เอกชนยังไม่เลิกผวา ถกมาบตาพุดอีกรอบในเวทีกรอ. 21 ต.ค.นี้ หวั่นเกิดสุญญากาศ ท้ายสุดกิจการใหม่และเก่าทั้ง 76 โครงการเดินไม่ได้ หากหน่วยงานรัฐไม่กล้าออกใบอนุญาต ก.อุตฯ รุดตั้งวอร์รูมติดตามปัญหาดึงอุตฯจังหวัด 20 แห่งร่วมถกรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านเครือข่ายปชช.ภาคตะวันออกเดินหน้าแจ้งความดำเนินคดีกราวรูดทั้ง "รมว.อุตสาหกรรม-ผู้ว่าฯกนอ.-ผอ.นิคมฯมาบตาพุด-ผอ.นิคมฯเหมราชตะวันออก" ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ม.157 ขณะที่ผลตรวจสอบเบื้องต้นโครงการลงทุนทั่วประเทศ พบแล้วเกือบ 100 โครงการเข้าข่ายต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 21 ต.ค.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งภาคเอกชนจะขอความชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาคเอกชนโดยเฉพาะ 76 โครงการที่ถูกระงับการดำเนินงานจากคำสั่งศาลปกครองกลางเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตก่อสร้างและประกอบกิจการเนื่องจากหน่วยงานรัฐไม่กล้าออกใบอนุญาต ก็เท่ากับโครงการต้องหยุดเช่นกัน
“ เรากำลังรวบรวมประเภทกิจการ 76 โครงการว่าโครงการใดบ้างที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและต้องขอใบอนุญาตก่อสร้างและโครงการใดที่เสร็จแล้วและต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งเห็นว่าทั้งโครงการใหม่และเก่าที่เป็นปัญหานั้นควรจะต้องขับเคลื่อนต่อไปต้องไม่เกิดสุญญากาศ และให้มีการนำกฎหมายใหม่มาดูแลร่วมกับกฎหมายเก่าที่มีอยู่ก่อนเนื่องจาก หากต้องรอกฎหมายใหม่บังคับใช้จะต้องรอไปถึง เม.ย. -พ.ค. 2553 “นายพยุงศักดิ์กล่าว
เอกชนให้ยึดตาม ม.67
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ต้องการให้รัฐเร่งออกมาตรการชั่วคราวมาดูแลหลังจากที่ครม.อนุมัติให้มีการออกระเบียบคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 (2) ของพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญได้เพราะจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
รวมถึงการผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.....ให้มีการนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาโดยเร็วซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในก.พ. 2553
“ การยกร่างประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีข้อกำหนดในการดูแลทั้งที่เกี่ยวกับการจัดทำผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการจัดทำผลกระทบทางด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศนั้นนายกฯให้แล้วเสร็จภายใน 3 สัปดาห์ ทาง ส.อ.ท.ต้องการให้มีเนื้อหาสาระของกฎหมายเช่นเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ไปด้วย เพื่อไม่ให้ถูกมองว่า รัฐเข้าข้างภาคอุตสาหกรรม และภาคเอกชนที่ตั้งโรงงาน”นายสันติกล่าว
ตั้งวอร์รูมติดตามความคืบหน้า
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า วันที่ 16 ต.ค.นี้จะเรียกอุตสาหกรรมจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากประมาณ 20 จังหวัดมาหารือเพื่อติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด รวมถึงการติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรา 67 เพื่อประสานงานร่วมกับเอกชนอย่างมีเอกภาพ
ผวารายชื่อกิจการออกซ้ำยิ่งสับสน
นายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า มาตรการชั่วคราวที่ให้ออกระเบียบคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 (2) และมาตรา 51 นั้นจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดประเภทกิจการรุนแรงซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันหลักการเดิมที่ยึดประกาศรายชื่อ 8 กิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรุนแรง
ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคงจะออกระเบียบมาในแง่ของการจำกัดความหมายของคำว่ากิจการรุนแรงเท่านั้นเพราะหากออกรายชื่อมาอีกก็จะซ้ำซ้อนกันยิ่งจะทำให้นักลงทุนสับสนมากขึ้น
สำหรับกรณีองค์กรอิสระนั้นจะมีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นมาดูแลโดยให้ใช้องค์ประกอบของกฎหมายเดิมโดยเพิ่มเติมคณะกรรมการส่วนที่ขาดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 67 แล้วองค์กรดังกล่าวจะต้องไปขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพยากรฯ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นว่าจะต้องมีองค์กรเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตามอำนาจขององค์กรอิสระตามมาตรา 67 นั้นมีหน้าที่ออกความเห็นต่อโครงการว่าควรจะต้องปรับปรุงหรือดำเนินการอะไรเพิ่มเติมเท่านั้นแต่ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเด็ดขาดก็ยังคงอยู่กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
แจ้งฟันคดี“ชาญชัย-ขรก.ระดับบิ๊ก”
เวลา 11.00 น.วานนี้ (14 ต.ค.52) นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยนายรัชยุทธ วงศ์ภุชชงค์ ประธานชุมชนซอยร่วมพัฒนา และนายสุรศักดิ์ วชิรพัฒนพรชัย ประธานชุมชนตลาดโสภณ ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ในฐานะพยานเข้าแจ้งความต่อ พ.ต.ต.พันธศิริ พันธศริ สารวัตรเวร สภ.มาบตาพุด จ.ระยอง ให้ดำเนินคดีข้อหาเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มาตรา 157 แก่นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พร้อมด้วยนางมณฑา ประณุตนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นายพีระวัฒน์ รุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธ์ ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย พร้อมหลักฐานแผ่นซีดีและเอกสารกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับชั่วคราว 76 โครงการ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่ยังมีการก่อสร้างโรงงาน เป็นการละเมิดคำสั่งศาลฯ
นายสุทธิ กล่าวภายหลังว่า ได้มาแจ้งความดำเนินคดีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและข้าราชการระดับสูง ในข้อหาละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ โดยนายชาญชัย รมว.อุตสาหกรรม เป็นคนพูดเองว่าไม่หยุดดำเนินการและไม่มีอำนาจสั่งให้หยุด ถึงแม้มีคำสั่งศาลก็ตาม ซึ่งมีความชัดเจนว่า การปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ต้องยึดมั่นตามคำสั่งศาล เมื่อไม่ทำตามคำสั่งศาล ถือว่าเป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และโรงงานยังไม่ได้รับใบอนุญาต แต่มีการก่อสร้างอ้างเป็นอาคารโรงงาน แต่คำว่า อาคารโรงงานแตกต่างกับอาคารบ้านเรือนไม่เหมือนกัน เมื่อศาลมีคำสั่งให้ระงับโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องก็คือการสร้างอาคารสมควรระงับไว้ก่อน ไม่ใช่สร้างเสร็จแล้วมากดดันการขอใบอนุญาต
ตะเพิด”ชาญชัย”ลาออกจาก รมต.
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า การให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวอ้างว่าชาวบ้านมาบตาพุดที่ได้รับผลกระทบมีการเมือง กลุ่มเอ็นจีโออยู่เบื้องหลัง อาจทำไปเพื่อหวังผลได้รับงบประมาณนั้น การให้สัมภาษณ์อย่างนี้คนที่เป็นถึงระดับรัฐมนตรีเป็นการดูถูกประชาชน ดังนั้น ขอท้าให้นายชาญชัย ให้มาขึ้นเวทีสาธารณะนำข้อมูลมาเปิดเผยข้อเท็จจริงเอาข้อกฎหมาย มาแลกเปลี่ยนกัน
อย่างไรก็ตามในวันนี้ (15ต.ค.) นายสุทธิ พร้อมด้วยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะนำคำคัดค้านยื่นต่อศาลปกครองกลาง และจะนำเอาสำเนาบันทึกการแจ้งความจาก สภ.เมืองระยองที่ให้ดำเนินคดีกับ รมว.อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกนอ. ไปยื่นต่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร.เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าว
100 โครงการเข้าข่าย ม.67 วรรคสอง
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบโครงการทั้งในนิคมและนอกนิคมอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศเบื้องต้น พบว่ามีแล้วเกือบ 100 โครงการลงทุนที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 52 ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนในกิจการถลุงเหล็ก, โรงไฟฟ้า, ปิโตรเคมี และ ท่าเรือ กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เช่น สระบุรี, ฉะเชิงเทรา, สมุทรปราการ, นครศรีธรรมราช สงขลา และสตูล เป็นต้น
"เท่าที่ตรวจสอบตอนนี้ พบว่ามีเกือบ 100 โครงการเข้าข่าย จากที่เราจะตรวจสอบทั้งหมด 500 โครงการ...กระจายกันไปอยู่ทั่วประเทศทั้งในนิคม และนอกนิคมอุตสาหกรรม เป็นพวกโครงการถลุงเหล็ก โรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี และท่าเรือ"
ยื่นคัดค้านการอุทธรณ์คำสั่งศาลฯ
นายศรีสุวรรณ กล่าวด้วยว่า วันนี้(15 ต.ค.) เวลา 13.00 น.จะเดินทางไปศาลปกครองเพื่อยื่นเรื่องคัดค้านคำอุทธรณ์ของภาครัฐต่อคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ระงับการลงทุน 76 โครงการชั่วคราวในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมองว่าการที่รัฐบาลออกมาอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางดังกล่าว แสดงว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมมากเกินไป จนไม่มองถึงความสำคัญของวิถีชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน
พร้อมกันนี้ ยังเชื่อว่าการที่ภาคเอกชนเข้าไปลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดล่วงหน้าโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 50 นั้น เป็นสิ่งที่ภาคเอกชนได้ยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าอยู่แล้ว เนื่องจากการเข้าไปลงทุนของเอกชนในกิจการใดก็ตามย่อมต้องศึกษาถึงรายละเอียด เงื่อนไข ข้อบังคับ ตลอดข้อกฎหมายต่างๆ ที่คิดว่าน่าจะปฏิบัติตามได้มาเป็นอย่างดี และต้องพร้อมยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 21 ต.ค.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งภาคเอกชนจะขอความชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาคเอกชนโดยเฉพาะ 76 โครงการที่ถูกระงับการดำเนินงานจากคำสั่งศาลปกครองกลางเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตก่อสร้างและประกอบกิจการเนื่องจากหน่วยงานรัฐไม่กล้าออกใบอนุญาต ก็เท่ากับโครงการต้องหยุดเช่นกัน
“ เรากำลังรวบรวมประเภทกิจการ 76 โครงการว่าโครงการใดบ้างที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและต้องขอใบอนุญาตก่อสร้างและโครงการใดที่เสร็จแล้วและต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งเห็นว่าทั้งโครงการใหม่และเก่าที่เป็นปัญหานั้นควรจะต้องขับเคลื่อนต่อไปต้องไม่เกิดสุญญากาศ และให้มีการนำกฎหมายใหม่มาดูแลร่วมกับกฎหมายเก่าที่มีอยู่ก่อนเนื่องจาก หากต้องรอกฎหมายใหม่บังคับใช้จะต้องรอไปถึง เม.ย. -พ.ค. 2553 “นายพยุงศักดิ์กล่าว
เอกชนให้ยึดตาม ม.67
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ต้องการให้รัฐเร่งออกมาตรการชั่วคราวมาดูแลหลังจากที่ครม.อนุมัติให้มีการออกระเบียบคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 (2) ของพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญได้เพราะจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
รวมถึงการผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.....ให้มีการนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาโดยเร็วซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในก.พ. 2553
“ การยกร่างประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีข้อกำหนดในการดูแลทั้งที่เกี่ยวกับการจัดทำผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการจัดทำผลกระทบทางด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศนั้นนายกฯให้แล้วเสร็จภายใน 3 สัปดาห์ ทาง ส.อ.ท.ต้องการให้มีเนื้อหาสาระของกฎหมายเช่นเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ไปด้วย เพื่อไม่ให้ถูกมองว่า รัฐเข้าข้างภาคอุตสาหกรรม และภาคเอกชนที่ตั้งโรงงาน”นายสันติกล่าว
ตั้งวอร์รูมติดตามความคืบหน้า
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า วันที่ 16 ต.ค.นี้จะเรียกอุตสาหกรรมจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากประมาณ 20 จังหวัดมาหารือเพื่อติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด รวมถึงการติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรา 67 เพื่อประสานงานร่วมกับเอกชนอย่างมีเอกภาพ
ผวารายชื่อกิจการออกซ้ำยิ่งสับสน
นายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า มาตรการชั่วคราวที่ให้ออกระเบียบคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 (2) และมาตรา 51 นั้นจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดประเภทกิจการรุนแรงซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันหลักการเดิมที่ยึดประกาศรายชื่อ 8 กิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรุนแรง
ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคงจะออกระเบียบมาในแง่ของการจำกัดความหมายของคำว่ากิจการรุนแรงเท่านั้นเพราะหากออกรายชื่อมาอีกก็จะซ้ำซ้อนกันยิ่งจะทำให้นักลงทุนสับสนมากขึ้น
สำหรับกรณีองค์กรอิสระนั้นจะมีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นมาดูแลโดยให้ใช้องค์ประกอบของกฎหมายเดิมโดยเพิ่มเติมคณะกรรมการส่วนที่ขาดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 67 แล้วองค์กรดังกล่าวจะต้องไปขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพยากรฯ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นว่าจะต้องมีองค์กรเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตามอำนาจขององค์กรอิสระตามมาตรา 67 นั้นมีหน้าที่ออกความเห็นต่อโครงการว่าควรจะต้องปรับปรุงหรือดำเนินการอะไรเพิ่มเติมเท่านั้นแต่ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเด็ดขาดก็ยังคงอยู่กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
แจ้งฟันคดี“ชาญชัย-ขรก.ระดับบิ๊ก”
เวลา 11.00 น.วานนี้ (14 ต.ค.52) นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยนายรัชยุทธ วงศ์ภุชชงค์ ประธานชุมชนซอยร่วมพัฒนา และนายสุรศักดิ์ วชิรพัฒนพรชัย ประธานชุมชนตลาดโสภณ ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ในฐานะพยานเข้าแจ้งความต่อ พ.ต.ต.พันธศิริ พันธศริ สารวัตรเวร สภ.มาบตาพุด จ.ระยอง ให้ดำเนินคดีข้อหาเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มาตรา 157 แก่นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พร้อมด้วยนางมณฑา ประณุตนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นายพีระวัฒน์ รุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธ์ ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย พร้อมหลักฐานแผ่นซีดีและเอกสารกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับชั่วคราว 76 โครงการ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่ยังมีการก่อสร้างโรงงาน เป็นการละเมิดคำสั่งศาลฯ
นายสุทธิ กล่าวภายหลังว่า ได้มาแจ้งความดำเนินคดีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและข้าราชการระดับสูง ในข้อหาละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ โดยนายชาญชัย รมว.อุตสาหกรรม เป็นคนพูดเองว่าไม่หยุดดำเนินการและไม่มีอำนาจสั่งให้หยุด ถึงแม้มีคำสั่งศาลก็ตาม ซึ่งมีความชัดเจนว่า การปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ต้องยึดมั่นตามคำสั่งศาล เมื่อไม่ทำตามคำสั่งศาล ถือว่าเป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และโรงงานยังไม่ได้รับใบอนุญาต แต่มีการก่อสร้างอ้างเป็นอาคารโรงงาน แต่คำว่า อาคารโรงงานแตกต่างกับอาคารบ้านเรือนไม่เหมือนกัน เมื่อศาลมีคำสั่งให้ระงับโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องก็คือการสร้างอาคารสมควรระงับไว้ก่อน ไม่ใช่สร้างเสร็จแล้วมากดดันการขอใบอนุญาต
ตะเพิด”ชาญชัย”ลาออกจาก รมต.
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า การให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวอ้างว่าชาวบ้านมาบตาพุดที่ได้รับผลกระทบมีการเมือง กลุ่มเอ็นจีโออยู่เบื้องหลัง อาจทำไปเพื่อหวังผลได้รับงบประมาณนั้น การให้สัมภาษณ์อย่างนี้คนที่เป็นถึงระดับรัฐมนตรีเป็นการดูถูกประชาชน ดังนั้น ขอท้าให้นายชาญชัย ให้มาขึ้นเวทีสาธารณะนำข้อมูลมาเปิดเผยข้อเท็จจริงเอาข้อกฎหมาย มาแลกเปลี่ยนกัน
อย่างไรก็ตามในวันนี้ (15ต.ค.) นายสุทธิ พร้อมด้วยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะนำคำคัดค้านยื่นต่อศาลปกครองกลาง และจะนำเอาสำเนาบันทึกการแจ้งความจาก สภ.เมืองระยองที่ให้ดำเนินคดีกับ รมว.อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกนอ. ไปยื่นต่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร.เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าว
100 โครงการเข้าข่าย ม.67 วรรคสอง
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบโครงการทั้งในนิคมและนอกนิคมอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศเบื้องต้น พบว่ามีแล้วเกือบ 100 โครงการลงทุนที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 52 ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนในกิจการถลุงเหล็ก, โรงไฟฟ้า, ปิโตรเคมี และ ท่าเรือ กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เช่น สระบุรี, ฉะเชิงเทรา, สมุทรปราการ, นครศรีธรรมราช สงขลา และสตูล เป็นต้น
"เท่าที่ตรวจสอบตอนนี้ พบว่ามีเกือบ 100 โครงการเข้าข่าย จากที่เราจะตรวจสอบทั้งหมด 500 โครงการ...กระจายกันไปอยู่ทั่วประเทศทั้งในนิคม และนอกนิคมอุตสาหกรรม เป็นพวกโครงการถลุงเหล็ก โรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี และท่าเรือ"
ยื่นคัดค้านการอุทธรณ์คำสั่งศาลฯ
นายศรีสุวรรณ กล่าวด้วยว่า วันนี้(15 ต.ค.) เวลา 13.00 น.จะเดินทางไปศาลปกครองเพื่อยื่นเรื่องคัดค้านคำอุทธรณ์ของภาครัฐต่อคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ระงับการลงทุน 76 โครงการชั่วคราวในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมองว่าการที่รัฐบาลออกมาอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางดังกล่าว แสดงว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมมากเกินไป จนไม่มองถึงความสำคัญของวิถีชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน
พร้อมกันนี้ ยังเชื่อว่าการที่ภาคเอกชนเข้าไปลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดล่วงหน้าโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 50 นั้น เป็นสิ่งที่ภาคเอกชนได้ยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าอยู่แล้ว เนื่องจากการเข้าไปลงทุนของเอกชนในกิจการใดก็ตามย่อมต้องศึกษาถึงรายละเอียด เงื่อนไข ข้อบังคับ ตลอดข้อกฎหมายต่างๆ ที่คิดว่าน่าจะปฏิบัติตามได้มาเป็นอย่างดี และต้องพร้อมยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต