ASTVผู้จัดการรายวัน - ครม.เคาะแล้ว งบปี 54 ขาดดุลถึง 4.2 แสนล้าน คาดการณ์รายรับ 1.65 ล้านล้าน จากรายจ่าย 2.07 ล้านล้าน เป็นงบลงทุน 3.4 แสนล้าน เพิ่มจากปีก่อน 1.2 แสนล้าน หวังจีดีพีโต 4% มาร์คห่วงงบ อปท. กำชับเจียดคนชรา-อสม.หัวละ 500 บาท อ.นิด้าฉะรัฐก่อนหนี้เพิ่ม จี้หั่นงบขาดดุลเหลือ 3.1 แสนล้าน ก็พอ
วานนี้ (26 ม.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ตามที่สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย 2.07 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปี 2553 จำนวน 3.7 แสนล้านบาทหรือเพิ่มร้อยละ 21.8 จึงเป็นการจัดทำงบประมาณขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท
ขณะที่การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 7% จากปีงบประมาณ 53 ที่มีจำนวน 1.52 ล้านล้านบาท จำนวน 1.07 แสนล้านบาท โดยคาดว่าเป็นรายจ่ายงบลงทุน จำนวน 3.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 แสนล้านบาทจากปี 53 หรือคิดเป็นสัดส่วน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.2
ทั้งนี้ เป็นรายจ่ายประจำ 1.63 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปี 53 จำนวน 1.9 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 3.0 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 1.4 ของวงเงินงบประมาณรวม และเป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 6.7 หมื่นล้านบาท
“งบปี 54 เป็นงบประมาณขาดดุล 2.07 ล้านล้านบาท ประมาณการรายได้ 1.65 ล้านล้านบาท ทำให้เป็นงบประมาณขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.1ของจีดีพี ภายใต้สมมติฐานเงินเฟ้อร้อยละ 2-3 จีดีพีขยายตัวเพิ่มร้อยละ 3-4 รัฐบาลจึงเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการให้มีงบประมาณด้านการลงทุนเพิ่มขึ้นจากปี 53 ถึง 1.2 แสนล้านบาท หรือมีสัดส่วนร้อยละ 16.5 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 53 อยู่ที่ร้อยละ 12”รมว.คลังกล่าว
นายกรณ์กล่าวว่า จากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจึงคาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลดีขึ้นในปีงบประมาณ 53 จะเพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ตั้งไว้ที่ 1.35 ล้านล้านบาท เป็น 1.52 ล้านล้านบาท และเมื่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลดีขึ้นคาดว่าจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณไปใช้ในการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการลดภาระการใช้เงินนอกงบประมาณ และทำให้เกิดความโปร่งใสในการใช้งบประมาณเพื่อการลงทุนต่างๆของรัฐบาล
ในส่วนงบประมาณในโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งได้รับการอนุมัติวงเงินจำนวน 3.5 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.ก.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จำนวน 2 แสนล้านบาท และที่เหลือ 1.5 แสนล้านบาทคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ในปีงบประมาณ 54 ขณะเดียวกัน การลงทุนของรัฐบาลนอกจากการใช้เม็ดเงินงบประมาณแล้ว ยังต้องพึ่งพาเงินลงทุนจากภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในระบบขนส่งและระบบราง
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประมาณการรายได้ปีงบ 54 จำนวน 1,650,000 ล้านบาท เป็นรายได้จาก กรมสรรพากร 1,305,600 ล้านบาท กรมสรรพสามิต 387,100 ล้านบาท กรมศุลกากร 88,400 ล้านบาทรัฐวิสาหกิจ 84,400 ล้านบาท หน่วยงานอื่น 93,000 ล้านบาท และการหักคืนภาษีของกรมสรรพากรและการจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 308,500 ล้านบาท
ที่มาจากฐานรายได้รัฐบาลปีงบ 53 ซึ่งคาดว่าจะจัดเก็บได้ 1,522,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้ของกรมสรรพากร 1,189,550 ล้านบาท กรมสรรพสามิต 366,600 ล้านบาท กรมศุลกากร 83,600 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจ 83,300 ล้านบาท หน่วยงานอื่น 87,850 ล้านบาท และการหักคืนภาษีของกรมสรรพากรและการจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 288,900 ล้านบาท เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ และการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตภาษีน้ำมัน ภาษีสุราและเบียร์ และภาษียาสูบ
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงว่า ปีงบ 54 ครม.คาดการณ์จีดีพีขยายตัวที่ร้อยละ 3.5-4.5 อัตราเงินเฟ้อ 2.0-3.0 มีแนวทางนโยบาย 5 ข้อคือ 1.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ 2.ทบทวนเพื่อชะลอหรือยกเลิกการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐที่มีความสำคัญลดลงหรือหมดความจำเป็น และสามารประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 3.เพิ่มสัดส่วนรายจ่ายลงทุนในระดับที่เหมาะสมในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 4.สนับสนุนงบประมาณเพื่อการขบัเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในจำนวนที่เหมาสะม และข้อ 5.การส่งเสริมการประจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (อปท.)
“นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงในเรื่องของงบประมาณที่จัดสรรให้ อปท.จำนวน 173,900 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มจากปี 53 จำนวน 34,000 ล้านบาทหรือ ร้อยละ 24.3 ที่จะจัดสรรให้กับนโยบายเบี้ยยังชีพช่วยเหลือคนชรา รายละ 500 บาทต่อเดือน และนโยบายเบี้ยยังชะช่วยเหลืออาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน รายละ 500 บาทต่อเดือน โดยสั่งการให้นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทยไปดูแลอย่างใกล้ชิดหลังการเบิกจ่ายงบปี 53 มีปัญหาในระดับท้องถิ่น”
**นิด้าจี้หั่นงบขาดดุลเหลือ 3.1 แสนล.
นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (MPA NIDA) กล่าวถึงตัวเลขงบประมาณขาดดุลว่า เป็นตัวเลขที่สูงเกินความจำเป็น และไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่คาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 2 ปี 53 โดยงบประมาณขาดดุลที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.1-3.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับปีงบ 53
“จะทำให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างให้เห็นแล้ว อย่างประเทศกรีก และสเปน ที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงเนื่องจากระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นมาก และเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯซึ่งถือเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยก็มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง” นายมนตรีกล่าวและว่า ภาครัฐต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นและแก้ปัญหากรณีมาบตาพุด ใช้กลไกด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หาช่องทางตลาดส่งออกใหม่ๆ ออกมาตรการจูงใจเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน เช่น การปรับลดการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งปัจจุบันไทยจัดเก็บในอัตรา 30% ขณะที่สิงคโปร์จัดเก็บ 17% ปี 53 นายมนตรีคาดว่า จีดีพีโต 2.5-3% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับ 2.7%.
วานนี้ (26 ม.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ตามที่สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย 2.07 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปี 2553 จำนวน 3.7 แสนล้านบาทหรือเพิ่มร้อยละ 21.8 จึงเป็นการจัดทำงบประมาณขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท
ขณะที่การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 7% จากปีงบประมาณ 53 ที่มีจำนวน 1.52 ล้านล้านบาท จำนวน 1.07 แสนล้านบาท โดยคาดว่าเป็นรายจ่ายงบลงทุน จำนวน 3.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 แสนล้านบาทจากปี 53 หรือคิดเป็นสัดส่วน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.2
ทั้งนี้ เป็นรายจ่ายประจำ 1.63 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปี 53 จำนวน 1.9 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 3.0 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 1.4 ของวงเงินงบประมาณรวม และเป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 6.7 หมื่นล้านบาท
“งบปี 54 เป็นงบประมาณขาดดุล 2.07 ล้านล้านบาท ประมาณการรายได้ 1.65 ล้านล้านบาท ทำให้เป็นงบประมาณขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.1ของจีดีพี ภายใต้สมมติฐานเงินเฟ้อร้อยละ 2-3 จีดีพีขยายตัวเพิ่มร้อยละ 3-4 รัฐบาลจึงเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการให้มีงบประมาณด้านการลงทุนเพิ่มขึ้นจากปี 53 ถึง 1.2 แสนล้านบาท หรือมีสัดส่วนร้อยละ 16.5 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 53 อยู่ที่ร้อยละ 12”รมว.คลังกล่าว
นายกรณ์กล่าวว่า จากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจึงคาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลดีขึ้นในปีงบประมาณ 53 จะเพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ตั้งไว้ที่ 1.35 ล้านล้านบาท เป็น 1.52 ล้านล้านบาท และเมื่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลดีขึ้นคาดว่าจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณไปใช้ในการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการลดภาระการใช้เงินนอกงบประมาณ และทำให้เกิดความโปร่งใสในการใช้งบประมาณเพื่อการลงทุนต่างๆของรัฐบาล
ในส่วนงบประมาณในโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งได้รับการอนุมัติวงเงินจำนวน 3.5 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.ก.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จำนวน 2 แสนล้านบาท และที่เหลือ 1.5 แสนล้านบาทคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ในปีงบประมาณ 54 ขณะเดียวกัน การลงทุนของรัฐบาลนอกจากการใช้เม็ดเงินงบประมาณแล้ว ยังต้องพึ่งพาเงินลงทุนจากภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในระบบขนส่งและระบบราง
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประมาณการรายได้ปีงบ 54 จำนวน 1,650,000 ล้านบาท เป็นรายได้จาก กรมสรรพากร 1,305,600 ล้านบาท กรมสรรพสามิต 387,100 ล้านบาท กรมศุลกากร 88,400 ล้านบาทรัฐวิสาหกิจ 84,400 ล้านบาท หน่วยงานอื่น 93,000 ล้านบาท และการหักคืนภาษีของกรมสรรพากรและการจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 308,500 ล้านบาท
ที่มาจากฐานรายได้รัฐบาลปีงบ 53 ซึ่งคาดว่าจะจัดเก็บได้ 1,522,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้ของกรมสรรพากร 1,189,550 ล้านบาท กรมสรรพสามิต 366,600 ล้านบาท กรมศุลกากร 83,600 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจ 83,300 ล้านบาท หน่วยงานอื่น 87,850 ล้านบาท และการหักคืนภาษีของกรมสรรพากรและการจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 288,900 ล้านบาท เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ และการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตภาษีน้ำมัน ภาษีสุราและเบียร์ และภาษียาสูบ
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงว่า ปีงบ 54 ครม.คาดการณ์จีดีพีขยายตัวที่ร้อยละ 3.5-4.5 อัตราเงินเฟ้อ 2.0-3.0 มีแนวทางนโยบาย 5 ข้อคือ 1.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ 2.ทบทวนเพื่อชะลอหรือยกเลิกการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐที่มีความสำคัญลดลงหรือหมดความจำเป็น และสามารประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 3.เพิ่มสัดส่วนรายจ่ายลงทุนในระดับที่เหมาะสมในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 4.สนับสนุนงบประมาณเพื่อการขบัเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในจำนวนที่เหมาสะม และข้อ 5.การส่งเสริมการประจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (อปท.)
“นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงในเรื่องของงบประมาณที่จัดสรรให้ อปท.จำนวน 173,900 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มจากปี 53 จำนวน 34,000 ล้านบาทหรือ ร้อยละ 24.3 ที่จะจัดสรรให้กับนโยบายเบี้ยยังชีพช่วยเหลือคนชรา รายละ 500 บาทต่อเดือน และนโยบายเบี้ยยังชะช่วยเหลืออาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน รายละ 500 บาทต่อเดือน โดยสั่งการให้นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทยไปดูแลอย่างใกล้ชิดหลังการเบิกจ่ายงบปี 53 มีปัญหาในระดับท้องถิ่น”
**นิด้าจี้หั่นงบขาดดุลเหลือ 3.1 แสนล.
นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (MPA NIDA) กล่าวถึงตัวเลขงบประมาณขาดดุลว่า เป็นตัวเลขที่สูงเกินความจำเป็น และไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่คาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 2 ปี 53 โดยงบประมาณขาดดุลที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.1-3.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับปีงบ 53
“จะทำให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างให้เห็นแล้ว อย่างประเทศกรีก และสเปน ที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงเนื่องจากระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นมาก และเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯซึ่งถือเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยก็มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง” นายมนตรีกล่าวและว่า ภาครัฐต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นและแก้ปัญหากรณีมาบตาพุด ใช้กลไกด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หาช่องทางตลาดส่งออกใหม่ๆ ออกมาตรการจูงใจเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน เช่น การปรับลดการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งปัจจุบันไทยจัดเก็บในอัตรา 30% ขณะที่สิงคโปร์จัดเก็บ 17% ปี 53 นายมนตรีคาดว่า จีดีพีโต 2.5-3% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับ 2.7%.