“ยะใส” เชื่อ“เติ้ง-ตือ” เดินเกมแก้ รธน. แค่วัดขุมกำลัง เย้ยไม่กล้าสับขั้ว “ชุมพล” ปัดแตกคอ ปชป. ข่มขวัญระวังซ้ำรอยกลุ่ม 10 มกรา ปธ.วุฒิ ฟันธงมีสิทธิค้างท่อ
วานนี้(29 ม.ค.)นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อมีประเด็นก็ต้องมีความเห็น ซึ่งเมื่อความเห็นแตกต่างกันก็ต้องออกมาพูดจากันบ้าง ก็ต้องทำใจ เป็นนักการเมืองก็ต้องอดทน ในฐานะผู้จัดการรัฐบาลตอนนี้ไม่ใช่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่จะไปไกล่เกลี่ย แต่มีหน้าที่เป็นผู้ประสานงานก็จะค่อย ๆไปชี้แจงเหตุผล ข้อเท็จจริงทุกอย่าง และจะได้ย้ำว่าหน้าที่ของเราในการมาร่วมกันเป็นรัฐบาลก็เพื่อแก้ปัญหาของประเทศชาติ บ้านเมือง
ขณะนี้ตนยังไม่ได้โทร.คุยกับนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา แต่ถ้ามีจังหวะ มีเวลาก็ต้องไปพบ ตนไม่คิดว่าอะไรจะเป็นปัญหา ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุผล ถ้าคนอภิปรายแสดงหลักฐาน และมีเหตุผลชัดเจน ทุกคนในสภาก็ต้องยอมรับ ซึ่งก็ยอมรับว่าที่ผ่านมาในพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องมีอึดอัดบ้าง ไม่สบายใจบ้าง จะให้เริงร่าไปทุกวันก็คงไม่ได้ ไม่สามารถแยกตัวออกจากพรรคประชาธิปัตย์ได้หรอก ตนก็เป็นส่วนหนึ่งของพรรค เพราะเป็นสมาชิก และเป็นเลขาธิการพรรคด้วย คิดว่าพรรคร่วมฯเขาคงไม่แยกแยะอย่างนั้น แต่คงพูดกันด้วยเหตุผล
**“เติ้ง-ตือ” เดินเกมแค่วัดขุมกำลัง
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) เชื่อว่านายกรัฐมนตรีคงจะไม่ยุบสภา แม้ว่าจะมีรอยร้าวจากเกมการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ตาม เพราะเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่พรรคร่วม 5 พรรคที่มติแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเดินเกมถอนตัว และในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โครงสร้างทางอำนาจของรัฐบาลชุดนี้ถือว่าเป็นยุคทองของพรรคเล็ก โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรค ที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ได้เก้าอี้รัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ ประการสำคัญโอกาสกลับไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ยิ่งเป็นไปยากเพราะโอกาสจะได้กระทรวงสำคัญเป็นเรื่องที่ยากต้องไปจ่อคิวหรือรบรากับบริวาร พ.ต.ท.ทักษิณอีกจำนวนมากที่เข้าแถวจองคิวรอโบนัสจากนายใหญ่หากโค่นรัฐบาลนี้สำเร็จ
ประการสำคัญพรรคเล็ก 5 พรรค ก็ไม่พร้อมเลือกตั้งโดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย ที่พื้นที่สำคัญๆ อยู่แถบภาคอีสานและทับซ้อนกับพรรคเพื่อไทย จุดขายโดยเฉพาะตัวบุคคลยังไม่มีความโดดเด่นเท่ากับกระแสนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เฉพาะตัว นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ก็เคยด่าว่าพรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ มีเจตนาไม่ดีต่อสถาบัน วันนี้ตัวเองมาเป็นประธานจัดงานมหามงคล 5 ธันวามหาราช แต่จะกลับไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคการเมืองและบุคคลที่ถูกครหาว่า คิดไม่ซื่อต่อสถาบัน นายเนวินคงไม่กล้าในตอนนี้ ที่สำคัญสังคมไทยคงรับไม่ได้อย่างรุนแรง
