ASTVผู้จัดการรายวัน-กก.สิทธิฯ เตรียมยื่นหนังสือนายกฯค้านรัฐดันร่างแก้ไขพ.ร.บ.ส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แก้ปัญหามาบตาพุด ชี้ให้อำนาจนักการเมืองครอบงำแทรกแซงองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ขัดรธน.มาตรา 67 วรรคสอง เชื่อเจอประชาชนฟ้องแน่ เอกชนร้องขอหน่วยงานกลางวัดค่ามาตรฐานสารพิษ ด้านผู้ฟ้องคดียื่นคัดค้านเหมราชฯ อุทธรณ์ ศาลปกครองสูงสุด เริ่มไต่สวนนัดแรก 2 พ.ย.นี้
วานนี้ ( 27 ต.ค.) น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนได้มีการประชุม ต่อกรณีที่รัฐบาลเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ.... เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหากรณีมาบตาพุด โดยอนุกรรมการฯ มีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
เหตุผลเนื่องจากในเนื้อหาที่จะมีการแก้ไขนั้น กำหนดให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรี ให้อำนาจรัฐมนตรีเพิกถอนการจดทะเบียนองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมได้ เท่ากับเป็นการขัดต่อหลักความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญตรา 67 วรรค 2 และเป็นการให้อำนาจนักการเมืองเข้าไปครอบงำ แทรกแซงการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งปลดคณะกรรมการองค์การได้
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดไว้ในมาตรา 51 /2 ให้องค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมทำงานภายใต้การดำเนินงานของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นอิสระในการทำงานที่ถูกควบคุมโดย สผ. และ คณะกรรมการผู้ชำนาญการ
ดังนั้น หากรัฐบาลยังดึงดันที่จะเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภา เชื่อว่าถ้าคลอดออกมาเป็นกฎหมาย จะเกิดการฟ้องร้องอย่างแน่นอน เพราะเป็นบทบัญญัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ทางคณะอนุกรรมการฯจึงเห็นว่าการแก้ไขปัญหากรณีมาบตาพุดนั้น รัฐบาลต้องผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.องค์การด้านสิ่งแวดล้อม ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่ ก.ย. 51 เข้าสู่การพิจารณาขอรัฐสภา เพราะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเสนอเร่งด่วนต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้
1.รัฐบาลต้องเปิดเผยข้อมูล 76 โครงการมาบตาพุดต่อสาธารณะ รวมทั้งรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รายงานการประชุมผลวิเคราะห์ของผู้ชำนาญการ และรายงานการประเมินความเสี่ยง
2.รัฐบาลต้องจัดให้มีการประเมินศักยภาพในการรองรับมลพิษของพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติใน 76 โครงการ
3. ต้องจัดให้มีเขตปลอดมลพิษที่ชัดเจนถูกต้อง และมีพื้นที่กันชนสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรมทุกส่วน กำหนดให้มีมาตรการการกำจัดกากพิษอุตสาหกรรมและขยะที่ก่อให้เกิดมลภาวะ
4.ให้ประชาชน ชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยอันเกิดจากมลภาวะ ซึ่งตนจะนำมติของคณะอนุกรมการฯ ดังกล่าวเข้าสู่ทีประชุมคณะกรรมการสิทธิฯในวันนี้ ( 28 ต.ต.) เพื่อขอความเห็นชอบ และจะได้ออกเป็นแถลงการณ์เ และทำหนังสือ เพื่อยื่นต่อนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
**ผู้ฟ้องคดียื่นคัดค้านเหมราชฯ อุทธรณ์
ในวันเดียวกันนี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา กรรมการสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวก ผู้ฟ้องคดี 76 โครงการละเมิดรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง เปิดเผยว่า ตนเองได้ยื่นคำคัดค้านการอุทธรณ์คดีของบริษัทเหมราชฯ ที่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ
หนึ่ง เหมราชฯ อ้างว่า ไม่ได้อยู่ในเขตควบคุมมลพิษ จ.ระยอง โดยระบุว่าโครงการตั้งอยู่ในเขตจ.ชลบุรี ซึ่งความจริงแล้วเรื่องที่ตั้งโครงการนี้ไม่ใช่ประเด็น เพราะที่ยื่นฟ้องเหมราชฯ ก็คือ การไม่ทำตามมาตรา 67 วรรคสอง และสอง เหมราชฯ อ้างว่า จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของเอกชน ในเรื่องนี้ต้องเรียนว่าการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนนั้นเขาต้องศึกษาข้อมูล ข้อกฎหมายต่างๆ ทั้งหมดอยู่ก่อนแล้ว
ตามคำฟ้อง โครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อิสเทิร์นซีบอร์ด (ส่วนขยาย) ตั้งอยู่ที่ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการคือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมกับบริษัทเหมราช อิสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม และกนอ. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 และ 8 เป็นหน่วยงานอนุญาตเมื่อเดือนมิถุนายน 2551
นายศรีสุวรรณ กล่าวต่อว่า ศาลปกครองสูงสุด จะนัดไต่สวนคดีนัดแรกในวันที่ 2 พ.ย. นี้ เวลา 9.00 น. ซึ่งคาดว่าศาลฯ จะใช้เวลาไต่สวนประมาณ 10 วันหลังจากนั้นจะตัดสินคดีที่รัฐบาลโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และเอกชน เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลปกครองกลาง ที่สั่งให้ระงับโครงการหรือกิจกรรม 76 โครงการไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
**ร้องขอหน่วยงานกลางวัดค่าสารพิษ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีการพบโรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-เอเชีย ปล่อยสารพิษสูงกว่ามาตรฐานกว่า 30 เท่านั้นเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต่างก็ยืนยันถึงข้อมูลตนเองซึ่งเอกชนเคยเสนอไปหลายครั้งแล้วว่าควรจะตั้งหน่วยงานกลางร่วมกันแล้วทำการวัดค่ามาตรฐานที่ถูกต้องและใช้หลักทางวิชาการอ้างอิงในทิศทางเดียวกันหากไม่เช่นนั้นต่างฝ่ายต่างก็จะสามารถใช้ข้อมูลของตนเองกล่าวอ้างได้ตลอด
“คนที่ค้านเขาก็บอกว่าเกิน แต่คนที่โดนค้านก็บอกว่าไม่เกิน การไปวัดมลพิษนั้นต้องดูหลายปัจจัยประกอบเช่นปัญหากลิ่น วัดช่วงใด เวลาใด ลมทิศทางไปทางไหน มันมีปัจจัยมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งผมเห็นว่าปัญหาทั้งหมดน่าจะชัดเจนได้ในเดือน พ.ย.นี้เพราะถือเป็นเรื่องเร่งด่วนไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อการลงทุนระยะยาว”นายสันติกล่าว
ทั้งนี้ เชื่อว่า 76 โครงการที่ถูกระงับการดำเนินงานชั่วคราวจนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นนั้นยืนยันว่าส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าข่ายผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมแต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้เอกชนต้องการให้ 3 หน่วยงานที่ครม.มอบหมายให้เร่งรัดสรุปกฏหมายชั่วคราวมาดูแลให้เสร็จตามกำหนดระยะเวลา 3 สัปดาห์โดยเร็วสุดโดยให้มีการดูแลปัญหาต่างๆ เหมือนกับกฏหมายจริงที่จะเข้าสภาฯในปี 2553 เพื่อไม่ให้ถูกมองว่ารัฐเข้าข้างเอกชน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากในไทยไม่เอื้อให้มีการลงทุน ไทยออยล์เริ่มหันไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น จากที่ผ่านมาเน้นการลงทุนในไทย ซึ่งถือเป็นจังหวะเหมาะ อีกทั้งมาบตาพุดกำลังมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการลงทุนในไทยคงลำบากมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไทยออยล์ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีมาบตาพุด เพราะได้มีการลงทุนขนาดใหญ่ไปก่อนหน้านี้ทั้งการขยายกำลังการกลั่น และลงทุนท่าเรือไปเรียบร้อยแล้ว
**สั่งโรงไฟฟ้ารายงานแผนสิ่งแวดล้อม
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้โรงไฟฟ้าทุกแห่งรายงานแผนการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมมาให้เรคกูเลเตอร์ได้รับทราบ เพื่อตรวจสอบการดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขที่ระบุในใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการฟ้องร้องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
**ยื่นหนังสือนายกฯ -ประธานวุฒิฯ วันนี้
นายสุทธิ อัศฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยถึงการเดินเท้าจากจ.ระยอง เข้ากรุงเทพฯ เป็นวันที่ 4 ว่า คืนวานนี้ (27 ต.ค.) พักค้างคืนที่วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ โดยมีพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาให้กำลังใจอย่างอบอุ่น และในวันนี้ (28 ต.ค.) จะเดินทางถึงกรุงเทพฯ และนัดตั้งขบวน เวลา 09.00 น. ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล จากนั้นจะเดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายประสบสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ซึ่งเนื้อหาในหนังสือที่จะยื่นนั้น มีประเด็นสำคัญคือ ให้ทบทวนการลงทุนในเขตพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดใหม่ให้มีความสมดุล, ให้รัฐบาลปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลาง และเร่งกลไกที่จะต้องจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง
วานนี้ ( 27 ต.ค.) น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนได้มีการประชุม ต่อกรณีที่รัฐบาลเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ.... เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหากรณีมาบตาพุด โดยอนุกรรมการฯ มีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
เหตุผลเนื่องจากในเนื้อหาที่จะมีการแก้ไขนั้น กำหนดให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรี ให้อำนาจรัฐมนตรีเพิกถอนการจดทะเบียนองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมได้ เท่ากับเป็นการขัดต่อหลักความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญตรา 67 วรรค 2 และเป็นการให้อำนาจนักการเมืองเข้าไปครอบงำ แทรกแซงการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งปลดคณะกรรมการองค์การได้
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดไว้ในมาตรา 51 /2 ให้องค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมทำงานภายใต้การดำเนินงานของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นอิสระในการทำงานที่ถูกควบคุมโดย สผ. และ คณะกรรมการผู้ชำนาญการ
ดังนั้น หากรัฐบาลยังดึงดันที่จะเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภา เชื่อว่าถ้าคลอดออกมาเป็นกฎหมาย จะเกิดการฟ้องร้องอย่างแน่นอน เพราะเป็นบทบัญญัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ทางคณะอนุกรรมการฯจึงเห็นว่าการแก้ไขปัญหากรณีมาบตาพุดนั้น รัฐบาลต้องผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.องค์การด้านสิ่งแวดล้อม ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่ ก.ย. 51 เข้าสู่การพิจารณาขอรัฐสภา เพราะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเสนอเร่งด่วนต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้
1.รัฐบาลต้องเปิดเผยข้อมูล 76 โครงการมาบตาพุดต่อสาธารณะ รวมทั้งรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รายงานการประชุมผลวิเคราะห์ของผู้ชำนาญการ และรายงานการประเมินความเสี่ยง
2.รัฐบาลต้องจัดให้มีการประเมินศักยภาพในการรองรับมลพิษของพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติใน 76 โครงการ
3. ต้องจัดให้มีเขตปลอดมลพิษที่ชัดเจนถูกต้อง และมีพื้นที่กันชนสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรมทุกส่วน กำหนดให้มีมาตรการการกำจัดกากพิษอุตสาหกรรมและขยะที่ก่อให้เกิดมลภาวะ
4.ให้ประชาชน ชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยอันเกิดจากมลภาวะ ซึ่งตนจะนำมติของคณะอนุกรมการฯ ดังกล่าวเข้าสู่ทีประชุมคณะกรรมการสิทธิฯในวันนี้ ( 28 ต.ต.) เพื่อขอความเห็นชอบ และจะได้ออกเป็นแถลงการณ์เ และทำหนังสือ เพื่อยื่นต่อนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
**ผู้ฟ้องคดียื่นคัดค้านเหมราชฯ อุทธรณ์
ในวันเดียวกันนี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา กรรมการสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวก ผู้ฟ้องคดี 76 โครงการละเมิดรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง เปิดเผยว่า ตนเองได้ยื่นคำคัดค้านการอุทธรณ์คดีของบริษัทเหมราชฯ ที่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ
หนึ่ง เหมราชฯ อ้างว่า ไม่ได้อยู่ในเขตควบคุมมลพิษ จ.ระยอง โดยระบุว่าโครงการตั้งอยู่ในเขตจ.ชลบุรี ซึ่งความจริงแล้วเรื่องที่ตั้งโครงการนี้ไม่ใช่ประเด็น เพราะที่ยื่นฟ้องเหมราชฯ ก็คือ การไม่ทำตามมาตรา 67 วรรคสอง และสอง เหมราชฯ อ้างว่า จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของเอกชน ในเรื่องนี้ต้องเรียนว่าการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนนั้นเขาต้องศึกษาข้อมูล ข้อกฎหมายต่างๆ ทั้งหมดอยู่ก่อนแล้ว
ตามคำฟ้อง โครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อิสเทิร์นซีบอร์ด (ส่วนขยาย) ตั้งอยู่ที่ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการคือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมกับบริษัทเหมราช อิสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม และกนอ. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 และ 8 เป็นหน่วยงานอนุญาตเมื่อเดือนมิถุนายน 2551
นายศรีสุวรรณ กล่าวต่อว่า ศาลปกครองสูงสุด จะนัดไต่สวนคดีนัดแรกในวันที่ 2 พ.ย. นี้ เวลา 9.00 น. ซึ่งคาดว่าศาลฯ จะใช้เวลาไต่สวนประมาณ 10 วันหลังจากนั้นจะตัดสินคดีที่รัฐบาลโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และเอกชน เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลปกครองกลาง ที่สั่งให้ระงับโครงการหรือกิจกรรม 76 โครงการไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
**ร้องขอหน่วยงานกลางวัดค่าสารพิษ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีการพบโรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-เอเชีย ปล่อยสารพิษสูงกว่ามาตรฐานกว่า 30 เท่านั้นเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต่างก็ยืนยันถึงข้อมูลตนเองซึ่งเอกชนเคยเสนอไปหลายครั้งแล้วว่าควรจะตั้งหน่วยงานกลางร่วมกันแล้วทำการวัดค่ามาตรฐานที่ถูกต้องและใช้หลักทางวิชาการอ้างอิงในทิศทางเดียวกันหากไม่เช่นนั้นต่างฝ่ายต่างก็จะสามารถใช้ข้อมูลของตนเองกล่าวอ้างได้ตลอด
“คนที่ค้านเขาก็บอกว่าเกิน แต่คนที่โดนค้านก็บอกว่าไม่เกิน การไปวัดมลพิษนั้นต้องดูหลายปัจจัยประกอบเช่นปัญหากลิ่น วัดช่วงใด เวลาใด ลมทิศทางไปทางไหน มันมีปัจจัยมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งผมเห็นว่าปัญหาทั้งหมดน่าจะชัดเจนได้ในเดือน พ.ย.นี้เพราะถือเป็นเรื่องเร่งด่วนไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อการลงทุนระยะยาว”นายสันติกล่าว
ทั้งนี้ เชื่อว่า 76 โครงการที่ถูกระงับการดำเนินงานชั่วคราวจนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นนั้นยืนยันว่าส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าข่ายผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมแต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้เอกชนต้องการให้ 3 หน่วยงานที่ครม.มอบหมายให้เร่งรัดสรุปกฏหมายชั่วคราวมาดูแลให้เสร็จตามกำหนดระยะเวลา 3 สัปดาห์โดยเร็วสุดโดยให้มีการดูแลปัญหาต่างๆ เหมือนกับกฏหมายจริงที่จะเข้าสภาฯในปี 2553 เพื่อไม่ให้ถูกมองว่ารัฐเข้าข้างเอกชน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากในไทยไม่เอื้อให้มีการลงทุน ไทยออยล์เริ่มหันไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น จากที่ผ่านมาเน้นการลงทุนในไทย ซึ่งถือเป็นจังหวะเหมาะ อีกทั้งมาบตาพุดกำลังมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการลงทุนในไทยคงลำบากมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไทยออยล์ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีมาบตาพุด เพราะได้มีการลงทุนขนาดใหญ่ไปก่อนหน้านี้ทั้งการขยายกำลังการกลั่น และลงทุนท่าเรือไปเรียบร้อยแล้ว
**สั่งโรงไฟฟ้ารายงานแผนสิ่งแวดล้อม
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้โรงไฟฟ้าทุกแห่งรายงานแผนการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมมาให้เรคกูเลเตอร์ได้รับทราบ เพื่อตรวจสอบการดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขที่ระบุในใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการฟ้องร้องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
**ยื่นหนังสือนายกฯ -ประธานวุฒิฯ วันนี้
นายสุทธิ อัศฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยถึงการเดินเท้าจากจ.ระยอง เข้ากรุงเทพฯ เป็นวันที่ 4 ว่า คืนวานนี้ (27 ต.ค.) พักค้างคืนที่วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ โดยมีพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาให้กำลังใจอย่างอบอุ่น และในวันนี้ (28 ต.ค.) จะเดินทางถึงกรุงเทพฯ และนัดตั้งขบวน เวลา 09.00 น. ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล จากนั้นจะเดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายประสบสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ซึ่งเนื้อหาในหนังสือที่จะยื่นนั้น มีประเด็นสำคัญคือ ให้ทบทวนการลงทุนในเขตพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดใหม่ให้มีความสมดุล, ให้รัฐบาลปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลาง และเร่งกลไกที่จะต้องจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง