นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง กล่าววานนี้ (21 ม.ค.)ว่า การไปทานข้าวที่โรงแรมสยามซิตี้แล้วไปพบแกนนำพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทยหารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนทานอาหารที่โรงแรมสยามซิตี้ และที่โรงแรมปริ้นเซส หลานหลวง เป็นประจำเพราะเป็น 2 โรงแรมที่อยู่ใกล้ทำเนียบฯ วิ่งไปมาง่าย เมื่อถามว่าวันนี้พรรคชาติไทยพัฒนานัดกับพรรคเพื่อแผ่นดินอีกจะไปหรือไม่ นาย สุเทพ หัวเราะ ก่อนกล่าวว่า อ๋อ เหรอครับ ถ้าอย่างนั้น ผมคงต้องหลีกทางแล้ว
อย่าไปคิดมาก บรรยากาศทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลยังดีอยู่ และผมมั่นใจว่ายังดีอยู่อย่างนี้ตลอดไป และยังแข็งแรงอย่างนี้เพราะแต่ละพรรคก็เข้าใจดี ว่าที่มาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลนั้นเพราะเป็นหนทางที่จะรักษาระบอบประชาธิปไตย รักษาแผ่นดินเอาไว้ ทุกคนเข้าใจดี ส่วนรายละเอียดก็มีบ้างที่มีตะกุกตะกักไปบ้าง ก็ต้องให้เวลาในการคลี่คลาย อย่างที่พรรคร่วมฯอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับเขตเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องขอเวลาหารือกันในพรรคให้ละเอียด ก่อนจะนำมติที่ชัดเจนไปบอก ยืนยันไม่มีอึมครึม ไม่มีแทงกั๊กอะไรทั้งสิ้น เข้าใจเพื่อนร่วมพรรครัฐบาลดี
ผู้สื่อข่าวถามว่าในวงสนทนาของพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย มีการพูดกันถึงว่าอาจเปลี่ยนขั้วในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสุเทพ กล่าวว่า ข่าวลือหรือข่าวประเภทซุบซิบ เราอย่างไปให้น้ำหนัก เพราะบางทีการพูดจา ก็อาจมีการติดลมไปบ้างเป็นธรรมดา ก็เหมือนกับลูกพรรคของตนบางคนที่ออกมาพูด ไปก่อนที่ยังไม่ทันได้ฟังอะไร เพราะฉะนั้นอย่าถือสา ให้น้ำหนัก
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเคลื่อนไหวอย่างนี้ของพรรคร่วมฯ ถือเป็นการวัดใจพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ใจพรรคประชาธิปัตย์ ใจพวกตนไม่ต้องวัดหรอก เพื่อนเห็นชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ได้มีเล่ห์เหลี่ยมหรือชั้นเชิงอะไร ตรงไปตรงมา ไม่มีปัญหา ถือเป็นการเคลื่อนไหวปกติ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของ พรรคร่วมฯ ซึ่งเขาได้บอกตนมานานแล้ว
สำหรับการประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์วันนี้ นายสุเทพ กล่าวว่า จะคุยเรื่องการสัมมนาพรรคที่ จ.กระบี่ ปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะได้ความชัดเจนทุกประเด็นซึ่งร่วมถึงเรื่องเขตเลือกตั้งด้วย
ส่วนที่พรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย มีการหารือกันนั้นเหมือนเป็นสัญญาใจว่าจะทำงานร่วมกันไปจนถึงการเลือกตั้งครั้งหน้า นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ได้กังวลว่าเขาจะนำมาต่อรองอะไร แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะพรรคเล็ก ๆ เขาก็จำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่ง เตรียมพร้อมหากจะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งการที่เขาร่วมมือกันถือเป็นสัญญาณที่ดี และเป็นการร่วมมือกันในซีกรัฐบาลด้วยกันเอง และมั่นใจว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมทุกพรรคแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่พรรคร่วมฯ ผลักดันแก้ไข มาตรา 94 เกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้ง และมาตรา 190 เรื่องการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศมารวมเป็นญัตติเดียวในการเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นการบังคับให้พรรคประชาธิปัตย์ ต้องรับมาตรา 94 ด้วยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มีบังคับอะไร แต่เขามีความชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้วที่จะแก้ไข 2 มาตรานี้ เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์จะยอมตัดสินใจในพื้นฐานที่ตัวเองเสียเปรียบ หรือ นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นปกติ การเมืองจะคิดเอาเรื่องความ ได้เปรียบ เสียเปรียบส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ ความสงบเรียบร้อย ความอยู่ได้ของบ้านเมือง คงทำไม่ได้ ต้องช่างใจกันว่าอะไรดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองโดยส่วนรวม
