ASTVผู้จัดการรายวัน-ลุ้นระทึก! ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำตัดสินคำสั่งอุทธรณ์คดีมาบตาพุดวันนี้ เอกชนหวังผลออกมายอมรับได้ทุกฝ่าย ครม.ไฟเขียว 405 ล้านฟื้นฟูมาบตาพุดเร่งด่วน
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (2 ธ.ค.) เวลา 13.30 น. ศาลปกครองสูงสุด นัดอ่านคำสั่งในคดีคำร้องที่ 586/2552 ระหว่าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 43 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวกรวม 8 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) และบริษัท เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด กับพวกรวม 36 คน (ผู้มีส่วนได้เสีย) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2552 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 8 สั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ในพื้นที่จังหวัดระยองจำนวน 76 โครงการไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เป็นเหตุให้ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีและผู้มีส่วนได้เสีย ได้ดำเนินการยื่นคำร้องขออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้จะเป็นการวินิจฉัยในส่วนของการอุทธรณ์ ซึ่งจะไปพูดล่วงหน้าคงเป็นเรื่องยากว่าผลจะเป็นอย่างไร
“สมมติว่าศาลปกครองสูงสุดยืนคำวินิจฉัย การระงับโครงการก็ต้องมีผลต่อ ซึ่งต้องไปต่อสู้ในตัวคดีหลักต่อไป ถ้าศาลปกครองฯ ยกคำวินิฉัยชั่วคราว เราก็ยืนยันว่าโครงการต่างๆ จะเข้ามาสู่กระบวนการที่คณะกรรมการอิสระ 4 ฝ่ายกำลังหามาตรการในการดำเนินการอยู่ โดยได้มีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งก็เริ่มมีแนวทางชัดเจนมากขึ้นว่าโครงการต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำอย่างไร"
เอกชนหวังผลออกมายอมรับได้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า นักลงทุนคงจะต้องติดตามคำตัดสินอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง คือ ระงับการดำเนินงานทั้ง 76 โครงการ ก็จะมีผลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนของไทยได้และจะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งยังหวังว่าคำตัดสินจะออกมาในลักษณะที่เป็นกลาง เพราะเห็นว่าผู้ประกอบการที่ผ่านมา ได้ดำเนินงานทุกขั้นตอนตามกฏหมายที่มีอยู่ในขณะนั้นแล้วและหลายโครงการไม่ได้ทำลายมลพิษแต่อย่างใด
“หวังว่าจะออกมาเป็นที่ยอมรับกันได้ หากระงับกิจการ 76 ทั้งหมดเลย ก็กังวลว่าอาจจะมีการฟ้องร้องกันต่อไปอีก ความชัดเจนน่าจะเห็นวันนี้ ไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไรและจะทำให้ทุกฝ่ายต่างต้องไปทำตามหน้าที่ที่ควรจะดำเนินการ แต่ระยะยาวกฏหมายลูกที่จะออกมาจะต้องมีกระบวนการผ่านสภาฯ ก็ยังไม่รู้ว่าจะเล่นอะไรกันอีก”นายธนิตกล่าว
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คงต้องรอคำสั่งศาลปกครองชี้ขาดในวันนี้ โดยไม่ทราบว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างไร แต่ยืนยันว่าผู้ประกอบการทั้ง 76 โครงการในมาบตาพุด พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามสิ่งที่เคยรับปากไว้ โดยพร้อมทำผลกระทบ HIA และฟังความคิดเห็นของชุมชน เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
นายโกศล ใจรังษี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ไม่ว่าศาลฯ จะตัดสินคดีออกมาในลักษณะใด ในฐานะกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีหน้าที่กำกับการดูแลภาคการลงทุนและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตและประกอบกิจการ ก็จะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหวังว่าปัญหาทั้งหมดจะมีทางออกที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับทุกฝ่าย เนื่องจากความไม่ชัดเจนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการลงทุน
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 1 ในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายภาคประชาชน แก้ไขปัญหามลพิษนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กล่าวว่า สิ่งที่ดำเนินการไป เพราะเห็นว่า 76 โครงการ ดำเนินงานไม่ได้สอดรับกับ 3 แนวทาง คือ ไม่สอดคล้องกฏหมายภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 สุขภาพประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับการยอมรับ และที่สำคัญเห็นว่าพื้นที่ในมาบตาพุดไม่สามารถขยายการลงทุนได้อีกแล้ว
ครม.อนุมัติ 400 ล้านแก้มาบตาพุด
วานนี้ (1 ธ.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง วงเงิน 877 ล้านบาท เป็นงบกลางปี 2553 วงเงิน 405 ล้านบาท เพื่อดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของเขตเทศบาลมาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง จ.ระยอง ได้แก่ 1.โครงการขนถ่ายขยะมูลฝอยออกจากบ่อฝังกลบขยะของเทศบาลเมืองมาบตาพุด วงเงิน 270 ล้านบาท 2.โครงการก่อสร้างขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จ.ระยอง เพื่อปรัปปรุงเส้นท่อจ่ายน้ำและขยายเขตจำหน่ายน้ำ วงเงิน 134 ล้านบาทและจากการประปาส่วนภูมิภาค 4.7 ล้านบาทเศษ 3.โครงการก่อสร้างปรับปรุงท่อและขยายเขตจำหน่ายน้ำ พื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุดและเทศบาลเมืองบ้านฉาง วงเงิน 173 ล้านบาท 4.โครงการพัฒนาศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาลในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ จ.ระยอง ที่จะเพิ่ม 200 เตียง วงเงิน 235 ล้านบาท (3 ปี) และใช้งบกลางปี 2553 วงเงิน 73 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเห็นชอบงบประมาณวงเงิน 58 ล้านบาท ในการจัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษเช่นที่ท่าเรือแหลมฉบังเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขีดเส้น 1 เดือนหาแพะแหลมฉบัง
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. ได้รับทราบรายงานการรั่วไหลของโซเดียมเปอร์ซัลเฟต (สารฟอกขาว) บริเวณลานวางตู้สินค้าท่าเทียบเรือ บี 3 ท่าเรือแหลมฉบัง โดยพบว่า ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล แต่มีผู้ได้รับผลกระทบจากการสูดดมกลิ่น 10 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิสูจน์ทราบว่า เกิดจากการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ ขณะการช่วยเหลือเบื้องต้นการท่าเรือแห่งประเทศไทย มอบเงินชดเชยให้กับผู้เสียชีวิต 1 หมื่นบาท และเตรียมการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยมอบเงินชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบครอบครัวละ 5 พันบาทจำนวน 246 ครัวเรือน
แหล่งข่าวจากที่ประชุมครม. กล่าวว่า ได้มีการหารือเรื่องผู้ที่จะรับผิดชอบกับเกตุการณ์นี้ โดยเฉพาะเรื่องสาเหตุของการเสียชีวิตของชาวบ้านว่า เป็นผลจากการสูดดมสารฟอกขาวที่รั่วไหลหรือไม่ และอาจจะต้องรอการยืนยันประมาณ 1 เดือน
“สุวิทย์”ยันเข้าไปคุมตั้งแต่วันเกิดเหตุ
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษได้เข้าไปดูตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุ เข้าไปดูแลเกี่ยวกับการจัดการ และการขนย้ายเศษวัสดุที่ยังคงเหลืออยู่กว่า 3 ตัน เอาไปเก็บไว้ที่ปลอดภัยแล้ว ขณะที่ฝ่ายตรวจสอบเรื่องอากาศได้นำรถมาตรวจสอบที่วัดแหลมฉบัง พร้อมทั้งตรวจสอบน้ำและพื้นที่โดยรอบของท่าเรือแล้ว ซึ่งพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
กนอ.สั่งคุมเข้มท่าเรือมาบตาพุด
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ได้กำชับให้ผู้ประกอบการในท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดมีความระมัดระวังและปฏิบัติตามระเบียบโดยเคร่งครัดในการเตรียมความพร้อมทั้งบุคลากร อุปกรณ์รับมือในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือในมาบตาพุด
สั่ง กทท.จ่ายชดเชยเหยื่อสารเคมีเพิ่ม
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้ให้นโยบายการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เพิ่มค่าเยียวยาแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเดิม ตามหลักมนุษยธรรม จากที่ได้จ่ายค่าปลงศพ รายละ 15,000 บาท เป็น 50,000 บาท และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบครอบครัวละ2,000 บาท เป็นเยียวยารายบุคคล ส่วนการตรวจสอบสาเหตุของการเกิดเหตุและผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งคงใช้เวลาในการตรวจสอบไม่นานก็จะสรุปผลได้
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (2 ธ.ค.) เวลา 13.30 น. ศาลปกครองสูงสุด นัดอ่านคำสั่งในคดีคำร้องที่ 586/2552 ระหว่าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 43 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวกรวม 8 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) และบริษัท เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด กับพวกรวม 36 คน (ผู้มีส่วนได้เสีย) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2552 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 8 สั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ในพื้นที่จังหวัดระยองจำนวน 76 โครงการไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เป็นเหตุให้ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีและผู้มีส่วนได้เสีย ได้ดำเนินการยื่นคำร้องขออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้จะเป็นการวินิจฉัยในส่วนของการอุทธรณ์ ซึ่งจะไปพูดล่วงหน้าคงเป็นเรื่องยากว่าผลจะเป็นอย่างไร
“สมมติว่าศาลปกครองสูงสุดยืนคำวินิจฉัย การระงับโครงการก็ต้องมีผลต่อ ซึ่งต้องไปต่อสู้ในตัวคดีหลักต่อไป ถ้าศาลปกครองฯ ยกคำวินิฉัยชั่วคราว เราก็ยืนยันว่าโครงการต่างๆ จะเข้ามาสู่กระบวนการที่คณะกรรมการอิสระ 4 ฝ่ายกำลังหามาตรการในการดำเนินการอยู่ โดยได้มีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งก็เริ่มมีแนวทางชัดเจนมากขึ้นว่าโครงการต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำอย่างไร"
เอกชนหวังผลออกมายอมรับได้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า นักลงทุนคงจะต้องติดตามคำตัดสินอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง คือ ระงับการดำเนินงานทั้ง 76 โครงการ ก็จะมีผลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนของไทยได้และจะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งยังหวังว่าคำตัดสินจะออกมาในลักษณะที่เป็นกลาง เพราะเห็นว่าผู้ประกอบการที่ผ่านมา ได้ดำเนินงานทุกขั้นตอนตามกฏหมายที่มีอยู่ในขณะนั้นแล้วและหลายโครงการไม่ได้ทำลายมลพิษแต่อย่างใด
“หวังว่าจะออกมาเป็นที่ยอมรับกันได้ หากระงับกิจการ 76 ทั้งหมดเลย ก็กังวลว่าอาจจะมีการฟ้องร้องกันต่อไปอีก ความชัดเจนน่าจะเห็นวันนี้ ไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไรและจะทำให้ทุกฝ่ายต่างต้องไปทำตามหน้าที่ที่ควรจะดำเนินการ แต่ระยะยาวกฏหมายลูกที่จะออกมาจะต้องมีกระบวนการผ่านสภาฯ ก็ยังไม่รู้ว่าจะเล่นอะไรกันอีก”นายธนิตกล่าว
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คงต้องรอคำสั่งศาลปกครองชี้ขาดในวันนี้ โดยไม่ทราบว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างไร แต่ยืนยันว่าผู้ประกอบการทั้ง 76 โครงการในมาบตาพุด พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามสิ่งที่เคยรับปากไว้ โดยพร้อมทำผลกระทบ HIA และฟังความคิดเห็นของชุมชน เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
นายโกศล ใจรังษี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ไม่ว่าศาลฯ จะตัดสินคดีออกมาในลักษณะใด ในฐานะกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีหน้าที่กำกับการดูแลภาคการลงทุนและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตและประกอบกิจการ ก็จะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหวังว่าปัญหาทั้งหมดจะมีทางออกที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับทุกฝ่าย เนื่องจากความไม่ชัดเจนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการลงทุน
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 1 ในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายภาคประชาชน แก้ไขปัญหามลพิษนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กล่าวว่า สิ่งที่ดำเนินการไป เพราะเห็นว่า 76 โครงการ ดำเนินงานไม่ได้สอดรับกับ 3 แนวทาง คือ ไม่สอดคล้องกฏหมายภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 สุขภาพประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับการยอมรับ และที่สำคัญเห็นว่าพื้นที่ในมาบตาพุดไม่สามารถขยายการลงทุนได้อีกแล้ว
ครม.อนุมัติ 400 ล้านแก้มาบตาพุด
วานนี้ (1 ธ.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง วงเงิน 877 ล้านบาท เป็นงบกลางปี 2553 วงเงิน 405 ล้านบาท เพื่อดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของเขตเทศบาลมาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง จ.ระยอง ได้แก่ 1.โครงการขนถ่ายขยะมูลฝอยออกจากบ่อฝังกลบขยะของเทศบาลเมืองมาบตาพุด วงเงิน 270 ล้านบาท 2.โครงการก่อสร้างขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จ.ระยอง เพื่อปรัปปรุงเส้นท่อจ่ายน้ำและขยายเขตจำหน่ายน้ำ วงเงิน 134 ล้านบาทและจากการประปาส่วนภูมิภาค 4.7 ล้านบาทเศษ 3.โครงการก่อสร้างปรับปรุงท่อและขยายเขตจำหน่ายน้ำ พื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุดและเทศบาลเมืองบ้านฉาง วงเงิน 173 ล้านบาท 4.โครงการพัฒนาศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาลในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ จ.ระยอง ที่จะเพิ่ม 200 เตียง วงเงิน 235 ล้านบาท (3 ปี) และใช้งบกลางปี 2553 วงเงิน 73 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเห็นชอบงบประมาณวงเงิน 58 ล้านบาท ในการจัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษเช่นที่ท่าเรือแหลมฉบังเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขีดเส้น 1 เดือนหาแพะแหลมฉบัง
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. ได้รับทราบรายงานการรั่วไหลของโซเดียมเปอร์ซัลเฟต (สารฟอกขาว) บริเวณลานวางตู้สินค้าท่าเทียบเรือ บี 3 ท่าเรือแหลมฉบัง โดยพบว่า ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล แต่มีผู้ได้รับผลกระทบจากการสูดดมกลิ่น 10 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิสูจน์ทราบว่า เกิดจากการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ ขณะการช่วยเหลือเบื้องต้นการท่าเรือแห่งประเทศไทย มอบเงินชดเชยให้กับผู้เสียชีวิต 1 หมื่นบาท และเตรียมการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยมอบเงินชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบครอบครัวละ 5 พันบาทจำนวน 246 ครัวเรือน
แหล่งข่าวจากที่ประชุมครม. กล่าวว่า ได้มีการหารือเรื่องผู้ที่จะรับผิดชอบกับเกตุการณ์นี้ โดยเฉพาะเรื่องสาเหตุของการเสียชีวิตของชาวบ้านว่า เป็นผลจากการสูดดมสารฟอกขาวที่รั่วไหลหรือไม่ และอาจจะต้องรอการยืนยันประมาณ 1 เดือน
“สุวิทย์”ยันเข้าไปคุมตั้งแต่วันเกิดเหตุ
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษได้เข้าไปดูตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุ เข้าไปดูแลเกี่ยวกับการจัดการ และการขนย้ายเศษวัสดุที่ยังคงเหลืออยู่กว่า 3 ตัน เอาไปเก็บไว้ที่ปลอดภัยแล้ว ขณะที่ฝ่ายตรวจสอบเรื่องอากาศได้นำรถมาตรวจสอบที่วัดแหลมฉบัง พร้อมทั้งตรวจสอบน้ำและพื้นที่โดยรอบของท่าเรือแล้ว ซึ่งพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
กนอ.สั่งคุมเข้มท่าเรือมาบตาพุด
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ได้กำชับให้ผู้ประกอบการในท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดมีความระมัดระวังและปฏิบัติตามระเบียบโดยเคร่งครัดในการเตรียมความพร้อมทั้งบุคลากร อุปกรณ์รับมือในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือในมาบตาพุด
สั่ง กทท.จ่ายชดเชยเหยื่อสารเคมีเพิ่ม
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้ให้นโยบายการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เพิ่มค่าเยียวยาแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเดิม ตามหลักมนุษยธรรม จากที่ได้จ่ายค่าปลงศพ รายละ 15,000 บาท เป็น 50,000 บาท และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบครอบครัวละ2,000 บาท เป็นเยียวยารายบุคคล ส่วนการตรวจสอบสาเหตุของการเกิดเหตุและผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งคงใช้เวลาในการตรวจสอบไม่นานก็จะสรุปผลได้