วานนี้ ( 4 มี.ค.)ศาลปกครองกลาง ได้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษา โดยมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ( ฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 ) ฉบับลงวันที่ 29 ม.ค.52 บัญชี ก. (กรณีซัลเฟอร์) และ บัญชี ข. (กรณีพืชสมุนไพร 13 รายการ ) ไว้จนกว่าศาลปกครองจะมีคำสั่ง หรือมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ได้ยื่นฟ้องรมว.อุตสาหกรรม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รมว.เกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมปศุสัตว์ และคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ดังกล่าว และเพิกถอนผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช โดยมีคุณสมบัติที่กระทรวงเกษตรฯกำหนด พร้อมกับขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ซึ่งศาลได้เรียกคู่กรณีมาไต่สวนเมื่อวันที่ 23 และ25 ก.พ. ที่ผ่านมา
ส่วนเหตุผลที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า จากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า รมว.อุตสาหกรรม ได้ออกประกาศดังกล่าวตามความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยมีการให้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายบางรายการที่อยู่ในความรับผิดชอบกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยอ้างว่าสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งเอกชนหลายกลุ่มได้ร้องเรียนการนำเข้าซัลเฟอร์ โดยไม่มีใบอนุญาตนำเข้า เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดสินค้าไว้ที่ด่าน และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ เข้าตรวจค้น จับกุมผู้ประกอบการ ทำให้กระทบต่อการเชื่อมั่นในการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ และซัลเฟอร์ที่ใช้ด้านอุตสาหกรรมไม่ละลายน้ำ ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่ำมาก
ขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีตัวบ่งชี้ความเป็นอันตราย โดยไม่ปรากฎว่า มีการนำข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัย ต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการประกอบการพิจารณา หากได้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายดังกล่าว อีกทั้งการกำหนดรายชื่อวัตถุอันตราย ในบัญชี ข. แนบท้ายประกาศ ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ประชาชนใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน และยังไม่ปรากฎข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นพิษรายแรงเกี่ยวกับสุขภาพประชาชน และสิ่งแวดล้อมอย่างชัดแจ้ง จึงเห็นว่าประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่ยกเลิกซัลเฟอร์ ออกจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย และกำหนดบัญชีรายชื่ออันตรายเพิ่มใหม่ บัญชี ข แนบท้ายประกาศน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนรายชื่อวัตถุอันตรายอื่น รมว.อุตฯ ได้นำไปกำหนดไว้ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย โดยเพิ่มหน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุม แก้ไขรายชื่อใหม่ให้ถูกต้องและออกกฎหมาย ระเบียบในการควบคุมเป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้นหากให้ประกาศดังกล่าวในส่วนที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับใช้ต่อไป จะทำให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงนายสมคิด อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากวัตถุอันตรายที่ยกเลิกการควบุคม และวัตถุอันตรายที่กำหนดขึ้นใหม่ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่ผู้ผลิตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด อันเป็นการสร้างภาระให้กับประชาขน รวมทั้งนายสมคิดเกินความจำเป็น ซึ่งอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จนยากแก่การเยียวยาภายหลัง
อีกทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม สามารถควบคุมวัตถุอันตรายที่อยู่ในความรับผิดชอบตามประกาศเดิมได้ และกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร มีความประสงค์ที่จะทบทวนประกาศดังกล่าว ในส่วนผลิตภัณฑ์ จากชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่ผ่านกรรมวิถี ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช โดยจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นหากศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวก็ไม่เป็นอุปสรรการบริหารงานของรัฐ หรือบริการสาธารณะแต่อย่างใด จึงมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 ลงวันที่ 29 ม.ค. กรณีที่ ถอดสารซัลเฟอร์ออกจากบัญชี วัตถุอันตราย และกรณีที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช 13 รายการ ได้แก่สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง หนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตรายใหม่ ไว้จนกว่าจะคดีจะถึงที่สุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ได้ยื่นฟ้องรมว.อุตสาหกรรม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รมว.เกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมปศุสัตว์ และคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ดังกล่าว และเพิกถอนผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช โดยมีคุณสมบัติที่กระทรวงเกษตรฯกำหนด พร้อมกับขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ซึ่งศาลได้เรียกคู่กรณีมาไต่สวนเมื่อวันที่ 23 และ25 ก.พ. ที่ผ่านมา
ส่วนเหตุผลที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า จากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า รมว.อุตสาหกรรม ได้ออกประกาศดังกล่าวตามความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยมีการให้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายบางรายการที่อยู่ในความรับผิดชอบกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยอ้างว่าสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งเอกชนหลายกลุ่มได้ร้องเรียนการนำเข้าซัลเฟอร์ โดยไม่มีใบอนุญาตนำเข้า เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดสินค้าไว้ที่ด่าน และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ เข้าตรวจค้น จับกุมผู้ประกอบการ ทำให้กระทบต่อการเชื่อมั่นในการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ และซัลเฟอร์ที่ใช้ด้านอุตสาหกรรมไม่ละลายน้ำ ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่ำมาก
ขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีตัวบ่งชี้ความเป็นอันตราย โดยไม่ปรากฎว่า มีการนำข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัย ต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการประกอบการพิจารณา หากได้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายดังกล่าว อีกทั้งการกำหนดรายชื่อวัตถุอันตราย ในบัญชี ข. แนบท้ายประกาศ ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ประชาชนใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน และยังไม่ปรากฎข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นพิษรายแรงเกี่ยวกับสุขภาพประชาชน และสิ่งแวดล้อมอย่างชัดแจ้ง จึงเห็นว่าประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่ยกเลิกซัลเฟอร์ ออกจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย และกำหนดบัญชีรายชื่ออันตรายเพิ่มใหม่ บัญชี ข แนบท้ายประกาศน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนรายชื่อวัตถุอันตรายอื่น รมว.อุตฯ ได้นำไปกำหนดไว้ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย โดยเพิ่มหน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุม แก้ไขรายชื่อใหม่ให้ถูกต้องและออกกฎหมาย ระเบียบในการควบคุมเป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้นหากให้ประกาศดังกล่าวในส่วนที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับใช้ต่อไป จะทำให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงนายสมคิด อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากวัตถุอันตรายที่ยกเลิกการควบุคม และวัตถุอันตรายที่กำหนดขึ้นใหม่ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่ผู้ผลิตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด อันเป็นการสร้างภาระให้กับประชาขน รวมทั้งนายสมคิดเกินความจำเป็น ซึ่งอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จนยากแก่การเยียวยาภายหลัง
อีกทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม สามารถควบคุมวัตถุอันตรายที่อยู่ในความรับผิดชอบตามประกาศเดิมได้ และกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร มีความประสงค์ที่จะทบทวนประกาศดังกล่าว ในส่วนผลิตภัณฑ์ จากชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่ผ่านกรรมวิถี ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช โดยจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นหากศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวก็ไม่เป็นอุปสรรการบริหารงานของรัฐ หรือบริการสาธารณะแต่อย่างใด จึงมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 ลงวันที่ 29 ม.ค. กรณีที่ ถอดสารซัลเฟอร์ออกจากบัญชี วัตถุอันตราย และกรณีที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช 13 รายการ ได้แก่สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง หนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตรายใหม่ ไว้จนกว่าจะคดีจะถึงที่สุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น