ASTV ผู้จัดการรายวัน-"มาร์ค" แจงไม่สนับสนุนแก้รัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้ง มั่นใจการทำงานกับพรรคร่วมยังราบรื่น ไม่กังวลเสียงตัดพ้อ ยึดภารกิจหลักฟื้นเศรษฐกิจ "เทือก"เตรียมนัดหารือพรรคร่วม ด้าน"เพื่อไทย" ยุพรรคร่วมถอนตัว หากปชป.ไม่ร่วมแก้
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (31 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" ทางระบบ Tele Presence จากเมืองดาวอส สหพันธรัฐสวิสว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตอนที่จัดตั้งรัฐบาลก็เป็นประเด็นหนึ่งที่มีการหยิบยกมาคุยกัน และได้พูดกันชัดเจนว่า
1. ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประเด็นไม่ควรที่จะทำ เพราะทำแล้วจะเกิดความขัดแย้ง เพราะว่าปี 2551 ชนวนของการเคลื่อนไหวชุมนุมกันก็คือเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ก็เห็นตรงกัน เช่น ประเด็นไหนที่นำไปสู่เรื่องการนิรโทษกรรม เรื่องอะไร เราก็บอกว่าอย่าไปทำ
2. เราบอกว่าถ้าการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นที่มีความจำเป็น เช่น เขียนในทางเทคนิคแล้วมันเป็นอุปสรรค ประเด็นไหนที่คิดว่าจะส่งเสริมประชาธิปไตยให้แก้ไขแล้ว อันนี้ตกลงกันเลยว่าจะเดินหน้าด้วยกัน ขณะเดียวกันก็มีรัฐธรรมนูญอีกหลายมาตรา หลายประเด็น ซึ่งไม่เข้าข่าย ทั้งเรื่องการไปนิรโทษกรรม สร้างความขัดแย้ง และก็ไม่ได้เป็นการแก้ไขหรือว่าพัฒนาระบอบประชาธิปไตยโดยตรง หนึ่งในประเด็นเหล่านั้นคือ เรื่องเขตเลือกตั้ง
"ผมพูดกับพรรคร่วมตั้งแต่ตอนที่ไปคุยกับเขาตอนจัดตั้งรัฐบาลว่า ประเด็นนี้ความเห็นเรายังไม่ตรงกัน พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ไปเสนอตอนที่เขามีการทำร่างรัฐธรรมนูญว่า เราเชื่อว่าระบบปัจจุบันที่เป็นเขตใหญ่ มันดีกว่า เพราะว่าเราเห็นว่ามันลดความแตกแยกในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันรุนแรงน้อยกว่า จะแก้ปัญหาธุรกิจการเมืองได้ส่วนหนึ่งด้วย และเห็นว่าการที่เป็นเขตใหญ่ ช่วยให้ส.ส มีความตระหนักถึงภาระหน้าที่ระดับชาติมากกว่า แต่พรรคร่วมเขาก็เห็นอีกแบบ เขาก็บอกว่าเขตเล็กมีประชาชนทั่วถึงกว่า มีความเป็นสากลกว่า เราก็พูดไปบอกตรงนี้ มันก็คงเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกันไป จนกว่าเราจะสามารถที่โน้มน้าวอีกฝ่ายหนึ่งให้เห็นตรงกันได้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้ว เราก็มาทำเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อความสมานฉันท์ แต่ตอนนั้นเราก็บอกว่าฝ่ายค้านต้องเอาด้วยนะ เพราะไม่อย่างนั้นมันก็ไม่สมานฉันท์จริง และถ้าเอาด้วยแล้วก็มาถามประชามติประชาชน แต่ว่าต่อมาฝ่ายค้านถอนตัวไป อันนั้นก็ล้มเลิกไป
ส่วนประเด็นที่เขาเสนอมาตรงนี้ พรรคร่วมเองเขาก็บอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของสภาฯ เพราะฉะนั้นอยากให้ประชาธิปัตย์สนับสนุนไหม อยาก แต่ว่าถ้าประชาธิปัตย์ไม่สนับสนุน อันนี้เขาก็ถือว่าเป็นสิทธิของแต่ละพรรค ก็เป็นเรื่องของสภาฯ ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการนำเสนอ ฉะนั้นตนก็เห็นว่าหลายท่านในพรรคร่วมก็ออกมาให้สัมภาษณ์ชัดเจน เพราะฉะนั้นต้องแยกกัน เรื่องฝ่ายบริหารก็ส่วนฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาฯก็ส่วนสภาฯ
"ผมคิดว่าถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และหลังจากที่ประชาธิปัตย์มีมติในเรื่องนี้เมื่อวันอังคาร การทำงานวันพุธ พฤหัสบดี ศุกร์ กับเพื่อนร่วมรัฐบาลหลายพรรคก็เป็นไปตามปกติ ไปประชุมเรื่องการออกงาน เรื่องการงานในสภาฯ ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่นดี ไม่มีอะไร"นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่าแต่ท่าทีที่ออกมา ที่มีการส่งจดหมายเปิดผนึก มีการขู่ว่าอาจจะมีการฟรีโหวต นายกฯ กล่าวว่า " ก็เป็นธรรมดา อาจจะผิดหวัง ตัดพ้อต่อว่า ท่านมีสิทธิ์ ไม่ว่ากันนะครับ ผมไม่หนักใจครับ เพราะว่าผมคิดว่าการตัดสินใจของผม ก็อยู่บนสิ่งที่ผมเชื่อว่าเป็นประโยชน์ของส่วนรวม และเราก็อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ความเห็นก็แตกต่างกันได้ ไม่เป็นปัญหา"
เมื่อถามว่า แต่ก็มีเสียงเหมือนกันว่าอยากจะให้ประชาธิปัตย์เปลี่ยนใจ มีโอกาสไหม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าพูดอย่างนั้น ตนก็อยากบอกว่า คนในประชาธิปัตย์อาจจะอยากให้คนในพรรคร่วมเปลี่ยนใจเหมือนกัน ก็มาพูดคุยกันได้ ไม่มีปัญหาอะไร
**"เทือก"เตรียมนัดถกพรรคร่วม
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ตนจะพยายามจะทำความเข้าใจกับพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้เข้าใจกับพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี โดยจะพยายามไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้กำหนดวันและเวลาที่จะนัดพบกับพรรคร่วมฯ
"ผมจะพยายามคุยกับพรรคร่วมว่า การเป็นพรรคร่วมฯ มีเรื่องอื่นๆที่ต้องทำอีกหลายเรื่อง การแก้ไขรธน.เป็นเพียง 1 เรื่อง ที่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ต้องมีต่อกัน แต่ภารกิจหลักคือดูแลแก้ไขปัญหาของประเทศและประชาชน ส่วนกรณีที่ยังมีสมาชิกพรรคตอบโต้กันไปมาอยู่นั้น ผมก็พยายามจะขอร้อง คนเราต้องพยายามทำให้เหตุการณ์ค่อยๆ เบาบางลง เรื่องใหญ่ทำให้เป็นเรื่องกลาง เรื่องกลางทำให้เป็นเรื่องเล็ก เรื่องเล็กทำให้หมดไป อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าช่วยกัน แต่เอะอะอะไรก็ไม่ได้ คุณว่าผมคำหนึ่ง ผมต้องว่ากลับไปสามคำ อย่างนั้นก็เหนื่อย" นายสุเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ ย่ามใจและมั่นใจว่าสามารถคุมสภาพพรรคร่วมฯได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ตนไม่ได้คิดจะไปกดหัวใคร ตนกราบมือกราบเท้าเขาอยู่ตลอดเวลา กราบทุกคนทั้งในพรรคและนอกพรรค เพื่อหวังให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย
เมื่อถามถึงกรณีที่นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวนายกฯ ยังไม่หยุดพูด เป็นเพราะเป็นโฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า
"อย่าให้ลามไปถึงตัวนายกฯเลย เอาเฉพาะนายเทพไท ก็พอ คนในพรรคมีอยู่ 170 กว่าคน มันก็อื้อหือ เลขาพรรคอำนาจน้อยมาก ไม่มีอำนาจแล้ว"
นายสุเทพ กล่าวว่า ตนยังคิดว่าการเมืองยังจะทำให้นิ่งได้อยู่ขอให้ค่อยๆดูไป ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลยังไม่เสียหาย ยังดีอยู่
**กล่อมพรรคร่วมรับมือศึกซักฟอก
ด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พรรคมั่นใจว่าปัญหาน่าจะจบลงแล้ว ซึ่งมีเหตุผลสำคัญ คือ 1. ผู้ใหญ่ในพรรคร่วมรัฐบาลเข้าใจถึงสถานการณ์ของประประเทศ และจะเป็นปัญหา หากมีเกิดมีการเปลี่ยนแปลงในขณะนี้
2. สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวเลขที่เติบโตในการส่งออก ท่องเที่ยว และสินค้าเกษตร ทั้งนี้ หากมีการสะดุดในเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลและการเมือง จะเป็นปัญหากระทบในเรื่องความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจไปด้วย
3. พรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ ต้องร่วมกันจับมือตั้งรับเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในเดือนก.พ.นี้ และน่าจะมี 3 คน เป็นอย่างน้อยที่จะถูกอภิปราย เช่น นายกรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ
4. พรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาลต้องจับมือกัน ในการบริหารงบประมาณไทยเข้มแข็ง ซึ่งกำลังเริ่มที่จะอนุมัติงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลประโยชน์ไปถึงพี่น้องประชาชนอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม
5. ผลโพลและความรู้สึกประชาชนส่วนใหญ่ ต้องการเห็นความมั่นคงรัฐบาลที่จะเดินหน้าในการบริหารประเทศต่อไป เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งอยู่ในขณะนี้
"เรามั่นใจว่า ทุกพรรคการเมืองและพรรคร่วมรัฐบาลอยากเห็นความมั่นคงที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ และเสียงสะท้อนจากประชาชนส่วนใหญ่ อยากเห็นรัฐบาลมีความมั่นคงและเสถียรภาพในการบริหารประเทศต่อไป" นายสาธิตกล่าว
**ไม่ปิดกั้นพรรคร่วมแก้รธน.
อย่างไรก็ตาม ทางเราไม่ได้ปิดโอกาส เพราะว่านโยบายเรื่องหนึ่งของรัฐบาลชุดนี้ ก็มีเรื่องของการปฏิรูปการเมือง เพียงแต่ว่ารูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะไปเป็นหนึ่งในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งอาจจะย้อนกลับไปในอดีตที่เคยคิดเคยพูดกันมา โดยอาจจะให้มีคณะกรรมการใดคณะหนึ่งขึ้นมาทำ ซึ่งไม่ใช่ภาคการเมือง หรือย้อนกลับไปถึงคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ในการแก้ไข 6 ประเด็น ที่ให้ทุกฝ่ายเข้าร่วม ซึ่งอาจจะเอาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเขตเล็ก เขตใหญ่ มาตรา 190 เป็นหนึ่งการในการปฏิรูปการเมือง ก็เป็นได้ในอนาคต
**"เพื่อไทย"ยุพรรคร่วมถอนตัว
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาลเตรียมยื่นเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา เข้าสู่สภาฯในวันที่ 3 ก.พ.นั้น พรรคเพื่อไทยเชื่อว่าอาจต้องแท้งก่อนเกิด เพราะแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอาจใจไม่ถึงพอที่จะดำเนินการ เนื่องจากยังยึดติดกับตำแหน่ง อำนาจ และผลประโยชน์ โดยล่าสุดมีกระแสข่าวว่าแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลได้สั่งการให้รัฐมนตรี และส.ส.ของตัวเองหยุดการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ เพราะเกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งบานปลายไปจนถึงขั้นยุบสภา แม้จะไม่พอใจอย่างไร ก็ต้องยอมกลืนเลือดเพราะไม่ต้องการเป็นฝ่ายค้าน
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า ขอเรียกร้องพรรคร่วมรัฐบาลให้ตัดสินใจโดยยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน อย่าใช้เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญมาเป็นประเด็นต่อรองทางการเมือง เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มากลับลำเช่นนี้ หากพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง และประโยชน์ส่วนตัว ก็ควรแสดงจุดยืนด้วยการถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลประสานมายังแกนนำพรรคเพื่อไทย เพื่อเปลี่ยนขั้วทางการเมืองหรือไม่ นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า มีการประสานกับแกนนำในพรรคมาบ้างเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยพรรคเพื่อไทยยังยืนยันว่าหากแก้แค่ 2 ประเด็นจะไม่ร่วมด้วย แต่หากใช้รัฐธรรมนูญ 2540 หรือฉบับของคพปร. จะร่วมด้วย ส่วนจะให้ถึงขั้นเปลี่ยนขั้วรัฐบาลนั้นคงยาก เพราะพรรคร่วมรัฐบาลยังมีผลประโยชน์อยู่ และมีกองทัพกดดันพรรคร่วมไม่ให้ถอนตัว
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (31 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" ทางระบบ Tele Presence จากเมืองดาวอส สหพันธรัฐสวิสว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตอนที่จัดตั้งรัฐบาลก็เป็นประเด็นหนึ่งที่มีการหยิบยกมาคุยกัน และได้พูดกันชัดเจนว่า
1. ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประเด็นไม่ควรที่จะทำ เพราะทำแล้วจะเกิดความขัดแย้ง เพราะว่าปี 2551 ชนวนของการเคลื่อนไหวชุมนุมกันก็คือเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ก็เห็นตรงกัน เช่น ประเด็นไหนที่นำไปสู่เรื่องการนิรโทษกรรม เรื่องอะไร เราก็บอกว่าอย่าไปทำ
2. เราบอกว่าถ้าการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นที่มีความจำเป็น เช่น เขียนในทางเทคนิคแล้วมันเป็นอุปสรรค ประเด็นไหนที่คิดว่าจะส่งเสริมประชาธิปไตยให้แก้ไขแล้ว อันนี้ตกลงกันเลยว่าจะเดินหน้าด้วยกัน ขณะเดียวกันก็มีรัฐธรรมนูญอีกหลายมาตรา หลายประเด็น ซึ่งไม่เข้าข่าย ทั้งเรื่องการไปนิรโทษกรรม สร้างความขัดแย้ง และก็ไม่ได้เป็นการแก้ไขหรือว่าพัฒนาระบอบประชาธิปไตยโดยตรง หนึ่งในประเด็นเหล่านั้นคือ เรื่องเขตเลือกตั้ง
"ผมพูดกับพรรคร่วมตั้งแต่ตอนที่ไปคุยกับเขาตอนจัดตั้งรัฐบาลว่า ประเด็นนี้ความเห็นเรายังไม่ตรงกัน พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ไปเสนอตอนที่เขามีการทำร่างรัฐธรรมนูญว่า เราเชื่อว่าระบบปัจจุบันที่เป็นเขตใหญ่ มันดีกว่า เพราะว่าเราเห็นว่ามันลดความแตกแยกในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันรุนแรงน้อยกว่า จะแก้ปัญหาธุรกิจการเมืองได้ส่วนหนึ่งด้วย และเห็นว่าการที่เป็นเขตใหญ่ ช่วยให้ส.ส มีความตระหนักถึงภาระหน้าที่ระดับชาติมากกว่า แต่พรรคร่วมเขาก็เห็นอีกแบบ เขาก็บอกว่าเขตเล็กมีประชาชนทั่วถึงกว่า มีความเป็นสากลกว่า เราก็พูดไปบอกตรงนี้ มันก็คงเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกันไป จนกว่าเราจะสามารถที่โน้มน้าวอีกฝ่ายหนึ่งให้เห็นตรงกันได้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้ว เราก็มาทำเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อความสมานฉันท์ แต่ตอนนั้นเราก็บอกว่าฝ่ายค้านต้องเอาด้วยนะ เพราะไม่อย่างนั้นมันก็ไม่สมานฉันท์จริง และถ้าเอาด้วยแล้วก็มาถามประชามติประชาชน แต่ว่าต่อมาฝ่ายค้านถอนตัวไป อันนั้นก็ล้มเลิกไป
ส่วนประเด็นที่เขาเสนอมาตรงนี้ พรรคร่วมเองเขาก็บอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของสภาฯ เพราะฉะนั้นอยากให้ประชาธิปัตย์สนับสนุนไหม อยาก แต่ว่าถ้าประชาธิปัตย์ไม่สนับสนุน อันนี้เขาก็ถือว่าเป็นสิทธิของแต่ละพรรค ก็เป็นเรื่องของสภาฯ ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการนำเสนอ ฉะนั้นตนก็เห็นว่าหลายท่านในพรรคร่วมก็ออกมาให้สัมภาษณ์ชัดเจน เพราะฉะนั้นต้องแยกกัน เรื่องฝ่ายบริหารก็ส่วนฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาฯก็ส่วนสภาฯ
"ผมคิดว่าถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และหลังจากที่ประชาธิปัตย์มีมติในเรื่องนี้เมื่อวันอังคาร การทำงานวันพุธ พฤหัสบดี ศุกร์ กับเพื่อนร่วมรัฐบาลหลายพรรคก็เป็นไปตามปกติ ไปประชุมเรื่องการออกงาน เรื่องการงานในสภาฯ ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่นดี ไม่มีอะไร"นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่าแต่ท่าทีที่ออกมา ที่มีการส่งจดหมายเปิดผนึก มีการขู่ว่าอาจจะมีการฟรีโหวต นายกฯ กล่าวว่า " ก็เป็นธรรมดา อาจจะผิดหวัง ตัดพ้อต่อว่า ท่านมีสิทธิ์ ไม่ว่ากันนะครับ ผมไม่หนักใจครับ เพราะว่าผมคิดว่าการตัดสินใจของผม ก็อยู่บนสิ่งที่ผมเชื่อว่าเป็นประโยชน์ของส่วนรวม และเราก็อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ความเห็นก็แตกต่างกันได้ ไม่เป็นปัญหา"
เมื่อถามว่า แต่ก็มีเสียงเหมือนกันว่าอยากจะให้ประชาธิปัตย์เปลี่ยนใจ มีโอกาสไหม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าพูดอย่างนั้น ตนก็อยากบอกว่า คนในประชาธิปัตย์อาจจะอยากให้คนในพรรคร่วมเปลี่ยนใจเหมือนกัน ก็มาพูดคุยกันได้ ไม่มีปัญหาอะไร
**"เทือก"เตรียมนัดถกพรรคร่วม
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ตนจะพยายามจะทำความเข้าใจกับพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้เข้าใจกับพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี โดยจะพยายามไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้กำหนดวันและเวลาที่จะนัดพบกับพรรคร่วมฯ
"ผมจะพยายามคุยกับพรรคร่วมว่า การเป็นพรรคร่วมฯ มีเรื่องอื่นๆที่ต้องทำอีกหลายเรื่อง การแก้ไขรธน.เป็นเพียง 1 เรื่อง ที่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ต้องมีต่อกัน แต่ภารกิจหลักคือดูแลแก้ไขปัญหาของประเทศและประชาชน ส่วนกรณีที่ยังมีสมาชิกพรรคตอบโต้กันไปมาอยู่นั้น ผมก็พยายามจะขอร้อง คนเราต้องพยายามทำให้เหตุการณ์ค่อยๆ เบาบางลง เรื่องใหญ่ทำให้เป็นเรื่องกลาง เรื่องกลางทำให้เป็นเรื่องเล็ก เรื่องเล็กทำให้หมดไป อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าช่วยกัน แต่เอะอะอะไรก็ไม่ได้ คุณว่าผมคำหนึ่ง ผมต้องว่ากลับไปสามคำ อย่างนั้นก็เหนื่อย" นายสุเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ ย่ามใจและมั่นใจว่าสามารถคุมสภาพพรรคร่วมฯได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ตนไม่ได้คิดจะไปกดหัวใคร ตนกราบมือกราบเท้าเขาอยู่ตลอดเวลา กราบทุกคนทั้งในพรรคและนอกพรรค เพื่อหวังให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย
เมื่อถามถึงกรณีที่นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวนายกฯ ยังไม่หยุดพูด เป็นเพราะเป็นโฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า
"อย่าให้ลามไปถึงตัวนายกฯเลย เอาเฉพาะนายเทพไท ก็พอ คนในพรรคมีอยู่ 170 กว่าคน มันก็อื้อหือ เลขาพรรคอำนาจน้อยมาก ไม่มีอำนาจแล้ว"
นายสุเทพ กล่าวว่า ตนยังคิดว่าการเมืองยังจะทำให้นิ่งได้อยู่ขอให้ค่อยๆดูไป ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลยังไม่เสียหาย ยังดีอยู่
**กล่อมพรรคร่วมรับมือศึกซักฟอก
ด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พรรคมั่นใจว่าปัญหาน่าจะจบลงแล้ว ซึ่งมีเหตุผลสำคัญ คือ 1. ผู้ใหญ่ในพรรคร่วมรัฐบาลเข้าใจถึงสถานการณ์ของประประเทศ และจะเป็นปัญหา หากมีเกิดมีการเปลี่ยนแปลงในขณะนี้
2. สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวเลขที่เติบโตในการส่งออก ท่องเที่ยว และสินค้าเกษตร ทั้งนี้ หากมีการสะดุดในเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลและการเมือง จะเป็นปัญหากระทบในเรื่องความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจไปด้วย
3. พรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ ต้องร่วมกันจับมือตั้งรับเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในเดือนก.พ.นี้ และน่าจะมี 3 คน เป็นอย่างน้อยที่จะถูกอภิปราย เช่น นายกรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ
4. พรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาลต้องจับมือกัน ในการบริหารงบประมาณไทยเข้มแข็ง ซึ่งกำลังเริ่มที่จะอนุมัติงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลประโยชน์ไปถึงพี่น้องประชาชนอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม
5. ผลโพลและความรู้สึกประชาชนส่วนใหญ่ ต้องการเห็นความมั่นคงรัฐบาลที่จะเดินหน้าในการบริหารประเทศต่อไป เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งอยู่ในขณะนี้
"เรามั่นใจว่า ทุกพรรคการเมืองและพรรคร่วมรัฐบาลอยากเห็นความมั่นคงที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ และเสียงสะท้อนจากประชาชนส่วนใหญ่ อยากเห็นรัฐบาลมีความมั่นคงและเสถียรภาพในการบริหารประเทศต่อไป" นายสาธิตกล่าว
**ไม่ปิดกั้นพรรคร่วมแก้รธน.
อย่างไรก็ตาม ทางเราไม่ได้ปิดโอกาส เพราะว่านโยบายเรื่องหนึ่งของรัฐบาลชุดนี้ ก็มีเรื่องของการปฏิรูปการเมือง เพียงแต่ว่ารูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะไปเป็นหนึ่งในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งอาจจะย้อนกลับไปในอดีตที่เคยคิดเคยพูดกันมา โดยอาจจะให้มีคณะกรรมการใดคณะหนึ่งขึ้นมาทำ ซึ่งไม่ใช่ภาคการเมือง หรือย้อนกลับไปถึงคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ในการแก้ไข 6 ประเด็น ที่ให้ทุกฝ่ายเข้าร่วม ซึ่งอาจจะเอาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเขตเล็ก เขตใหญ่ มาตรา 190 เป็นหนึ่งการในการปฏิรูปการเมือง ก็เป็นได้ในอนาคต
**"เพื่อไทย"ยุพรรคร่วมถอนตัว
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาลเตรียมยื่นเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา เข้าสู่สภาฯในวันที่ 3 ก.พ.นั้น พรรคเพื่อไทยเชื่อว่าอาจต้องแท้งก่อนเกิด เพราะแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอาจใจไม่ถึงพอที่จะดำเนินการ เนื่องจากยังยึดติดกับตำแหน่ง อำนาจ และผลประโยชน์ โดยล่าสุดมีกระแสข่าวว่าแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลได้สั่งการให้รัฐมนตรี และส.ส.ของตัวเองหยุดการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ เพราะเกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งบานปลายไปจนถึงขั้นยุบสภา แม้จะไม่พอใจอย่างไร ก็ต้องยอมกลืนเลือดเพราะไม่ต้องการเป็นฝ่ายค้าน
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า ขอเรียกร้องพรรคร่วมรัฐบาลให้ตัดสินใจโดยยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน อย่าใช้เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญมาเป็นประเด็นต่อรองทางการเมือง เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มากลับลำเช่นนี้ หากพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง และประโยชน์ส่วนตัว ก็ควรแสดงจุดยืนด้วยการถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลประสานมายังแกนนำพรรคเพื่อไทย เพื่อเปลี่ยนขั้วทางการเมืองหรือไม่ นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า มีการประสานกับแกนนำในพรรคมาบ้างเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยพรรคเพื่อไทยยังยืนยันว่าหากแก้แค่ 2 ประเด็นจะไม่ร่วมด้วย แต่หากใช้รัฐธรรมนูญ 2540 หรือฉบับของคพปร. จะร่วมด้วย ส่วนจะให้ถึงขั้นเปลี่ยนขั้วรัฐบาลนั้นคงยาก เพราะพรรคร่วมรัฐบาลยังมีผลประโยชน์อยู่ และมีกองทัพกดดันพรรคร่วมไม่ให้ถอนตัว