xs
xsm
sm
md
lg

มติยื่นอุทธรณ์ถอนซัลเฟอร์-สมุนไพร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน- คณะกรรมการวัตถุอันตรายลงมติให้เตรียมยื่นคำอุทธรณ์คำสั่งทะลุประกาศถอนซัลเฟอร์ออกจากบัญชีวัตถุอันตราย รวมถึงกรณีการถอนรายชื่อพืชสมุนไพร 13 ชนิดเฉพาะประเด็นการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฏหมาย ด้านสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระยื่นฟ้องปปช.

นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการหารือร่วมคณะกรรมการวัตุอันตราย(ชุดเดิม) วานนี้(25มี.ค.) ว่า จากการหารือเห็นชอบที่จะให้มีการอุทธรณ์คำสั่งทะลุ ประกาศถอนสารซัลเฟอร์ออกจากบัญชีวัตถุอันตราย พร้อมกับการอุทธรณ์ถอนรายชื่อพืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายตามบัญชี ข. เฉพาะประเด็นการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฏหมาย

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะกรรมการและเลขานุการเป็นผู้จัดทำคำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลปกครองกลางภายใน 3 เม.ย.นี้ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการยื่นอุทธรณ์โดยสำนักงานกฏหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะไปหารือสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอคามชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าว รวมทั้งขอขยายเวลาการอุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับฯหากกรณีพิจารณาแล้วอาจยื่นอุทธรณ์ไม่ทันกำหนด

สำหรับกรณีที่กรมวิชาการเกษตรได้ยื่นหนังสือมายังคณะกรรมการวัตถุอันตรายขอให้ยกเลิกการประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิด ประกอบด้วย สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยากเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ตามพรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งออกประกาศเมื่อวันที่ 29 ม.ค.52 และลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 ก.พ.52 ขณะนี้ยังไม่สามารถนัดประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ เนื่องจากคณะกรรมการที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิหมดวาระไปแล้วตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่หากเสร็จแล้วก็คงสามารถเรียกประชุมได้ทันที

นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้เตรียมคำชี้แจงต่อศาลฯใน 3 ประเด็นเกี่ยวกับกรณีศาลซัลเฟอร์ที่ประกาศฉบับแรกไม่ชัดเจน สร้างปัญหาตีความสารซัลเฟอร์ ที่ต้องขออนุญาตนำเข้า ขณะที่การนำเข้าไปแล้ว 2 ปี แต่กรมศุลกากรเพิ่งมาจับและผู้นำเข้าต้องจ่ายค่าปรับสูงถึง 4 เท่า ส่วนกรณีของพืชสมุนไพร 13 ชนิดที่ประกาศเป็นวัตถุอันตรายก็จะชี้แจงว่าได้ทำตามขั้นตอนทุกอย่างตามที่กรมวิชาการเกษตรได้เสนอมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันเดียวกันนายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) ร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าพนักงานของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กระทำการโดยมิชอบด้วยกฏหมาย กรณีนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมและพวกจำนวน 6 คนลงนามในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชี รายชื่อวัตถุอันตราย(ฉบับที่ 6 )พ.ศ. 2552 เอื้อผลประโยชน์ต่อบริษัทธุรกิจ
กำลังโหลดความคิดเห็น