บัญญัติรับหนักใจเปลี่ยนจุดยืนแก้ม.94
ด้านนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มาตรา 190 คิดว่าพรรคคงไม่ขัดย้อง แต่สำหรับ มาตรา 94 เรื่องระบบการเลือกตั้ง พรรคได้แสดงจุดยืนมาตลอดว่าระบบเลือกตั้งที่จะเหมาะสำหรับสังคมไทยคือเขตใหญ่ 3 คน เพราะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น และคนดีๆ มีโอกาสหลุดเข้ามาได้ ซึ่งพรรคเคยให้ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 50 จนออกมาเป็นตัวบทกฎหมายแล้ว วันดีคืนดีจะมาขอเปลี่ยนแปลง เป็นเขตเดียวเบอร์เดียวคิดว่าจะกลายเป็นไม่มีเหตุผลรองรับ จึงคิดว่าเป็นเรื่องลำบาก ที่พรรคจะเปลี่ยนจุดยืน อย่างไรก็ตามคงต้องรอผลการหารือกันในการสัมมนาสุดสัปดาห์นี้ก่อน
แต่อยากให้เพื่อนร่วมงานสบายใจโดยเราเปลี่ยนจุดยืน แล้วอธิบายประชาชนไม่ได้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าหนักใจ แต่จริงๆ ถ้าดูแล้วผมคิดว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ค่อยหวังผลเท่าไหร่ ผมยังมองในแง่ดีว่า การแถลงข่าวร่วมของ พรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย ประเด็นหลักน่าจะอยู่ตรงที่ 2 พรรคการเมืองตั้งใจจะทำการเมืองร่วมกันต่อไปในวันข้างหน้า เพราะเขาพูดชัดขนาดว่า แม้กระทั่งตอนที่จะมีการเลือกตั้งด้วย และประเด็นของรัฐธรรมนูญ ผมเข้าใจว่า ในฐานะที่หลายคนเป็นนักการเมืองเก่าแก่ น่าจะวิเคราะห์ออกว่าพรรคประชาธิปัตย์คงลำบากใจที่จะไปเทเสียงให้ และพรรคร่วมรัฐบาลก็พูดชัดเจนว่า แยกเรื่องนี้ออกจากเรื่องร่วมรัฐบาล
ส่วนการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะสอดรับกับช่วงการอภิปราย ไม่ไว้วางใจ จะมีผลต่อคะแนนลงมติหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่าจะมีการต่อรองอะไร และเห็นว่าประชาชนจับตาดูความเคลื่อนไหวของนักการเมืองอยู่ หากกระแสประชาชนออกมาชัดเจนเรื่องไหน เชื่อว่าโอกาสที่จะสวนกระแสประชาชนน้อยลงเรื่อย ๆ
สำหรับกรณีที่นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ยังเดินสายนัดพรรคร่วมรัฐบาลอื่นยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์นั้นนายบัญญัติ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร ถือเป็นสิทธิหรือความพยายามที่จะแสดงจุดยืนของตัวเอง
ปชป.เผยเป็นไปได้เปิดฟรีโหวต
น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุม ส.ส.พรรค ว่า ที่ประชุมได้เรียกร้องให้ส.ส.ทุกคนเข้าร่วมการสัมนาพรรคที่จ.กระบี่ ในวันที่ 23-24 ม.ค. เนื่องจากจะมีการลงมติในวาระสำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะต้องตอบพรรคร่วม หาก ส.ส.คนใดไม่ไปก็จะถือว่าไม่มีโอกาสในการแสดงความเห็น จากยอดผู้ที่แสดงความจำนงจะเดินทางไปมาลงชื่อแล้ว 165 คน จากจำนวน 172 คน
โดยในการสัมมนาครั้งนี้พรรคจะเปิดให้ส.ส.ทุกคนได้แสดงความเห็น อย่างเต็มที่ สามารถขัดแย้งกันได้แต่โดยวัฒนธรรมของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว เมื่อเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นอย่างไร ถึงจะโหวตชนะกันแค่ 1 เสียง แต่สมาชิกทั้งหมด ก็จะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามจากที่ฟังผู้ใหญ่ในพรรคต่างเห็นตรงกันว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญ 2 มาตราก็ไม่จำเป็นต้องมีการทำประชามติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีความขัดแย้งกันมากระหว่างการแก้ไขและไม่แก้ไข เป็นไปได้หรือไม่ที่จะฟรีโหวต น.พ.วรงค์ กล่าวว่า เป็นไปได้ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับการลงมติของพรรคยืนยันว่าส.ส.ในพรรคทุกคนมีวินัย พร้อมที่จะปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างกรณีการเลือกรัฐมนตรี แม้จะมีเสียงโวยวายอยู่บ้าง แต่เมื่อพรรคลงมติแล้วทุกอย่างก็จบ
การจะตัดสินใจอย่างไรเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส. จะอ้างรัฐธรรมนูญไม่ปฎิบัติตามมติพรรคก็ได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคที่มีวัฒนธรรมเมื่อเสียงส่วนใหญ่ เราอยู่กันด้วยใจ ถ้าเห็นอย่างไรก็จะปฏิบัติตามกันทั้งหมด ยืนยันว่าการแสดงจุดยืนครั้งนี้เป็นเรื่องที่พรรคต้องแสดงออกไม่เกี่ยวกับแรงบีบของพรรคร่วมใดๆทั้งสิ้น
ปัดเติ้งพบสมชายอ้อนร่วมแก้รธน.
