ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังสรุปการไต่สวนคำสั่งให้ระงับการดำเนิน 76 โครงการมาบตาพุด ด้าน นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนฯ เตรียมเข้าพบอานันท์ เรียกร้องให้เปลี่ยนตัวปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ ออกจากคณะกรรมการร่วม 4 ฝ่าย ฐานขาดความจริงใจในการแก้ไขปัญหาในวันพรุ่งนี้
วันนี้ (18 พ.ย.) ศาลปกครองสูงสุดโดย นายเกษม คมสัตย์ธรรม ตุลาการเจ้าของสำนวน ได้นัดให้นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวก (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวก (ผู้ถูกฟ้อง) และบริษัท เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด (ผู้มีส่วนได้เสีย) มารับฟังการอ่านสรุปผลการไต่สวนคดีคำร้องคัดค้านคำอุทธรณ์ ที่อัยการได้ขออุทธรณ์ให้ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งให้ระงับการดำเนินโครงการ 76 โครงการมาบตาพุด ที่ศาลได้ไต่สวนผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องไป 2 นัดที่ผ่านมาจำนวน 10 ปาก
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายภาคตะวันออก (ผู้ฟ้องคดี) กล่าว่า ตนมั่นใจในหลักฐานที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่มาบตาพุด ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างโรงงาน จนส่งผลให้มีชาวบ้านเจ็บป่วยจำนวนหลายคน และข้อกฎหมายที่รัฐบาลไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ที่ต้องมีการสำรวจความเห็นและผลกระทบทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมก่อนการอนุมัติให้สร้างโรงงานขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ศาลปกครองจะมีคำสั่งออกมาว่าไม่รับคำร้องคัดค้านก็ยังไม่ถือว่าคดีได้สิ้นสุดลง เพราะคดีดังกล่าวนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลางอยู่ นอกจากนี้เรายังได้ไปร้องให้องค์กรอิสระอื่นช่วยตรวจสอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสมาชิกวุฒิสภา ที่สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อกฎหมายมาตรา 67 วรรค 2 ว่า การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะตนมองว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ
นายสุทธิยังได้กล่าวถึงกรณีที่จะมีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหา 76 โครงการในนิคมอุตสาหรรมมาบตาพุด ที่มานายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 19 พ.ย.นี้ว่า จะเป็นการกำหนดกรอบกติกา ซักซ้อมความเข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง จะได้เป็นแนวทางให้การเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องข้อกฎหมายและการประกาศโครงการรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ทั้งนี้ตนเชื่อว่าคณะกรรมการฯนี้จะสามารถหาทางออกได้บางเรื่องเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด
ด้าน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า ตนจะเรียกร้องต่อนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ4 ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหา 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ขอให้เปลี่ยนตัวนายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกจากกรรมการร่วม 4 ฝ่ายฯ เนื่องจากที่ผ่านมาได้เพิกเฉยในการออกกฎหมาย และในการดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ มาโดยตลอด เป็นเหตุให้ภาคประชาชนต้องมาฟ้องร้อง ดังนั้นอยากให้เอารองปลัดกระทรวงฯมาเป็นแทน นอกจากนี้อยากให้นายอานันท์ ดำเนินการตรวจสอบโครงการทั่วประเทศไปเลย ซึ่งมี 500 กว่าโครงการ
นายศรีสุวรรณกล่าวอีกว่า แม้จะไม่ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ 4 ฝ่าย แต่ได้รับการติดต่อจากนายอานันท์ เพื่อขอหารือแลกเปลี่ยนความเห็น คาดว่าจะมีโอกาสได้คุยกันวันนี้และจะเสนอให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ผนวกประเด็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากผลของ 181 โครงการไว้เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ หลังจากที่สมาคมฯ ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบการ 181 โครงการลงทุนที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญปี 50 เรื่องการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชนนั้น เชื่อว่าขณะนี้ผู้ประกอบการดังกล่าวน่าจะได้รับหนังสือแล้ว สมาคมฯ จะขอรอดูท่าทีก่อนว่าผู้ประกอบการเหล่านี้จะดำเนินการอย่างไร
“ผมมองว่าคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่รัฐตั้งขึ้นมานี้ทำหน้าที่เหมือนหนังหน้าไฟที่รับเป็นตัวแทนของภาครัฐเท่านั้น เพราะหากมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาแล้วอาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากติดขัดตามข้อประกาศเดิมที่มีอยู่ซึ่งออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจำแนกประเภทอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบรุนแรงตลอดจนการทำงานบางอย่างอาจมีความซ้ำซ้อนกันได้ หากจะให้การทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ประสบผล อาจจำเป็นต้องยกเลิกบางประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรฯ ที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วการทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ก็จะคล้ายกับการทำงานของคณะกรรมการไตรภาคีในการแก้ไขปัญหามลพิษบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม” นายศรีสุวรรณกล่าว
วันนี้ (18 พ.ย.) ศาลปกครองสูงสุดโดย นายเกษม คมสัตย์ธรรม ตุลาการเจ้าของสำนวน ได้นัดให้นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวก (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวก (ผู้ถูกฟ้อง) และบริษัท เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด (ผู้มีส่วนได้เสีย) มารับฟังการอ่านสรุปผลการไต่สวนคดีคำร้องคัดค้านคำอุทธรณ์ ที่อัยการได้ขออุทธรณ์ให้ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งให้ระงับการดำเนินโครงการ 76 โครงการมาบตาพุด ที่ศาลได้ไต่สวนผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องไป 2 นัดที่ผ่านมาจำนวน 10 ปาก
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายภาคตะวันออก (ผู้ฟ้องคดี) กล่าว่า ตนมั่นใจในหลักฐานที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่มาบตาพุด ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างโรงงาน จนส่งผลให้มีชาวบ้านเจ็บป่วยจำนวนหลายคน และข้อกฎหมายที่รัฐบาลไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ที่ต้องมีการสำรวจความเห็นและผลกระทบทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมก่อนการอนุมัติให้สร้างโรงงานขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ศาลปกครองจะมีคำสั่งออกมาว่าไม่รับคำร้องคัดค้านก็ยังไม่ถือว่าคดีได้สิ้นสุดลง เพราะคดีดังกล่าวนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลางอยู่ นอกจากนี้เรายังได้ไปร้องให้องค์กรอิสระอื่นช่วยตรวจสอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสมาชิกวุฒิสภา ที่สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อกฎหมายมาตรา 67 วรรค 2 ว่า การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะตนมองว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ
นายสุทธิยังได้กล่าวถึงกรณีที่จะมีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหา 76 โครงการในนิคมอุตสาหรรมมาบตาพุด ที่มานายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 19 พ.ย.นี้ว่า จะเป็นการกำหนดกรอบกติกา ซักซ้อมความเข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง จะได้เป็นแนวทางให้การเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องข้อกฎหมายและการประกาศโครงการรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ทั้งนี้ตนเชื่อว่าคณะกรรมการฯนี้จะสามารถหาทางออกได้บางเรื่องเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด
ด้าน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า ตนจะเรียกร้องต่อนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ4 ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหา 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ขอให้เปลี่ยนตัวนายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกจากกรรมการร่วม 4 ฝ่ายฯ เนื่องจากที่ผ่านมาได้เพิกเฉยในการออกกฎหมาย และในการดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ มาโดยตลอด เป็นเหตุให้ภาคประชาชนต้องมาฟ้องร้อง ดังนั้นอยากให้เอารองปลัดกระทรวงฯมาเป็นแทน นอกจากนี้อยากให้นายอานันท์ ดำเนินการตรวจสอบโครงการทั่วประเทศไปเลย ซึ่งมี 500 กว่าโครงการ
นายศรีสุวรรณกล่าวอีกว่า แม้จะไม่ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ 4 ฝ่าย แต่ได้รับการติดต่อจากนายอานันท์ เพื่อขอหารือแลกเปลี่ยนความเห็น คาดว่าจะมีโอกาสได้คุยกันวันนี้และจะเสนอให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ผนวกประเด็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากผลของ 181 โครงการไว้เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ หลังจากที่สมาคมฯ ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบการ 181 โครงการลงทุนที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญปี 50 เรื่องการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชนนั้น เชื่อว่าขณะนี้ผู้ประกอบการดังกล่าวน่าจะได้รับหนังสือแล้ว สมาคมฯ จะขอรอดูท่าทีก่อนว่าผู้ประกอบการเหล่านี้จะดำเนินการอย่างไร
“ผมมองว่าคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่รัฐตั้งขึ้นมานี้ทำหน้าที่เหมือนหนังหน้าไฟที่รับเป็นตัวแทนของภาครัฐเท่านั้น เพราะหากมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาแล้วอาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากติดขัดตามข้อประกาศเดิมที่มีอยู่ซึ่งออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจำแนกประเภทอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบรุนแรงตลอดจนการทำงานบางอย่างอาจมีความซ้ำซ้อนกันได้ หากจะให้การทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ประสบผล อาจจำเป็นต้องยกเลิกบางประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรฯ ที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วการทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ก็จะคล้ายกับการทำงานของคณะกรรมการไตรภาคีในการแก้ไขปัญหามลพิษบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม” นายศรีสุวรรณกล่าว