะสมกับประเทศไทย

สรุปแนวคิดของพรรคร่วมฯ โดยนายบรรหาร ศิลปอาชากับพรรคประชาธิปัตย์ ได้ดังนี้

หากทั้งสองฝ่ายได้ปรับตัวปรับใจเข้าหาสู่ความถูกต้อง จะก่อให้เกิดความสามัคคีในความถูกต้องทั้งศาสตร์และศิลปะ ประโยชน์ของชาติและประชาชน ดีกว่าแตกความสามัคคีต่างก็อยู่ในจุดยืนของใครของมันอย่างไม่ถูกต้อง

78 ปี สภาวการณ์เผด็จการและความขัดแย้ง 4 ฝ่าย ยังคงเดิม

นับแต่ คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการเมือง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ยึดอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ไปเป็นอำนาจของคณะบุคคลผู้ได้เป็นรัฐบาล โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการปกครอง ดังจะเห็นจากคำกราบบังคมทูลของคณะราษฎรหลังจากยึดอำนาจแล้วว่า “...คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ก็เพื่อที่จะให้มีรัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดิน...”

และผลของการปกครองอย่างไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม เป็นเหตุก่อให้เกิด กลุ่มอำนาจทางการเมืองต่างๆ เกิดขึ้นอย่างน้อย 4 ฝ่าย ที่ได้แตกหน่อมาจากคณะราษฎร เมื่อ 2475 ทุกฝ่ายต่างก็ยึดมั่นในรัฐธรรมนูญ คือเข้าใจว่า รัฐธรรมนูญ คือระบอบประชาธิปไตย กลายเป็นลัทธิรัฐธรรมนูญ มีเพียงประเทศเดียวในโลกที่หลงผิดเช่นนี้ ได้แก่ กลุ่มนายปรีดี พนมยงค์, กลุ่มคอมมิวนิสต์ที่แอบอิงนายปรีดีและพรรคการเมืองต่างๆ และอิงทักษิณ, กลุ่มนายทหาร, กลุ่มนายควง-คึกฤทธิ์

ผ่านมายาวนาน 78 ปี กลุ่มการเมืองต่างๆ ก็ยังคงดำรงแนวคิดอยู่เหมือนเดิม บางครั้งร่วมมือกัน บางครั้งขัดแย้งกัน ผลัดกันโค่นอำนาจ ต่างก็สืบทอดลัทธิรัฐธรรมนูญเรื่อยมา เป็นหนทางของความขัดแย้ง ...เข่นฆ่า รัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง โกงชาติ... เป็นเช่นนี้เรื่อยมากลายเป็นวงจรอุบาทว์ เพราะความเห็นผิดมาแต่ต้น และต่างก็สืบทอดกันมาอย่างผิดๆ สอนๆ กันมาอย่างผิด โดยไม่ได้เฉลียวใจเลยแม้แต่น้อย น่าจะฉุกคิดกันได้แล้วว่า รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ระบอบฯ หรือหลักการปกครองกับรัฐธรรมนูญ เป็นคนละส่วนกัน แต่อิงอาศัยกัน ดุจดังจิตกับกายหรือดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ เป็นต้น

ขณะนี้ เราจะเห็นได้ชัดถึงความเข้าใจผิดอย่างร้าย ต่างฝ่ายต่างก็เรียกร้องประชาธิปไตย ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องประชาธิปไตย โดยชูรัฐธรรมนูญ ปี 40 อีกฝ่ายหนึ่งชูรัฐธรรมนูญ ปี 50

แท้ที่จริงรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ และฉบับก่อนๆ ล้วนแล้วแต่ไม่มีระบอบหรือหลักการปกครอง มีแต่รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมาย ได้แก่ หมวดและมาตราต่างๆ เปรียบดังมีแต่กาย ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ หรือหากปราศจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ มันก็ดำรงอยู่ไม่ ฉันใด รัฐธรรมนูญปราศจากหลักการปกครอง มันก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้น เพราะมันจัดความสัมพันธ์ผิด ผิดอย่างร้ายแรง มันจึงดำรงอยู่ไม่ได้ มันก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติ มันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของคนในชาติ มันทำให้คนในชาติยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ผิดอย่างน่าสังเวชใจที่สุด และการแก้ไขสิ่งนี้ก็ยากที่สุด แต่มันก็ต้องพยายามๆ เพราะมันเป็นลัทธิ แนวคิดที่ทำลายชาติให้เสื่อมถอย มันทำให้ประเทศชาติและประชาชนประสบความหายะ

