ASTVผู้จัดการรายวัน - "อภิสิทธิ์"สั่งกฤษฎีกาตีความคำสั่งศาลปกครองกลาง เร่งอุทธรณ์วันนี้อุ้ม 14 โครงการมาบตาพุดที่ผ่านมาEIA หวั่นกระทบลงทุน 4 แสนล้าน เอกชนวิตกหนักนัดถกด่วน ชี้76 โครงการ สร้างรายได้ 2.6 แสนล้านบาทต่อปี กลุ่มปตท.เตรียมหารือเร่งแก้ปัญหา เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกขู่ม็อบต้านการยื่นอุทธรณ์
วานนี้ (30 ก.ย.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ) กล่าวว่า ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้ดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งระงับโครงการ หรือกิจกรรมในพื้นที่มาบตาพุด-บ้านฉาง และใกล้เคียงไว้เป็นการชั่วคราว 76 โครงการ มูลค่า 400,000 ล้านบาท
จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น โดยให้ความคุ้มครองชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
ทั้งนี้ มติดังกล่าว นายกรัฐมนตรี ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำเนินการสอบถามไปยังศาลปกครองกลาง เพื่อดูว่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมากน้อยเพียงใด เพื่อพิจารณาทำการอุทธรณ์โดยเร็ว โดยเฉพาะประเด็นที่มีผลกระทบต่อการลงทุนที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม 14 โครงการ โดยเฉพาะโครงการลงทุนของปตท.
และของต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตไปก่อนหน้าที่ศาลปกครองกลาง จะมีคำสั่งระงับ
"แต่จะต้องไปดูว่า คำสั่งศาลปกครองกลางมีผลต่อโครงการที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้วหรือไม่ จะสามารถสั่งภาคเอกชนที่ได้ใบอนุญาตไปแล้วได้หรือไม่ จะต้องไปดูรายละเอียดการตีความของศาลปกครองกลาง นายกฯ เห็นว่า จะมีผลกระทบทางด้านจิตวิทยาในด้านการลงทุน ซึ่งรัฐต้องแสดงความชัดเจน ก่อนที่จะนำเหตุผลมาอุทธรณ์
และยังจะเป็นช่องทางที่รัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน"
นายพุทธิพงษ์ ยังกล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้รับทราบข้อเสนอของกลุ่มผู้ต่อต้านการลงทุนในนิคมอุตฯมาบตาพุด แต่เชื่อว่าหลังจากที่คำสั่งศาลปกครองกลางออกมา เรื่องนี้ถือว่า เดินไปไกลกว่าที่จะหาทางแก้ปัญหา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุมครม.เศรษฐกิจในเรื่องข้างต้นว่า โดยหลักปฏิบัติของรัฐบาลคืออุทธรณ์เฉพาะโครงการที่อนุญาตไปแล้วเพื่อให้โครงการเดินต่อไปได้ และมีปัญหาที่ต้องสอบถามศาลปกครองว่า มาตรการชั่วคราวนั้นจะเพิกถอนหรือระงับรูปแบบใด เพราะตรงนี้ไม่มีความชัดเจน ซึ่งจะอุทธรณ์ไปพร้อมกัน
ส่วนโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติจะชะลอจนกว่าศาลจะมีความชัดเจนในเรื่องที่อุทธรณ์ไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลยืนยันคือการปฏิบัติตามมาตรา 67 ตามรัฐธรรมนูญ โครงการที่เดินหน้า คือโครงการที่เห็นว่าไม่มีผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน โดยอาศัยการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเกณฑ์
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงการที่ได้รับใบอนุญาตก่อนที่ศาลปกครองกลาง จะสั่งระงับมีทั้งสิ้น 14 โครงการที่ผ่าน อีไอเอ ประกอบด้วย โครงการที่ได้รับใบอนุญาตจากนิคมอุตสาหกรรม 8 โครงการ และโครงการที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงาน 6 โครงการ
***ก.อุตฯยื่นอุทธณ์ฯขอคุ้มครองวันนี้
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) ตัวแทนจากอัยการสูงสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมการปกครอง ฯลฯ เพื่อหาแนวทางดำเนินงานภายหลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินงาน 76 โครงการมูลค่าลงทุน 4 แสนล้านบาท
นายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสสาหกรรม กล่าวหลังการหารือว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมมาดูแล โดยเน้นย้ำที่จะต้อง ดูแลทั้งผู้ประกอบการและชุมชน ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้อัยการสูงสุดเป็นตัวแทน เพื่อยื่นอุทธรณ์และขอเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแทนจำเลยที่ถูกฟ้องคือ กนอ.และรมว.อุตสาหกรรมช่วงเช้าของวันนี้( 1 ต.ค.)
****เอกชนหนุนอุทธรณ์
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เป็นวาระเร่งด่วนเกี่ยวกับกรณีคำสั่งศาลปกครองสูงสุดก่อนวันที่ 12 ต.ค. ที่เป็นวันประชุมกกร.ตามปกติ เพื่อที่จะสรุปแนวทางแก้ไขเสนอต่อรัฐบาล และจะทำเรื่องต่อสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อขอพบกับนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้
เนื่องจากเกรงว่าการลงทุนไทยจะชะงักลงได้ ซึ่งเห็นด้วยที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ยื่นอุทธรณ์
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอาทิตยา เบอร์ล่า กับบริษัทสยามแผ่นเหล็กวิลาส ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจึงดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว เมื่อมีคำสั่งศาลฯจึงทำให้ต้องหยุด อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าหากไม่มีความชัดเจนจะทำให้ภาพพจน์การลงทุนไทยเสียหายมาก
“เอกชนจริงๆ แล้วหยุดแม้แต่วันเดียวก็ไม่ได้ทุกอย่างล้วนเป็นต้นทุนทั้งสิ้น และหากจะต้องหยุด 76 โครงการนั้นต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 1.6 หมื่นล้านบาทต่อปี”นายพยุงศักดิ์กล่าว
****แจง76โครงการสร้างรายได้2.6แสนล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการรวบรวมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารายงาน พบว่า ใน 76 โครงการนั้น มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 2.88 แสนล้านบาท คิดเป็นรายได้ต่อเศรษฐกิจ 2.62 แสนล้านบาทต่อปี มีการจ้างแรงงานช่วงก่อสร้าง 3.7 หมื่นคน และมีการจ้างพนักงานอีกเกือบหมื่นคน
สำหรับ 76 โครงการ ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับอีไอเอแล้วและเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ และรวมที่ขอขยายทั้งสิ้น 47 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 1.4 แสนล้านบาท กลุ่มโครงการใหม่รวม 18 โครงการ มูลค่า 8.9 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามที่เหลืออีก 11 โครงการ เงินลงทุน 5.8 หมื่นล้านบาทนั้นเอกชนมีการระบุว่า จริงๆไม่ได้เข้าข่ายที่จะโดนคำสั่งศาล
เพราะได้รับความเห็นชอบอีไอเอก่อนรัฐธรรมนูญปี’50 ประกาศใช้ แต่ผู้ฟ้องร้องครอบคลุมหมดทำให้ศาลมีคำสั่งครอบคลุมตามไปด้วย
****ปตท.เตรียมหารือหน่วยงานแก้ปัญหา
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางกลุ่มปตท.อยู่ระหว่างการเตรียมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาแนวทางลดผลกระทบหรือยื่นอุทธรณ์
หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้หน่วยงานรัฐระงับโครงการหรือกิจกรรมการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดจ.ระยองเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลมีคำสั่งพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น โดยจำนวนโครงการที่ได้รับผลกระทบ 76 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 4แสนล้านบาท เป็นของปตท.จำนวน 25 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 เพื่อผลิตก๊าซหุงต้ม และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงาน น้ำ และสารเคมี โครงการปรับลดการระบายมลพิษ และโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 4 เพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งการสั่งระงับโครงการทำให้กระทบต่อคู่ค้า คู่สัญญา สถาบันการเงินและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมไปถึงการว่าจ้างแรงงานกว่า 1แสนคนด้วย
ด้านบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) แจ้งว่า จะส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยเฉพาะกับบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เนื่องจากเอสซีจี เคมิคอลส์ มีโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น (Naphtha Cracker) และขั้นปลายที่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่มีการก่อสร้างที่ใกล้จะแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มทยอยเปิดดำเนินการในช่วงปลายปี 2552 - กลางปี 2554 ทั้งนี้ บริษัทฯ
จะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อโครงการของ เอสซีจี เคมิคอลส์
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT วานนี้ (30 ก.ย.) ได้มีแรงเทขายหุ้น PTT ออกมากดดันให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า แตะระดับต่ำสุดที่ 253 บาท ก่อนจะเริ่มมีแรงซื้อเข้ามาหนุนให้ราคาหุ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้น และสามารถยืนเหนือราคาปิดครั้งก่อน จนกระทั่งปิดการซื้อขายที่ราคาสูงสุด 262 บาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 3 บาท
หรือคิดเป็น 1.16% มูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งวัน 2,207.28 ล้านบาท
***โกรว์ เดินหน้าโรงไฟฟ้าต่อ
นายสุทธิวงศ์ คงศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทโกรว์ พลังงาน จำกัด กล่าวว่า ไม่มีผลกระทบกับเครือโกรว์ ดังนั้นบริษัทจะดำเนินการต่อไป ซึ่งล่าสุดมี 3 โครงการคือ โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 115 เมกะวัตต์ จะแล้วเสร็จธ.ค. 52 โรงไฟฟ้าก๊าซฯ กำลังเตรียมก่อสร้าง ก.ย. 54 คงจะแล้วเสร็จ โครงการไอพีพีของเค็ดโก่วัน ส่วนโครงการของโกรว์ที่มีชื่อใน
67โครงการเป็นโครงการพัฒนาผลิตไฟเพื่อเสนอไอพีพีช่วงแรก และได้หยุดแผนพัฒนาโครงการไปนานแล้ว
**เอ็นจีโอจวกรัฐอุทธรณ์อุ้มเอกชน
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ทนายความผู้ฟ้องคดีกล่าวว่า ประเด็นที่ศาลปกครองสั่งระงับนั้น ถือว่ากฎหมายจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย เนื่องจากชาวบ้านได้ฟ้องร้องรัฐ ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 67 (2) ที่ใช้อำนาจปกครองสั่งการถือว่าแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลปกครอง เมื่อวันที่ 29 ก.ย.
รัฐจะไปออกคำสั่งเพื่อบิดเบือนอีกต่อไปไม่ได้ จะเป็นคำสั่งจาก กรอ. ครม. หรือใช้ความเห็นของกฤษฎีกา ก็ทำไม่ได้
ทั้งนี้ 14 โครงการที่ผ่านอีไอเอ ที่รัฐเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลนี้ ตนอยากจะถามว่า ก่อนที่จะมีคำสั่งศาล รัฐก็น่าจะรู้ทุกโครงการจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 (2) แต่พอคำสั่งศาลออกมา จะออกมาโวยวายไม่ได้
“ รัฐก็ต้องเข้าใจว่า คำสั่งของศาลปกครองกลาง ควบคุมไปถึงโครงการทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาโรงไฟฟ้า ที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี หรือโครงการเซาท์เทิร์น ซีบอร์ด ที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งหมดด้วย”
ทางด้าน นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก แถลงข่าวภายหลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับ 76 โครงการ เพื่อคุ้มครองชุมชนมาบตาพุดเมื่อวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า ชาวบ้านมาบตาพุดสุดดีใจที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับ 76 โครงการ ซึ่งผู้ถูกฟ้องทั้ง 8 ราย คือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมว.อุตสาหกรรม รมว.พลังงาน รมว.คมนาคม รมว.สาธารณสุข และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์
“ ภายในเวลา 1 เดือน ผู้ถูกฟ้องทั้ง 8 ราย ถ้ามีรายใดยื่นอุทธรณ์ ย่อมชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ยื่นฟ้องอุทธรณ์เป็นผู้ที่ไร้มนุษยธรรมจะเรียกร้องให้สังคมประณามผู้ที่ยื่นอุทธรณ์ ”
วานนี้ (30 ก.ย.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ) กล่าวว่า ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้ดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งระงับโครงการ หรือกิจกรรมในพื้นที่มาบตาพุด-บ้านฉาง และใกล้เคียงไว้เป็นการชั่วคราว 76 โครงการ มูลค่า 400,000 ล้านบาท
จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น โดยให้ความคุ้มครองชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
ทั้งนี้ มติดังกล่าว นายกรัฐมนตรี ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำเนินการสอบถามไปยังศาลปกครองกลาง เพื่อดูว่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมากน้อยเพียงใด เพื่อพิจารณาทำการอุทธรณ์โดยเร็ว โดยเฉพาะประเด็นที่มีผลกระทบต่อการลงทุนที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม 14 โครงการ โดยเฉพาะโครงการลงทุนของปตท.
