ASTVผู้จัดการรายวัน-นักลงทุนญี่ปุ่นหวั่นปัญหามาบตาพุดฉุดขีดความสามารถการแข่งขันบริษัทญี่ปุ่นในไทย เหตุ 76 กิจการยังไม่ชัดเจนจะถูกระงับหรือไม่ ขณะที่อีก 181 โครงการยังจ่อจะถูกฟ้องเพิ่มที่มีทั้งบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทที่ป้อนวัตถุดิบ หวังไทยหาข้อยุติโดยเร็วก่อนกระทบเป็นลูกโซ่ ด้านก.อุตฯพร้อมแจงที่มาการกำหนด 8 ประเภทกิจการต่อคณะทำงาน 4 ฝ่ายที่ถกนัดแรกวันนี้
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการเข้าพบของนายมาซาโตะ โอตาคะ อัครราชฑูต สถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่น วานนี้(18พ.ย.) ว่า อัคราชฑูตญี่ปุ่นได้แจ้งถึงข้อกังวลของนักลงทุนจากญี่ปุ่นต่อกรณีปัญหามาบตาพุดเนื่องจาก 76 กิจการที่ถูกระงับการดำเนินกิจการจากศาลปกครองกลางและอีก 181 โครงการที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนเตรียมจะฟ้องเพิ่มเติมอีกนั้นส่วนหนึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่นร่วมทุนและอีกส่วนเป็นบริษัทที่เป็นป้อนวัตถุดิบ(Supply Chain) หากเกิดปัญหาจะกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของบริษัทญี่ปุ่นได้ จึงต้องการให้ไทยเร่งหาข้อยุติปัญหามาบตาพุดโดยเร็ว
“ นักลงทุนญี่ปุ่นมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุดมากเพราะจะกระทบขีดการแข่งขันของบริษัทญีปุ่นที่ลงทุนในไทย นอกจากนี้ยังพร้อมให้คำแนะนำหากไทยต้องการข้อมูลหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาเพราะญี่ปุ่นเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหามลพิษในอดีตมาก่อน”นายวิฑูรย์กล่าว
ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าทั้งการตั้งคณะทำงาน 4 ฝ่ายขึ้นมาดูแล รวมถึงคดีการฟ้องร้องที่ขณะนี้มีการไต่สวนแล้วและอยู่ระหว่างรอการตัดสินจากศาลปกครองสูงสุดว่าจะรับคำอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในการระงับ 76 กิจการหรือไม่อยู่โดยเชื่อว่าน่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่เป็นบวก ขณะที่เอกชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะจากเครือซิเมนต์ไทยและปตท.ก็พร้อมที่จะทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)แม้ว่าจะเป็นกิจการที่ไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรุนแรงก็ตาม
นายโกศล ใจรังษี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่บริเวณมาบตาพุดที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันนี้(19พ.ย.) นัดแรกจะมีการวางกรอบแนวทางการดำเนินงานตามเวลาที่กำหนดไว้ รวมถึงการรายงานผลการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น การออกประกาศประเภทกิจการที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมรุนแรง 8 กิจการ เป็นต้น
สำหรับกรณีที่มีบางฝ่ายต้องการให้ยกเลิกประกาศ 8 ประเภทกิจการดังกล่าวนั้นก็คงจะต้องมาหารือกันโดยที่ผ่านมาการกำหนดประเภทก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า 8 กิจการนั้นรุนแรงหากต้องการเพิ่มประเภทใดเข้าไปอีกก็สามารถหารือและดำเนินการได้
“ การให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อศาลปกครองสูงสุดในการไต่สวนวันที่ 18 พ.ย.นั้นส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมไม่มีอะไรเพิ่มเติมโดยคาดว่าศาลฯอาจจะมีการพิจารณาคดีได้ไม่เกิน 7 วัน”นายโกศลกล่าว
นายมาซาโตะ โอตาคะ อัคราชฑูต สถานเอกอัคราชฑูตญี่ปุ่นกล่าวว่า ญี่ปุ่นคาดหวังว่ารัฐบาลไทยจะจะสามารถหาข้อยุติปัญหามาบตาพุดไปในทิศทางที่ดี และนักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทยซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนจากต่างประเทศจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะย้ายการลงทุน
“คาดว่าในปี 2553 การลงทุนในบางสาขาเช่น รถยนต์จะมีเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่อุตสาหกรรมหนักคงต้องรอให้อุตสาหกรรมอื่นๆขยายตัวมากกว่านี้ก่อน”นายมาซาโตะกล่าว
**เครือข่าย ปชช.เดินหน้ายื่นศาล รธน.ต่อ
นายสุทธิ อัชฌาศัย ตัวแทนเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ขณะนี้ทางเครือข่ายยื่นเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานวุฒิสภา และผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบการดำเนินการของรัฐบาลว่า ได้ทำตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 หรือไม่ หากพบว่าต้องมีการตีความตามหลักรัฐธรรมนูญ องค์กรเหล่านี้ต้องนำไปสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ชี้ขาดต่อไปเพราะหลายเรื่องเกี่ยวข้องกับเนื้อหารัฐธรรมนูญ และทางเครือข่ายจะยื่นคดีหลักของศาลปกครองกลางระยองเพื่อให้ศาลปกครองกลางเดินหน้ายื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วย
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า สมาคมฯ จะเข้าพบนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เป็นการส่วนตัว เนื่องจากคัดค้านการตั้งกรรมการ 4 ฝ่าย ที่มีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด และต้องการให้ยกเลิกประกาศกิจกรรมหรือโครงการที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนของกระทรวงอุตสาหกรรม และประกาศการตั้งองค์กรอิสระของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
"ผมมองว่าคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่รัฐตั้งขึ้นมานี้ทำหน้าที่เหมือนหนังหน้าไฟที่รับเป็นตัวแทนของภาครัฐเท่านั้น เพราะหากมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาแล้วอาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากติดขัดตามข้อประกาศเดิมที่มีอยู่ ซึ่งออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจำแนกประเภทอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบรุนแรงตลอดจนการทำงานบางอย่างอาจมีความซ้ำซ้อนกันได้ หากจะให้การทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ประสบผล อาจจำเป็นต้องยกเลิกบางประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรฯ ที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วการทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ก็จะคล้ายกับการทำงานของคณะกรรมการไตรภาคีในการแก้ไขปัญหามลพิษบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม" นายศรีสุวรรณกล่าว
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการเข้าพบของนายมาซาโตะ โอตาคะ อัครราชฑูต สถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่น วานนี้(18พ.ย.) ว่า อัคราชฑูตญี่ปุ่นได้แจ้งถึงข้อกังวลของนักลงทุนจากญี่ปุ่นต่อกรณีปัญหามาบตาพุดเนื่องจาก 76 กิจการที่ถูกระงับการดำเนินกิจการจากศาลปกครองกลางและอีก 181 โครงการที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนเตรียมจะฟ้องเพิ่มเติมอีกนั้นส่วนหนึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่นร่วมทุนและอีกส่วนเป็นบริษัทที่เป็นป้อนวัตถุดิบ(Supply Chain) หากเกิดปัญหาจะกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของบริษัทญี่ปุ่นได้ จึงต้องการให้ไทยเร่งหาข้อยุติปัญหามาบตาพุดโดยเร็ว
“ นักลงทุนญี่ปุ่นมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุดมากเพราะจะกระทบขีดการแข่งขันของบริษัทญีปุ่นที่ลงทุนในไทย นอกจากนี้ยังพร้อมให้คำแนะนำหากไทยต้องการข้อมูลหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาเพราะญี่ปุ่นเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหามลพิษในอดีตมาก่อน”นายวิฑูรย์กล่าว
ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าทั้งการตั้งคณะทำงาน 4 ฝ่ายขึ้นมาดูแล รวมถึงคดีการฟ้องร้องที่ขณะนี้มีการไต่สวนแล้วและอยู่ระหว่างรอการตัดสินจากศาลปกครองสูงสุดว่าจะรับคำอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในการระงับ 76 กิจการหรือไม่อยู่โดยเชื่อว่าน่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่เป็นบวก ขณะที่เอกชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะจากเครือซิเมนต์ไทยและปตท.ก็พร้อมที่จะทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)แม้ว่าจะเป็นกิจการที่ไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรุนแรงก็ตาม
