ที่ประชุม ส.ส.ร.50 ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง อภิปรายถกเถียงต่อการแก้รัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่จะเปิดประชุมรัฐสภา 16-17 กันยายนนี้ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ไม่ควรแก่รัฐธรรมนูญในช่วงนี้ เพราะเงื่อนไขเวลาไม่เหมาะสม
ขณะเดียวกัน ยังถกเถียงถึงบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 244 (3) บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ติดตามประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น แต่ที่ผ่านมากลับไม่มีบทบาทต่อเรื่องนี้ จึงกำหนดมาตรการที่จะดำเนินการกับผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยเสนอให้ดำเนินการ 2 แนวทาง คือ ทำหนังสือเตือนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้กรอบเวลาผู้ตรวจการแผ่นดินออกมาแสดงบทบาทที่ชัดเจน หรือหากผู้ตรวจการแผ่นดินยังไม่ออกมาทำหน้าที่ ชมรม ส.ส.ร.50 จะร้องไปยังคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ทำการตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากอาจเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 157 และกำหนดกรอบให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งรัดให้มีการประเมินใช้รัฐธรรมนูญ และเสนอความเห็นว่า ควรแก้ไขหรือไม่ โดยให้ตอบกลับภายใน 15 วัน
ชมรม ส.ส.ร.50 ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการปิดกั้น เพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเห็นว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ใช้ในขณะนี้ได้ผ่านการประชาพิจารณ์มาจากประชาชน ดังนั้นหากจะมีการแก้ไข ควรผ่านความเห็นจากประชาชนเช่นกัน
ขณะเดียวกัน ยังถกเถียงถึงบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 244 (3) บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ติดตามประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น แต่ที่ผ่านมากลับไม่มีบทบาทต่อเรื่องนี้ จึงกำหนดมาตรการที่จะดำเนินการกับผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยเสนอให้ดำเนินการ 2 แนวทาง คือ ทำหนังสือเตือนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้กรอบเวลาผู้ตรวจการแผ่นดินออกมาแสดงบทบาทที่ชัดเจน หรือหากผู้ตรวจการแผ่นดินยังไม่ออกมาทำหน้าที่ ชมรม ส.ส.ร.50 จะร้องไปยังคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ทำการตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากอาจเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 157 และกำหนดกรอบให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งรัดให้มีการประเมินใช้รัฐธรรมนูญ และเสนอความเห็นว่า ควรแก้ไขหรือไม่ โดยให้ตอบกลับภายใน 15 วัน
ชมรม ส.ส.ร.50 ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการปิดกั้น เพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเห็นว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ใช้ในขณะนี้ได้ผ่านการประชาพิจารณ์มาจากประชาชน ดังนั้นหากจะมีการแก้ไข ควรผ่านความเห็นจากประชาชนเช่นกัน