ฉะนั้น เกมแก้รัฐธรรมนูญคงไม่เป็นเงื่อนถึงขั้นแตกแยกและยุบสภา สุดท้ายญัตติแก้รัฐธรรมนูญอาจตกไป หรืออาจยื่นเข้าสภาพอเป็นพิธีเพื่อรักษาหน้านายบรรหาร ศิลปะอาชา เท่านั้นโดยไม่หวังผลหรือไม่เร่งรีบอะไร ที่สำคัญ จริงๆ นายบรรหารก็อาจจะพลิกเกมเล่นเพราะเริ่มรู้แล้วว่าเกมแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องยากแต่คงหวังกระชับอำนาจต่อรองของพรรคเล็กโดยใช้มติ 5 พรรคร่วมเป็นเงื่อนไขต่อรองผลประโยชน์กับนายกรัฐมนตรีมากกว่า
นายสุริยะใส กล่าวว่าแต่ที่น่าจับตาคือรอยร้าวจากประเด็นแก้รัฐธรรมนูญจะกลายเป็นเงื่อนไขให้ 5 พรรคร่วมต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อของบประมาณและโครงการขนาดใหญ่มากขึ้น ฉะนั้นโอกาสที่รัฐบาลชุดนี้จะใช้อำนาจมิชอบและคอรัปชั่นสูงขึ้นเป็นไปได้มากทีเดียว ซึ่งหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจเชื่อแน่ว่าจะมีการปรับ ครม.ชุดใหญ่เพื่อเฉลี่ยผลประโยชน์กันใหม่อีกรอบ
“การออกอาการไม่พอใจของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ก็แค่รักษารูปมวยลับลวงพราง เพราะหากดูท่าทีของนายชุมพล ศิลปะอาชา หัวหน้าพรรค หรือแม้แต่นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม ก็เป็นท่าทีที่อ่อนลงจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างสิ้นเชิงเพราะพรรคร่วม 5 พรรคสมประโยชน์กันแล้ว”
**“ชุมพล”ข่มระวังซ้ำรอยกลุ่ม 10 มกรา
นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรค ชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงข่าวที่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับนายสุเทพ ไม่ค่อย เข้าใจกันนั้น นายชุมพล กล่าวว่า เป็นเรื่องภายในพรรคเขา ตนเป็นห่วงอย่างเดียว อย่าให้มันบายปลายถึงขั้นมีกลุ่ม 26 ม.ค.53 ขึ้นมาเหมือนสมัยที่มีกลุ่ม 10 มกราฯ เท่านั้นแหละ เป็นห่วงแทนเขา พวกเราไม่มีปัญหาอะไร ได้ไม่ได้ ไม่ได้ก็ตกไป เรายังมีเวลาเหลือตั้งปีกว่า สภาฯชุดนี้จบไป สภาชุดหน้าก็มีโอกาสแก้ไข สิ่งที่ถูกต้องและดีก็เดินหน้าต่อ ถอยไม่ได้
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวพาดพิงนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กรณีของจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่าเป็นสิ่งชำรุดทางการเมือง นายวัชระ กล่าวว่า อยากให้มองสาระข้อเท็จจริงในจดหมายเปิดผนึก ซึ่งมีเนื้อสำคัญมากกว่าตัวคนพูด และตอนนี้เราก็รอคำตอบจากนายกรัฐมนตรีเรื่องการเจรจา ส่วนที่ นายเทพไทระบุว่า แม้แต่คนในชาติไทยพัฒนายังมีความเห็นแตกต่างกันเรื่องการ แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตนยอมรับว่าจริง ซึ่งอยากถามว่าความเห็นต่างเกี่ยวอะไรกับการเป็นเจ้าของพรรคจริงๆ หรือนายทุน ตนยอมรับก่อนหน้านี้คุยกันแล้วมีเสียงที่แตกต่างกัน แต่สุดท้ายก็สรุปได้ ทั้งนี้อยากย้อนถามว่า แล้วกรณีเสียง 82 ต่อ 48 ของพรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นตัวเลขที่แตกต่างกันด้วยหรือไม่
“ยอมรับหรือไม่ว่า พรรคประชาธิปัตย์ก็มีเสียงผู้ยิ่งใหญ่ในพรรคหลายคน เหมือนกัน ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนาเป็นพรรคเล็ก พูดไม่เก่ง รูปไม่หล่อ ไม่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ที่มีผู้อุปการคุณ นายทุนมากมาย และพรรคประชาธิปัตย์กล้าปฏิเสธหรือไม่ว่า เรื่องที่ปวดหัวทุกวันนี้ไม่ใช่เป็นเพราะเรื่องการมีนายทุนที่บริจาค 258 ล้าน และเรื่องก็ยังไม่จบ ค้างที่กกต.”
**ปธ.วุฒิ ฟันธงมีสิทธิค้างท่อ
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่าหากพรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรคยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นหน้าที่ของประธานรัฐสภาที่จะนัดประชุม เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ส.ส. และส.ว.ต้องพิจารณาร่วมกันเข้าใจว่า ตอนนี้ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลคงลงชื่อได้ครบ 95 เสียงแล้ว แต่การลงมติเห็นชอบรับหลักการในวาระแรกของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องใช้เสียงกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมดของรัฐสภา คือ 312 เสียงขึ้นไป หากเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งร่างแก้ไขจะต้องตกไป
ขณะเดียวกันไม่เชื่อว่าประธานรัฐสภาจะนัดประชุมพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทันในเดือน ก.พ. เพราะสัปดาห์เป็นต้นไปวุมิสภาต้องประชุมต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน ก.พ.จนถึง มี.ค.สัปดาห์ละ 3 วัน เพื่อพิจารณากรณี การถอดถอนนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามที่ ป.ป.ช. ชี้มูลมาว่าวุฒิสภาจะมีมติอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าฝ่ายค้านอาจถือโอกาสเสนอให้ที่ประชุมลงมติเพื่อนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ คพปร.ที่ค้างอยู่ในวาระการประชุมมาพิจารณา นาย ประสพสุข กว่าวว่า การเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนู เชื่อว่าคงไม่ได้นำประเด็นอื่น หรือร่างอื่น หยิบยกขึ้นมาหารือกัน และไม่เกี่ยวกับ 6 ประเด็นที่คณะกรรมการสมานฉนัท์เพื่อการฎิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอ ดังนั้นเห็นว่า ดูแล้วมีความสำเร็จยาก เพราะถ้าแกนนำพรรครัฐบาล พรรคเพื่อไทย หรือวุฒิสภาไม่เห็นด้วย คงไม่สำเร็จ
วานนี้(29 ม.ค.)นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อมีประเด็นก็ต้องมีความเห็น ซึ่งเมื่อความเห็นแตกต่างกันก็ต้องออกมาพูดจากันบ้าง ก็ต้องทำใจ เป็นนักการเมืองก็ต้องอดทน ในฐานะผู้จัดการรัฐบาลตอนนี้ไม่ใช่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่จะไปไกล่เกลี่ย แต่มีหน้าที่เป็นผู้ประสานงานก็จะค่อย ๆไปชี้แจงเหตุผล ข้อเท็จจริงทุกอย่าง และจะได้ย้ำว่าหน้าที่ของเราในการมาร่วมกันเป็นรัฐบาลก็เพื่อแก้ปัญหาของประเทศชาติ บ้านเมือง
ขณะนี้ตนยังไม่ได้โทร.คุยกับนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา แต่ถ้ามีจังหวะ มีเวลาก็ต้องไปพบ ตนไม่คิดว่าอะไรจะเป็นปัญหา ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุผล ถ้าคนอภิปรายแสดงหลักฐาน และมีเหตุผลชัดเจน ทุกคนในสภาก็ต้องยอมรับ ซึ่งก็ยอมรับว่าที่ผ่านมาในพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องมีอึดอัดบ้าง ไม่สบายใจบ้าง จะให้เริงร่าไปทุกวันก็คงไม่ได้ ไม่สามารถแยกตัวออกจากพรรคประชาธิปัตย์ได้หรอก ตนก็เป็นส่วนหนึ่งของพรรค เพราะเป็นสมาชิก และเป็นเลขาธิการพรรคด้วย คิดว่าพรรคร่วมฯเขาคงไม่แยกแยะอย่างนั้น แต่คงพูดกันด้วยเหตุผล
