คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบหลักการจัดทำร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กำหนดหลักเกณฑ์จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบในโครงการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง คาดประกาศใช้สัปดาห์หน้า"สุทธิ" พบ "มาร์ค" เห็นพ้องตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ไขปัญหามาบตาพุด คาดสัปดาห์หน้าได้ 12 รายชื่อ มอบงาน"กอร์ปศักดิ์" พบชาวบ้านทุก 2 สัปดาห์
เมื่อเวลา 8.30 น. วานนี้ (30 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2552 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมมีวาระพิจารณาการดำเนินงานตาม มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ทั้งนี้ ก่อนเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี ได้เปิดโอกาสให้นายสุทธิ อัชฌาศัย แกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยนายสมชาย แสวงการ และนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา เข้าพบที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
นายสุทธิ เปิดเผยว่า การเข้าพบนายกฯก็เพื่อเร่งรัดให้แก้ไขปัญหามาบตาพุด โดยเห็นตรงกันที่จะตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาพิจารณาโครงการ 76 โครงการ ประกอบด้วย 4 ฝ่าย คือ ภาคประชาชน นักวิชาการ นักกฎหมาย และสื่อมวลชน ,ภาคเอกชน, ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่พิจารณา รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ว่าต้องการให้ออกมาในรูปแบบใด และเสนอแนะโครงการไปยังโครงการที่เป็นปัญหาให้กับหน่วยงานของรัฐเข้าไปดำเนินการ โดยมีกรอบระยะเวลา 90 วัน คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้คณะกรรมการครบทั้ง 12 คน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ทุก 2 สัปดาห์รวมทั้งดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนในมาบตาพุดด้วย
เห็นชอบร่างประกาศผ่าทางตัน
สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ มีมติเห็นชอบในหลักการการจัดทำ ร่าง ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 วรรคสอง และมาตรา 51 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอความร่วมมือในการให้ความเห็นเบื้องต้นต่อร่างประกาศกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าว และเห็นชอบในหลักการการจัดทำร่างคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
1. ร่างคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับโครงการหรือกิจการของภาครัฐ
2. ร่างคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติสำหรับโครงการหรือกิจการของภาคเอกชน
3. ร่างคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อร้องเรียนโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ตามที่ ทส.เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปรับปรุงร่างประกาศฯ ข้างต้น ตามความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป โดยกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (50 ?g/m3) และค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 0.025 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (25 ?g/m3) โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจัดทำประกาศฯ เสนอประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาลงนาม ต่อไป
พร้อมเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเคมีบางประเภท และบางขนาดเป็นแหล่งกำเนิดที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย ซึ่งมีสาร 1,2-ไดคลอโรอีเทน และสารไวนิลคลอไรด์ เจือปนออกสู่บรรยากาศ และ เห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียซึ่งมีสาร 1,2-ไดคลอโรอีเทน และสารไวนิลคลอไรด์เจือปนจากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จัดทำประกาศกระทรวงฯ เสนอรมว.ทส. เพื่อพิจารณาลงนาม ต่อไป
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ยังเห็นชอบกับร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน และร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อม อีกด้วย
เล็งคลอดประกาศสัปดาห์หน้า
นายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ให้ความเห็นชอบ คาดว่าจะออกเป็นหนังสือเวียนให้ทุกฝ่ายเห็นชอบก่อนที่นายกฯจะลงนามประกาศใช้ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า
**37โครงการยื่นอุทธรณ์
นายศรีสุวรรณ จรรยา กรรมการสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ผู้ฟ้องคดีให้ระงับโครงการหรือกิจกรรม 76 โครงการในพื้นที่จ.ระยอง เปิดเผยว่า ทางศาลปกครองสูงสุด ได้แจ้งว่า มีผู้มีส่วนได้เสีย (ภาคเอกชน) ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่สั่งระงับโครงการเพื่อคุ้มครองชั่วคราวมายังศาลปกครองสูงสุด รวมทั้งหมด 37 ราย เช่น เหมราชฯ กลุ่มปูนใหญ่ เครือปตท. ซึ่งผู้ฟ้องคดีจะทำคำคัดค้านอุทธรณ์ยื่นต่อศาลภายใน 7 วัน หลังจากได้รับคำอุทธรณ์จากศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา
เมื่อเวลา 8.30 น. วานนี้ (30 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2552 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมมีวาระพิจารณาการดำเนินงานตาม มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ทั้งนี้ ก่อนเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี ได้เปิดโอกาสให้นายสุทธิ อัชฌาศัย แกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยนายสมชาย แสวงการ และนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา เข้าพบที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
นายสุทธิ เปิดเผยว่า การเข้าพบนายกฯก็เพื่อเร่งรัดให้แก้ไขปัญหามาบตาพุด โดยเห็นตรงกันที่จะตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาพิจารณาโครงการ 76 โครงการ ประกอบด้วย 4 ฝ่าย คือ ภาคประชาชน นักวิชาการ นักกฎหมาย และสื่อมวลชน ,ภาคเอกชน, ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่พิจารณา รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ว่าต้องการให้ออกมาในรูปแบบใด และเสนอแนะโครงการไปยังโครงการที่เป็นปัญหาให้กับหน่วยงานของรัฐเข้าไปดำเนินการ โดยมีกรอบระยะเวลา 90 วัน คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้คณะกรรมการครบทั้ง 12 คน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ทุก 2 สัปดาห์รวมทั้งดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนในมาบตาพุดด้วย
เห็นชอบร่างประกาศผ่าทางตัน
สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ มีมติเห็นชอบในหลักการการจัดทำ ร่าง ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 วรรคสอง และมาตรา 51 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอความร่วมมือในการให้ความเห็นเบื้องต้นต่อร่างประกาศกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าว และเห็นชอบในหลักการการจัดทำร่างคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
1. ร่างคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับโครงการหรือกิจการของภาครัฐ
2. ร่างคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติสำหรับโครงการหรือกิจการของภาคเอกชน
3. ร่างคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อร้องเรียนโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ตามที่ ทส.เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปรับปรุงร่างประกาศฯ ข้างต้น ตามความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป โดยกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (50 ?g/m3) และค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 0.025 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (25 ?g/m3) โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจัดทำประกาศฯ เสนอประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาลงนาม ต่อไป
พร้อมเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเคมีบางประเภท และบางขนาดเป็นแหล่งกำเนิดที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย ซึ่งมีสาร 1,2-ไดคลอโรอีเทน และสารไวนิลคลอไรด์ เจือปนออกสู่บรรยากาศ และ เห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียซึ่งมีสาร 1,2-ไดคลอโรอีเทน และสารไวนิลคลอไรด์เจือปนจากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จัดทำประกาศกระทรวงฯ เสนอรมว.ทส. เพื่อพิจารณาลงนาม ต่อไป
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ยังเห็นชอบกับร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน และร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อม อีกด้วย
เล็งคลอดประกาศสัปดาห์หน้า
นายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ให้ความเห็นชอบ คาดว่าจะออกเป็นหนังสือเวียนให้ทุกฝ่ายเห็นชอบก่อนที่นายกฯจะลงนามประกาศใช้ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า
**37โครงการยื่นอุทธรณ์
นายศรีสุวรรณ จรรยา กรรมการสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ผู้ฟ้องคดีให้ระงับโครงการหรือกิจกรรม 76 โครงการในพื้นที่จ.ระยอง เปิดเผยว่า ทางศาลปกครองสูงสุด ได้แจ้งว่า มีผู้มีส่วนได้เสีย (ภาคเอกชน) ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่สั่งระงับโครงการเพื่อคุ้มครองชั่วคราวมายังศาลปกครองสูงสุด รวมทั้งหมด 37 ราย เช่น เหมราชฯ กลุ่มปูนใหญ่ เครือปตท. ซึ่งผู้ฟ้องคดีจะทำคำคัดค้านอุทธรณ์ยื่นต่อศาลภายใน 7 วัน หลังจากได้รับคำอุทธรณ์จากศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา