ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ไม่เชื่อมั่น คณะกรรมการ4 ฝ่าย จะแก้ปัญหามลพิษในมาบตาพุดได้ พร้อมจี้ 181 โครงการที่เข้าข่ายส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพประชาชน ให้ปฏิบัติตาม มาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วย ด้านภาคประชาชนต้องการให้บิ๊กของปตท.และปูนใหญ่ร่วมเป็นกรรมการ ศาลปกครองสูงสุดนัดไต่สวนพยานครั้งที่ 3 วันที่ 18 พ.ย.
ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวถึงกรณีที่ทางคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ แต่งตั้งนาย อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เพื่อแก้ปัญหา 76 โครงการ ลงทุนในมาบตาพุดนั้น ว่า ทางสมาคมฯ ไม่ขัดขวางการทำหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว
แต่ส่วนตัวไม่เชื่อมั่นว่า คณะกรรมการฯชุดนี้ จะแก้ปัญหามลพิษในมาบตาพุดได้ เช่นเดียวกับการตั้งคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อแก้ปัญหามลพิษในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน แต่เป็นเพียงคำสั่งของทางราชการเท่านั้น แม้คณะกรรมการฯชุดนี้จะได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีก็ตาม ทั้งนี้คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ และหากมีมติใดออกมาก็จะต้องทำหน้าที่เป็นเพียงบุรุษไปรษณีย์เท่านั้น
“ทางสมาคมฯ ยังเรียกร้องให้ คณะกรรมการ 4 ฝ่าย จะต้องพิจารณา 181 โครงการที่เข้าข่ายส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพประชาชน ให้ปฏิบัติตาม มาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วย พร้อมทั้งนำเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหา ร่วมกับ 76 โครงการมาบตาพุดด้วย”
นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สมาคมฯ ได้ทยอยส่งจดหมายไปยังผู้ประกอบการทั้ง 181 โครงการ จากทั้งหมด 500 โครงการทั่วประเทศ ให้เร่งปฏิบัติตามมาตรา 67 คาดว่า จะสามารถส่งจดหมายได้ครบถ้วน ภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นจะดูผลตอบกลับว่า ภายใน 1 เดือนว่าผู้ประกอบการนั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 67 หรือไม่ หากไม่ดำเนินการทางสมาคมฯ จะยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางเป็นรายบริษัทต่อไป
*****ภาคปชช.อยากเห็นบิ๊กไฝ
เป็นกรรมการ4ฝ่าย
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวถึงกรณีที่จะมีการดึงตัวแทนจากกลุ่ม ปตท.และกลุ่มปูนซีเมนต์ไทยเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุดว่า เมื่อนายอานันท์ ปันยารชุน
อดีตนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นประธานเครือปตท.และเครือซิเมนต์ไทยก็ควรจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีอำนาจตัดสินใจเข้ามาร่วมด้วยก็จะถือเป็นการให้เกียรติ
“หากเครือปูนใหญ่และปตท.จะเข้ามาร่วมกรรมการ 4 ฝ่ายเราเองไม่มีปัญหาเพราะถือว่า 2 กลุ่มหลักนี้เป็นผู้ลงทุนใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่อยากเห็นตัวแทนจากทั้ง 2 กลุ่มเป็นนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. และนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานกรรมการ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย มากกว่า เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจและเป็นการให้เกียรติ ”นายสุทธิ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุดรอบแรกอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากจะมีการประชุมเฉพาะในส่วนของตัวแทนภาคประชาชนกับภาคผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการก่อน เพื่อแนะนำตัวและแจ้งถึงบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการ
****ศาลปกครองสูงสุดนัดไต่สวน 18 พ.ย.
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 12 พ.ย. ศาลปกครองสูงสุด นาย เกษม คมสัตย์ธรรม ตุลาการเจ้าของสำนวน ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคดีมาบตาพุด เป็นนัดที่ 2 กรณีที่นาย ประศาสน์ชัย ตัณฑพานิช อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครอง ผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวกรวม 8 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) รวมทั้ง บมจ.ปตท.และบมจ. ปูนซีเมนต์ไทย ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่สั่งระงับการดำเนินโครงการในนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง ทั้ง 76 โครงการ
โดยศาลได้นัดไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีจำนวน 13 ปาก แต่สำ หรับวานนี้ศาลไต่สวนได้เพียง 6 ปากเท่านั้น ซึ่งใช้เวลาไต่สวนนานทั้งสิ้นกว่า 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามตุลาการเจ้าของสำนวนได้นัดไต่สวนพยานเป็นครั้งที่ 3 อีกครั้ง ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ ที่สำนักงานศาลปกครองสูงสุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศการไต่สวนเมื่อวานนี้ (12พ.ย.) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากตุลาการเจ้าของสำนวนได้เปลี่ยนรูปแบบการไต่สวน โดยให้ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี เขียนคำถามที่ต้องการถามคู่กรณีส่งให้ตุลาการฯ โดยตุลาการจะเป็นผู้ทำหน้าที่ซักถามเอง เพื่อลดการเผชิญหน้าของทั้งฝ่าย
ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากวันที่ 2 พ.ย. ที่เป็นวันไต่สวนนัดแรก ตุลาการฯได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีได้ซักถามผู้ฟ้องคดีได้โดยตรง จนทำให้สองฝ่ายได้เกิดโต้คารมกันอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นตุลาการฯจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการไต่สวนดังกล่าว อย่างไรก็ตามบรรยากาศภายนอกห้องพิจารณานั้น มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำนวนมากทำหน้าที่ดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อกั้นไม่ให้สื่อมวลชนเข้าไปสร้างความวุ่นวายในส่วนบริเวณหน้าห้องพิจารณาคดี
ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวถึงกรณีที่ทางคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ แต่งตั้งนาย อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เพื่อแก้ปัญหา 76 โครงการ ลงทุนในมาบตาพุดนั้น ว่า ทางสมาคมฯ ไม่ขัดขวางการทำหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว
แต่ส่วนตัวไม่เชื่อมั่นว่า คณะกรรมการฯชุดนี้ จะแก้ปัญหามลพิษในมาบตาพุดได้ เช่นเดียวกับการตั้งคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อแก้ปัญหามลพิษในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน แต่เป็นเพียงคำสั่งของทางราชการเท่านั้น แม้คณะกรรมการฯชุดนี้จะได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีก็ตาม ทั้งนี้คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ และหากมีมติใดออกมาก็จะต้องทำหน้าที่เป็นเพียงบุรุษไปรษณีย์เท่านั้น
“ทางสมาคมฯ ยังเรียกร้องให้ คณะกรรมการ 4 ฝ่าย จะต้องพิจารณา 181 โครงการที่เข้าข่ายส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพประชาชน ให้ปฏิบัติตาม มาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วย พร้อมทั้งนำเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหา ร่วมกับ 76 โครงการมาบตาพุดด้วย”
นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สมาคมฯ ได้ทยอยส่งจดหมายไปยังผู้ประกอบการทั้ง 181 โครงการ จากทั้งหมด 500 โครงการทั่วประเทศ ให้เร่งปฏิบัติตามมาตรา 67 คาดว่า จะสามารถส่งจดหมายได้ครบถ้วน ภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นจะดูผลตอบกลับว่า ภายใน 1 เดือนว่าผู้ประกอบการนั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 67 หรือไม่ หากไม่ดำเนินการทางสมาคมฯ จะยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางเป็นรายบริษัทต่อไป
*****ภาคปชช.อยากเห็นบิ๊กไฝ
เป็นกรรมการ4ฝ่าย
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวถึงกรณีที่จะมีการดึงตัวแทนจากกลุ่ม ปตท.และกลุ่มปูนซีเมนต์ไทยเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุดว่า เมื่อนายอานันท์ ปันยารชุน
อดีตนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นประธานเครือปตท.และเครือซิเมนต์ไทยก็ควรจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีอำนาจตัดสินใจเข้ามาร่วมด้วยก็จะถือเป็นการให้เกียรติ
“หากเครือปูนใหญ่และปตท.จะเข้ามาร่วมกรรมการ 4 ฝ่ายเราเองไม่มีปัญหาเพราะถือว่า 2 กลุ่มหลักนี้เป็นผู้ลงทุนใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่อยากเห็นตัวแทนจากทั้ง 2 กลุ่มเป็นนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. และนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานกรรมการ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย มากกว่า เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจและเป็นการให้เกียรติ ”นายสุทธิ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุดรอบแรกอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากจะมีการประชุมเฉพาะในส่วนของตัวแทนภาคประชาชนกับภาคผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการก่อน เพื่อแนะนำตัวและแจ้งถึงบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการ
****ศาลปกครองสูงสุดนัดไต่สวน 18 พ.ย.
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 12 พ.ย. ศาลปกครองสูงสุด นาย เกษม คมสัตย์ธรรม ตุลาการเจ้าของสำนวน ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคดีมาบตาพุด เป็นนัดที่ 2 กรณีที่นาย ประศาสน์ชัย ตัณฑพานิช อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครอง ผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวกรวม 8 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) รวมทั้ง บมจ.ปตท.และบมจ. ปูนซีเมนต์ไทย ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่สั่งระงับการดำเนินโครงการในนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง ทั้ง 76 โครงการ
โดยศาลได้นัดไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีจำนวน 13 ปาก แต่สำ หรับวานนี้ศาลไต่สวนได้เพียง 6 ปากเท่านั้น ซึ่งใช้เวลาไต่สวนนานทั้งสิ้นกว่า 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามตุลาการเจ้าของสำนวนได้นัดไต่สวนพยานเป็นครั้งที่ 3 อีกครั้ง ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ ที่สำนักงานศาลปกครองสูงสุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศการไต่สวนเมื่อวานนี้ (12พ.ย.) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากตุลาการเจ้าของสำนวนได้เปลี่ยนรูปแบบการไต่สวน โดยให้ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี เขียนคำถามที่ต้องการถามคู่กรณีส่งให้ตุลาการฯ โดยตุลาการจะเป็นผู้ทำหน้าที่ซักถามเอง เพื่อลดการเผชิญหน้าของทั้งฝ่าย
ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากวันที่ 2 พ.ย. ที่เป็นวันไต่สวนนัดแรก ตุลาการฯได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีได้ซักถามผู้ฟ้องคดีได้โดยตรง จนทำให้สองฝ่ายได้เกิดโต้คารมกันอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นตุลาการฯจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการไต่สวนดังกล่าว อย่างไรก็ตามบรรยากาศภายนอกห้องพิจารณานั้น มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำนวนมากทำหน้าที่ดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อกั้นไม่ให้สื่อมวลชนเข้าไปสร้างความวุ่นวายในส่วนบริเวณหน้าห้องพิจารณาคดี