และของต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตไปก่อนหน้าที่ศาลปกครองกลาง จะมีคำสั่งระงับ
"แต่จะต้องไปดูว่า คำสั่งศาลปกครองกลางมีผลต่อโครงการที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้วหรือไม่ จะสามารถสั่งภาคเอกชนที่ได้ใบอนุญาตไปแล้วได้หรือไม่ จะต้องไปดูรายละเอียดการตีความของศาลปกครองกลาง นายกฯ เห็นว่า จะมีผลกระทบทางด้านจิตวิทยาในด้านการลงทุน ซึ่งรัฐต้องแสดงความชัดเจน ก่อนที่จะนำเหตุผลมาอุทธรณ์
และยังจะเป็นช่องทางที่รัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน"
นายพุทธิพงษ์ ยังกล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้รับทราบข้อเสนอของกลุ่มผู้ต่อต้านการลงทุนในนิคมอุตฯมาบตาพุด แต่เชื่อว่าหลังจากที่คำสั่งศาลปกครองกลางออกมา เรื่องนี้ถือว่า เดินไปไกลกว่าที่จะหาทางแก้ปัญหา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุมครม.เศรษฐกิจในเรื่องข้างต้นว่า โดยหลักปฏิบัติของรัฐบาลคืออุทธรณ์เฉพาะโครงการที่อนุญาตไปแล้วเพื่อให้โครงการเดินต่อไปได้ และมีปัญหาที่ต้องสอบถามศาลปกครองว่า มาตรการชั่วคราวนั้นจะเพิกถอนหรือระงับรูปแบบใด เพราะตรงนี้ไม่มีความชัดเจน ซึ่งจะอุทธรณ์ไปพร้อมกัน
ส่วนโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติจะชะลอจนกว่าศาลจะมีความชัดเจนในเรื่องที่อุทธรณ์ไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลยืนยันคือการปฏิบัติตามมาตรา 67 ตามรัฐธรรมนูญ โครงการที่เดินหน้า คือโครงการที่เห็นว่าไม่มีผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน โดยอาศัยการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเกณฑ์
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงการที่ได้รับใบอนุญาตก่อนที่ศาลปกครองกลาง จะสั่งระงับมีทั้งสิ้น 14 โครงการที่ผ่าน อีไอเอ ประกอบด้วย โครงการที่ได้รับใบอนุญาตจากนิคมอุตสาหกรรม 8 โครงการ และโครงการที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงาน 6 โครงการ
***ก.อุตฯยื่นอุทธณ์ฯขอคุ้มครองวันนี้
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) ตัวแทนจากอัยการสูงสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมการปกครอง ฯลฯ เพื่อหาแนวทางดำเนินงานภายหลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินงาน 76 โครงการมูลค่าลงทุน 4 แสนล้านบาท
นายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสสาหกรรม กล่าวหลังการหารือว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมมาดูแล โดยเน้นย้ำที่จะต้อง ดูแลทั้งผู้ประกอบการและชุมชน ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้อัยการสูงสุดเป็นตัวแทน เพื่อยื่นอุทธรณ์และขอเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแทนจำเลยที่ถูกฟ้องคือ กนอ.และรมว.อุตสาหกรรมช่วงเช้าของวันนี้( 1 ต.ค.)
****เอกชนหนุนอุทธรณ์
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เป็นวาระเร่งด่วนเกี่ยวกับกรณีคำสั่งศาลปกครองสูงสุดก่อนวันที่ 12 ต.ค. ที่เป็นวันประชุมกกร.ตามปกติ เพื่อที่จะสรุปแนวทางแก้ไขเสนอต่อรัฐบาล และจะทำเรื่องต่อสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อขอพบกับนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้
เนื่องจากเกรงว่าการลงทุนไทยจะชะงักลงได้ ซึ่งเห็นด้วยที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ยื่นอุทธรณ์
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอาทิตยา เบอร์ล่า กับบริษัทสยามแผ่นเหล็กวิลาส ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจึงดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว เมื่อมีคำสั่งศาลฯจึงทำให้ต้องหยุด อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าหากไม่มีความชัดเจนจะทำให้ภาพพจน์การลงทุนไทยเสียหายมาก
“เอกชนจริงๆ แล้วหยุดแม้แต่วันเดียวก็ไม่ได้ทุกอย่างล้วนเป็นต้นทุนทั้งสิ้น และหากจะต้องหยุด 76 โครงการนั้นต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 1.6 หมื่นล้านบาทต่อปี”นายพยุงศักดิ์กล่าว
****แจง76โครงการสร้างรายได้2.6แสนล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการรวบรวมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารายงาน พบว่า ใน 76 โครงการนั้น มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 2.88 แสนล้านบาท คิดเป็นรายได้ต่อเศรษฐกิจ 2.62 แสนล้านบาทต่อปี มีการจ้างแรงงานช่วงก่อสร้าง 3.7 หมื่นคน และมีการจ้างพนักงานอีกเกือบหมื่นคน
สำหรับ 76 โครงการ ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับอีไอเอแล้วและเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ และรวมที่ขอขยายทั้งสิ้น 47 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 1.4 แสนล้านบาท กลุ่มโครงการใหม่รวม 18 โครงการ มูลค่า 8.9 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามที่เหลืออีก 11 โครงการ เงินลงทุน 5.8 หมื่นล้านบาทนั้นเอกชนมีการระบุว่า จริงๆไม่ได้เข้าข่ายที่จะโดนคำสั่งศาล
เพราะได้รับความเห็นชอบอีไอเอก่อนรัฐธรรมนูญปี’50 ประกาศใช้ แต่ผู้ฟ้องร้องครอบคลุมหมดทำให้ศาลมีคำสั่งครอบคลุมตามไปด้วย
****ปตท.เตรียมหารือหน่วยงานแก้ปัญหา
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางกลุ่มปตท.อยู่ระหว่างการเตรียมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาแนวทางลดผลกระทบหรือยื่นอุทธรณ์
หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้หน่วยงานรัฐระงับโครงการหรือกิจกรรมการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดจ.ระยองเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลมีคำสั่งพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น โดยจำนวนโครงการที่ได้รับผลกระทบ 76 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 4แสนล้านบาท เป็นของปตท.จำนวน 25 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 เพื่อผลิตก๊าซหุงต้ม และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงาน น้ำ และสารเคมี โครงการปรับลดการระบายมลพิษ และโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 4 เพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งการสั่งระงับโครงการทำให้กระทบต่อคู่ค้า คู่สัญญา สถาบันการเงินและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมไปถึงการว่าจ้างแรงงานกว่า 1แสนคนด้วย
