ไบโอไทยยันมติทบทวนประกาศพืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายไม่ชัดเจน เตรียมหารือเครือข่ายเกษตรกรไทย สช.เคลื่อนไหวคัดค้านต่อ ร้องศาลปกครองระงับคำสั่งชั่วคราว ด้านเกษตรกรบุกเทพริกหน้าสภา พร้อมบี้ปลดอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม-กรมวิชาการเกษตร
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี(ไบโอไทย) กล่าวว่า การประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีมติให้ทบทวนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่กำหนดให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดอยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย โดยให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพในการหาข้อมูลเรื่องดังกล่าว ถือว่าเป็นมติที่ไม่มีความชัดเจนอย่างมาก เพราะไม่ได้ระบุว่ายกเลิก แต่เป็นการทบทวน ซึ่งอาจหมายความถึงการยกเลิกหรือไม่ยกเลิกก็ได้ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมเดินหน้าเรื่องดังกล่าว เพียงแต่จะปรับถ้อยคำเท่านั้น
ดังนั้น ในวันที่ 20 ก.พ.เวลา 10.00 น.ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นอกจากจะมีการจัดเสวนา "จากพืชสมุนไพร สู่ความท้าทายการมีส่วนร่วมของสังคม" และหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในความสำคัญของการยกเลิกประกาศนี้แล้วจะมีการแถลงถึงแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไปของไบโอไทยและเครือข่ายเกษตรกรทั้งหลาย โดยจะร่วมกับฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อระงับคำสั่งทางปกครองชั่วคราว รวมถึงท่าทีที่จะเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องนี้ต่อไป
“อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาถึงการฟ้องร้องของนักวิชาการอิสระที่ได้ยื่นฟ้องเรื่องดังกล่าวกับศาลปกครองไปแล้วก่อนหน้านี้ว่าจะสามารถฟ้องร้องซ้ำอีกได้หรือไม่ เพราะการฟ้องร้องของนักวิชาการรายดังกล่าวถือว่าครอบคลุมทั้งหมดหรือไม่ ถ้าหากฟ้องร้องได้อีกและจะฟ้องร้องประเด็นอะไรที่เป็นการเพิ่มเติม เพราะเรื่องดังกล่าวถือว่ามีประชาชนที่ได้รับผลกระทบมากมาย จึงต้องมีการพิจารณาในประเด็นกฎหมายให้รัดกุมขึ้น”นายวิฑูรย์ กล่าว
ด้านนพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) กล่าวว่า เข้าใจว่าคณะกรรมการวัตถุอันตราย จะไม่ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่จะทบทวนใหม่ ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะทบทวนอย่างไรซึ่ง ซึ่งจากกรณีการออกประกาศวัตถุอันตรายฉบับดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนของการดำเนินการของรัฐ ที่ไม่ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน นำมาสู่ปัญหาของสังคมในภายหลังได้ ซึ่งรัฐควรจะให้ความสำคัญกับขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักธรรมภิบาล
อนึ่ง ประกาศของคณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรมที่ประกาศให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย มีผลยบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งสมุนไพร 13 ชนิด ประกอบด้วย 1. สะเดา 2. ตะไคร้หอม 3.ขมิ้นชัน 4.ขิง 5.ข่า 6.ดาวเรือง 7.สาบเสือ 8.กากเมล็ดชา 9.พริก 10.คื่นฉ่าย 11.ชุมเห็ดเทศ 12.ดองดึง และ13.หนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข.
ผู้ปลูกพืช 13 ชนิดบุกสภาเทพริกสดประท้วง
ที่รัฐสภา กลุ่มประชาชนผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ปลูกพืช 13 ชนิด กว่า 50 คน นำโดยน.ส.มะลิวัลย์ งามปานแก้ว ได้เดินทางมายังรัฐสภา โดยได้นำพริกสดจำนวนมากมาเททิ้งเพื่อประท้วงกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศให้สมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย พร้อมกันนี้เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ให้พืชทั้ง 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายตามพ.ร.บ.วัตถุอันตรายพ.ศ.2535 โดยทันที และให้ย้ายนายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งให้สอบสวนทั้ง 2 คนว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.157 หรือไม่ด้วย เนื่องจากทำงานไม่โปร่งใส ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน โดยเฉพาะการยกเลิกกฎหมายวัตถุอันตรายไม่ให้สารซัลเฟอร์ หรือ "กำมะถัน" เป็นวัตถุอันตรายนั้น ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียภาษีที่ควรจะได้รับปีละหลายพันล้านบาทจากผู้นำเข้าสารซัลเฟอร์รายใหญ่
น.ส.มะลิวัลย์ กล่าวว่า ประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมทำให้เกษตรที่ปลูกพืช 13 ชนิดได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะประชาชนเข้าใจว่าเป็นวัตถุอันตราย ขณะเดียวกันสารเคมีที่อันตรายหลายชนิดกลับถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวัตถุอันตราย ขอตั้งข้อสังเกตว่า มาตรการดังกล่าวมาจากข้าราชการพยายามจะเอื้อประโยชน์ให้กับ 6 บริษัทยักษ์ใหญ่หรือไม่ เพราะบริษัทเหล่านี้จะได้ประโยชน์จากการไม่ต้องเสียภาษี และมีแนวโน้มว่าจะไม่ต้องจ่ายค่าปรับจากศาลนับหมื่นล้านบาทหากแพ้คดีที่ฟ้องร้องกันในเรื่องสารอันตราย เพราะสารเคมีดังกล่าวได้ถูกยกเลิกการเป็นวัตถุอันตรายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี(ไบโอไทย) กล่าวว่า การประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีมติให้ทบทวนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่กำหนดให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดอยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย โดยให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพในการหาข้อมูลเรื่องดังกล่าว ถือว่าเป็นมติที่ไม่มีความชัดเจนอย่างมาก เพราะไม่ได้ระบุว่ายกเลิก แต่เป็นการทบทวน ซึ่งอาจหมายความถึงการยกเลิกหรือไม่ยกเลิกก็ได้ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมเดินหน้าเรื่องดังกล่าว เพียงแต่จะปรับถ้อยคำเท่านั้น
ดังนั้น ในวันที่ 20 ก.พ.เวลา 10.00 น.ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นอกจากจะมีการจัดเสวนา "จากพืชสมุนไพร สู่ความท้าทายการมีส่วนร่วมของสังคม" และหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในความสำคัญของการยกเลิกประกาศนี้แล้วจะมีการแถลงถึงแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไปของไบโอไทยและเครือข่ายเกษตรกรทั้งหลาย โดยจะร่วมกับฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อระงับคำสั่งทางปกครองชั่วคราว รวมถึงท่าทีที่จะเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องนี้ต่อไป
“อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาถึงการฟ้องร้องของนักวิชาการอิสระที่ได้ยื่นฟ้องเรื่องดังกล่าวกับศาลปกครองไปแล้วก่อนหน้านี้ว่าจะสามารถฟ้องร้องซ้ำอีกได้หรือไม่ เพราะการฟ้องร้องของนักวิชาการรายดังกล่าวถือว่าครอบคลุมทั้งหมดหรือไม่ ถ้าหากฟ้องร้องได้อีกและจะฟ้องร้องประเด็นอะไรที่เป็นการเพิ่มเติม เพราะเรื่องดังกล่าวถือว่ามีประชาชนที่ได้รับผลกระทบมากมาย จึงต้องมีการพิจารณาในประเด็นกฎหมายให้รัดกุมขึ้น”นายวิฑูรย์ กล่าว
ด้านนพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) กล่าวว่า เข้าใจว่าคณะกรรมการวัตถุอันตราย จะไม่ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่จะทบทวนใหม่ ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะทบทวนอย่างไรซึ่ง ซึ่งจากกรณีการออกประกาศวัตถุอันตรายฉบับดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนของการดำเนินการของรัฐ ที่ไม่ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน นำมาสู่ปัญหาของสังคมในภายหลังได้ ซึ่งรัฐควรจะให้ความสำคัญกับขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักธรรมภิบาล
อนึ่ง ประกาศของคณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรมที่ประกาศให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย มีผลยบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งสมุนไพร 13 ชนิด ประกอบด้วย 1. สะเดา 2. ตะไคร้หอม 3.ขมิ้นชัน 4.ขิง 5.ข่า 6.ดาวเรือง 7.สาบเสือ 8.กากเมล็ดชา 9.พริก 10.คื่นฉ่าย 11.ชุมเห็ดเทศ 12.ดองดึง และ13.หนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข.
ผู้ปลูกพืช 13 ชนิดบุกสภาเทพริกสดประท้วง
ที่รัฐสภา กลุ่มประชาชนผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ปลูกพืช 13 ชนิด กว่า 50 คน นำโดยน.ส.มะลิวัลย์ งามปานแก้ว ได้เดินทางมายังรัฐสภา โดยได้นำพริกสดจำนวนมากมาเททิ้งเพื่อประท้วงกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศให้สมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย พร้อมกันนี้เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ให้พืชทั้ง 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายตามพ.ร.บ.วัตถุอันตรายพ.ศ.2535 โดยทันที และให้ย้ายนายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งให้สอบสวนทั้ง 2 คนว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.157 หรือไม่ด้วย เนื่องจากทำงานไม่โปร่งใส ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน โดยเฉพาะการยกเลิกกฎหมายวัตถุอันตรายไม่ให้สารซัลเฟอร์ หรือ "กำมะถัน" เป็นวัตถุอันตรายนั้น ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียภาษีที่ควรจะได้รับปีละหลายพันล้านบาทจากผู้นำเข้าสารซัลเฟอร์รายใหญ่
น.ส.มะลิวัลย์ กล่าวว่า ประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมทำให้เกษตรที่ปลูกพืช 13 ชนิดได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง เพราะประชาชนเข้าใจว่าเป็นวัตถุอันตราย ขณะเดียวกันสารเคมีที่อันตรายหลายชนิดกลับถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวัตถุอันตราย ขอตั้งข้อสังเกตว่า มาตรการดังกล่าวมาจากข้าราชการพยายามจะเอื้อประโยชน์ให้กับ 6 บริษัทยักษ์ใหญ่หรือไม่ เพราะบริษัทเหล่านี้จะได้ประโยชน์จากการไม่ต้องเสียภาษี และมีแนวโน้มว่าจะไม่ต้องจ่ายค่าปรับจากศาลนับหมื่นล้านบาทหากแพ้คดีที่ฟ้องร้องกันในเรื่องสารอันตราย เพราะสารเคมีดังกล่าวได้ถูกยกเลิกการเป็นวัตถุอันตรายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว