วานนี้ (4 ม.ค.) คณะทำงานกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นำโดยนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส. สงขลา แถลงถึงคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ว่า ขณะนี้มีความพยายามจงใจสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่า มีการใช้สองมาตรฐานดำเนินคดีดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริง ขอชี้แจงว่า ปชป.ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้รับเงินดังกล่าว จึงเป็นไปไม่ได้ที่พรรคจะต้องไปรับผิด นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังเกิดขึ้นในระหว่างปี 2548-49 หากฟังได้ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด ก็จะต้องใช้กฎหมายพรรคการเมือง 2541 ซึ่งกำหนดโทษไว้เพียงให้กรรมการรบริหารพรรคที่รับเงิน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของเงินที่ได้รับมาเท่านั้น โทษไม่ถึงขั้นยุบพรรคแต่อย่างใด
นายวิรัตน์ กล่าวด้วยว่า การที่ พท. พยายามระบุว่ามีการใช้สองมาตรฐาน โดยเทียบเคียงกับกรณีที่พรรคไทยรักไทย (ทรท.) ถูกยุบ ในช่วงนั้น ปชป. ก็ถูกใส่ความเช่นกัน แต่พรรคไม่ได้ทำผิด จึงไม่ถูกสั่งให้ยุบพรรค ขณะที่ทรท. มีหลักฐานชัดเจนว่า ทำผิดจึงถูกยุบพรรค ซึ่งช่วงนั้นก็มีกระแสข่าวเรื่องการใช้เงินซื้อศาล ซื้อตุลาการ เกิดกรณีถุงขนม 2 ล้านบาท เมื่อซื้อไม่ได้จึงออกมาโจมตีว่า มีการใช้สองมาตรฐาน
ส่วนกรณี นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย (ชท.) ระบุว่า มีอดีตนายกฯ ยศนายพล วิ่งเต้นไม่ให้ยุบปชป. นั้น ถ้านายบรรหารพูดจริง ขอให้ระบุมาว่า เป็นใคร เพราะปชป. มีอดีตนายกฯ เพียงคนเดียว คือนายชวน หลีกภัย กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค แต่นายชวนไม่ได้มียศเป็นทหาร จึงไม่ทราบว่าเป็นใคร ขอยืนยันว่า ปชป.ไม่เคยแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ขั้นตอนการพิจารณาคดีนี้ ปัจจุบันอยู่ที่นายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งหมายถึงนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. เพียงคนเดียว กกต.อีก 4 คนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ กกต.บางคนก็รู้ว่า เรื่องนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานกกต. แต่ก็ยังออกมาสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคม ปชป.จึงกำลังรวบรวมพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในหลายเรื่องของ กกต.คนดังกล่าว เพื่อพิจารณาว่า เพียงพอต่อการยื่นถอดถอนหรือไม่ เพราะกกต.คนดังกล่าวบางครั้งก็มีพฤติกรรมชี้นำ พยายามช่วยเหลือพรรคการเมืองบางพรรค ซึ่งประชาชนคงเข้าใจดีกว่า การที่กกต.คนดังกล่าวออกมาสร้างความสับสน ต้องการอะไร นอกจากนี้ ยังมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคนที่พูดจาใส่ร้าย ปชป. ซึ่งหากพบว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายใด ก็อาจต้องดำเนินการ
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงการพิจารณาคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาการทำความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า ยืนยันว่าทุกอย่างทำเป็นขั้นเป็นตอนตามข้อกฎหมาย ที่มีข่าวว่ากกต. 3 คนมอบอำนาจให้กับนายทะเบียนพรรคการเมืองไปพิจารรา ความจริงไม่ใช่ เพราะตอนที่โหวตกัน ไม่มีใครรู้ว่าประธาน กกต.โหวตอย่างไร แต่ กกต. 3 คน เห็นว่าต้องผ่านขั้นตอนของนายทะเบียนฯ เสียก่อน และทั้ง 3 คน ก็ยังไม่ได้โหวตในกรณีนี้
เมื่อถามว่าคดี 258 ล้าน ใช้อำนาจของกกต. ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเหตุใดจึงให้นายทะเบียนเป็นผู้พิจารณา นายประพันธ์ กล่าวว่า ตอนที่มีการร้องเรียนมา เรายังไม่ทราบว่ามันเป็นอะไร ซึ่งตามขั้นตอน กกต.ก็ต้องคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมา แต่เมื่อคณะอนุกรรมการฯรายงานผลการสอบสวนมา ก็ต้องมาดูข้อเท็จจริง ว่าเป็นอย่างไร และดูขั้นตอนของกฎหมายซึ่งก็เห็นว่า ถ้าเป็นความผิดตาม มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง คือให้ยุบพรรค นายทะเบียนก็ต้องดำเนินการตาม มาตรา 95 คือไปมีความเห็นมาก่อน
"องค์กร กกต.เพิ่งตั้งมาได้ 11 ปี ดังนั้นเรื่องในทางปฏิบัติยังไม่ลงรอย ไม่ชัดเชน และกรณีนี้ก็ไม่เหมือนกับการยุบ 3 พรรค ที่มีการให้ใบแดงกรรมการบริหาร ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ก็ได้ระบุไว้ต้องยุบพรรค และนายทะเบียน ได้ยึดตามคำพิพากษาโดยทำความเห็นยุบ 3 พรรค ซึ่งเป็นรูปแบบที่ถูกต้อง แต่ครั้งนี้ถ้านายทะเบียนมีความเห็นว่า ควรยุบพรรคเสนอ กกต. แล้ว กกต.เห็นด้วยก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเรื่องการยุบพรรค หรือไม่ และต้องมีการแจ้งข้อกล่าวอีกหรือไม่"
ส่วนที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ออกมาระบุว่า มีอดีตนายกฯ ขอไม่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ นั้นไม่ทราบว่านายบรรหาร ทราบข้อมูลมาจากที่ไหน แต่ส่วนของตน ไม่มี ถ้าเป็นเรื่องที่ได้สัมผัสด้วยตัวเอง ก็จะสามารถอธิบายได้ทุกเรื่อง แต่ถ้าพูดข้างเดียว ก็ไม่ทราบว่าจะตามไปอธิบายอย่างไร
" อย่างเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.50 ส.ส.ในสภาเกือบทุกพรรค เกือบทุกคนเคยถูกร้องทั้งสิ้น ลองไปถามดูว่า ที่กกต. ยกคำร้องจนปฏิบัติหน้าที่ได้นั้น มีใครวิ่งเต้นให้ยกคำร้องหรือไม่ ถามกระทั่งคนที่พูดต่อว่า กกต.บางคนก็มีเรื่องร้องแล้ว ก็มีกกต.ยก เคยมาหากกต.หรือไม่"
นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงความรู้สึกที่เวลานี้ กกต.ถูกตกเป็นเป้ากดดันของฝ่ายการเมืองว่า ความกดดันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ถ้ามีคนบอกว่าจะมาเผาบ้าน มันก็ต้องกดดันเป็นธรรมดา แต่เราก็ต้องทำงานตามหน้าที่ ดูความถูกต้องดูข้อเท็จจริง เมื่อเราวินิจฉัยไปแล้วก็ต้องมีทั้ง 2 ฝ่าย มีทั้งคนที่ถูกใจ และไม่ถูกต้อง การมาชุมนุมหากทำในระบอบประชาธิปไตย และอยู่ในกรอบกติกาก็ไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนเรื่องความปลอดภัยของ กกต.ทุกคน เจ้าหน้ที่ตำรวจก็ส่งคนมาดูแลอยู่แล้ว ระบอบประชาธิปไตยนั้น ถ้าจะให้อยู่ได้ก็ต้องให้อยู่ในกรอบของกฎหมายหากอะไรไม่ถูกไม่ต้อง ก็อย่าทำเลย
นายวิรัตน์ กล่าวด้วยว่า การที่ พท. พยายามระบุว่ามีการใช้สองมาตรฐาน โดยเทียบเคียงกับกรณีที่พรรคไทยรักไทย (ทรท.) ถูกยุบ ในช่วงนั้น ปชป. ก็ถูกใส่ความเช่นกัน แต่พรรคไม่ได้ทำผิด จึงไม่ถูกสั่งให้ยุบพรรค ขณะที่ทรท. มีหลักฐานชัดเจนว่า ทำผิดจึงถูกยุบพรรค ซึ่งช่วงนั้นก็มีกระแสข่าวเรื่องการใช้เงินซื้อศาล ซื้อตุลาการ เกิดกรณีถุงขนม 2 ล้านบาท เมื่อซื้อไม่ได้จึงออกมาโจมตีว่า มีการใช้สองมาตรฐาน
ส่วนกรณี นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย (ชท.) ระบุว่า มีอดีตนายกฯ ยศนายพล วิ่งเต้นไม่ให้ยุบปชป. นั้น ถ้านายบรรหารพูดจริง ขอให้ระบุมาว่า เป็นใคร เพราะปชป. มีอดีตนายกฯ เพียงคนเดียว คือนายชวน หลีกภัย กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค แต่นายชวนไม่ได้มียศเป็นทหาร จึงไม่ทราบว่าเป็นใคร ขอยืนยันว่า ปชป.ไม่เคยแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ขั้นตอนการพิจารณาคดีนี้ ปัจจุบันอยู่ที่นายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งหมายถึงนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. เพียงคนเดียว กกต.อีก 4 คนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ กกต.บางคนก็รู้ว่า เรื่องนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานกกต. แต่ก็ยังออกมาสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคม ปชป.จึงกำลังรวบรวมพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในหลายเรื่องของ กกต.คนดังกล่าว เพื่อพิจารณาว่า เพียงพอต่อการยื่นถอดถอนหรือไม่ เพราะกกต.คนดังกล่าวบางครั้งก็มีพฤติกรรมชี้นำ พยายามช่วยเหลือพรรคการเมืองบางพรรค ซึ่งประชาชนคงเข้าใจดีกว่า การที่กกต.คนดังกล่าวออกมาสร้างความสับสน ต้องการอะไร นอกจากนี้ ยังมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคนที่พูดจาใส่ร้าย ปชป. ซึ่งหากพบว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายใด ก็อาจต้องดำเนินการ
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงการพิจารณาคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาการทำความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า ยืนยันว่าทุกอย่างทำเป็นขั้นเป็นตอนตามข้อกฎหมาย ที่มีข่าวว่ากกต. 3 คนมอบอำนาจให้กับนายทะเบียนพรรคการเมืองไปพิจารรา ความจริงไม่ใช่ เพราะตอนที่โหวตกัน ไม่มีใครรู้ว่าประธาน กกต.โหวตอย่างไร แต่ กกต. 3 คน เห็นว่าต้องผ่านขั้นตอนของนายทะเบียนฯ เสียก่อน และทั้ง 3 คน ก็ยังไม่ได้โหวตในกรณีนี้
เมื่อถามว่าคดี 258 ล้าน ใช้อำนาจของกกต. ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเหตุใดจึงให้นายทะเบียนเป็นผู้พิจารณา นายประพันธ์ กล่าวว่า ตอนที่มีการร้องเรียนมา เรายังไม่ทราบว่ามันเป็นอะไร ซึ่งตามขั้นตอน กกต.ก็ต้องคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมา แต่เมื่อคณะอนุกรรมการฯรายงานผลการสอบสวนมา ก็ต้องมาดูข้อเท็จจริง ว่าเป็นอย่างไร และดูขั้นตอนของกฎหมายซึ่งก็เห็นว่า ถ้าเป็นความผิดตาม มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง คือให้ยุบพรรค นายทะเบียนก็ต้องดำเนินการตาม มาตรา 95 คือไปมีความเห็นมาก่อน
"องค์กร กกต.เพิ่งตั้งมาได้ 11 ปี ดังนั้นเรื่องในทางปฏิบัติยังไม่ลงรอย ไม่ชัดเชน และกรณีนี้ก็ไม่เหมือนกับการยุบ 3 พรรค ที่มีการให้ใบแดงกรรมการบริหาร ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ก็ได้ระบุไว้ต้องยุบพรรค และนายทะเบียน ได้ยึดตามคำพิพากษาโดยทำความเห็นยุบ 3 พรรค ซึ่งเป็นรูปแบบที่ถูกต้อง แต่ครั้งนี้ถ้านายทะเบียนมีความเห็นว่า ควรยุบพรรคเสนอ กกต. แล้ว กกต.เห็นด้วยก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเรื่องการยุบพรรค หรือไม่ และต้องมีการแจ้งข้อกล่าวอีกหรือไม่"
ส่วนที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ออกมาระบุว่า มีอดีตนายกฯ ขอไม่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ นั้นไม่ทราบว่านายบรรหาร ทราบข้อมูลมาจากที่ไหน แต่ส่วนของตน ไม่มี ถ้าเป็นเรื่องที่ได้สัมผัสด้วยตัวเอง ก็จะสามารถอธิบายได้ทุกเรื่อง แต่ถ้าพูดข้างเดียว ก็ไม่ทราบว่าจะตามไปอธิบายอย่างไร
" อย่างเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.50 ส.ส.ในสภาเกือบทุกพรรค เกือบทุกคนเคยถูกร้องทั้งสิ้น ลองไปถามดูว่า ที่กกต. ยกคำร้องจนปฏิบัติหน้าที่ได้นั้น มีใครวิ่งเต้นให้ยกคำร้องหรือไม่ ถามกระทั่งคนที่พูดต่อว่า กกต.บางคนก็มีเรื่องร้องแล้ว ก็มีกกต.ยก เคยมาหากกต.หรือไม่"
นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงความรู้สึกที่เวลานี้ กกต.ถูกตกเป็นเป้ากดดันของฝ่ายการเมืองว่า ความกดดันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ถ้ามีคนบอกว่าจะมาเผาบ้าน มันก็ต้องกดดันเป็นธรรมดา แต่เราก็ต้องทำงานตามหน้าที่ ดูความถูกต้องดูข้อเท็จจริง เมื่อเราวินิจฉัยไปแล้วก็ต้องมีทั้ง 2 ฝ่าย มีทั้งคนที่ถูกใจ และไม่ถูกต้อง การมาชุมนุมหากทำในระบอบประชาธิปไตย และอยู่ในกรอบกติกาก็ไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนเรื่องความปลอดภัยของ กกต.ทุกคน เจ้าหน้ที่ตำรวจก็ส่งคนมาดูแลอยู่แล้ว ระบอบประชาธิปไตยนั้น ถ้าจะให้อยู่ได้ก็ต้องให้อยู่ในกรอบของกฎหมายหากอะไรไม่ถูกไม่ต้อง ก็อย่าทำเลย