โดย...วรรณนิภา พิภพไชยาสิทธิ์
พลังงานจากน้ำเป็นพลังงานทดแทนที่สะอาดไม่มีมลพิษ ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในยุโรปตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันตามเนื้อหาที่กล่าวไว้ในบทความเรื่องโรงไฟฟ้าขนาดเล็กในอียูและไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยพบว่ามีบริษัทต่างๆ ในยุโรปผลิตเครื่องกังหัน (Turbine) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นจำนวนมาก
สำหรับการผลิตกระแสไฟจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและส่งเสริมให้เกิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า Small Hydro Power (SHP) รวมทั้งโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋ว หรือ Mini-hydro หรือที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันคือ โรงไฟฟ้าชุมชนขนาดจิ๋ว ซึ่งผลิตกระแสไฟได้ตั้งแต่ 5 - 10 กิโลวัตต์ขึ้นไป สามารถใช้ได้เพียงพอสำหรับชุมชนหรือหมู่บ้านเล็กๆ
โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วมีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขา แม่น้ำลำธารและน้ำตก ในยุโรปนั้นประเทศที่มีภูมิศาสตร์ดังกล่าวคือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ชื่อทางการคือ สมาพันธรัฐสวิส) ซึ่งเป็นประเทศที่มีโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋วอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในชุมชน และยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย
โดยในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงปี 2453 ได้มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วในสวิตเซอร์แลนด์อีกจำนวน 28 แห่ง ใช้น้ำประมาณ 400 ล้านคิวบิก ซึ่งสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ถึง 2 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี ต่อมาในปี 2528 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 1,000 แห่ง มากขึ้นถึง 16 เท่า หรือประมาณ 11,670 เมกะวัตต์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 32 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของการผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมดในสวิตเซอร์แลนด์
ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 นั้น เป็นพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากในช่วงฤดูหนาว น้ำในแม่น้ำลำธารแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็ง จึงทำให้ขาดเสถียรภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้า สวิตเซอร์แลนด์จึงต้องมีพลังงานนิวเคลียร์สลับใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว
นอกจากสวิตเซอร์แลนด์แล้ว โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสหราชอาณาจักร อาทิ โครงการใน South Somerset, Miles and Gail Fursdon, Westmorland ในอังกฤษ โครงการหุบเขาสีเขียว (Green Valleys Project) ในอุทยานแห่งชาติ Brecon Beacons และที่ Dulas Powys ในเวลส์ เป็นต้น ซึ่งโรงไฟฟ้าฯ ที่ตั้งอยู่ในเมืองหรือสถานที่ที่กล่าวข้างต้นนั้น ล้วนแต่เป็นโครงการ Best Practice แล้ว โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วในสหราชอาณาจักรผลิตจากเครื่องกังหันน้ำ (Water Mills) ที่ไม่ได้ใช้งานและถูกทิ้งไว้ เจ้าของจึงได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองในชุมชนเป็นจำนวนมาก
โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วในเอเชีย
จากการจัดอันดับเพื่อมอบรางวัล Ashden Awards ของทรัสต์ Ashden องค์กรการกุศลของตระกูล Sainsbury ในสหราชอาณาจักรนั้น จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนต่างๆ มีการให้รางวัลจากการคัดเลือกโครงการที่เป็นกรณีศึกษาตัวอย่างการใช้พลังงานจากพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ซึ่งได้รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วด้วย ทีมงานในการคัดเลือกเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ นักลงทุนจากหน่วยงาน องค์กรชั้นนำของโลก
ในปี 2552 เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ทรงเป็นประธานในการมอบรางวัลให้กับโครงการที่ชนะการประกวด ส่วนหนึ่งจากรายงานของทรัสต์ฯ ระบุไว้ว่า โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วในเอเชียมีมากบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งครอบคลุม 5 ประเทศ คือ ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล
โครงการ Best Practice ที่ชนะการประกวดของทรัสต์ฯ ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ปากีสถาน และอินเดีย สำหรับโครงการจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับรางวัลในปี 2550 คือ AID Foundation จากฟิลิปปินส์ และในปี 2548 เป็นโครงการของ Save the Infugao Terraces Movement ( SITMO) จากฟิลิปปินส์อีกเช่นกัน
นอกจากฟิลิปปินส์แล้ว อินโดนีเซียก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อโรงไฟฟ้า พลังน้ำขนาดจิ๋ว มีโครงการของ Small Private Renewable Energy Power ( PSK Tersebar) หรือ PSK Tersebar เป็นโครงการต้นแบบที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท GP Electrics ประเทศอังกฤษ โดยได้รับการสนับสนุนในการสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนจากกระทรวงพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของอินโดนีเซีย
ความคุ้มค่าต่อการลงทุน
จากรายงานของ World Bank ได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ผลจากการให้การสนับสนุนการเงินแก่โรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนขนาดจิ๋วที่เป็นโครงการ Best Practice จากประเทศศรีลังกา เปรู เนปาล ซิมบับเว และโมซัมบิก พบว่า การลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วนั้น ได้รับผลตอบแทนสูง อาทิ มีการเปรียบเทียบกำลังการผลิตและกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ ประเมินออกมาเป็นค่า IRR (Internal Rate of Return) หรืออัตราผลตอบแทนภายในได้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงและคุ้มค่าต่อการลงทุน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโครงการที่น้ำตกมีกระแสน้ำแรง และมีแรงดันสูง จะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่สูง เป็นผลสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ในการส่งเสริมให้สร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วสำหรับชุมชน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับชุมชนที่อยู่ในชนบทห่างไกล ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และยังจำหน่ายออกไปในพื้นที่ใกล้เคียง หรือขายคืนให้กับบริษัทเอกชนหรือให้หน่วยงานราชการรับซื้อต่อไป
กระแสโลก ชุมชนพึ่งพาตัวเอง
สภาวการณ์โลกร้อนที่ส่งผลให้เกิดกระแสความคิดในการรักษาและลดโลกร้อนไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป ปัญหาวิกฤตทางการเงินทั่วโลกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดกระแสความคิดเกี่ยวกับเรื่องการพึ่งพาตนเอง เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนแต่ละชุมชนได้หันมามองหาวิธีการที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้
การที่สหภาพยุโรปได้เห็นความสำคัญของโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว มีการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เพิ่มการใช้พลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วทั้งอียู เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเงินตราไปกับการซื้อน้ำมันที่มีราคาแพงมากและจะหมดไปในอนาคต
ประเทศไทยเองก็มีแนวคิดเรื่องการส่งเสริมให้ใช้พลังน้ำเพื่อชุมชนที่ยั่งยืนมานานแล้ว อีกทั้งจะเป็นการช่วยลดและป้องกันปัญหาอุบัติภัยทางธรรมชาติโดยการรักษาต้นน้ำ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น ในแง่ของการใช้พลังงานจากน้ำนั้น จึงควรส่งเสริมให้ชุมชนเสาะแสวงหาแหล่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น อาทิ น้ำตก โดยหันมาสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากน้ำตก เพื่อจะได้สามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาต่างๆ ได้หลากหลายมิติ
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้จัดแบ่งขนาดของโรงไฟฟ้าพลังน้ำออกเป็น 3 ขนาด คือ
1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ (Large Hydropower) มีขนาดกำลังการผลิตมากกว่า 30 เมกะวัตต์
2. โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก (Mini Hydropower) มีขนาดกำลังการผลิตอยู่ระหว่าง 200 กิโลวัตต์ ถึง 30 เมกะวัตต์
3. โรงไฟฟ้าขนาดจิ๋ว (Micro Hydropower) มีขนาดกำลังการผลิตน้อยกว่า 200 กิโลวัตต์
ลักษณะของโรงไฟฟ้าพลังน้ำนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ โรงไฟฟ้าแบบมีน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-of-River Hydro Plant) โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ( Regulating Pond Hydro Plant) โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (Reservoir Hydro Plant) และโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับ (Pumped Storage Hydro Plant)
ตั้งแต่ปี 2507 ได้เริ่มมีการนำเอาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วเข้ามาใช้ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนที่อยู่ห่างไกลในชนบท มีแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองในชุมชน และมีการนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
ในปี 2550 จากการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่าไทยมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำที่ 25,500 เมกะวัตต์ โดยพลังน้ำชุมชนจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ และมีพลังงานน้ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทานอยู่อีก 6,618 แห่งทั่วประเทศ คาดว่าน่าจะสามารถพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็กได้ประมาณ 294 แห่ง ซึ่งจะสร้างกำลังผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 115,945 กิโลวัตต์
ในปี 2551 มีโครงการพลังน้ำขนาดเล็กแล้วประมาณ 22 โครงการทั่วประเทศ สำหรับโครงการพลังน้ำชุมชนหรือระดับหมู่บ้าน ก็มีอยู่แล้วประมาณ 100 กว่าแห่งทั่วประเทศ
โรงไฟฟ้าชุมชนพลังงานจากน้ำตกทั่วไทย
หากจะเปรียบเทียบภูมิประเทศของไทยกับบางประเทศในอียู เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ในเชิงของศักยภาพของพลังน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีหลายส่วนในไทยที่คล้ายกัน พลังน้ำจากน้ำตกจึงเป็นอีกแหล่งของพลังน้ำชุมชน สำหรับน้ำตกที่ได้รับการสำรวจในประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ภาคเหนือประมาณ 40 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 10 แห่ง ภาคกลางประมาณ 20 แห่ง ภาคตะวันออก 10 แห่ง และภาคใต้ 20 แห่ง แต่ที่ยังไม่ได้สำรวจอีกนั้น เชื่อว่าจะยังมีอีกมาก
พลังไฟฟ้าจากน้ำตก ถูกมองข้ามไปหรือไม่
พลังไฟฟ้าจากน้ำตก ไม่ได้ถูกมองข้ามไป แต่น่าจะได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น โครงการที่ได้รับการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้กำลังมีการสำรวจพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาคใต้ยังมีน้ำตกอีกเป็นจำนวนมากที่มีศักยภาพสูงในการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนพลังน้ำขนาดจิ๋วได้และยังเป็นการสนับสนุนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ต่อไป
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
พลังงานจากน้ำเป็นพลังงานทดแทนที่สะอาดไม่มีมลพิษ ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในยุโรปตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันตามเนื้อหาที่กล่าวไว้ในบทความเรื่องโรงไฟฟ้าขนาดเล็กในอียูและไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยพบว่ามีบริษัทต่างๆ ในยุโรปผลิตเครื่องกังหัน (Turbine) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นจำนวนมาก
สำหรับการผลิตกระแสไฟจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและส่งเสริมให้เกิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า Small Hydro Power (SHP) รวมทั้งโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋ว หรือ Mini-hydro หรือที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันคือ โรงไฟฟ้าชุมชนขนาดจิ๋ว ซึ่งผลิตกระแสไฟได้ตั้งแต่ 5 - 10 กิโลวัตต์ขึ้นไป สามารถใช้ได้เพียงพอสำหรับชุมชนหรือหมู่บ้านเล็กๆ
โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วมีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขา แม่น้ำลำธารและน้ำตก ในยุโรปนั้นประเทศที่มีภูมิศาสตร์ดังกล่าวคือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ชื่อทางการคือ สมาพันธรัฐสวิส) ซึ่งเป็นประเทศที่มีโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋วอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในชุมชน และยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย
โดยในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงปี 2453 ได้มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วในสวิตเซอร์แลนด์อีกจำนวน 28 แห่ง ใช้น้ำประมาณ 400 ล้านคิวบิก ซึ่งสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ถึง 2 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี ต่อมาในปี 2528 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 1,000 แห่ง มากขึ้นถึง 16 เท่า หรือประมาณ 11,670 เมกะวัตต์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 32 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของการผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมดในสวิตเซอร์แลนด์
ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 นั้น เป็นพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากในช่วงฤดูหนาว น้ำในแม่น้ำลำธารแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็ง จึงทำให้ขาดเสถียรภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้า สวิตเซอร์แลนด์จึงต้องมีพลังงานนิวเคลียร์สลับใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว
นอกจากสวิตเซอร์แลนด์แล้ว โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสหราชอาณาจักร อาทิ โครงการใน South Somerset, Miles and Gail Fursdon, Westmorland ในอังกฤษ โครงการหุบเขาสีเขียว (Green Valleys Project) ในอุทยานแห่งชาติ Brecon Beacons และที่ Dulas Powys ในเวลส์ เป็นต้น ซึ่งโรงไฟฟ้าฯ ที่ตั้งอยู่ในเมืองหรือสถานที่ที่กล่าวข้างต้นนั้น ล้วนแต่เป็นโครงการ Best Practice แล้ว โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วในสหราชอาณาจักรผลิตจากเครื่องกังหันน้ำ (Water Mills) ที่ไม่ได้ใช้งานและถูกทิ้งไว้ เจ้าของจึงได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองในชุมชนเป็นจำนวนมาก
โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วในเอเชีย
จากการจัดอันดับเพื่อมอบรางวัล Ashden Awards ของทรัสต์ Ashden องค์กรการกุศลของตระกูล Sainsbury ในสหราชอาณาจักรนั้น จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนต่างๆ มีการให้รางวัลจากการคัดเลือกโครงการที่เป็นกรณีศึกษาตัวอย่างการใช้พลังงานจากพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ซึ่งได้รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วด้วย ทีมงานในการคัดเลือกเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ นักลงทุนจากหน่วยงาน องค์กรชั้นนำของโลก
ในปี 2552 เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ทรงเป็นประธานในการมอบรางวัลให้กับโครงการที่ชนะการประกวด ส่วนหนึ่งจากรายงานของทรัสต์ฯ ระบุไว้ว่า โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วในเอเชียมีมากบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งครอบคลุม 5 ประเทศ คือ ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล
โครงการ Best Practice ที่ชนะการประกวดของทรัสต์ฯ ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ปากีสถาน และอินเดีย สำหรับโครงการจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับรางวัลในปี 2550 คือ AID Foundation จากฟิลิปปินส์ และในปี 2548 เป็นโครงการของ Save the Infugao Terraces Movement ( SITMO) จากฟิลิปปินส์อีกเช่นกัน
นอกจากฟิลิปปินส์แล้ว อินโดนีเซียก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อโรงไฟฟ้า พลังน้ำขนาดจิ๋ว มีโครงการของ Small Private Renewable Energy Power ( PSK Tersebar) หรือ PSK Tersebar เป็นโครงการต้นแบบที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท GP Electrics ประเทศอังกฤษ โดยได้รับการสนับสนุนในการสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนจากกระทรวงพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของอินโดนีเซีย
ความคุ้มค่าต่อการลงทุน
จากรายงานของ World Bank ได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ผลจากการให้การสนับสนุนการเงินแก่โรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนขนาดจิ๋วที่เป็นโครงการ Best Practice จากประเทศศรีลังกา เปรู เนปาล ซิมบับเว และโมซัมบิก พบว่า การลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วนั้น ได้รับผลตอบแทนสูง อาทิ มีการเปรียบเทียบกำลังการผลิตและกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ ประเมินออกมาเป็นค่า IRR (Internal Rate of Return) หรืออัตราผลตอบแทนภายในได้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงและคุ้มค่าต่อการลงทุน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโครงการที่น้ำตกมีกระแสน้ำแรง และมีแรงดันสูง จะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่สูง เป็นผลสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ในการส่งเสริมให้สร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วสำหรับชุมชน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับชุมชนที่อยู่ในชนบทห่างไกล ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และยังจำหน่ายออกไปในพื้นที่ใกล้เคียง หรือขายคืนให้กับบริษัทเอกชนหรือให้หน่วยงานราชการรับซื้อต่อไป
กระแสโลก ชุมชนพึ่งพาตัวเอง
สภาวการณ์โลกร้อนที่ส่งผลให้เกิดกระแสความคิดในการรักษาและลดโลกร้อนไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป ปัญหาวิกฤตทางการเงินทั่วโลกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดกระแสความคิดเกี่ยวกับเรื่องการพึ่งพาตนเอง เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนแต่ละชุมชนได้หันมามองหาวิธีการที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้
การที่สหภาพยุโรปได้เห็นความสำคัญของโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว มีการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เพิ่มการใช้พลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วทั้งอียู เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเงินตราไปกับการซื้อน้ำมันที่มีราคาแพงมากและจะหมดไปในอนาคต
ประเทศไทยเองก็มีแนวคิดเรื่องการส่งเสริมให้ใช้พลังน้ำเพื่อชุมชนที่ยั่งยืนมานานแล้ว อีกทั้งจะเป็นการช่วยลดและป้องกันปัญหาอุบัติภัยทางธรรมชาติโดยการรักษาต้นน้ำ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น ในแง่ของการใช้พลังงานจากน้ำนั้น จึงควรส่งเสริมให้ชุมชนเสาะแสวงหาแหล่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น อาทิ น้ำตก โดยหันมาสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากน้ำตก เพื่อจะได้สามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาต่างๆ ได้หลากหลายมิติ
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้จัดแบ่งขนาดของโรงไฟฟ้าพลังน้ำออกเป็น 3 ขนาด คือ
1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ (Large Hydropower) มีขนาดกำลังการผลิตมากกว่า 30 เมกะวัตต์
2. โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก (Mini Hydropower) มีขนาดกำลังการผลิตอยู่ระหว่าง 200 กิโลวัตต์ ถึง 30 เมกะวัตต์
3. โรงไฟฟ้าขนาดจิ๋ว (Micro Hydropower) มีขนาดกำลังการผลิตน้อยกว่า 200 กิโลวัตต์
ลักษณะของโรงไฟฟ้าพลังน้ำนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ โรงไฟฟ้าแบบมีน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-of-River Hydro Plant) โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ( Regulating Pond Hydro Plant) โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (Reservoir Hydro Plant) และโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับ (Pumped Storage Hydro Plant)
ตั้งแต่ปี 2507 ได้เริ่มมีการนำเอาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วเข้ามาใช้ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนที่อยู่ห่างไกลในชนบท มีแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองในชุมชน และมีการนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
ในปี 2550 จากการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่าไทยมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำที่ 25,500 เมกะวัตต์ โดยพลังน้ำชุมชนจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ และมีพลังงานน้ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทานอยู่อีก 6,618 แห่งทั่วประเทศ คาดว่าน่าจะสามารถพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็กได้ประมาณ 294 แห่ง ซึ่งจะสร้างกำลังผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 115,945 กิโลวัตต์
ในปี 2551 มีโครงการพลังน้ำขนาดเล็กแล้วประมาณ 22 โครงการทั่วประเทศ สำหรับโครงการพลังน้ำชุมชนหรือระดับหมู่บ้าน ก็มีอยู่แล้วประมาณ 100 กว่าแห่งทั่วประเทศ
โรงไฟฟ้าชุมชนพลังงานจากน้ำตกทั่วไทย
หากจะเปรียบเทียบภูมิประเทศของไทยกับบางประเทศในอียู เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ในเชิงของศักยภาพของพลังน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีหลายส่วนในไทยที่คล้ายกัน พลังน้ำจากน้ำตกจึงเป็นอีกแหล่งของพลังน้ำชุมชน สำหรับน้ำตกที่ได้รับการสำรวจในประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ภาคเหนือประมาณ 40 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 10 แห่ง ภาคกลางประมาณ 20 แห่ง ภาคตะวันออก 10 แห่ง และภาคใต้ 20 แห่ง แต่ที่ยังไม่ได้สำรวจอีกนั้น เชื่อว่าจะยังมีอีกมาก
พลังไฟฟ้าจากน้ำตก ถูกมองข้ามไปหรือไม่
พลังไฟฟ้าจากน้ำตก ไม่ได้ถูกมองข้ามไป แต่น่าจะได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น โครงการที่ได้รับการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้กำลังมีการสำรวจพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาคใต้ยังมีน้ำตกอีกเป็นจำนวนมากที่มีศักยภาพสูงในการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนพลังน้ำขนาดจิ๋วได้และยังเป็นการสนับสนุนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ต่อไป
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th