ม.เกษตร พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท เทคโนโลยีการผลิตภาคพิเศษ ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอียกระดับการผลิตเหมาะยุคสมัย และสร้างนักออกแบบที่จะเข้ามาปรับเปลี่ยนองค์กรจาก OEM ไปสู่ DEM พร้อมแชร์องค์ความรู้ด้าน CNC ในงาน METALEX 2009 ระหว่าง 19-22 พฤศจิกายนนี้ ที่ไบเทคบางนา
ผศ.ดร.ชัชพล ชังชู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า เนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านการค้า และการลงทุนในตลาดโลก มีสูงขึ้น บุคคลากรมีส่วนสำคัญ ในการรองรับการปรับตัวของสถานประกอบการต่าง ๆ ดังนั้น หลักสูตรการเรียนในสถาบันการศึกษาจึงความจำเป็นที่ต้องสอดคล้องและเอื้อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้
สำหรับหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัญฑิต สาขาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม (ภาคพิเศษ) ของมหาวิทยาลัย เปิดขึ้นมาเพื่อยกระดับคุณภาพของภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้มีผลิตภาพที่ดีขึ้น โดยหลักสูตรดังกล่าว ไม่ได้มุ่งเน้นหรือเฉพาะเจาะจงไปที่สาขาใด โดยเฉพาะ แต่เป็นหลักสูตรโดยภาพรวม ที่มุ่งเน้นในเรื่องของเทคโนโลยี และ การออกแบบ ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีเหมาะสมกับยุคสมัย
ดังนั้น ผู้ที่จะมาเรียนในสาขาวิชาดังกล่าว จึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะผู้ที่เรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น ผู้ที่เรียนจบสาขาช่าง หรือ จบด้านวิทยาศาสตร์ และมีประสบการณ์ทำงานสายการผลิต ต้องการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้ตัวเอง ให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิผลมากขึ้น โดยหลักสูตรที่เรียนจะครอบคลุม 4 ด้าน คือ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี หุ่นยนต์ และ CNC
“กลุ่มผู้มาเรียนจะมาจากหลากหลายภาคการผลิต แต่สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับสามารถนำไปปรับใช้การทำงานจริงได้ และด้วยความที่เราเป็นสหวิทยาการ ไม่ได้เป็นภาควิชา ทำให้อาจารย์ผู้สอนสามารถเปิดกว้างไม่จำเป็นเฉพาะอยู่ในภาควิชา ทางผู้เรียนมีประสบการณ์ทำงานอย่างไร และมีเจอปัญหาสามารถเข้าหาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญตรงจุดนั้นได้กว่า 200 คน ตัวอย่างนักศึกษาของเรา หลายคนทำงานอยู่บริษัทญี่ปุ่น และปัจจุบันบริษัทดังกล่าวมีแผนที่จะย้ายงานด้านการออกแบบบ้างส่วนมาเปิดในประเทศไทย ซึ่งนักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาดังกล่าว จะมีองค์ความรู้ และเมื่อถูกส่งไปศึกษาเพิ่มเติมในประเทศญี่ปุ่น สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดได้ทันที่”
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับเปลี่ยนตัวเอง จากรับจ้างผลิต OEM มาเป็น DEM ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะช่วยได้ และในงานMETALEX 2009 จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2552 ที่ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา ทางปริญญาโท เทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม ได้ร่วมออกงาน โดยนำเทคโนโลยีด้าน CNC ไปร่วมออกบูท และแชร์ความรู้แก่ผู้สนใจภายในงาน และในส่วนของงานสัมมนา ยังมีการบรรยายในหัวข้อ Design & Manufacturing Tolerance กับอุตสาหกรรมการผลิตไทย
ผศ.ดร. ชัชพล กล่าวว่า การบรรยายในงานครั้งนี้ มีหลายหัวข้อที่จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะในเรื่องของการลดความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการผลิต เพราะถ้าผู้ประกอบการสามารถลดความคลาดเคลื่อนในกระบวนการผลิตลงได้ จะช่วยในเรื่องของการลดต้นทุน และได้สินค้าที่มีคุณภาพ เพราะปัจจุบันลูกค้าตัดสินใจซื้อจากการดูราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องขายของถูกอย่างเดียว แต่เราสามารถขายของที่มีคุณภาพได้
ผศ.ดร.ชัชพล ชังชู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า เนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านการค้า และการลงทุนในตลาดโลก มีสูงขึ้น บุคคลากรมีส่วนสำคัญ ในการรองรับการปรับตัวของสถานประกอบการต่าง ๆ ดังนั้น หลักสูตรการเรียนในสถาบันการศึกษาจึงความจำเป็นที่ต้องสอดคล้องและเอื้อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้
สำหรับหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัญฑิต สาขาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม (ภาคพิเศษ) ของมหาวิทยาลัย เปิดขึ้นมาเพื่อยกระดับคุณภาพของภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้มีผลิตภาพที่ดีขึ้น โดยหลักสูตรดังกล่าว ไม่ได้มุ่งเน้นหรือเฉพาะเจาะจงไปที่สาขาใด โดยเฉพาะ แต่เป็นหลักสูตรโดยภาพรวม ที่มุ่งเน้นในเรื่องของเทคโนโลยี และ การออกแบบ ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีเหมาะสมกับยุคสมัย
ดังนั้น ผู้ที่จะมาเรียนในสาขาวิชาดังกล่าว จึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะผู้ที่เรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น ผู้ที่เรียนจบสาขาช่าง หรือ จบด้านวิทยาศาสตร์ และมีประสบการณ์ทำงานสายการผลิต ต้องการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้ตัวเอง ให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิผลมากขึ้น โดยหลักสูตรที่เรียนจะครอบคลุม 4 ด้าน คือ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี หุ่นยนต์ และ CNC
“กลุ่มผู้มาเรียนจะมาจากหลากหลายภาคการผลิต แต่สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับสามารถนำไปปรับใช้การทำงานจริงได้ และด้วยความที่เราเป็นสหวิทยาการ ไม่ได้เป็นภาควิชา ทำให้อาจารย์ผู้สอนสามารถเปิดกว้างไม่จำเป็นเฉพาะอยู่ในภาควิชา ทางผู้เรียนมีประสบการณ์ทำงานอย่างไร และมีเจอปัญหาสามารถเข้าหาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญตรงจุดนั้นได้กว่า 200 คน ตัวอย่างนักศึกษาของเรา หลายคนทำงานอยู่บริษัทญี่ปุ่น และปัจจุบันบริษัทดังกล่าวมีแผนที่จะย้ายงานด้านการออกแบบบ้างส่วนมาเปิดในประเทศไทย ซึ่งนักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาดังกล่าว จะมีองค์ความรู้ และเมื่อถูกส่งไปศึกษาเพิ่มเติมในประเทศญี่ปุ่น สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดได้ทันที่”
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับเปลี่ยนตัวเอง จากรับจ้างผลิต OEM มาเป็น DEM ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะช่วยได้ และในงานMETALEX 2009 จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2552 ที่ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา ทางปริญญาโท เทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม ได้ร่วมออกงาน โดยนำเทคโนโลยีด้าน CNC ไปร่วมออกบูท และแชร์ความรู้แก่ผู้สนใจภายในงาน และในส่วนของงานสัมมนา ยังมีการบรรยายในหัวข้อ Design & Manufacturing Tolerance กับอุตสาหกรรมการผลิตไทย
ผศ.ดร. ชัชพล กล่าวว่า การบรรยายในงานครั้งนี้ มีหลายหัวข้อที่จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะในเรื่องของการลดความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการผลิต เพราะถ้าผู้ประกอบการสามารถลดความคลาดเคลื่อนในกระบวนการผลิตลงได้ จะช่วยในเรื่องของการลดต้นทุน และได้สินค้าที่มีคุณภาพ เพราะปัจจุบันลูกค้าตัดสินใจซื้อจากการดูราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องขายของถูกอย่างเดียว แต่เราสามารถขายของที่มีคุณภาพได้