วันเดียวกัน นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมแกนนำพรรค ได้เชิญ แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน ประกอบด้วย นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรค นายพินิจ จารุสมบัติ ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรค หารือและขอเสียงสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 94 และ มาตรา 190 ที่โรงแรมพลาซ่า แอททินี ซึ่งพรรคเพื่อไทยยืนยันจะร่วมลงชื่อสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 มาตรา
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงข่าวที่ว่านายบรรหาร ประสานผ่านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ แกนนำพรรคเพื่อไทย ขอให้พรรคเพื่อไทยฟรีโหวตในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของพรรคและนักการเมือง ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล จึงถือเป็นสิทธิในการสนับสนุนหากพรรคเพื่อไทยร่วมโหวตด้วยก็ไม่ใช่เรื่องปลก แต่เป็นเรื่องที่น่ายินดี และน่ายกย่อง และไม่ถือเป็นการกดดันพรรคประชาธิปัตย์
ขณะที่นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกูล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนาปฏิเสธว่า เป็นข่าวโคมลอยที่ว่านายบรรหาร ได้คุยกับนายสมชาย เพื่อขอให้ร่วมยื่นญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเสียงที่มีอยู่ครบตามกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว
จับตานำร่างแก้รธน.คปพร.กดดันปชป.
ด้านนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า การที่ พรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย ประกาศจับมือผลักดันอย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมกันผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา ถือว่าเป็น 2 มาตราที่เป็นกล่องดวงใจ ของพรรคร่วมรัฐบาล เพราะรู้ว่า เขตใหญ่เรียงเบอร์ สู้พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส่วนมาตรา 190 เป็นของแถมมาแก้เกี้ยว
ผมเห็นว่า ถึงเวลายื่นญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสภาไปจริง แม้จะยื่นแก้ 2 ประเด็น แต่อาจมีการสอดไส้ มาตรา 237,265,266,309 เข้ามาด้วย เพราะร่างของ คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) ของ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ก็ค้างอยู่ในวาระ จึงอาจเอามายำกันเป็นเรื่องเดียวเพื่อต่อรอง เกมก็จะยื่งสู้กันหนักเพราะมีพรรคเพื่อไทยเข้ามาร่วมด้วยเพราะต้องการร่างของ คปพร. ส่วนฝ่ายส.ว. บางกลุ่มที่จะเอาด้วยกับ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอก็จะร่วมด้วย แต่สำหรับกลุ่ม 40 ส.ว.และส.ว.อีกบางส่วน ไม่เอาทั้ง 2 มาตรา หรือ 6 มาตราเพราะเห็นว่า ทั้งสองแบบเป็นผลประโยชน์นักการเมืองล้วนๆ
นายประสาร กล่าวว่านอกจากนี้ ทั้งร่างของ คปพร. และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคร่วมรัฐบาลอาจใช้เป็นเครื่องมือต่อรองพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เช่น หาก พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอม พรรคร่วมอาจต่อรองจะฟรีโหวตตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ไม่น่าจะทำให้เกิดวิกฤต เพราะชนวนที่จะจุดวิกฤต น่าจะเป็นการเคลื่อนไหวนอกสภาของกลุ่มเสื้อแดงมากกว่า ที่จะหยิบหลายๆ เรื่องเข้ามา ล่าสุดเรื่องยิงเอ็ม 79 ใส่ห้องทำงานผบ.ทบ. เป็นสัญญาณไม่ดี เพราะชี้ว่า ความรุนแรง สามารถเกิดได้ตลอดเวลาโดยจับมือใครดมไม่ได้
ส.ส.สุพรรณฯเอาด้วยกับชทพ.
นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี แกนนำกลุ่มส.ว.เลือกตั้ง กล่าวว่า ถ้าพรรคชาติไทยพัฒนาขอเสียงสนับสนุนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น โดยส่วนตัวตนก็จะลงชื่อสนับสนุนแม้จะเป็นการแก้ไข 2 ประเด็น เพราะมีความเคารพกับผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคดังกล่าวเป็นการส่วนตัว ส่วนเพื่อนส.ว.ในกลุ่มจะมีท่าทีอย่างไรกับเรื่องนี้ ก็ยังไม่ได้คุยกันและคงต้องดูตัวร่างก่อนว่า เป็นอย่างไรมีเหตุผลอย่างไร ตอนนี้จึงยังตอบแทนเพื่อนส.ว.ทั้งกลุ่มไม่ได้
อย่างไรก็ดี ตอนนี้พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้มีการประสานมา ซึ่งถ้าประสานมา ฝ่ายส.ว.คงไม่ขอให้เพิ่มเติมให้ครบ 6 ประเด็น ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอ เพราะฝ่ายพรรคร่วมมีเจตนาชัดว่า ต้องการแก้ก่อน 2 ประเด็น ถ้าไปขอเพิ่ม ก็คงไม่ให้
ส่วนที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาระบุว่า หากยื่นแก้ไขมา 2 ประเด็น อาจพิจารณาไปพร้อมกับร่างของ คป.พร.ที่คาอยู่ในวาระการประชุมนานแล้วนั้น นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าพอถึงเวลา ร่างของคป.พร.คงยังไม่ยกขึ้นมาพิจารณาก่อน เพราะที่ผ่านมา ร่างของคป.พร.อยู่ในวาระแรก แต่ก็มีการเสนอเลื่อนวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนมาโดยตลอด ซึ่งหากต้องมีการโหวต ส.ว.ก็เห็นว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ 6 ประเด็น ตกผลึกแล้ว แต่สำหรับร่างของคป.พร.นั้น เสนอแก้เป็นร้อยประเด็น ซึ่งคงไม่ใช่
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อให้ร่วมลงชื่อ แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าถ้าแก้แค่ 2 มาตรามันแคบไป แม้มาตรา 190 จะเป็นประโยชน์ร่วมกันในการบริหารของรัฐบาล ส่วนเรื่องเขตเลือกตั้งที่จะแก้ให้เป็น เขตเดียวเบอร์เดียว ตนก็เห็นด้วย เพราะเขตใหญ่เรียงเบอร์วุ่นวาย แต่ยังติดใจว่า ทำไมไม่แก้ให้ครบ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ สรุปเป็นข้อเสนออกมาแล้ว ว่า เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ไม่รู้ว่า ที่ยื่นแก้แค่ 2 ประเด็น เพราะกลัวเรื่องที่มาของ ส.ว.จะทำให้ใครได้ใครเสียอะไรไปหรือไม่
ถ้ายื่นเข้ามา 2 ประเด็น มันเพิ่มการแก้ไขเรื่องอื่นไม่ได้ ผมคิดว่า มันน่าจะแปรญัตติเพิ่มได้ ดังนั้น การเสนอร่างเข้าสภา น่าจะเสนอ 6 ประเด็น ใครจะเอาหรือไม่เอาอะไร ก็อภิปรายเหตุผลกันในสภา และแปรญัตติกัน สุดท้ายก็มาโหวตตัดสิน ส่วนร่างของคป.พร.ที่ค้างในวาระ เชื่อว่า จะไม่มีการนำมารวมพิจารณา ไปในคราวเดียวหากมีการยื่นร่างแก้ไข 2 ประเด็นเข้าสภา เพราะที่ผ่านมา แม้บรรจุร่าง ในวาระค้างอยู่นานแล้ว พอถึงเวลาพิจารณาก็เลื่อนวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนทุกครั้ง
พท.รอพรรคร่วมฯตกลงกันก่อน
นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ต้องให้พรรคร่วมรัฐบาล ไปหาข้อยุติกันก่อนซึ่งฝ่ายค้านมีข้อยุติไปแล้ว ส่วนการพูดจากันนั้นต้องรอให้ถึงขั้นตอนบรรจุวาระเข้าสู่สภาก่อนจะดีกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เสียงไม่พอฝ่ายค้านจะช่วยยกมือสนับสนุนหรือไม่ นายวิทยากล่าวว่า ยังไม่ขอพูดถึง รอให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ข้อยุติก่อน อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีร่างที่ประชาชนเสนอแก้ไขอยู่ในสภาแล้ว ขอให้นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปดำเนินการในส่วนนี้ก่อน อย่ารอพรรคร่วมรัฐบาลส่งมา เพราะการพูดคุยที่ผ่านมายังเป็นเพียงแนวทาง ยังไม่มีความชัดเจน
” เชื่อ “บรรหาร” ไม่มั่นใจไม่เดินเกมแก้
นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย และรองประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่าการที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เดินสายนัดหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านเพื่อเดินหน้าให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้หลักการของพรรคเพื่อไทยจะยึดจุดยืนเดิมคือ ต้องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยเอารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับคืนมา แต่การที่พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งนำโดยนายบรรหาร ออกมาแสดงความกล้าหาญเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม อีกทั้งคนระดับนายบรรหารรู้ทิศทางการเมืองดีว่าน่าจะสามารถทำได้จึงออกมาเคลื่อนไหว อย่างชัดเจนเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นเราสนับสนุนเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้จะเกิดขึ้นเพียง 2 ประเด็นแต่ก็ทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยได้ แต่การโหวตจะมีส.ส.ของพรรคเพื่อไทยไปร่วมโหวตสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่นั้นค่อยว่ากัน เพราะการโหวตในสภาเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.
