วานนี้ ( 28 ก.ย.) ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองกลางที่กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำสั่งพิพากษา โดยสั่งระงับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ลงวันที่ 29 ม.ค.52 บัญชี ก. (กรณีซัลเฟอร์) และบัญชี ข. (กรณีพืชอันตราย 13 ชนิด) ทั้งนี้ด้วยเหตุผลว่า การออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวในบัญชี ก. (กรณีซัลเฟอร์)นั้น พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ได้ให้อำนาจ รมว.อุตสาหกรรม โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกประกาศ ว่า วัตถุอันตรายใดที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งในส่วนความเป็นอันตรายของสารซัลเฟอร์ ที่อาจมีแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เป็นเรื่องทางเทคนิค เมื่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ประกอบด้วยผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะความเห็นที่ว่า สารซัลเฟอร์ ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย อีกทั้งมีกฎหมายอื่นเกี่ยวข้องหลายฉบับควบคุมอยู่แล้ว อีกทางหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องควบุคมเกินความจำเป็น
ประกอบกับไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า การพิจารณาออกประกาศของ รมว.อุตสาหกรรม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง หรือผิดพลาด ในการพิจารณาความเป็นอันตรายของสารซัลเฟอร์ หรือมีเจตนาไม่สุจริต อันอาจเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีการอ้างว่า การออกประกาศ มีเจตนาช่วยเหลือผู้ประกอบการทางอุตสาหกรรมที่ถูกดำเนินคดีอาญา โดยไม่คำนึงว่า ประชาชนจะได้รับผลกระทบจากอันตรายของสารซัลเฟอร์ ก็ไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว ซึ่งหากมีการกระทำผิดทางอาญา ก็ต้องรับโทษ หากขณะกระทำ กฎหมายได้บัญญัติให้สิ่งที่กระทำเป็นโทษ เบื้องต้น จึงเห็นว่า ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ประกาศดังกล่าวบัญชี ก.(กรณีซัลเฟอร์) น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนกรณีบัญชี ข. (กรณีพืชอันตราย 13 ชนิด) ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเม็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก ข้อเท็จจริงปรากฎว่า กรมวิชาการเกษตรได้นำเสนอข้อมูลให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาให้ความเห็น โดยคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ 3 คณะขึ้น ซึ่งแต่ละคณะ ประกอบด้วยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสารเคมีทางการเกษตร และตามกฎหมาย รมว.อุตสาหกรรม ก็มีอำนาจออกประกาศตามความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อการป้องกันและระงับอันตรายที่อาจมีแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นเบื้องต้นจึงไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ประกาศดังกล่าวกรณีบัญชี ข. (กรณีพืชอันตราย 13 ชนิด) อันเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดี น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำขอให้ระงับการบังคับใช้ประกาศไว้จนกว่า ศาลจะมีคำพิพากษา จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่ศาลจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามกฎ ตามข้อ 72 วรรค 3 แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี พ.ศ.2542 จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองกลาง เป็นให้ยกคำขอทุเลาการบังคับตามกฎของผู้ฟ้องคดี
ประกอบกับไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า การพิจารณาออกประกาศของ รมว.อุตสาหกรรม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง หรือผิดพลาด ในการพิจารณาความเป็นอันตรายของสารซัลเฟอร์ หรือมีเจตนาไม่สุจริต อันอาจเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีการอ้างว่า การออกประกาศ มีเจตนาช่วยเหลือผู้ประกอบการทางอุตสาหกรรมที่ถูกดำเนินคดีอาญา โดยไม่คำนึงว่า ประชาชนจะได้รับผลกระทบจากอันตรายของสารซัลเฟอร์ ก็ไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว ซึ่งหากมีการกระทำผิดทางอาญา ก็ต้องรับโทษ หากขณะกระทำ กฎหมายได้บัญญัติให้สิ่งที่กระทำเป็นโทษ เบื้องต้น จึงเห็นว่า ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ประกาศดังกล่าวบัญชี ก.(กรณีซัลเฟอร์) น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนกรณีบัญชี ข. (กรณีพืชอันตราย 13 ชนิด) ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเม็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก ข้อเท็จจริงปรากฎว่า กรมวิชาการเกษตรได้นำเสนอข้อมูลให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาให้ความเห็น โดยคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ 3 คณะขึ้น ซึ่งแต่ละคณะ ประกอบด้วยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสารเคมีทางการเกษตร และตามกฎหมาย รมว.อุตสาหกรรม ก็มีอำนาจออกประกาศตามความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อการป้องกันและระงับอันตรายที่อาจมีแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นเบื้องต้นจึงไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ประกาศดังกล่าวกรณีบัญชี ข. (กรณีพืชอันตราย 13 ชนิด) อันเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดี น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำขอให้ระงับการบังคับใช้ประกาศไว้จนกว่า ศาลจะมีคำพิพากษา จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่ศาลจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามกฎ ตามข้อ 72 วรรค 3 แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี พ.ศ.2542 จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองกลาง เป็นให้ยกคำขอทุเลาการบังคับตามกฎของผู้ฟ้องคดี