นายโกศล ใจรังษี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่บริเวณมาบตาพุดที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันนี้(19พ.ย.) นัดแรกจะมีการวางกรอบแนวทางการดำเนินงานตามเวลาที่กำหนดไว้ รวมถึงการรายงานผลการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น การออกประกาศประเภทกิจการที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมรุนแรง 8 กิจการ เป็นต้น
สำหรับกรณีที่มีบางฝ่ายต้องการให้ยกเลิกประกาศ 8 ประเภทกิจการดังกล่าวนั้นก็คงจะต้องมาหารือกันโดยที่ผ่านมาการกำหนดประเภทก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า 8 กิจการนั้นรุนแรงหากต้องการเพิ่มประเภทใดเข้าไปอีกก็สามารถหารือและดำเนินการได้
“ การให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อศาลปกครองสูงสุดในการไต่สวนวันที่ 18 พ.ย.นั้นส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมไม่มีอะไรเพิ่มเติมโดยคาดว่าศาลฯอาจจะมีการพิจารณาคดีได้ไม่เกิน 7 วัน”นายโกศลกล่าว
นายมาซาโตะ โอตาคะ อัคราชฑูต สถานเอกอัคราชฑูตญี่ปุ่นกล่าวว่า ญี่ปุ่นคาดหวังว่ารัฐบาลไทยจะจะสามารถหาข้อยุติปัญหามาบตาพุดไปในทิศทางที่ดี และนักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทยซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนจากต่างประเทศจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะย้ายการลงทุน
“คาดว่าในปี 2553 การลงทุนในบางสาขาเช่น รถยนต์จะมีเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่อุตสาหกรรมหนักคงต้องรอให้อุตสาหกรรมอื่นๆขยายตัวมากกว่านี้ก่อน”นายมาซาโตะกล่าว
**เครือข่าย ปชช.เดินหน้ายื่นศาล รธน.ต่อ
นายสุทธิ อัชฌาศัย ตัวแทนเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ขณะนี้ทางเครือข่ายยื่นเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานวุฒิสภา และผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบการดำเนินการของรัฐบาลว่า ได้ทำตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 หรือไม่ หากพบว่าต้องมีการตีความตามหลักรัฐธรรมนูญ องค์กรเหล่านี้ต้องนำไปสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ชี้ขาดต่อไปเพราะหลายเรื่องเกี่ยวข้องกับเนื้อหารัฐธรรมนูญ และทางเครือข่ายจะยื่นคดีหลักของศาลปกครองกลางระยองเพื่อให้ศาลปกครองกลางเดินหน้ายื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วย
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า สมาคมฯ จะเข้าพบนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เป็นการส่วนตัว เนื่องจากคัดค้านการตั้งกรรมการ 4 ฝ่าย ที่มีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด และต้องการให้ยกเลิกประกาศกิจกรรมหรือโครงการที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนของกระทรวงอุตสาหกรรม และประกาศการตั้งองค์กรอิสระของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
"ผมมองว่าคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่รัฐตั้งขึ้นมานี้ทำหน้าที่เหมือนหนังหน้าไฟที่รับเป็นตัวแทนของภาครัฐเท่านั้น เพราะหากมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาแล้วอาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากติดขัดตามข้อประกาศเดิมที่มีอยู่ ซึ่งออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจำแนกประเภทอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบรุนแรงตลอดจนการทำงานบางอย่างอาจมีความซ้ำซ้อนกันได้ หากจะให้การทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ประสบผล อาจจำเป็นต้องยกเลิกบางประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรฯ ที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วการทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ก็จะคล้ายกับการทำงานของคณะกรรมการไตรภาคีในการแก้ไขปัญหามลพิษบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม" นายศรีสุวรรณกล่าว