อย่าไปคิดมาก บรรยากาศทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลยังดีอยู่ และผมมั่นใจว่ายังดีอยู่อย่างนี้ตลอดไป และยังแข็งแรงอย่างนี้เพราะแต่ละพรรคก็เข้าใจดี ว่าที่มาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลนั้นเพราะเป็นหนทางที่จะรักษาระบอบประชาธิปไตย รักษาแผ่นดินเอาไว้ ทุกคนเข้าใจดี ส่วนรายละเอียดก็มีบ้างที่มีตะกุกตะกักไปบ้าง ก็ต้องให้เวลาในการคลี่คลาย อย่างที่พรรคร่วมฯอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับเขตเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องขอเวลาหารือกันในพรรคให้ละเอียด ก่อนจะนำมติที่ชัดเจนไปบอก ยืนยันไม่มีอึมครึม ไม่มีแทงกั๊กอะไรทั้งสิ้น เข้าใจเพื่อนร่วมพรรครัฐบาลดี
ผู้สื่อข่าวถามว่าในวงสนทนาของพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย มีการพูดกันถึงว่าอาจเปลี่ยนขั้วในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสุเทพ กล่าวว่า ข่าวลือหรือข่าวประเภทซุบซิบ เราอย่างไปให้น้ำหนัก เพราะบางทีการพูดจา ก็อาจมีการติดลมไปบ้างเป็นธรรมดา ก็เหมือนกับลูกพรรคของตนบางคนที่ออกมาพูด ไปก่อนที่ยังไม่ทันได้ฟังอะไร เพราะฉะนั้นอย่าถือสา ให้น้ำหนัก
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเคลื่อนไหวอย่างนี้ของพรรคร่วมฯ ถือเป็นการวัดใจพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ใจพรรคประชาธิปัตย์ ใจพวกตนไม่ต้องวัดหรอก เพื่อนเห็นชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ได้มีเล่ห์เหลี่ยมหรือชั้นเชิงอะไร ตรงไปตรงมา ไม่มีปัญหา ถือเป็นการเคลื่อนไหวปกติ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของ พรรคร่วมฯ ซึ่งเขาได้บอกตนมานานแล้ว
สำหรับการประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์วันนี้ นายสุเทพ กล่าวว่า จะคุยเรื่องการสัมมนาพรรคที่ จ.กระบี่ ปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะได้ความชัดเจนทุกประเด็นซึ่งร่วมถึงเรื่องเขตเลือกตั้งด้วย
ส่วนที่พรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย มีการหารือกันนั้นเหมือนเป็นสัญญาใจว่าจะทำงานร่วมกันไปจนถึงการเลือกตั้งครั้งหน้า นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ได้กังวลว่าเขาจะนำมาต่อรองอะไร แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะพรรคเล็ก ๆ เขาก็จำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่ง เตรียมพร้อมหากจะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งการที่เขาร่วมมือกันถือเป็นสัญญาณที่ดี และเป็นการร่วมมือกันในซีกรัฐบาลด้วยกันเอง และมั่นใจว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมทุกพรรคแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่พรรคร่วมฯ ผลักดันแก้ไข มาตรา 94 เกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้ง และมาตรา 190 เรื่องการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศมารวมเป็นญัตติเดียวในการเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นการบังคับให้พรรคประชาธิปัตย์ ต้องรับมาตรา 94 ด้วยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มีบังคับอะไร แต่เขามีความชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้วที่จะแก้ไข 2 มาตรานี้ เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์จะยอมตัดสินใจในพื้นฐานที่ตัวเองเสียเปรียบ หรือ นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นปกติ การเมืองจะคิดเอาเรื่องความ ได้เปรียบ เสียเปรียบส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ ความสงบเรียบร้อย ความอยู่ได้ของบ้านเมือง คงทำไม่ได้ ต้องช่างใจกันว่าอะไรดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองโดยส่วนรวม
บัญญัติรับหนักใจเปลี่ยนจุดยืนแก้ม.94
ด้านนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มาตรา 190 คิดว่าพรรคคงไม่ขัดย้อง แต่สำหรับ มาตรา 94 เรื่องระบบการเลือกตั้ง พรรคได้แสดงจุดยืนมาตลอดว่าระบบเลือกตั้งที่จะเหมาะสำหรับสังคมไทยคือเขตใหญ่ 3 คน เพราะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น และคนดีๆ มีโอกาสหลุดเข้ามาได้ ซึ่งพรรคเคยให้ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 50 จนออกมาเป็นตัวบทกฎหมายแล้ว วันดีคืนดีจะมาขอเปลี่ยนแปลง เป็นเขตเดียวเบอร์เดียวคิดว่าจะกลายเป็นไม่มีเหตุผลรองรับ จึงคิดว่าเป็นเรื่องลำบาก ที่พรรคจะเปลี่ยนจุดยืน อย่างไรก็ตามคงต้องรอผลการหารือกันในการสัมมนาสุดสัปดาห์นี้ก่อน
แต่อยากให้เพื่อนร่วมงานสบายใจโดยเราเปลี่ยนจุดยืน แล้วอธิบายประชาชนไม่ได้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าหนักใจ แต่จริงๆ ถ้าดูแล้วผมคิดว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ค่อยหวังผลเท่าไหร่ ผมยังมองในแง่ดีว่า การแถลงข่าวร่วมของ พรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย ประเด็นหลักน่าจะอยู่ตรงที่ 2 พรรคการเมืองตั้งใจจะทำการเมืองร่วมกันต่อไปในวันข้างหน้า เพราะเขาพูดชัดขนาดว่า แม้กระทั่งตอนที่จะมีการเลือกตั้งด้วย และประเด็นของรัฐธรรมนูญ ผมเข้าใจว่า ในฐานะที่หลายคนเป็นนักการเมืองเก่าแก่ น่าจะวิเคราะห์ออกว่าพรรคประชาธิปัตย์คงลำบากใจที่จะไปเทเสียงให้ และพรรคร่วมรัฐบาลก็พูดชัดเจนว่า แยกเรื่องนี้ออกจากเรื่องร่วมรัฐบาล
ส่วนการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะสอดรับกับช่วงการอภิปราย ไม่ไว้วางใจ จะมีผลต่อคะแนนลงมติหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่าจะมีการต่อรองอะไร และเห็นว่าประชาชนจับตาดูความเคลื่อนไหวของนักการเมืองอยู่ หากกระแสประชาชนออกมาชัดเจนเรื่องไหน เชื่อว่าโอกาสที่จะสวนกระแสประชาชนน้อยลงเรื่อย ๆ
สำหรับกรณีที่นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ยังเดินสายนัดพรรคร่วมรัฐบาลอื่นยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์นั้นนายบัญญัติ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร ถือเป็นสิทธิหรือความพยายามที่จะแสดงจุดยืนของตัวเอง
ปชป.เผยเป็นไปได้เปิดฟรีโหวต
น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุม ส.ส.พรรค ว่า ที่ประชุมได้เรียกร้องให้ส.ส.ทุกคนเข้าร่วมการสัมนาพรรคที่จ.กระบี่ ในวันที่ 23-24 ม.ค. เนื่องจากจะมีการลงมติในวาระสำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะต้องตอบพรรคร่วม หาก ส.ส.คนใดไม่ไปก็จะถือว่าไม่มีโอกาสในการแสดงความเห็น จากยอดผู้ที่แสดงความจำนงจะเดินทางไปมาลงชื่อแล้ว 165 คน จากจำนวน 172 คน
โดยในการสัมมนาครั้งนี้พรรคจะเปิดให้ส.ส.ทุกคนได้แสดงความเห็น อย่างเต็มที่ สามารถขัดแย้งกันได้แต่โดยวัฒนธรรมของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว เมื่อเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นอย่างไร ถึงจะโหวตชนะกันแค่ 1 เสียง แต่สมาชิกทั้งหมด ก็จะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามจากที่ฟังผู้ใหญ่ในพรรคต่างเห็นตรงกันว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญ 2 มาตราก็ไม่จำเป็นต้องมีการทำประชามติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีความขัดแย้งกันมากระหว่างการแก้ไขและไม่แก้ไข เป็นไปได้หรือไม่ที่จะฟรีโหวต น.พ.วรงค์ กล่าวว่า เป็นไปได้ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับการลงมติของพรรคยืนยันว่าส.ส.ในพรรคทุกคนมีวินัย พร้อมที่จะปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างกรณีการเลือกรัฐมนตรี แม้จะมีเสียงโวยวายอยู่บ้าง แต่เมื่อพรรคลงมติแล้วทุกอย่างก็จบ
การจะตัดสินใจอย่างไรเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส. จะอ้างรัฐธรรมนูญไม่ปฎิบัติตามมติพรรคก็ได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคที่มีวัฒนธรรมเมื่อเสียงส่วนใหญ่ เราอยู่กันด้วยใจ ถ้าเห็นอย่างไรก็จะปฏิบัติตามกันทั้งหมด ยืนยันว่าการแสดงจุดยืนครั้งนี้เป็นเรื่องที่พรรคต้องแสดงออกไม่เกี่ยวกับแรงบีบของพรรคร่วมใดๆทั้งสิ้น
ปัดเติ้งพบสมชายอ้อนร่วมแก้รธน.
วันเดียวกัน นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมแกนนำพรรค ได้เชิญ แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน ประกอบด้วย นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรค นายพินิจ จารุสมบัติ ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรค หารือและขอเสียงสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 94 และ มาตรา 190 ที่โรงแรมพลาซ่า แอททินี ซึ่งพรรคเพื่อไทยยืนยันจะร่วมลงชื่อสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 มาตรา
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงข่าวที่ว่านายบรรหาร ประสานผ่านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ แกนนำพรรคเพื่อไทย ขอให้พรรคเพื่อไทยฟรีโหวตในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของพรรคและนักการเมือง ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล จึงถือเป็นสิทธิในการสนับสนุนหากพรรคเพื่อไทยร่วมโหวตด้วยก็ไม่ใช่เรื่องปลก แต่เป็นเรื่องที่น่ายินดี และน่ายกย่อง และไม่ถือเป็นการกดดันพรรคประชาธิปัตย์
ขณะที่นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกูล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนาปฏิเสธว่า เป็นข่าวโคมลอยที่ว่านายบรรหาร ได้คุยกับนายสมชาย เพื่อขอให้ร่วมยื่นญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเสียงที่มีอยู่ครบตามกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว
จับตานำร่างแก้รธน.คปพร.กดดันปชป.
ด้านนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า การที่ พรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย ประกาศจับมือผลักดันอย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมกันผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา ถือว่าเป็น 2 มาตราที่เป็นกล่องดวงใจ ของพรรคร่วมรัฐบาล เพราะรู้ว่า เขตใหญ่เรียงเบอร์ สู้พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส่วนมาตรา 190 เป็นของแถมมาแก้เกี้ยว
ผมเห็นว่า ถึงเวลายื่นญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสภาไปจริง แม้จะยื่นแก้ 2 ประเด็น แต่อาจมีการสอดไส้ มาตรา 237,265,266,309 เข้ามาด้วย เพราะร่างของ คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) ของ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ก็ค้างอยู่ในวาระ จึงอาจเอามายำกันเป็นเรื่องเดียวเพื่อต่อรอง เกมก็จะยื่งสู้กันหนักเพราะมีพรรคเพื่อไทยเข้ามาร่วมด้วยเพราะต้องการร่างของ คปพร. ส่วนฝ่ายส.ว. บางกลุ่มที่จะเอาด้วยกับ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอก็จะร่วมด้วย แต่สำหรับกลุ่ม 40 ส.ว.และส.ว.อีกบางส่วน ไม่เอาทั้ง 2 มาตรา หรือ 6 มาตราเพราะเห็นว่า ทั้งสองแบบเป็นผลประโยชน์นักการเมืองล้วนๆ
นายประสาร กล่าวว่านอกจากนี้ ทั้งร่างของ คปพร. และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคร่วมรัฐบาลอาจใช้เป็นเครื่องมือต่อรองพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เช่น หาก พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอม พรรคร่วมอาจต่อรองจะฟรีโหวตตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ไม่น่าจะทำให้เกิดวิกฤต เพราะชนวนที่จะจุดวิกฤต น่าจะเป็นการเคลื่อนไหวนอกสภาของกลุ่มเสื้อแดงมากกว่า ที่จะหยิบหลายๆ เรื่องเข้ามา ล่าสุดเรื่องยิงเอ็ม 79 ใส่ห้องทำงานผบ.ทบ. เป็นสัญญาณไม่ดี เพราะชี้ว่า ความรุนแรง สามารถเกิดได้ตลอดเวลาโดยจับมือใครดมไม่ได้
ส.ส.สุพรรณฯเอาด้วยกับชทพ.
นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี แกนนำกลุ่มส.ว.เลือกตั้ง กล่าวว่า ถ้าพรรคชาติไทยพัฒนาขอเสียงสนับสนุนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น โดยส่วนตัวตนก็จะลงชื่อสนับสนุนแม้จะเป็นการแก้ไข 2 ประเด็น เพราะมีความเคารพกับผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคดังกล่าวเป็นการส่วนตัว ส่วนเพื่อนส.ว.ในกลุ่มจะมีท่าทีอย่างไรกับเรื่องนี้ ก็ยังไม่ได้คุยกันและคงต้องดูตัวร่างก่อนว่า เป็นอย่างไรมีเหตุผลอย่างไร ตอนนี้จึงยังตอบแทนเพื่อนส.ว.ทั้งกลุ่มไม่ได้
อย่างไรก็ดี ตอนนี้พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้มีการประสานมา ซึ่งถ้าประสานมา ฝ่ายส.ว.คงไม่ขอให้เพิ่มเติมให้ครบ 6 ประเด็น ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอ เพราะฝ่ายพรรคร่วมมีเจตนาชัดว่า ต้องการแก้ก่อน 2 ประเด็น ถ้าไปขอเพิ่ม ก็คงไม่ให้
ส่วนที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาระบุว่า หากยื่นแก้ไขมา 2 ประเด็น อาจพิจารณาไปพร้อมกับร่างของ คป.พร.ที่คาอยู่ในวาระการประชุมนานแล้วนั้น นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าพอถึงเวลา ร่างของคป.พร.คงยังไม่ยกขึ้นมาพิจารณาก่อน เพราะที่ผ่านมา ร่างของคป.พร.อยู่ในวาระแรก แต่ก็มีการเสนอเลื่อนวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนมาโดยตลอด ซึ่งหากต้องมีการโหวต ส.ว.ก็เห็นว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ 6 ประเด็น ตกผลึกแล้ว แต่สำหรับร่างของคป.พร.นั้น เสนอแก้เป็นร้อยประเด็น ซึ่งคงไม่ใช่
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อให้ร่วมลงชื่อ แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าถ้าแก้แค่ 2 มาตรามันแคบไป แม้มาตรา 190 จะเป็นประโยชน์ร่วมกันในการบริหารของรัฐบาล ส่วนเรื่องเขตเลือกตั้งที่จะแก้ให้เป็น เขตเดียวเบอร์เดียว ตนก็เห็นด้วย เพราะเขตใหญ่เรียงเบอร์วุ่นวาย แต่ยังติดใจว่า ทำไมไม่แก้ให้ครบ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ สรุปเป็นข้อเสนออกมาแล้ว ว่า เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ไม่รู้ว่า ที่ยื่นแก้แค่ 2 ประเด็น เพราะกลัวเรื่องที่มาของ ส.ว.จะทำให้ใครได้ใครเสียอะไรไปหรือไม่
ถ้ายื่นเข้ามา 2 ประเด็น มันเพิ่มการแก้ไขเรื่องอื่นไม่ได้ ผมคิดว่า มันน่าจะแปรญัตติเพิ่มได้ ดังนั้น การเสนอร่างเข้าสภา น่าจะเสนอ 6 ประเด็น ใครจะเอาหรือไม่เอาอะไร ก็อภิปรายเหตุผลกันในสภา และแปรญัตติกัน สุดท้ายก็มาโหวตตัดสิน ส่วนร่างของคป.พร.ที่ค้างในวาระ เชื่อว่า จะไม่มีการนำมารวมพิจารณา ไปในคราวเดียวหากมีการยื่นร่างแก้ไข 2 ประเด็นเข้าสภา เพราะที่ผ่านมา แม้บรรจุร่าง ในวาระค้างอยู่นานแล้ว พอถึงเวลาพิจารณาก็เลื่อนวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนทุกครั้ง
พท.รอพรรคร่วมฯตกลงกันก่อน
นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ต้องให้พรรคร่วมรัฐบาล ไปหาข้อยุติกันก่อนซึ่งฝ่ายค้านมีข้อยุติไปแล้ว ส่วนการพูดจากันนั้นต้องรอให้ถึงขั้นตอนบรรจุวาระเข้าสู่สภาก่อนจะดีกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เสียงไม่พอฝ่ายค้านจะช่วยยกมือสนับสนุนหรือไม่ นายวิทยากล่าวว่า ยังไม่ขอพูดถึง รอให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ข้อยุติก่อน อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีร่างที่ประชาชนเสนอแก้ไขอยู่ในสภาแล้ว ขอให้นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปดำเนินการในส่วนนี้ก่อน อย่ารอพรรคร่วมรัฐบาลส่งมา เพราะการพูดคุยที่ผ่านมายังเป็นเพียงแนวทาง ยังไม่มีความชัดเจน
” เชื่อ “บรรหาร” ไม่มั่นใจไม่เดินเกมแก้
นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย และรองประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่าการที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เดินสายนัดหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านเพื่อเดินหน้าให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้หลักการของพรรคเพื่อไทยจะยึดจุดยืนเดิมคือ ต้องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยเอารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับคืนมา แต่การที่พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งนำโดยนายบรรหาร ออกมาแสดงความกล้าหาญเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม อีกทั้งคนระดับนายบรรหารรู้ทิศทางการเมืองดีว่าน่าจะสามารถทำได้จึงออกมาเคลื่อนไหว อย่างชัดเจนเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นเราสนับสนุนเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้จะเกิดขึ้นเพียง 2 ประเด็นแต่ก็ทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยได้ แต่การโหวตจะมีส.ส.ของพรรคเพื่อไทยไปร่วมโหวตสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่นั้นค่อยว่ากัน เพราะการโหวตในสภาเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.