**“เติ้ง-ตือ” เดินเกมแค่วัดขุมกำลัง
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) เชื่อว่านายกรัฐมนตรีคงจะไม่ยุบสภา แม้ว่าจะมีรอยร้าวจากเกมการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ตาม เพราะเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่พรรคร่วม 5 พรรคที่มติแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเดินเกมถอนตัว และในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โครงสร้างทางอำนาจของรัฐบาลชุดนี้ถือว่าเป็นยุคทองของพรรคเล็ก โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรค ที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ได้เก้าอี้รัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ ประการสำคัญโอกาสกลับไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ยิ่งเป็นไปยากเพราะโอกาสจะได้กระทรวงสำคัญเป็นเรื่องที่ยากต้องไปจ่อคิวหรือรบรากับบริวาร พ.ต.ท.ทักษิณอีกจำนวนมากที่เข้าแถวจองคิวรอโบนัสจากนายใหญ่หากโค่นรัฐบาลนี้สำเร็จ
ประการสำคัญพรรคเล็ก 5 พรรค ก็ไม่พร้อมเลือกตั้งโดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย ที่พื้นที่สำคัญๆ อยู่แถบภาคอีสานและทับซ้อนกับพรรคเพื่อไทย จุดขายโดยเฉพาะตัวบุคคลยังไม่มีความโดดเด่นเท่ากับกระแสนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เฉพาะตัว นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ก็เคยด่าว่าพรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ มีเจตนาไม่ดีต่อสถาบัน วันนี้ตัวเองมาเป็นประธานจัดงานมหามงคล 5 ธันวามหาราช แต่จะกลับไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคการเมืองและบุคคลที่ถูกครหาว่า คิดไม่ซื่อต่อสถาบัน นายเนวินคงไม่กล้าในตอนนี้ ที่สำคัญสังคมไทยคงรับไม่ได้อย่างรุนแรง
ฉะนั้น เกมแก้รัฐธรรมนูญคงไม่เป็นเงื่อนถึงขั้นแตกแยกและยุบสภา สุดท้ายญัตติแก้รัฐธรรมนูญอาจตกไป หรืออาจยื่นเข้าสภาพอเป็นพิธีเพื่อรักษาหน้านายบรรหาร ศิลปะอาชา เท่านั้นโดยไม่หวังผลหรือไม่เร่งรีบอะไร ที่สำคัญ จริงๆ นายบรรหารก็อาจจะพลิกเกมเล่นเพราะเริ่มรู้แล้วว่าเกมแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องยากแต่คงหวังกระชับอำนาจต่อรองของพรรคเล็กโดยใช้มติ 5 พรรคร่วมเป็นเงื่อนไขต่อรองผลประโยชน์กับนายกรัฐมนตรีมากกว่า
นายสุริยะใส กล่าวว่าแต่ที่น่าจับตาคือรอยร้าวจากประเด็นแก้รัฐธรรมนูญจะกลายเป็นเงื่อนไขให้ 5 พรรคร่วมต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อของบประมาณและโครงการขนาดใหญ่มากขึ้น ฉะนั้นโอกาสที่รัฐบาลชุดนี้จะใช้อำนาจมิชอบและคอรัปชั่นสูงขึ้นเป็นไปได้มากทีเดียว ซึ่งหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจเชื่อแน่ว่าจะมีการปรับ ครม.ชุดใหญ่เพื่อเฉลี่ยผลประโยชน์กันใหม่อีกรอบ
“การออกอาการไม่พอใจของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ก็แค่รักษารูปมวยลับลวงพราง เพราะหากดูท่าทีของนายชุมพล ศิลปะอาชา หัวหน้าพรรค หรือแม้แต่นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม ก็เป็นท่าทีที่อ่อนลงจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างสิ้นเชิงเพราะพรรคร่วม 5 พรรคสมประโยชน์กันแล้ว”
**“ชุมพล”ข่มระวังซ้ำรอยกลุ่ม 10 มกรา
นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรค ชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงข่าวที่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับนายสุเทพ ไม่ค่อย เข้าใจกันนั้น นายชุมพล กล่าวว่า เป็นเรื่องภายในพรรคเขา ตนเป็นห่วงอย่างเดียว อย่าให้มันบายปลายถึงขั้นมีกลุ่ม 26 ม.ค.53 ขึ้นมาเหมือนสมัยที่มีกลุ่ม 10 มกราฯ เท่านั้นแหละ เป็นห่วงแทนเขา พวกเราไม่มีปัญหาอะไร ได้ไม่ได้ ไม่ได้ก็ตกไป เรายังมีเวลาเหลือตั้งปีกว่า สภาฯชุดนี้จบไป สภาชุดหน้าก็มีโอกาสแก้ไข สิ่งที่ถูกต้องและดีก็เดินหน้าต่อ ถอยไม่ได้
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวพาดพิงนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กรณีของจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่าเป็นสิ่งชำรุดทางการเมือง นายวัชระ กล่าวว่า อยากให้มองสาระข้อเท็จจริงในจดหมายเปิดผนึก ซึ่งมีเนื้อสำคัญมากกว่าตัวคนพูด และตอนนี้เราก็รอคำตอบจากนายกรัฐมนตรีเรื่องการเจรจา ส่วนที่ นายเทพไทระบุว่า แม้แต่คนในชาติไทยพัฒนายังมีความเห็นแตกต่างกันเรื่องการ แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตนยอมรับว่าจริง ซึ่งอยากถามว่าความเห็นต่างเกี่ยวอะไรกับการเป็นเจ้าของพรรคจริงๆ หรือนายทุน ตนยอมรับก่อนหน้านี้คุยกันแล้วมีเสียงที่แตกต่างกัน แต่สุดท้ายก็สรุปได้ ทั้งนี้อยากย้อนถามว่า แล้วกรณีเสียง 82 ต่อ 48 ของพรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นตัวเลขที่แตกต่างกันด้วยหรือไม่
“ยอมรับหรือไม่ว่า พรรคประชาธิปัตย์ก็มีเสียงผู้ยิ่งใหญ่ในพรรคหลายคน เหมือนกัน ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนาเป็นพรรคเล็ก พูดไม่เก่ง รูปไม่หล่อ ไม่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ที่มีผู้อุปการคุณ นายทุนมากมาย และพรรคประชาธิปัตย์กล้าปฏิเสธหรือไม่ว่า เรื่องที่ปวดหัวทุกวันนี้ไม่ใช่เป็นเพราะเรื่องการมีนายทุนที่บริจาค 258 ล้าน และเรื่องก็ยังไม่จบ ค้างที่กกต.”
**ปธ.วุฒิ ฟันธงมีสิทธิค้างท่อ
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่าหากพรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรคยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นหน้าที่ของประธานรัฐสภาที่จะนัดประชุม เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ส.ส. และส.ว.ต้องพิจารณาร่วมกันเข้าใจว่า ตอนนี้ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลคงลงชื่อได้ครบ 95 เสียงแล้ว แต่การลงมติเห็นชอบรับหลักการในวาระแรกของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องใช้เสียงกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมดของรัฐสภา คือ 312 เสียงขึ้นไป หากเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งร่างแก้ไขจะต้องตกไป
ขณะเดียวกันไม่เชื่อว่าประธานรัฐสภาจะนัดประชุมพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทันในเดือน ก.พ. เพราะสัปดาห์เป็นต้นไปวุมิสภาต้องประชุมต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน ก.พ.จนถึง มี.ค.สัปดาห์ละ 3 วัน เพื่อพิจารณากรณี การถอดถอนนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามที่ ป.ป.ช. ชี้มูลมาว่าวุฒิสภาจะมีมติอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าฝ่ายค้านอาจถือโอกาสเสนอให้ที่ประชุมลงมติเพื่อนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ คพปร.ที่ค้างอยู่ในวาระการประชุมมาพิจารณา นาย ประสพสุข กว่าวว่า การเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนู เชื่อว่าคงไม่ได้นำประเด็นอื่น หรือร่างอื่น หยิบยกขึ้นมาหารือกัน และไม่เกี่ยวกับ 6 ประเด็นที่คณะกรรมการสมานฉนัท์เพื่อการฎิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอ ดังนั้นเห็นว่า ดูแล้วมีความสำเร็จยาก เพราะถ้าแกนนำพรรครัฐบาล พรรคเพื่อไทย หรือวุฒิสภาไม่เห็นด้วย คงไม่สำเร็จ