ด้านบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) แจ้งว่า จะส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยเฉพาะกับบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เนื่องจากเอสซีจี เคมิคอลส์ มีโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น (Naphtha Cracker) และขั้นปลายที่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่มีการก่อสร้างที่ใกล้จะแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มทยอยเปิดดำเนินการในช่วงปลายปี 2552 - กลางปี 2554 ทั้งนี้ บริษัทฯ
จะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อโครงการของ เอสซีจี เคมิคอลส์
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT วานนี้ (30 ก.ย.) ได้มีแรงเทขายหุ้น PTT ออกมากดดันให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า แตะระดับต่ำสุดที่ 253 บาท ก่อนจะเริ่มมีแรงซื้อเข้ามาหนุนให้ราคาหุ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้น และสามารถยืนเหนือราคาปิดครั้งก่อน จนกระทั่งปิดการซื้อขายที่ราคาสูงสุด 262 บาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 3 บาท
หรือคิดเป็น 1.16% มูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งวัน 2,207.28 ล้านบาท
***โกรว์ เดินหน้าโรงไฟฟ้าต่อ
นายสุทธิวงศ์ คงศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทโกรว์ พลังงาน จำกัด กล่าวว่า ไม่มีผลกระทบกับเครือโกรว์ ดังนั้นบริษัทจะดำเนินการต่อไป ซึ่งล่าสุดมี 3 โครงการคือ โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 115 เมกะวัตต์ จะแล้วเสร็จธ.ค. 52 โรงไฟฟ้าก๊าซฯ กำลังเตรียมก่อสร้าง ก.ย. 54 คงจะแล้วเสร็จ โครงการไอพีพีของเค็ดโก่วัน ส่วนโครงการของโกรว์ที่มีชื่อใน
67โครงการเป็นโครงการพัฒนาผลิตไฟเพื่อเสนอไอพีพีช่วงแรก และได้หยุดแผนพัฒนาโครงการไปนานแล้ว
**เอ็นจีโอจวกรัฐอุทธรณ์อุ้มเอกชน
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ทนายความผู้ฟ้องคดีกล่าวว่า ประเด็นที่ศาลปกครองสั่งระงับนั้น ถือว่ากฎหมายจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย เนื่องจากชาวบ้านได้ฟ้องร้องรัฐ ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 67 (2) ที่ใช้อำนาจปกครองสั่งการถือว่าแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลปกครอง เมื่อวันที่ 29 ก.ย.
รัฐจะไปออกคำสั่งเพื่อบิดเบือนอีกต่อไปไม่ได้ จะเป็นคำสั่งจาก กรอ. ครม. หรือใช้ความเห็นของกฤษฎีกา ก็ทำไม่ได้
ทั้งนี้ 14 โครงการที่ผ่านอีไอเอ ที่รัฐเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลนี้ ตนอยากจะถามว่า ก่อนที่จะมีคำสั่งศาล รัฐก็น่าจะรู้ทุกโครงการจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 (2) แต่พอคำสั่งศาลออกมา จะออกมาโวยวายไม่ได้
“ รัฐก็ต้องเข้าใจว่า คำสั่งของศาลปกครองกลาง ควบคุมไปถึงโครงการทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาโรงไฟฟ้า ที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี หรือโครงการเซาท์เทิร์น ซีบอร์ด ที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งหมดด้วย”
ทางด้าน นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก แถลงข่าวภายหลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับ 76 โครงการ เพื่อคุ้มครองชุมชนมาบตาพุดเมื่อวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า ชาวบ้านมาบตาพุดสุดดีใจที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับ 76 โครงการ ซึ่งผู้ถูกฟ้องทั้ง 8 ราย คือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมว.อุตสาหกรรม รมว.พลังงาน รมว.คมนาคม รมว.สาธารณสุข และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์
“ ภายในเวลา 1 เดือน ผู้ถูกฟ้องทั้ง 8 ราย ถ้ามีรายใดยื่นอุทธรณ์ ย่อมชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ยื่นฟ้องอุทธรณ์เป็นผู้ที่ไร้มนุษยธรรมจะเรียกร้องให้สังคมประณามผู้ที่ยื่นอุทธรณ์ ”