ASTVผู้จัดการรายวัน- คณะทำงานแก้ไขปัญหามาบตาพุดของกกร.นัดถกวันนี้(20ต.ค.)เพื่อหาทางออกร่วมกัน ด้านก.อุตฯเร่งทำข้อมูลเพื่อสู้คดี
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้(20ต.ค.) คณะทำงานเพื่อติดตามปัญหามาบตาพุดที่จัดตั้งโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)จะหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการหาทางออกปัญหาจากคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ระงับการดำเนินงาน 76 โครงการร่วมกันเนื่องจากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องไปในทิศทางเดียวกันเพราะจะมีผลต่อความเชื่อมั่นประเทศไทยต่อสายตานักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ
ทั้งนี้ยอมรับว่าปัญหาจะคลี่คลายชัดเจนหรือไม่ระยะสั้นคงจะต้องรอคำสั่งศาลปกครองสูงสุดภายหลังจากที่ 8 หน่วยงานรวมถึงภาคเอกชนส่วนหนึ่งได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางไปแล้ว รวมไปถึงการออกกฏหมายชั่วคราวมารองรับมาตรา 67 ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ 3 กระทรวงหลักไปพิจารณาเกี่ยวกับรายชื่อบัญชีกิจการที่เข้าข่ายผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงโดยระบุว่าจะออกมาภายใน 2-3 สัปดาห์ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ส่วนระยะยาวคงจะต้องรอความชัดเจนของกฏหมายลูกที่คาดว่าเร็วสุดน่าจะออกมาได้ช่วงพ.ค. 2553
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนจะนำผลประชุมส่วนหนึ่งที่เพิ่มเติมจากข้อสรุปของกกร. ไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 21 ต.ค. 2552 ด้วย ประกอบกับนำข้อสรุปจากที่ประชุมกกร. เข้าเสนอนายกรัฐมนตรี
ยื่นหนังสือกรรมาธิการวุฒิฯวันนี้
นายอิทธิพล แจ่มแจ้ง ประธานมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชุมชนเมืองมาบตาพุด และเทศบาล ต.บ้านฉาง กล่าวว่า วันนี้(20ต.ค.) กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาชิกวุฒิสภา จะลงพื้นที่มาดูปัญหามาบตาพุดจึงเตรียมที่จะยื่นหนังสือให้มีการพิจารณาถึงผลกระทบต่อกิจการและชุมชน ซึ่งเห็นว่า 76 โครงการนั้นหากว่าโครงการใดได้ผ่านการทำงานรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)แล้วก็ควรจะให้ดำเนินการต่อไปและหากมีปัญหาสร้างมลพิษก็ให้ใช้อำนาจทางกฏหมายสั่งปิดได้เพื่อไม่ให้ระบบเศรษฐกิจไทยต้องได้รับผลกระทบ
“เราเตรียมทำข้อมูลเพื่อยื่นหนังสือชี้แจงให้กับกรรมาธิการวุฒิสภา รวมไปถึงนายกรัฐมนตรีด้วย ส่วนในแง่กฏหมายก็กำลังดูอยู่ซึ่งทางฝ่ายกฏหมายเห็นว่าถ้าชุมชนได้รับผลกระทบก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้เช่นกัน”นายอิทธิพลกล่าว
ยันครม.ออกกฏหมายมิชอบ
นายสุทธิ อัชฌาศัย ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า การที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นการออกกฎหมายโดยมิชอบ เนื่องจากไม่มีการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เพราะร่างกฎหมายได้เป็นมติจากครม.แล้ว ค่อยมาจัดรับฟังความคิดเห็น
“ กลุ่มจะรอดูกฎหมายฉบับสมบูรณ์ และจะให้องค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิ ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะออกกฎหมายโดยมิชอบ และไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 “นายสุทธิกล่าว
ก.อุตฯเร่งทำข้อมูลสู้คดี
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้มีการหารือข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมข้อมูลไว้ทั้งส่วนที่กลุ่มผู้ฟ้องแจ้งความคดีอาญารมว.อุตสาหกรรมและผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ละเลยปฏิบัติหน้าที่ และกรณีที่เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองได้มีหนังสือมาสอบถามว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือไม่ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้แจ้งกลับคำสั่งศาลถึงการทำหนังสือไปยังเอกชนแล้วแต่กระทรวงอุตสาหกรรมไม่มีอำนาจไประงับกิจการได้
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้(20ต.ค.) คณะทำงานเพื่อติดตามปัญหามาบตาพุดที่จัดตั้งโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)จะหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการหาทางออกปัญหาจากคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ระงับการดำเนินงาน 76 โครงการร่วมกันเนื่องจากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องไปในทิศทางเดียวกันเพราะจะมีผลต่อความเชื่อมั่นประเทศไทยต่อสายตานักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ
ทั้งนี้ยอมรับว่าปัญหาจะคลี่คลายชัดเจนหรือไม่ระยะสั้นคงจะต้องรอคำสั่งศาลปกครองสูงสุดภายหลังจากที่ 8 หน่วยงานรวมถึงภาคเอกชนส่วนหนึ่งได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางไปแล้ว รวมไปถึงการออกกฏหมายชั่วคราวมารองรับมาตรา 67 ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ 3 กระทรวงหลักไปพิจารณาเกี่ยวกับรายชื่อบัญชีกิจการที่เข้าข่ายผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงโดยระบุว่าจะออกมาภายใน 2-3 สัปดาห์ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ส่วนระยะยาวคงจะต้องรอความชัดเจนของกฏหมายลูกที่คาดว่าเร็วสุดน่าจะออกมาได้ช่วงพ.ค. 2553
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนจะนำผลประชุมส่วนหนึ่งที่เพิ่มเติมจากข้อสรุปของกกร. ไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 21 ต.ค. 2552 ด้วย ประกอบกับนำข้อสรุปจากที่ประชุมกกร. เข้าเสนอนายกรัฐมนตรี
ยื่นหนังสือกรรมาธิการวุฒิฯวันนี้
นายอิทธิพล แจ่มแจ้ง ประธานมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชุมชนเมืองมาบตาพุด และเทศบาล ต.บ้านฉาง กล่าวว่า วันนี้(20ต.ค.) กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาชิกวุฒิสภา จะลงพื้นที่มาดูปัญหามาบตาพุดจึงเตรียมที่จะยื่นหนังสือให้มีการพิจารณาถึงผลกระทบต่อกิจการและชุมชน ซึ่งเห็นว่า 76 โครงการนั้นหากว่าโครงการใดได้ผ่านการทำงานรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)แล้วก็ควรจะให้ดำเนินการต่อไปและหากมีปัญหาสร้างมลพิษก็ให้ใช้อำนาจทางกฏหมายสั่งปิดได้เพื่อไม่ให้ระบบเศรษฐกิจไทยต้องได้รับผลกระทบ
“เราเตรียมทำข้อมูลเพื่อยื่นหนังสือชี้แจงให้กับกรรมาธิการวุฒิสภา รวมไปถึงนายกรัฐมนตรีด้วย ส่วนในแง่กฏหมายก็กำลังดูอยู่ซึ่งทางฝ่ายกฏหมายเห็นว่าถ้าชุมชนได้รับผลกระทบก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้เช่นกัน”นายอิทธิพลกล่าว
ยันครม.ออกกฏหมายมิชอบ
นายสุทธิ อัชฌาศัย ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า การที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นการออกกฎหมายโดยมิชอบ เนื่องจากไม่มีการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เพราะร่างกฎหมายได้เป็นมติจากครม.แล้ว ค่อยมาจัดรับฟังความคิดเห็น
“ กลุ่มจะรอดูกฎหมายฉบับสมบูรณ์ และจะให้องค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิ ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะออกกฎหมายโดยมิชอบ และไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 “นายสุทธิกล่าว
ก.อุตฯเร่งทำข้อมูลสู้คดี
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้มีการหารือข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมข้อมูลไว้ทั้งส่วนที่กลุ่มผู้ฟ้องแจ้งความคดีอาญารมว.อุตสาหกรรมและผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ละเลยปฏิบัติหน้าที่ และกรณีที่เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองได้มีหนังสือมาสอบถามว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือไม่ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้แจ้งกลับคำสั่งศาลถึงการทำหนังสือไปยังเอกชนแล้วแต่กระทรวงอุตสาหกรรมไม่มีอำนาจไประงับกิจการได้