รัฐธรรมนูญที่ปราศจากหลักการปกครองโดยธรรม นั่นเป็นเหตุของความขัดแย้ง เหตุของการต่อต้าน ก็เพราะว่า รัฐธรรมนูญ คือมาตราต่างๆ มันเป็นวิธีการปกครอง หรือมรรควิธีการปกครอง หรือหนทางของการปกครอง นั่นก็หมายความว่า เรามีแต่หนทางของการปกครอง แต่จุดมุ่งหมายไม่มี ประชาชนเลยไม่รู้ว่าปกครองไปทางไหน ไปทางทิศใด และคนที่จะใช้หนทางการปกครอง ก็คือรัฐบาล แสดงว่าไปได้เฉพาะฝ่ายที่เป็นรัฐบาล ใครขึ้นมาเป็นรัฐบาล อีกฝ่ายก็ไม่พอใจ เพราะมันกลายเป็นทางใครทางมัน และจุดมุ่งหมายก็ต่างกันของใครของมัน มันจึงเป็นเหตุของความขัดแย้ง รัฐบาลไหนๆ ก็จะไม่รู้ตัวและคิดว่าตัวเองทำดีที่สุดแล้ว แต่กลายเป็นความเลว ยิ่งอยู่นานยิ่งเลว ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ผิดไปจากธรรมนั่นเอง

หากว่า ผู้ปกครองได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นความบกพร่องของการปกครองไทย ก็ริเริ่มสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม ก็คือ จุดหมายร่วมของคนทุกคนนั่นเอง ส่วนรัฐธรรมนูญ ก็คือหนทางของการปกครอง ใครมาเป็นรัฐบาล ก็บริหารราชการแผ่นดินไปสู่จุดมุ่งหมายโดยธรรมนั่นเอง สมมติเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย หลักการปกครองเปรียบกับกรุงเทพฯ ส่วนรัฐธรรมนูญเปรียบดังถนนหนทางสู่กรุงเทพฯ รัฐบาลจะนำพาประชาชนไปสู่กรุงเทพฯ ด้วยนโยบายว่า ไปด้วยรถไฟ บางพรรคบอกว่าไปด้วยเครื่องบิน เพราะโดยธรรมชาติของคน ความสามารถต่างกัน ศักยภาพต่างกัน เหล่านี้เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ แต่ทุกคนก็สามารถไปสู่จุดมุ่งหมายที่เป็นธรรมร่วมกันได้ตามศักยภาพ บางคนเดิน บางคนวิ่ง มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ แต่ปวงชนในชาติต่างก็มีสิทธิที่จะไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันได้ คือ กรุงเทพฯ ในที่นี้ก็ คือหลักการปกครองโดยธรรมนั่นเอง

หากอยากได้ ระบอบประชาธิปไตย หรือ ธรรมาธิปไตย กลุ่มการเมืองนั้นๆ ก็เสนอหลักการปกครองโดยธรรม ที่ผ่านการคิดค้น วิจัย สังเคราะห์กันมาอย่างดีแล้ว เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า มีความยุติธรรมสากล คือเป็นเป็นธรรมและก่อให้เกิดความมั่นคงของชาติและประชาชน

ไม่ใช่อยากได้ประชาธิปไตย แต่ไปดันเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ฉบับนั้น ฉบับนี้ หรือยึดมั่นรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ฉบับนี้ มันเป็นความเห็นผิดที่ทำลายชาติและหลอกลวงประชาชนอย่างน่าสังเวชใจที่สุด ใครจะเกิดปัญญาบ้างไหมหนอ ขอนายกฯ เพียงคนเดียวก็เกินพอ แต่คงยาก

ตัวอย่างผลของระบอบเผด็จการ เสธ.แดง หรือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เปรียบเสมือนเพลี้ยกัดกินกองทัพ ทั้งนี้เพราะกองทัพอ่อนแอ กองทัพอ่อนแอเพราะกองทัพไทยเป็นกองทัพที่อยู่ใต้ระบอบเผด็จการ เมื่ออยู่ใต้ระบอบเผด็จการ กองทัพจึงถูกทำลาย และตกเป็นฝ่ายตั้งรับทางการเมืองของฝ่ายแดง ทั้งนี้เพื่อโค่นทำลายกองทัพที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ ไปเป็นกองทัพอย่างอื่น เช่น กองทัพที่มีเลขาพรรคฯ เป็นจอมทัพ หรือมีประธานาธิบดีเป็นจอมทัพก็เท่านั้นเอง
กำลังโหลดความคิดเห็น